ทำไมพระกรุพระธาตุนาดูน จึงแกร่งระดับที่เลียนแบบไม่ได้


พระกรุนี้ได้ถูกฝังอยู่ในชั้นน้ำที่มีแร่เหล็กละลายมาแทรกอยู่ในเนื้อดินเผาเป็นพันๆปี ทำให้มีแร่เหล็กเข้ามาแทรกในเนื้อดินเผาจนแกร่งแบบหินลูกรัง ที่ยังไม่สามารถเลิยนแบบได้

ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาครุ่นคิดถึงวิวัฒนาการและความเป็นไปได้ของเนื้อดินของพระกรุ ที่พบที่พระธาตุนาดูน

  • ที่มีความแกร่งมาก ระดับเดียวกับ หินทราย หรือหินลูกรัง
    •  ใช้เลื่อยฉลุตัดไม่ได้
      • ใบเลื่อยจะขาดทันที
  • ออกสีแดงเข้ม ที่ขนานนามว่า "เนื้อมะขามเปียก"
    • มีเนื้อดินเผาเป็นชั้นๆ
      • แบบลายหินชั้น หรือหินอ่อน หรือแบบขนมชั้น หรือ
      • มีลักษณะแบบซาลาเปา หรือขนมเปี๊ยะ อะไรประมาณนั้น
  • ที่น่าสงสัยว่าเกิดจากอะไร
    • เป็นกระบวนการของการเลือกมวลสาร
    • ขั้นตอนการเผา หรือ
    • วิวัฒนาการของเนื้อหลังจากนั้น

ด้วยความสงสัย ผมได้พยายามเก็บตัวอย่างพระเนื้อดินเผาจากแหล่งนี้ ก็พบว่า เป็น

  • เนื้อพระกรุเนื้อแกร่งที่มีทั้ง สีแดงแบบมะขามเปียก สีดำ หรือเทาดำ และ
  • อาจมีสีอิฐแดงๆส้มๆ แบบแก่ทราย

จึงนำมาพิจารณา พร้อมกับสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์โดยตรงในการขุดพระจากกรุนี้

ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า

  • เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆจะค่อนข้างนิ่ม เปราะหักง่าย
  • แต่เมื่อทิ้งให้แห้งนานๆจึงแข็งประดุจหินดังกล้าวแล้ว

ทำให้พบว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนการเกิดและการผลิต "ศิลาแลง" เพื่อการก่อสร้างในอดีต

  • ที่ตัดดินก้อนลูกรังอ่อนๆ ที่เกิดเองในใต้ดินโดยธรรมชาติ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Plintite
  • มีการตัดแต่ง หรือแกะให้ได้รูปร่างตามต้องการ เป็นแท่งๆ เป็นแผ่น
  • นำมาตากให้แห้ง จะมีความแข็ง เป็นลูกรังแข็ง ที่เรียกว่า Laterite 
  • แล้วจึงนำไปก่อสร้างกำแพง หรือปราสาทต่างๆ
  • ดังที่เห็นตามโบราณสถานทั่วไป

ถ้าเป็นเช่นนั้น

  • พระกรุพระธาตุนาดูนที่จมอยู่ในดินที่อิ่มตัวด้วยสารละลายเหล็กเป็นพันปี ก็คงจะมีลักษณะไม่ต่างจากดินลูกรังอ่อน
  • แต่ดินที่ถูกเผาแล้วนั้น อาจมีความแน่นแข็งและต้านทานการซึมของสารละลายเหล็กได้มากกว่าดินลูกรังทั่วไป

จึงทำให้มีการแทรกซึมไม่ทั่วทั้งก้อน จึงเกิดเป็นชั้นๆ

และยิ่งกว่านั้น

ชิ้นที่จมลึกนั้น น่าจะมีโอกาสสัมผัสสารละลายเหล็กนานกว่า หรือเข้มข้นกว่าชิ้นที่อยู่ด้านบน

  • จึงทำให้เกิดความหลากหลายและแตกต่างในความหนาของชั้นเนื้อมะขามเปียก
  • ทำให้สามารถพิจารณาได้ว่า การหัก หรือบิ่นของชิ้นส่วนนั้นเกิดในกรุ หรือเกิดภายหลัง

โดยความเป็นไปได้นี้

  • ทำให้พระกรุพระธาตุนาดูนมีความแตกต่างจากพระกรุอื่นๆ
    • ที่มีเนื้อไม่แกร่งเท่า
      • ที่อย่างมากก็มีหินปูนมาเกาะมากกว่า
        • ที่จะมีเหล็กมาแทรกในเนื้อขององค์พระ

ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า

  • การที่พระกรุนี้ได้ถูกฝังอยู่ในชั้นน้ำที่มีแร่เหล็กละลายมาแทรกอยู่ในเนื้อดินเผาเป็นพันๆปี
  • ทำให้มีแร่เหล็กเข้ามาแทรกในเนื้อดินเผาจนแกร่งแบบหินลูกรัง
  • ที่การทำพระปลอมยังไม่สามารถเลิยนแบบได้

ดังนั้น ช่างที่ทำพระปลอม

  • อย่างมากก็นำเนื้อเก่ามาแกะ
    • ที่ทำให้ขาดชั้นแบบเดิมๆที่ควรมี
  • หรือนำเนื้อเก่ามาอัดใหม่
    • ก็จะทำให้ทั้งผิวเดิมและชั้นธรรมชาติของเนื้อหายไป
  • ไม่สามารถทำให้เนื้อแบบลูกรังแข็งเป็นชั้นๆได้
    •  
      • ที่ทั้งมวลสารและศิลปะไม่มีความใกล้เคียงเลย
    • จึงมักใช้สารสังเคราะห์เรซินนำมาหล่อเป็นก้อนแข็งแล้วอบให้ปูดเป็นสีเขียวสีดำ

นี่คือข้อสรุปจากการติดตาม ศึกษา พินิจพิเคราะห์ สอบถาม และปรึกษาหารือว่า ทำไมพระกรุพระธาตุนาดูน จึงแกร่งระดับที่เลียนแบบไม่ได้

ดังนั้น วิธีการสังเกตพระกรุนาดูนแท้ๆนั้น ณ วันนี้ ผมจึงขอพูดว่า "ง่ายมาก"ครับ

  • โดยการสังเกตคราบหินปูนขาวๆที่ผิว (ถ้ามี) ที่มักพบในพระผิวเดิมๆ และ
  • ผิวยุ่ยกร่อน เก่าเป็นชั้นๆอย่างต่อเนื่องกัน
  • ร่องแกลบเก่าๆ (ถ้ามี)
  • เนื้อเป็นชั้นๆ ตามรอยบิ่น (ถ้ามี และมักจะมีเสมอ)
  • เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นแบบ "มะขามเปียก" จากสนิมเหล็กที่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อดินเผา
  • ใส้ในที่แร่เหล็กซึมไม่ถึงมักสีอ่อนกว่าแบบแซนด์วิช หรือขนมเปี๊ยะ
  • มีแร่หินทวาราวดีสีขาว ใส หรือส้ม หรือแดงอ่อน ที่มีความมนปะปนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
  • หลังจากนั้นก็ดูพิมพ์และศิลปะ ที่เป็นศิลปะทวาราวดีแบบคุปตะ ที่คมชัดอ่อนช้อย

สำหรับท่านที่ต้องการเรียนรู้เรื่องนี้ ผมมีตัวอย่างให้ดู สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาพระเนื้อนาดูน เกือบครบทุกเนื้อ ทุกสภาพครับ

ขอให้โชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 463086เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 01:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ขอบคุณและขอเป็นกำลังใจสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้ครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจพระนาดูนครับมีอย่วันหนึ่งผมเอาพระพิมนาคปรกสองหน้าไปไว้ที่สูงมากพอสมควรทำตกลงมาดังเหมือนเสียงเหล็กหล่นแต่พระไม่มีรอยเลยแม้แต่นิดเดียวถ้าเป็นอิฐคงแตกแล้วครับผมมี4องค์ครับอาจารย์

ผมเพิ่งได้มาองค์แรกครับ เริ่มศึกษา ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ แบบนี้ครับ เพิ่งเข้าใจว่าการดูพระกรุนาดูนแท้ ๆ นั้นง่ายมาก ๆ ครับ

สิ่งที่ไม่แตก ไม่ใช่เกณฑ์พิจารณาครับ ต้องดูที่เนื้อครับ

คือขวดสไปร์แตก เอาไปผสมเผาจนหลอม อิอิอิอิอิ

ไปถามช่างที่ท่าพระจันทร์ เขาจะตอบได้ถูกต้องครับ ผมก็เดาๆส่งเดชไปงั้นๆครับ

นิรันดร์ สิงห์สีดา

กราบเรียนท่านอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ผู้สระเวลาค้นคว้าหาข้อมูลมาช่วยอ้างอิง (ดีกว่าพวกที่พยายามทำตัวเองให้ฉลาดแต่มักแสดงความโง่เขลาออกมา เหมือนในเว็บหน้าอื่นๆที่เปิดเจอครับ) เพราะผมเองต้องการข้อมูลจากผู้รู้โดยแท้ที่มีทฤษฎีน่าเชื่อถือแบบอาจารย์ เหตุเพราะว่าผมเชื่อเรื่องความเชื่อมโยงบางอย่างของสิ่งที่มิอาจหาหลักฐานเป็นยอมรับมายืนยันได้ คือในการค้นพบพระธาตุนาดูน แห่งนครจำปาศรีนี้ มีความพอดีว่าตรงกับวัน เดือน ปีเกิดของผมพอดี ผมเลยอธิฐานจิต หลังการสวดพระคาถาชินบัญชร 235 จบในวันเดียว ( 200 จบเพื่อถวายพระพุทธองค์ และหลวงปู่สมเด็จฯโตท่าน ส่วน 35 จบเพิ่มจากอายุตัวเอง และสวดในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมานี้เอง) และการอธิฐานจิตขอให้ได้บูชาพระของกรุนาดูนสักองค์ในชีวิต ก็ดันเป็นจริงเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยไปพบอยู่กับคนขายของเก่าในตลาด ในราคาเช่าเพียงหลักร้อยเอง ผมเลยสงสัยว่าจะมีคนทำปลอมมาหรือเปล่า แต่พอมาเจอข้อมูลของอาจารย์ผมเลยพิสูจน์โดยการใช้เหล็กแสตนเลสลองขูดเนื้อพระดู ปลากฏว่าเนื้อพระไม่มีแม้กระทั้งรอยทะลอก ส่วนแท่งแสตนเลสโดนกินเนื้อเหล็กลบมุมเลยครับ และทั้งนี้ผมขอฝากอาจารย์ ช่วยพิจารณาองค์พระผมด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

ดูตามหลักเลยครับ พระนาดูนดูง่ายที่สุดอยู่แล้วครับ

สุุดยอด

ของผมได้มาจากคนขับแท็กซี่เขาว่าแท้ คนขายพระข้างทางบอกปลอม ผมนำทฤษฎีอาจารย์มาพิจารณา วิเคราะห์เหมือนของเลย

เรียนท่านอาจารย์คับผม

พอดีเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วมีโอกาสไปไหว้พระธาตุนาดูนมาคับ ฝนตกทั้งวันคับผม..แล้วก็ได้พระมาด้วยความบังเอิญคับ..

ตอนขากลับจอดรถถามทาง แต่รถเขาเสียสตาร์ตไม่ติดเลยลงไปดูให้ช่วยกันผลักยังไงก็ไม่ติด เลยให้เขาไปหาสายไฟมาพ่วง..

เลยได้คุยกับแม่เขาที่อยู่เฝ้ารถ ก็คุยกันประมาณว่า"ผมมาจากโคราช อยากมาไหว้พระธาตุนานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสสักที.."

แม่เขาบอกว่า ลูกเขาก็เคยไปแย่งเขาตอนกรุแตกใหม่ ๆ .. พอเขากลัีบมา จนรถสตาร์ตติด เลยลองถามดูว่ามีติดตัวอยู่ไหม

ขอดูหน่อย.. เขาเลยให้ดู..ก็ได้ชิ้นนี้มาคับผม..นับดูมีพระองค์เล็กพิมพ์เม็ดแตง 27 องค์คับผม..

คาดว่าน่าจะเป็นมุมด้านล่างซ้ายของแผงคับผม ด้านหน้าออกสีดำ ๆ เนียน ๆ มัน ๆ แต่ไม่เต็มทั้งหมดคับ มีส่วนที่เป็นขาวเทา

ด้านหลังออกเทาขาว มีรอยแกลบด้านบนคับผม..จริง ๆ อยากเอารูปลงคับ..แต่ทำไม่เป็นคับผม..เดี๋ยวผมส่งทางเมล์ให้ชมคับผม..

ช่วยพิจารณาให้หน่อยนะคับผม..จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง...

Gotto

ดูตามหลักการเลยครับ ระวังพระกรุใหม่นะครับ

แต่ตามหลักการก็ไม่ผ่านอยู่แล้วครับ

ขอให้โชคดีครับ

อาจารย์คับเอาแม่เหล็กดูดติดไหมคับ

ขึ้นอยู่กับกำลังแม่เหล็ก

แต่ของเก๊เขาก็ทำได้ แค่นี้ง่ายๆ ไปหาเรื่องทำให้ยากและแยกไม่ได้ทำไมครับ

ดูจำนวนชั้นของเนื้อจะดีกว่าครับ ยังไงก็ทำไม่ได้

 

อิอิอิอิอิอิอิอิ

 

อาจารย์ครับ แล้ว ระยะเวลาที่กว่าเนื้อพระจะแกร่งจนเป็นหินหลังจากเพิ่งขุดขึ้นมาเนี่ยจะยาวนานสีกเท่าใดพอจะประมาณได้มั๊ยครับแล้วที่ว่าระวังพระกรุใหม่นี่หมายถึงระวังอะไรเหรอครับ

อาจารย์ครับ แล้ว ระยะเวลาที่กว่าเนื้อพระจะแกร่งจนเป็นหินหลังจากเพิ่งขุดขึ้นมาเนี่ยจะยาวนานสักเท่าใดพอจะประมาณได้มั๊ยครับ เพราะผมได้พระ แผงตัดมาหน่อยนึง แต่สีผิวนั่นแดงเหมือนดินลูกรัง มีความผุกร่อนสูง มีรอยแดงจำพวกแร่เหล็ก แต่ไม่มีคราบ เหมือนโดนล้างมาอย่างสะอาด ตามรอยตัด มีความเป็นชั้น ของแร่ที่ซึมเข้าเนื้อพระ ...ขนมเปี๊ยตามที่อาจารย์บอก.. มีความแข็งแต่ไม่เเกร่งครับ ผิวพระหากเอาพวกกุญแจขีดข่วนไม่ต้องแรงก้เป็นรอย ฝุ่นผงได้ เลยยังสงสัยอยุ่ว่าจะเป็นงานฝีมือหรือเปล่า

แล้วที่ว่าระวังพระกรุใหม่นี่หมายถึงระวังอะไรเหรอครับ

ขอบคุณครับ

ตามที่เล่ามาน่าจะเก๊ตาเปล่าครับ

แร่เหล็กที่เป็นลูกรังอ่อนทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็แข็งแล้วครับ

ที่ขนานนามกันว่าเป็น "ศิลาแลง" หรือ "ศิลาจำแลง" นั่นแหละครับ

ก็แค่เหล็กทำปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศ เมื่อไหร่ก็จบเมื่อนั้น

  อาจารย์ครับผมขอรบกวนอาจารย์ซักนิดหน่อยครับ  ผมได้มาองค์หนึ่ง แต่ว่าเนื้อพระไม่ได้แตกครับ เลยดูชั้นของสีไม่ได้ แต่ เนื้อพระด้านหลังพอจะอธิบายได้ดังนี้ครับ      ส่องด้วยกล้อง มีคราบขาวๆ อยู่ชั้นบนสุด คราบขาวๆบางจุด ที่อยู่ในแอ่ง มีรูพรุนด้วยครับ ชั้นถัดไปเป็นลักษณะ เนี้อสีดำเป็นแผ่นๆ เกาะอยู่บนเนื้อสีน้ำตาลอีกที   

         ส่วนด้านหน้า คราบขาวๆ ข้างเศียรพระมีเยอะที่สุด  มีลักษณะเป็นชั้นๆครับ  เหมือนมันกระเทาะออกได้  และก็มีเส้นขีดยาวๆเต็มไปหมด เหมือนมีคนเอาเส้นผมมาปัดให้คราบขาวๆเป็นร่องจากบนลงล่างครับ   เหมือนมีคนตั้งใจขีดให้เป็นเส้นๆ ครับ   รบกวนอาจารย์ ช่วยอธิบายซักเล็กน้อยครับ

บรรยายมาเหมือนกับพระเก๊ ส่งรูปมาดีกว่าครับ 

ผมมีพระแผง9องค์อยู่ชิ้นหนึ่งผิวนอกดินแดงเครือบแน่ผิวในดำ

อยากจะให้อาจารย์ช่วยดูพระกรุนาดูนให้ครับว่าเเท้หรืเปล่าคั

อาจารย์คะ หนูเป็นคนมหาสารคามค่ะ หนูไม่เคยสนใจวงการพระเครื่องมาก่อน แต่เมื่อไม่นานมานี้พึ่งสนใจเรื่องพระกรุนาดูน อย่างไรไม่ทราบค่ะ ถามแม่ แม่บอกว่าเขาขุดได้นานมากแล้ว ดิฉันเกิดอยากได้บ้างเนื่องจากคิดว่าตัวเองเป็นคนพื้นถิ่นนี้น่าจะมีเอาไว้ให้ลูกหลานเป็นสิริมงคล แต่ว่าดูไม่เป็นค่ะกลัวได้ของปลอมมาและราคาก็แพงด้วย อาจารย์พอแนะนำที่ที่เขามีพระแท้ไม๊คะ อยากขอบูชาด้วยคนตามกำลังทรัพย์ค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูส่งเมล์เบอร์โทรให้อาจารย์ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ แต่ไม่ทราบว่าอาจารย์จะได้รับรึเปล่าเพราะไม่เห็นตอบกลับมา เบอร์หนู 089-665-7902 ค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ สวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง อายุมั่นขวัญยืน มีความสุขสมหวังทุกเรื่องค่ะ

อาจารย์ครับ ใช้อะไรตัดแบ่งพระนาดูนครับ


อาจาร์ครับ ผมเรียกตามเพื่อนๆในห้องนี้กันผมอ่าน ข้อตวามที่เขียนถึงพระกรุนาดู 1300 ปี อาจาร์ พูดถึงว่า ได้ศึกษาค้นหา ว่า เป็นพระแท้ที่ปลอมอยาก ตัวผมเอง ห้อยค้อ พระปรกนาดู เนื้อทองสำหริต ผมแปลกใจตรง

1.อายุพระบอกกัน 1300 ปี

2.สร้างสมัยขอม

3.ผมอยากถามว่า คนโบราณ ทำเครื่องปั้นดินเผา ช่วง สมัยไหน

4.ข่วงสมัยยุคขอม คนสมัยนั้น ทำแต่ทองสำหริต ใส่กัน ยกตัวอย่าง กำไรทองสำหริด คงไม่บ้ามานั้นปั้นดินเผากันนะครั

ลองไปทบทวนโบราณคดีใหม่นะครับ แล้วอาจจะเข้าใจอะไรมากขึ้นครับ

ช่วยดูให้ผมหน่อยครับ ผมได้มาจากคนแก่ที่นาดูนให้ผมมาครับผมอยากทราบว่าแท่หรือเก๊ ครับ อาจารย์

อาจารย์ครับขอถามหน่อยครับมีคนเอาพระนาคปรมาจำนำกับผมพระเป็นเนื้อดินแต่เหมือนคล้ายทรายเป็นรอยดำบางๆจับดูเหมือนหินเห็นแล้วเอาไปแช่น้ำไม่มีฟองอากาศเลย แท้ไหมอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท