คำแนะนำขณะอยู่ในห้องสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์


ขณะกำลังค้นหาไฟล์งานจริยธรรมในกระดานข่าวพอดีมาเจอไฟล์คำแนะนำในการเตรียมตัวสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ที่อาจารย์แหววเคยบอกกับพวกเราเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 ที่ห้องจิตติและนูปก็เป็นคนจดและพิมพ์ส่งมา remind พวกเราทุกคนอีกครั้ง หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับรุ่นน้องที่กำลังเตรียมตัวสอบเค้าโครงนะจ๊ะ

คำแนะนำเมื่ออยู่ในห้องสอบเค้าโครง

        1. ระยะเวลาสอบไม่ควรให้เกินกว่า 30 นาที ในห้องหากมีประเด็นใดที่กรรมการแนะนำแล้วนักศึกษาฟังไม่เข้าใจ หรือไม่ชัดเจน ควรหารือกับท่านให้จบในคราวเดียวไม่ควรให้เบลอ

         2.     กรณีที่กรรมการประสงค์ให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนเค้าโครงของตนเองสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างยิ่ง  คือ  1) ความจำเป็นในการแก้ไขเค้าโครง 

                                     2) ระยะเวลาในการจัดทำให้เป็นไปตามเค้าโครงที่แก้ไขใหม่ 

                       3) ข้อมูลที่มีอยู่ หรือความยากง่ายของการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะต้องใส่ในเค้าโครงที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติม

        กรณีการพิจารณาว่าควรแก้ไขเค้าโครงตามกรรมการหรือไม่ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นในการแก้ไข คือ หากไม่แก้ไขจะทำให้เค้าโครงไม่ถูกต้อง ก็ควรต้องแก้ แต่หากการไม่แก้ไขไม่ได้ทำให้เค้าโครงเดิมผิดหรือไม่ถูกต้องแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงการปรับเปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น ก็จะต้องมาพิจารณาสิ่งที่ควรคำนึงข้อ 2) และ 3) ข้างต้นว่ามีเวลาและข้อมูลเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอ นักศึกษาก็ควรจะปฏิเสธไม่แก้ไขเค้าโครงดังกล่าว โดยกล่าวอ้างเหตุผลที่รับฟังได้ว่าทำไมถึงไม่ยอมแก้ไขด้วย

             3.     ฟังให้เข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่กรรมการต้องการให้แก้ไข และอย่ารับปากแก้ไขเค้าโครงโดยที่ตนไม่สามารถทำตามที่ตนรับปากได้เป็นอันขาด

ต่อไปเป็นสิ่งที่รัตน์เพิ่มเติมจากบันทึกของนูป

สิ่งที่ต้องมีขณะอยู่ในห้องสอบเค้าโครง

1. สติสัมปชัญญะ จะให้ดี ควรจะทำสมาธิก่อนเข้าห้องสอบ ไม่ควรตื่นเต้นมากไป เมื่อกรรมการถามควร ตั้งใจฟังคำถามของท่านให้ดี หากไม่ได้ยิน สามารถให้ท่านทวนคำถามใหม่ได้ หยุดคิด และตอบอย่างฉะฉาน ไม่ใช่นั่งเงียบ

2. เครื่องอัดเทป อาจจะอัดเป็นเทป หรือเป็นไฟล์ digital ก็ได้ แล้วแต่ชอบ แต่เพื่อความไม่ประมาท ควรอัดทั้ง 2 อย่าง -- ควรเช็คว่าเครื่องสามารถใช้การได้ดี มีแบตเตอรี่เต็ม

3. อุปกรณ์เครื่องเขียน -- หากมีการแก้ไขในประเด็นใด สามารถจดได้

4. หากสามารถชักชวนเพื่อนเข้าไปฟังและช่วยจดด้วยได้จะดีมากเพราะเราไม่ต้องแบ่งสมาธิจากการตอบคำถามและจดประเด็นที่ต้องเติมในเค้าโครง

คำสำคัญ (Tags): #thesis#ประสบการณ์
หมายเลขบันทึก: 46366เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท