มารู้จักประวัติศาสตร์ชุมชน เกาะหมาก ปากพะยูน


ที่น่าสนใจคือเตาเผาปูนขาว ซึ่งตั้งเรียงรายจากบ้านอ่าวท่ายางไปจนถึงบ้านเก่า นับได้จำนวน 30 เตา

          จากการที่นำเด็กเยาวชน คนด้อยโอกาส หญิงหม้าย และคนสูงวัย ท่องไปในทะเลสาบ กับเรือด่วนของ อาจารย์ สมพร  สุวรรณเรืองศรี ก็มีเยาวชนสนใจมาถามถึงประวัติศาสตร์ที่มาของบ้านเกาะหมาก   ผู้เขียนจึงสืบค้นเสาะหามาพอเป็นข้อมูลเบื้องต้น  เพื่อให้เยาวชนและผู้สนใจได้สืบค้นต่อไป.........

                  เกาะหมาก ....

           จากข้อเขียนของคุณ  ชัยวุฒิ  พิยะกูล  บอกไว้ว่า....

เกาะหมาก เป็นเกาะหนึ่งในทะเลสาบสงขลา  ตอนในมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตัวเกาะด้านใต้ระยะทางประมาณ 300 เมตร คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเกาะหมากเป็นเกาะๆเดียวตลอด   ความจริงเกาะหมากประกอบด้วย 3 เกาะ

คือเกาะโคบอยู่ตอนเหนือ

เกาะเสืออยู่ตอนกลาง

เกาะหมากอยู่ตอนใต้

       มีคลองกรุดแบ่งระหว่างเกาะโคบกับเกาะเสือ คลองปากบางแบ่งระหว่างเกาะเสือกับเกาะหมาก  มีความยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร     พื้นที่โดยทั่วไปนอกจาก 3  เกาะแล้ว  ส่วนใหญ่เป็นป่าและควนสูง ระหว่างควนและทะเลสาบเป็นพื้นที่ราบ แต่มีน้อยมาก ไม่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม  และขาดแคลนน้ำจืด  อาชีพส่วนใหญ่ทำประมง สวนยางพาราทำนาเพียงส่วนน้อย  

เกาะหมากมี 9 หมู่บ้าน ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ  80  มีโรงเรียนประชาบาล 7 โรง มัสยิด 3 แห่ง  วัด 3 วัด  

        เข้าใจกันว่า มีมนุษยเข้ามาอาศัยหรือเดินผ่านเกาะหมากแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่  เนื่องจากพบขวานหินจำนวนหลายชิ้น  เช่นพบ

ที่บ้านท่าวา 2 ชิ้น

บ้านโพธิ์ชี 1  ชิ้น

บ้านช่องฟืน 2 ชิ้น

บ้านเก่า 1 ชิ้น 

บ้านหาดทราย 1 ชิ้น 

       น่าสังเกตุว่าหลักฐานเหล่านี้ พบตามหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะ    

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชุมชนเกาะหมากน่าจะมีความเจริญมาแล้ว เพราะเป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายจากภายนอกที่มาติดต่อกับเมืองพัทลุงจะต้องเดินทางผ่าน  จึงพบหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในเกาะ และในทะเลสาบที่มีอายุถึงสมัยอยุธยา  บางชิ้นมีอายุถึงสมัยศรีวิชัย  ในสมัยรัตนโกสินทร์  ประชาชนได้อพยพมามากยิ่งขึ้น มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นคือ"การเผาปูนขาว"  แหล่งที่ทำมากที่สุดคืออ่าวท่ายาง บ้านเก่า  บ้านเขาชัน  โดยนำผลผลิตไปขายยังเมืองสงขลา  เมืองนครศรีธรรมราช  ต่อมาในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปฎิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล พ.ศ.   2439   เกาะหมากจึงมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นกับอำเภอปากพะยูน   

                   โบราณสถาน...

แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของเกาะหมาก คือบริเวณ  บ้านเก่า  บ้านเกาะโคบ  บ้านแหลมกรวด บ้านอ่าวท่ายาง บ้านเกาะเสือ และบ้านเขาชัน.....

1.  บ้านเก่า   มีซากเจดีย์ 2 องค์ๆที่ 1 ตั้งอยู่บนควนเล็กๆ ชาวบ้านเรียกว่า "ควนวัด"  เข้าใจว่าเดิมอาจเป็นวัดมาก่อน องค์เจดีย์พังหมดแล้ว เหลือแต่ฐานก่ออิฐถือปูน ด้านหน้ามีซุ้มพระพุทธรูปแบบโค้งแหลมภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นนูนสูง  ปางมารวิชัย 1 องค์ศิลปสมัยรัตนโกสินทร์  สองข้างซุ้มมีชิ้นส่วนเจดีย์ปูนปั้น 2 องค์เดิมคงเป็นเจดีย์ทิศของเจดีย์ องค์ใหญ่  เจดีย์องค์ที่ 2 ตั้งอยู่บนควนอีกลูกหนึ่ง ทางทิศใต้ไม่ไกลนัก  ชาวบ้านเรียกว่า "ควนเจดีย์"  องค์เจดีย์ถูกขุดทำลายเหลือฐานรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 5 เมตร ไม่ทราบว่เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใด  

2 . บ้านเกาะโคบ  มีวัดเกาะโคบ มีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปทรงระฆัง สูงประมาณ 10 เมตร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 10  ปีมาแล้ว  ที่วัดนี้ขุดพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด  1 องค์ เป็นศิลปสมัยศรีวิชัย  ปัจจุบันสูญหายหมดแล้ว

3. บ้านแหลมกรวด ได้ขุดพบเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงค์เหม็งที่วัดแหลมกรวด ประมาณ 10 ชิ้นลักษณะเป็นถ้วยชามลายคราม  ลายเขียนสีนอกเคลือบ 

4 .บ้านอ่าวท่ายาง มีซากพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ 1 องค์ หน้าตักกว้าง 2  เมตร องค์พระถูกทำลายเหลือแต่พระเศียร  บริเวณริมอ่าวได้พบเศษเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงค์เช็ง กระจายอยู่มากมาย  และยังขุดพบไหสังคโลก 4 หู จำนวน 3  ใบสิ่งที่น่าสนใจคือเตาเผาปูนขาว ซึ่งตั้งเรียงรายจากบ้านท่ายางถึงบ้านเก่า เท่าที่สำรวจพบประมาณ 30 เตา  

5. บ้านเขาชัน พบพระพุทธรูปสำริดปางห้ามญาติแบบทรงเครื่องใหญ่ศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย มีขนาดสูง 1. 5  เมตร ปัจจุบันอยู่ที่วัดภูผาภิมุข จังหวัดพัทลุง  เกาะหมากจึงเป็นแหล่งที่น่าสนใจทางด้านศิลปโบราณคดีและเป็นเกาะที่มีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงอีกแห่งหนึ่งด้วย.......

              ข้อมูลจาก (ชัยวุฒิ พิยะกูล)นักวิชาการโบราณคดี สถาบันทักษิณคดีศึกษา

หมายเลขบันทึก: 463866เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2011 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เท่าที่อ่านพบเรื่องเสาบบ้านเรา พบว่าแผนที่ของเกาะที่ปรากฏในแผนที่และเอกสารของนักวิชาการต่างถิ่น ในเลสาบจะมีเกาะอยู่เพียงไม่กี่เกาะ (เกาะยอ,เกาะนางคำ,เกาะหมาก,เกาะสี่เกาะห้า และเกาะใหญ่) เนื่องจากลงมาสำรวจข้อมูลแบบฉาบฉวย..และขับรถผ่านได้เพียงไม่กี่เกาะ กอรปกับสำรวจแบบนั่งรถ หรือขับรถไม่ได้เดินเหมือนแต่แรกจึงขาดรายละเอียด จึงได้ข้อมูลแบบ."สาว่า-น่าหมัน"เอาไปเขียนเลยทำให้ข้อมูลชุมชน ข้อมูลท้องถิ่นตกหล่น..ทั้งๆมีอยู่..รวมทั้งบิดเบี้ยว..เพราะฟังภาษาถิ่นไม่เข้าใจ..จึงไปนั่งเทียนเขียนแบบสาว่าเอาเอง..เพื่อพิมพ์สรุปแบบแขบๆจะได้เบิกเงินงบประมาณมาใช้..เหมือนที่ บังว่า ยังมีเกาะเล็กเกาะน้อย เกาะเสือ,เกาะยาย,เกาะอะจาด,เกาะทม,เกาะคำเหียง,เกาะรังไก่ ฯลฯ

รู้จักพัทลุง  โดยเฉพาะบ้านเกาะหมากมากขึ้น  เยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า

ตามมาเที่ยงเกาะหมากด้วยค่ะ ขอบคุณความรู้ดีๆที่นำมาฝากค่ะ

ความเป็นมายาวนานควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดูแลรักษาไว้ น่าไปดูชมค่ะ

สวัสดีค่ะ

Ico64

ช่วงนี้อ่านแต่บันทึกที่เกี่ยวกับน้ำท่วม...เพิ่งแวะมาทำความรู้จักประวัติศาสตร์ชุมชน เกาะหมาก ปากพะยูน นะคะ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตามมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยคนค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก

ขอบคุณมากนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณในความรู้นี้ค่ะ

ข้อมูลน่าสนใจมากครับ อ่านสนุกทีเดียว

สวัสดีครับคุณ ไก่....ประกาย

หลังจากที่ขอนแก่นมาพื้นที่มีกิจกรรมกับเยาวชนมาตลอด....วันนี้ ทีวีบูรพา ก็มาถ่ายทำรายการของเยาวชนต้นหล้าเทศบาลปากพะยูนด้วย

สวัสดีครับครู ฑูรย์ เกาะคำเหียง มีจุดชมวิวที่สวยงามมาก หากตัดแต่งต้นไม้สักนิดจะเห็นวิวรอบเกาะได้ ผมขึ้นไปสำรวจแล้ว

ถ้ำค้างคาวแม่ไก่

ดอกพลองบนเกาะคำเหียงมาฝากครู

สวัสดีครับครู สอน

เมื่อก่อนคนพัทลุงล่องเรือพาข้าวไปสีที่ ปากพนัง ปากพนังเป็นท่าข้าวส่งออก มาเลเซีย อินโดนิเซีย

ข้าวจากลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นที่ติดใจกัน ปัจจุบัน นาข้าวกลายเป็นนากุ้ง และปาล์มหมดแล้ว

สวัสดีครับคุณ อุ้ม....มีโครงการจะฝึกอบรม มัคคุเทศน้อยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

ตอนนี้กำลัง คิดโครงการกับท่านอาจารย์ สมพร สุวรรณเรืองศรีอยู่ครับ

สวัสดีครับท่านดร.นัยนา

ประวัติตร์ชุมชน หากชื่นชมเพียงตำนาน ไม่ผ่านการลงไปดู บางทีเด็กไม่รู้คุณค่า

แต่สอนเล่าประวัติศาสตร์ โดยการพาไปดู พาไปให้เห็นของจริง แล้วมาคุยต่อยอด ถามให้เขาคิดเขา ตอบว่าเขาจะทำอย่างไรรักษาอนุรักษ์ ในสิ่งที่เขาเห็นเอาไว้.....

ต้นกล้าบอกว่า....เขาจะฝึกอบรมการเป็นมัคคุเทศน์น้อย คอยบรอการทัวร์ประวัติศาสตร์ เราผู้ใหญ่ก้ต่อยอดความคิด ติดหางบประมาณ จัดออกแบบหลักสูตรการอบรมร่วมกัน

สวัสดีครับครู บอนนี่ ตั้งว่าสักวันจะล่องเรือไปให้ถึงปากพะนัง เส้นทางค้าข้าวส่งออกต่างประทศของภาคใต้

สวัสดีครับท่าน ศน. ลำดวน

พักนี้ทำกิจกรรมในชุมชนเรื่องครอบครัว และเยาวชน ร่วมกับเทศบาลปากพะยูน และกำหาภาคีเครือข่ายเพิ่มอยู่

สวัสดีครับคุณ บีเวอร์ ......ผู้นำต้องทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นให้จริง....แล้วคนรุ่นหลังจะเดินตามรอย

ประวัติศาสตร์ชุมชน คือการเชื่อมร้อยการพัฒนาชุมชน

วรัญชัย สังขวรรโณ

เข้ามาอ่านเรื่องเกาะหมาก ได้ความรู้เพิ่มมากมาย ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณ    คุณวรัญชัย ที่ตามมาเรียนรู้เรื่องเกาะหมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท