ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>กระทรวงศึกษาธิการ: ยุทธศาสตร์ 2555


ยุทธศาสตร์

กระทรวงศึกษาธิการ: ยุทธศาสตร์ 2555

      ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี กระทรวงศึกษาธิการจะสามารถ  พัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก

 วิสัยทัศน์ 

         ภายในปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นองค์กรหลักที่ทรงประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคลากรของชาติ เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมให้กับประเทศ ด้วยฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และศักยภาพของประเทศ

 ภารกิจ 

         พัฒนา ยกระดับ และจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่งและมั่นคง เพื่อเป็นบุคลากรที่มีวินัย เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมจริยธรรมมีสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

 หลักการพื้นฐาน 

  • คำนึงถึงศักยภาพและบริบทรอบๆ ตัวผู้เรียน
  • พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอน ให้ทัดเทียมอารยะประเทศ ด้วยการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • มุ่งสู่เป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทำงานให้กับบุคลากรคนไทย ให้แข่งขันได้ในระดับสากล

ศักยภาพ

  • ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่
  • ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ
  • ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่
  • ศักยภาพของศิลป วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่
  • ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่

แท่งหลักสูตรของ 5 กลุ่มอาชีพ

  • กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน เกษตรกรรม
  • กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน อุตสาหกรรม
  • กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน พาณิชยกรรม
  • กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน ความคิดสร้างสรรค์
  • กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน บริหารจัดการและการบริการ

วิธีการบริหารและการจัดการ

  1. กำหนดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในแต่ละแท่งหลักสูตรใหม่ ของแต่ละแท่งอุตสาหกรรม
  2. มหาวิทยาลัย กำหนดหลักสูตรด้านวิชาการและการวิจัยที่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพต่างๆ ในแต่ละแท่งหลักสูตรใหม่
  3. อาชีวะ กำหนดหลักสูตรด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพต่างๆ ในแต่ละแท่งหลักสูตรใหม่
  4. มหาวิทยาลัย อาชีวะศึกษาและผู้ประกอบการร่วมพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้แก่ สพฐ เพื่อเชื่อมโยงหลักสูตรให้สอดคล้องและสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพและการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง  
  5. ฝึกอบรมและคัดสรรผู้เชี่ยวชาญจากภายในและภายนอกเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
  6. พัฒนาระบบและนำเทคโนโลยีการเรียนการสอนสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพเทียบเท่าในระดับสากล
  7. ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการภายในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อก่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการ
  8. จัดตั้งกองทุนตั้งตัวและมีศูนย์เพาะบ่มผู้ประกอบอาชีพเพื่อสนับสนุนการสร้างงานและการประกอบอาชีพของผู้ที่สำเร็จการศึกษา
  9. สร้างเครือข่ายสังคมและธุรกิจระหว่างผู้เรียน ผู้สอน นักวิจัย สถาบันการศึกษาและเครือข่ายภายในและภายนอก
  10. สนับสนุนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำงานและสร้างรายได้ ได้ตั้งแต่ขณะเรียน
  11. เพิ่มองค์ความรู้พื้นฐานที่ควรสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความคิดสร้างสรรค์ และภาษาต่างประเทศ
  12. มอบให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมทำหน้าที่จัดทำแผนยุทศาสตร์พัฒนาจังหวัดที่คำนึงถึง ศักยภาพของพื้นที่ ในแต่ละจังหวัดโดยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ รับผิดชอบในระดับจังหวัด และภูมิภาค รวมถึงรับผิดชอบในการเข้าร่วมพัฒนายุทธศาสตร์ในแต่ละด้านของประเทศที่สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน ของโลก

ที่มา: www.moc.moe.go.th/Files/Document/y2555.doc

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 469446เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท