บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

จริยธรรมอิสลามควรฝังอยู่ในใจมุสลิมทุกคน


เมื่อพระผู้เป็นเจ้าได้มีวัจนะในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อันจำเริญ อย่างชัดแจ้งว่า พระองค์สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากดินสีดำและเป่าวิญญาณลงบนมัน และผู้ที่เป็นมุสลิมจะเป็นประชาชาติตัวอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมจริยธรรม จะเป็นแบบอย่างได้ก็ต้องขัดเกลาตนเองอย่างมุ่งมั่น จริงจัง จริงใจ

อัลเลาะห์(ซ.บ.) ทรงยืนยันว่า เราะซูลของพระองค์นั้น เป็นผู้ที่มีมารยาทงดงามยิ่ง โดยตรัสว่า :

"และแท้จริง เจ้านั้น ตั้งอยู่ในจริยธรรม อันยิ่งใหญ่" (อัลกอลัม / 4)

         และทรงกล่าวชมเชยบรรดาผู้ที่มีจริยธรรม และศีลธรมอันดีงาม ไว้ในซูเราะฮ์ อาละอิมรอน ว่า

"และบรรดาผู้ระงับความโกรธ และบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ อัลลอฮ์ทรงรักผู้ที่ทำดีทั้งหลาย" (อาละอิมรอน / 134)

มีรายงานจากท่าน อนัส (ร.ด.) กล่าวว่า :

"ท่านเราะซูล เป็นบุคคลที่มีมารยาทงดงามยิ่งกว่าผู้ใด" (บันทึกโดย บุครีย์ ละมุสลิม)

 วามอ่อนโยน ละมุนละม่อม 

       อิสลามสนับสนุนให้ใช้ความอ่อนโยน ทั้งในคำพูดและการกระทำ เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน อิสลามไม่ส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะ

วิวาท หรือใช้ความรุนแรงต่อกัน  ท่านศาสดา  กล่าวว่า

แท้จริง อัลลอฮ ทรงเป็นผู้มีความละมุนละม่อม อ่อนโยน พระองค์ทรงชอบความละมุนละม่อมอ่อนโยนในกิจการทั้งปวง”  (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ )

ท่านศาสดามุฮัมมัด   กล่าวว่า

“ แท้จริงความละมุนละม่อม อ่อนโยน เมื่ออยู่ในสิ่งใด จะทำให้สิ่งนั้นดีงามขึ้น  และความละมุนละม่อม อ่อนโยน เมื่อถูกถอนออกจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด  จะทำให้สิ่งนั้นเลว

ลง ”(บันทึกโดยอิมาม มุสลิม )

         ความละมุนละม่อม อ่อนโยนนี้เอง ที่เป็นคุณลักษณะดึงดูดให้ผู้คนรักใคร่และเอ็นดูเมตตา สร้างสัมพันธไมตรีอันดีงามต่อกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน  

ตัวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้เห็นได้จากการที่ท่านศาสดามุฮัมมัด  เป็นผู้ที่อ่อนโยนต่อมวลชน

สุภาพ และมีไมตรี  จึงทำให้ท่านเข้าไปอยู่ในใจสาวกและมิตรสหายของท่าน ตลอดจนทุกคนที่พบเห็นและรู้จักกับท่าน ต่างก็สัมผัสได้ถึงคุณธรรมอันประเสริฐของท่าน

อัลลอฮ   ตรัสว่า :

 "เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮนั่นเอง เจ้า (มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีจิตใจแข็งกระด้าง

แล้วไซร้ แน่นอน พวกเขาย่อมกระเจิดกระเจิง แยกตัวออกไปจากเจ้ากันแล้ว" ( อาละอิมรอน 3 / 159 )  

          พระผู้เป็นเจ้า ทรงแจ้งให้ท่านศาสดาทราบว่า ความเอ็นดูเมตตาที่พระองค์ทรงประทานให้แก่ท่านนั้น นับเป็นสาเหตุแห่งการสุภาพอ่อนโยนต่อบรรดาผู้ศรัทธา

ถ้าหากท่านมีลักษณะแข็งกระด้าง หยาบช้า แน่นอนประชาชาติของท่านย่อมเตลิดหนี กระเจิดกระเจิงไปจากท่าน  แม้ว่า คำสั่งดังกล่าวจะเจาะจงถึงท่านศาสดา แต่ใน

ขณะเดียวกันก็รวมไปถึงประชาชาติของท่านด้วย สิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านศาสดาปฏิบัติ ย่อมหมายรวมถึงบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหมด ยกเว้นในสิ่งที่เป็นกรณี

พิเศษ เฉพาะเจาะจงเท่านั้น  อิสลามใช้ให้แสดงออกถึงความอ่อนโยนกับทุกคน ไม่ให้เลือกปฏิบัติ ทั้งกับคนใกล้ชิดและห่างไกล ทั้งแก่ผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธศรัทธา

และทั้งแก่คนดีและคนชั่ว พระคัมภีร์ระบุว่า :

" และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท แท้จริง อัลลอฮ์ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง

และผู้คุยโวโอ้อวด" ( ลุกมาน 31 / 18 )

         ท่านศาสดา มุฮัมมัด  ครองใจประชาชาติของท่าน ด้วยจริยธรรมและมารยาทอันงดงาม

ของท่าน  ท่านอ่อนโยนกับทุกคนแม้กระทั่ง สาวกรับใช้ ดังปรากฏใน คำบอกเล่าของท่านอนัส อิบนุ มาลิก  ว่า

 “ ฉันได้รับใช้ท่านนบี 10 ปี ตลอดระยะเวลานั้น ท่านไม่เคยบ่น หรือแสดงอาการไม่พอใจเลยแม้สักครั้งเดียว ท่านไม่เคยกล่าวตำหนิฉันเลย ว่าทำไมถึงทำอย่างนั้น

ทำไมถึงไม่ทำอย่างนี้ ” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ และอิมาม มุสลิม )

ท่านศาสดา มุฮัมมัด    กล่าวว่า  แท้จริง อัลลอฮ ได้ประทานวะฮีย์ ( บัญชา ) ให้ฉันนอบน้อม

ถ่อมตน จนกระทั่ง ไม่ให้มีการโอ้อวด เหยียดหยามและ อธรรมต่อกัน ”  (บันทึกโดยอิมาม มุสลิม ) 

 ส่วนหนึ่งจากวจนะศาสดา มุฮัมหมัด  เกี่ยวกับจริยธรรมอิสลาม

1. ห้ามการประพฤติเลียนแบบผู้กลับกลอก 

2. ห้ามการพูดจาหยาบคาย  นินทา ใส่ร้าย     

3. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีงาม

4. เกี่ยวกับความรักและมีเมตตาต่อกัน 

5. เกี่ยวกับการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์

ท่านศาสดา  กล่าวว่า   

 “ ลักษณะของการเป็นมุนาฟิก ( ุ้หน้าไหว้หลังหลอก ) มี 3 ประการ คือ เมื่อพูดก็จะโกหก เมื่อสัญญาก็บิดพลิ้ว และเมื่อได้รับความไว้วางใจก็ทรยศ หัก

หลัง” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ และอิมาม มุสลิม )

อันเนื่องมาจากการที่เขาเหยียดหยามพี่น้องของเขา อัลเลาะห์(ซ.บ.) ตรัสว่า : "และบรรดาผู้ระงับความโกรธ และบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ อัลลอฮ์

ทรงรักผู้ที่ทำดีทั้งหลาย" (อาละอิมรอน / 134)

“  เป็นการเพียงพอแล้ว ที่จะเรียกบุคคลหนึ่ง ว่าเป็นคนชั่ว

 

คำสำคัญ (Tags): #จริยธรรมอิสลาม
หมายเลขบันทึก: 464834เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท