สารสนเทศ


           สารสนเทศ หมายถึงข้อเท็จจริง ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และความคิดที่นำมาบันทึกไว้ในทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้สารสนเทศจากวัสดุนั้นได้               สารสนเทศมีความสำคัญดังนี้ช่วยในการพัฒนาบุคคลและสังคม          -  ช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ   ธรรมชาติของสารสนเทศเป็นสภาวะที่เป็นอยู่โดยปกติของสารสนเทศ หากเรารู้ความจริง(ธรรมชาติ)เกี่ยวกับสารสนเทศมากเท่าใด ก็จะช่วยให้เราเข้าใจสารสนเทศมากขึ้นเท่านั้น ธรรมชาติของสารสนเทศเป็นดังนี้ (นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูล และเปรมิน จินดาวิมลเลิศ. 2536 : 19) สารสนเทศ มีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วสูญสลายไป สารสนเทศมีทั้งที่ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน-ไม่คลาดเคลื่อน มีคุณค่า-ไม่มีคุณค่า ซึ่งผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงความจริงนี้อยู่ตลอดเวลา สารสนเทศย่อมมีความ "ไม่เป็นกลาง" ไม่มากก็น้อย เพราะจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของความคิดด้านใดด้านหนึ่งของมนุษย์ผู้สร้างผู้บันทึกสารสนเทศนั้น ความไม่เป็นกลางจะเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ สารสนเทศไม่ได้มีความสมบูรณ์รอบด้านในตัวเอง การจะได้สารสนเทศที่สมบูรณ์จึงจำเป็นต้องเสาะหาจากหลายแหล่ง   แหล่งสารสนเทศ หมายถึง สถานที่ที่มีสารสนเทศสะสมอยู่ และเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้สารสนเทศเหล่านั้นได้ แหล่งสารสนเทศแบ่งได้เป็น 4 ประเภท (รัถพร ซังธาดา.2539 : 5) ดังนี้

แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน จำแนกได้ดังนี้

      ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร     แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาทหินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้นแหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ในกรณีเช่นนี้ผู้ใช้สารสนเทศอาจเปลี่ยนมาใช้สารสนเทศในรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศนานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในแหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันดังกล่าวใน ข้อ 4.1 แทนก็ได้                  แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาต่าง ๆผู้ต้องการสารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ  แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น "14 ตุลา"ในปี พ.ศ. 2516 "พฤษภาทมิฬ" ในปี พ.ศ. 2535 หรือการประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้น ๆ การใช้สารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสารสนเทศนั้น สิ่งที่ควรรู้ได้แก่-  แหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ กล่าวคือ หากเราต้องการรู้สารสนเทศอย่างหนึ่งเราควรรู้ว่าสารสนเทศนั้นมีอยู่ที่ใด หรือน่าจะมีอยู่ที่ใด เช่น ถ้าอยากรู้ว่า ราคาซื้อขายทองคำในวันนี้ราคาเท่าไร ? แหล่งของสารสนเทศในกรณีนี้ได้แก่หนังสือพิมพ์ ข่าวทางโทรทัศน์ และร้านขายทอง- วิธีเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดในการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้ เช่น มีกำหนดวันเวลาบริการ กำหนดประเภทของบุคคลที่จะเข้าใช้ เป็นต้น เราควรรู้รายละเอียดเหล่านี้ก่อนเพื่อป้องกันอุปสรรคและความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้น-  ขอบข่ายเนื้อหาสาระของสารสนเทศ นั่นคือต้องรู้ว่าสารสนเทศที่มีอยู่นั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ให้รายละเอียดในลักษณะใด-  วิธีค้นหาและ/หรือค้นคืน (Retrieval) ผู้ใช้จะต้องรู้วิธีการจัดเก็บสารสนเทศของแหล่งสารสนเทศที่จะเข้าใช้ เช่น รู้วิธีการเรียงเลขเรียกหนังสือ รู้วิธีใช้บัตรรายการ วิธีใช้ OPAC รู้วิธีค้นหาเรื่องราวจากหนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล รู้วิธีค้นจาก Internet เป็นต้นการจะใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกเหนือจากจะต้องมีความรู้ทั้ง 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว เราจะต้องตระหนักถึงธรรมชาติของสารสนเทศด้วยเสมอ      
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 46773เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รัฐเกล้าคะ ความรู้ที่หนูเขียนมาในบล็อกก็มีประโยชน์นะคะ แต่ครูอยากเห็นการสกัดสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ และมีประเด็นเดียวก็พอค่ะ (อาจเป็นเรื่องความสำคัญของสารสนเทศ หรือแหล่งสารสนเทศก็ได้) แล้วแทรกประสบการณ์ที่ดีๆ ของหนูลงไปด้วยจะดีมากค่ะ ครูให้ *** นะคะ

Aj.Joy

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท