"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

ความพยายามในการหาทางออกของปัญหา?


หลักอริยสัจ๔ สามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาในชุมชนได้

๑/๑๐/๒๕๕๔

*********

            ผมคือผู้ใช้รถคนหนึ่งที่เป็นรถเล็กประเภทมอเตอร์ไซค์ ที่ขับขี่วิ่งไปกลับระหว่างบ้านตนเองกับบ้านของคนรัก ระยะเวลาช่วงที่ผ่านมาประมาณ ๒ เดือนเห็นจะได้ ที่เห็นสภาพของถนนที่ใช้อยู่ประจำทุกวัน ต้องมีสภาพที่ย่ำแย่ จนทนเฉยอยู่ไม่ได้ต้องออกมามองดูและพิจารณาตามความเข้าใจของตนเอง  ผมจะไม่โทษว่าใครควรรับผิดชอบ  แต่พยายามที่จะนำองค์ความรู้หรือหลักอริยสัจของทางพระพุทธศาสนามาเทียบดู  เผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจสักนิด หลักที่ว่าคือ

๑. ทุกข์ ปัญหา

๒. สมุทัย  สาเหตุของปัญหา

๓. นิโรธ ความดับทุกข์หรือสภาพที่ดับปัญหาได้แล้ว

๔. มรรค ข้อปฏิบัติหรือแนวทางให้ถึงความดับทุกข์หรือดับปัญหา

ลองพิจารณาตามเบื้องล่างต่อไปนี้

๑.ทุกข์  ปัญหา  คือความลำบากในการใช้รถใช้ถนนที่ชาวบ้านทั่วไปได้รับโดยทั่วถึงกัน  ณ ปัจจุบันขนาดนี้ ต่อไปจะเสียหายขนาดไหน 

มองอีกมุมก็แล้วกันว่า ถนนลาดยางเดิมนั้น ตอนนี้มีสภาพอย่างไร...

๒.สมุทัย  สาเหตุของปัญหา การที่ถนนพังเละเทะขนาดนี้ เกิดได้จากทุกฝ่าย เช่น

     ๒.๑  ผู้ที่ใช้รถ ไทแลนด์หรืออีแต๋น ซึ่งใน ๓ หมู่บ้านมีไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คัน

     ๒.๒  รถกระบะหรือปิคอัพ รถเก๋ง ที่มีจำนวนมาก รวมทั้งรถที่มาจากจ.เลยของผู้ไปขายล็อตเตอรี่ทางภาคเหนือ ที่วิ่งผ่านหมู่บ้านไปทะลุที่บ้านเนินชัยออกสี่แยกน้ำอ่างไปจ.อุตรดิตถ์ แพร่

     ๒.๓ รถ ๖ ล้อ ลากวัวลากควายที่มีประมาณ ๒๐ คัน และรถลากไม้สักที่ขนไม้มาจากทางป่าแดง อ.ชาติตระการจ.พิษณุโลก อีกประมาณ ๒๐ คัน ที่วิ่งและใช้เส้นทางนี้ไปทางภาคเหนือ

 

   

  ๒.๔ รถลากข้าวในหมู่บ้าน ที่มีทั้ง ๑๐ ล้อ   ๖ ล้อ  และรถไทแลนด์ยกดั๊มได้ ที่ประกอบในหมู่บ้านอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ในการบรรทุกพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะ

           นอกจากนี้ยังมีรถส่งของอีกหลายบริษัท รวมทั้งรถส่งน้ำ ที่วิ่งมาส่งของร้านค้าทุกวัน และมีรถขาจรมาจากพิษณุโลก(แยกหนองกวาง) จากชาติตระการเพื่อที่จะใช้เป็นทางลัดไปยังทางเหนือ และทางเหนือจากอ.น้ำปาด จากจ.อุตรดิตถ์ที่จะวิ่งไปทางอ.ชาติตระการ ไปอ.ด่านซ้าย หรือพิษณุโลก(แยกหนองกวาง)เลี้ยวซ้ายไปกรุงเทพอีกจำนวนหนึ่ง

๓. นิโรธ ความดับทุกข์หรือสภาพที่ดับปัญหาได้แล้ว คงไม่ต้องบอกว่าทุกท่านต้องการวิ่งรถบนถนนในหมู่บ้านแบบไหน คงต้องการสภาพถนนแบบนี้

     ถ้าสภาพถนนที่เสียหายเบื้องต้นในหมู่บ้านได้ขนาดนี้ก็น่าจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนะครับ

๔. มรรค ข้อปฏิบัติหรือแนวทางให้ถึงความดับทุกข์หรือดับปัญหา ข้อปฏิบัติหรือแนวทางการหาทางออกของปัญหาไม่จำเป็นว่าต้องมีเพียง ๘ ทางเท่านั้น กี่แนวทางก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น

      ๔.๑  อันดับแรกผู้ที่รับผิดชอบหลักคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหน้าที่ดูแล คือ ส.อบต.และหรือ อบต. ในพื้นที่ ผมไม่ได้ใส่ความว่าไม่รับผิดชอบนะครับ แต่อาจจะยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จะลงมือทำ  อาจรองบประมาณใหม่หรือรอช่างประมาณราคาอยู่ก็ได้

     ๔.๒ ผู้นำหมู่บ้านคือ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยฯ มีหน้าที่คอยประสานงานกับฝ่ายพัฒนา ต้องมานั่งปรึกษาหารือคุยกันก่อนว่าจะเอายังไงดี

     ๔.๓ ชาวบ้านผู้ใช้ถนน ควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ด้วย เพราะตนเองก็ต้องใช้ทุกวัน

     ๔.๔ เจ้าของกิจการการค้าสินค้าพืชผลการเกษตร  ๒ แห่ง ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ขณะนี้ ก็น่าจะมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยเช่นกัน

     ๔.๕ ผู้ประกอบการค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง อิฐ หิน ทราย ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยเพราะตนเองก็มีรถหลายคันวันหนึ่งวิ่งหลายสิบรอบ

     ๔.๖ รถขนวัวควาย  รถขนไม้สัก น่าจะมีน่าจะมีส่วนช่วยเสียภาษีหรือค่าผ่านทางบ้าง ได้หรือไม่ เพราะมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ถนนชำรุดเสียหายอย่างหนักเช่นกัน

     ๔.๗ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้คอยตรวจสอบรถบรรทุก และรถหนักเกินที่กำหนด(บรรทุกเกิน 21 ตัน) ควรมีมาตรการอย่างเข้มงวดและเก็บค่าผ่านทางบ้างได้ไหม

     ๔.๘ ทุกฝ่าย ควรที่จะหันหน้าเข้าหากัน พร้อมแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่เกี่ยงหรือปัดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว

      *จากนั้นก็ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบก็จะเกิดเป็นนิโรธสภาพที่ดับปัญหาได้แล้ว*

     หลักอริยสัจก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้  แต่ต้องมองให้ครบทุกแง่มุม พิจารณาอย่างรอบคอบและรอบด้านเสียก่อน

      ...สิ่งที่ผมเฝ้าสังเกตและพิจารณามาอาจจะไม่รอบคอบสักเท่าไหร่  ในระยะเวลาที่ผ่านมา  ไม่ได้เห็นความเอาใจใส่ในการประชาสัมพันธ์แจ้งชาวบ้าน  การแสดงออกที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบ หรือความพยายามที่จะพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้ถนนหนทางดูดีขึ้นมาบ้างเลย...

       อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่านี้ครับ  

 

หมายเลขบันทึก: 463370เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2011 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์ ป. Patama อาจารย์หมอคณะแพทย์ศาตร์ มช.

ที่แวะมาให้กำลังใจก่อนใครอื่น อาจารย์สบายดีนะครับ

สวัสดีครับคุณอักขณิช

ขอบคุณที่เข้ามาให้ดอกไม้ หรือให้กำลังใจ

เรื่องแบบนี้คงไม่ค่อยมีคนสนใจสักเท่าไหร่ เพราะพบเห็นกันอยู่จนชินและเป็นประจำ

ประกอบกับช่วงนี้มีความเคลื่อนไหวเรื่องน้ำท่วมกันมาก เรื่องในหมู่บ้านเล็กๆ อาจดูไม่มีความสำคัญอะไรมากนัก

ขอบคุณทั้งสองท่านอีกครั้งครับ

จะเฝ้ารอดูความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นค่ะ ...ว่าเมื่อไร...  ขอเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีครับคุณครูสุภาภรณ์

ขอบคุณที่เข้ามาให้กำลังใจและร่วมแสดงความปรารถนาไว้ ณ ที่นี้

ถึงตอนนี้สภาพดีขึ้นมาบ้างแล้วครับ จากการหาหินมาถม แต่ก็เริ่มจะมีคลื่นอีกแล้ว

ทางอบต.บอกว่าช่างผู้รับเหมาเขามาดูแล้วไม่ยอมทำ เพราะได้เงินมันเหลือน้อย

งบอาจจะน้อยไปนะครับ

ทำไมภาพที่เคยขึ้นประกอบบันทึกไว้ถึงหายไปหมดครับ...แอดมิน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท