การดูแลสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม / การดูแลรถ


ในท่ามกลางความทุกข์ยากวันนี้ เรายังมีสิ่งดี ๆ ให้ได้เห็น คือ นำ้ใจคนไทยที่ไหลหลั่งไบยังผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง

การดูแลสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม 

 

 

           วันนี้มีโอกาสได้ดูทีวี ช่อง Thai PBS ที่มีการเชิญ นพ.ประวิทย์ฯ และ พญ.พรรณพิมล ฯ มาพูดคุยในหัวข้อเรื่อง การดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบอุทกภัย สาระที่นำมาฝากคือ พญ.พรรณพิมล ฯ แนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพใจเด็กเล็ก ๆ  เพราะเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป เพราะเด็กสื่ออกมาด้วยภาษาไม่ได้ สิ่งที่แสดงออกมาได้ เด็กจะวุ่นวาย เล่น สิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือ สมาธิเด็กจะเปลี่ยนไป  การกิน การนอนเปลี่ยน กินยาก นอนยากขึ้น  ผวา ตกใจ หงุดหงิด ก้าวร้าว  อารมณ์ เหม่อลอย แยกตัวเอง ( เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเอง) สิ่งเหล่านี้แสดงว่าเด็กมีความเครียด ทั้งนี้เด็กรับรู้สื่อความเครียดเหล่านั้นมาจากสัมผัสของพ่อแม่  แต่สิ่งที่พ่อแม่รับรู้คือเด็กดื้อ  ก้าวร้าว    ทั้งนี้คุณหมอ พรรณพิมล ฯ แนะนำว่า พฤติกรรมพ่อแม่เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมหรือความเครียดของ เด็ก ดังนั้นก่อนที่พ่อแม่จะเข้าไปสัมผัสเด็กต้องปรับอารมณ์ตนเองก่อน และให้สัมผัสที่อบอุ่น และปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กต้องการ พูดคุยกับเด็ก ให้ข้อมูลเด็กสั้น ๆ เด็กต้องการข้อมูล (โดยเฉพาะในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย แต่เด็กเล็กดิฉันคิดว่าเด็กก็รับรู้นะคะ)

          ระวังเรื่องเสียงอึกทึกจะทำให้เด็กไม่ได้ผักผ่อน เครียด จากสิ่งแวดล้อมมากระทบ

          กรณีเด็กพลัดหลงกับพ่อแม่ ผู้ให้ความช่วยเหลือต้อง แนะนำตัวเอง และบอกเด็กว่า เราจะดูแลเค้าและจะตามพ่อแม่ให้ เด็กต้องการความมั่นคงและปลอดภัยค่ะ ตามด้วยการให้สัมผัสที่สื่อความรักความอบอุ่น ความมั่นคง ให้ถ่ายทอดความรู้สึกนี้ผ่านมือของท่านให้ได้นะคะ แล้วหากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็ก ตามความพร้อมของเด็กค่ะ

        คุณหมอประเวทย์ กล่าวถึงข้อควรระวังคือ ความตั้งใจดีของคนช่วย ความต้องการของผู้เดือดร้อนต้องสมดุลกัน ต้องสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกันและกัน เค้าต้องการอะไรเราจะให้อะไร มันตรงกันหรือเปล่า สอดคล้องกันหรือเปล่า  บริบทของแต่ละคนต่างกัน

         ท้ายสุด คุณหมอ ประเวทย์ฯ ท่านปิดท้ายได้เป็นอย่างดีว่า การให้กำลังใจผู้ประสบภัย หรือผู้ประสบภัยต้องให้กำลังใจตนเอง ว่าแม้ในท่ามกลางความยากลำบาก แต่ยังมีสิ่งดีๆ ให้เห็นรอบ ๆ ตัวเรา  เช่น ยังดีที่เรายังมีชีวิตรอด  เรายังได้เล่นกับเด็กคนหนึ่ง เรายังเจอคนดีดีคนหนึ่งเข้ามาช่วยเหลือ ก็จะช่วยเติมความสุข ลดความเครียด ลงได้ค่ะ

          ตามด้วยหมอรถ มาแนะนำวิธีดูแลรถที่โดนน้ำ  โดยท่านให้ข้อคิดว่าแม้ ดีเซล ลุยได้ดีกว่า ลุยได้ลึกกว่า จุดระเบิดทนน้ำกว่า แต่ดีเซล ที่หม้อกรองต่ำน้ำ เข้ากรองอากาศ เข้าเครื่อง ลูกสูบ ก้านสูบจะแตก หัก ถ้าท่ออยู่ต่ำต้องปลดออก  ที่สำคัญการลุยน้ำอย่าเร่งเครื่องแรง เพราะน้ำจะกระจายในห้องเครื่อง  และการเร่งเครื่องบวกลมยางแข็ง รถจะร่อนไม่เกาะ ลื่นลงข้างทางได้ง่าย

          รถเบนซิน ที่ปรับใช้ แก๊ส จะมีการปรับระบบมาก สายไฟต่าง ๆ  อาจไม่ได้มาตรฐาน พวกนี้อ่อนแอ เสี่ยงต่อการสูญเสียมากค่ะ

         ถ้าต้องเอรถไปลุยน้ำสิ่งที่ต้องระวัง คือ หมอกรองอากาศ น้ำเข้าดับแน่ค่ะ แผงจ่ายไฟต่าง ๆ ให้ เปิด ชีดสเปร์กันชื้น ทุกจุดที่เป็นสายไฟ ยกเว้นสายพานค่ะ  ยางลมปล่อยให้อ่อนหน่อยค่ะจะได้เกาะถนน  

          เวลาลุยน้ำเครื่องดับให้ ปิดแอร์ก่อนสตาร์ทเครื่องใหม่ไม่งั้นน้ำเข้าเครื่องได้ค่ะ ลุยน้ำอย่างเก่งแค่ฟุตปาทพอค่ะ เกินนั้นต้องเข้าตรวจสอบว่ามีน้ำเข้าจุดไหนบ้าง และต้องเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น ทั้งหมด  ถ้าอาการไม่รุนแรงแค่เป่าให้แห้ง  เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น  ค่าใช้จ่ายแค่หลักพัน  ท่วมมิดคันทิ้งไว้เป็นอาทิตย์ หมอรถพยากรณ์ว่า เสียหาย 50/ 50    

            มอไซด์ มักเสียหายน้อย เพราะไม่มีจุดอมน้ำ ยิ่งรถที่คาบิวสูง จะลุยได้ลึกกว่า ถ้าดับระบบมักตัด น้ำไม่เข้าเครื่องค่ะ

          วันนี้ความเดือดร้อนเกิดกันถ้วนหน้า มีนักวิชาการท่านหนึ่งให้ข้อคิดว่า เพราะมนุษย์ไปแย่งที่อยู่ของน้ำ ปัญหาที่เกิดเพราะน้ำไม่มีที่อยู่ค่ะ ถึงเวลาเเล้วค่ะที่คนไทยต้องกลับมาทบทวนวิกฤติดที่เกิดขึ้นในวันนี้ และร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหา วันนี้ไม่ต้องมาหาคนผิดหรอกค่ะ ให้หาว่าทำไมนำ้จึงไม่มีที่อยู่ หาสาเหตุที่แท้จริง แล้วหาทางแก้ปัญหาร่วมกันค่ะ

................

คนึงนิจ อนุโรจน์

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม : Flood in Thailand
หมายเลขบันทึก: 464826เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท