การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:106


การทำงานที่หนัก คือ แบบฝึกหัดของชีวิต

    กลุ่มยุวเกษตรกร..จิตสาธารณะ

    จากสถานการณ์"มหาอุทกภัย" ครั้งใหญ่ของเมืองไทยในครั้งนี้ เป็นวิกฤติที่เป็นโอกาส ให้พลังของน้องน้ำ พัดพาลูกศิษย์ที่กำลังเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และปริมณทล ต้องกลับมาอยู่บ้าน เนื่องจากพิษของน้องน้ำ

     และในครั้งนี้ก็เป็นธรรมดาที่มีลูกศิษย์แวะเวียนมาหาที่โรงเรียน และก็เป็นธรรมดาอีกเช่นเดียวกัน ที่พวกเขาเหล่านี้พร้อมที่จะอาสาทำงาน เพื่อโรงเรียนเก่า เพื่อส่วนรวม เพื่อน้อง ๆ

     กลุ่มเด็กเหล่านี้เป็นเด็กกลุ่มยุวเกษตรกรของครูสุลัคน์  ณ รังษี ที่มักจะแวะมาเยี่ยมทุกครั้งที่กลับมาบ้าน ก็จะมาหาที่โรงเรียน เนื่องจากมีความผูกพันกับครู และโรงเรียน

     หลายๆต่อหลายครั้ง เมื่อพวกเขากลับมา มักจะไม่ได้มานั่งคุยกับคุณครูหรือเพื่อนเพียงอย่างเดียว มักจะถูกให้ช่วยงานคุณครูสุลัคน์ อยู่บ่อย ๆ และไม่เคยมีใครปฏิเสธที่จะทำงานหนัก เหมือนเมื่อครั้งที่พวกเขาเคยเรียน เคยอยู่กลุ่มยุวเกษตรกร

     บ้างครั้งมาช่วยน้องๆ ขุดดิน ทำแปลงปลูกผัก ทำบ้านดิน ทำ5ส.อาคารพฤกษศาสตร์ หรือ เข้าห้องแล็ปเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้ ให้"โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง"ของตำบลบ่อพลอย ที่โรงเรียนทำร่วมกับชุมชนและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่บ่อย ๆที่กลับมาหาครูที่โรงเรียน

     ผมสังเกตได้ว่าเด็กพวกนี้(กลุ่มยุวเกษตรกร) ถูกคุณครูสุลัคน์ สอนให้เค้ารู้จักสู้งาน(หนัก ๆ) รู้จักการทำงาน และการเรียนรู้ที่ไม่ได้มีแต่เพียงในตำรา และห้องเรียนสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ คือ การมีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม

     ในภาพจากซ้ายไปขวา: น.ส.ศิริพร  เมฆโสภณ (พืชสวน ลาดกระบัง(ปี 2),นายอัครพงษ์  เบี้ยวน้อย พืชสวน ลาดกระบัง(ปี 3),นายวิศรุต ชมภูยาละ วิศวะฯ เครื่องกล(ปี 3) ม.บูรพา,น.ส.น้ำทิพย์ รัศมีรณชัย พืชสวน ม.เกษตรฯ(ปี 3)

      ในครั้งนี้โจทย์ก็ คือถังรับขยะจำพวกพลาสติก เพื่อให้น้อง ๆใช้แยกขยะพลาสติกในโรงเรียน

       พวกเขาทั้งชายหญิงสี่คนก็ร่วมด้วย ช่วยกันสร้างที่รับขยะพลาสติก ช่วยกันคนละไม้ละมือ โดยไม่เกี่ยงว่าเคยทำ หรือไม่เคยทำ เคยเรียนหรือไม่เคยเรียน เพียงแต่มีหัวใจเดียวกัน คือ การมีจิตอาสา จิตสาธารณะที่จะทำมันขึ้นมาเพื่อโรงเรียน และน้อง ๆ โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคมเท่านั้นเอง ใครทำไม่ได้ก็เป็นฝ่ายสนับสนุนส่งเสบียง หรือนั่งคุย และให้กำลังใจแก่กัน

     ครูสุลัคน์ เองก็ใช่ว่าจะทำเป็น เพียงแต่ออกความคิด และเรียนรู้ไป พร้อมๆ กับเด็ก และได้รับความร่วมมือและคำปรึกษาจากครูที่มีประสบการณ์ แล้วเด็กๆ ก็ลงมือลุยทำกันเอง

     และแล้วใช้เวลาทำประมาณสองสามวันที่เด็ก ๆ ลงมือทำกันก็สำเร็จ ตามที่พวกเขาและคุณครูตั้งใจ

     นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เหล่าเด็กจิตอาสา(กลุ่มยุวเกษตรกร)นี่ ทำเพื่อโรงเรียน เพื่อน้อง ๆ หลังจากที่เขาเรียนจบไปแล้ว

      เด็กๆกลุ่มยุวเกษตรกร เหล่านี้มักจะถูกคุณครูสุลัคน์ สอนให้พวกเขาสู้งานหนัก ผ่านการร่วมทุกข์ ร่วมสุข และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันผ่านกระบวนการค่ายของกลุ่มยุวเกษตรกรอยู่บ่อย ๆ สอนให้มีความอดทน

อ่านเรื่องราวของพวกเขาย้อนหลัง

รุ่นพี่จิตอาสา


หมายเลขบันทึก: 469264เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 04:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท