ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ (1 ตุลาคม 2554)


ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงใหม่(1 ตุลาคม 2554)

ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือน

ในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนใน

สถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงใหม่

(1 ตุลาคม 2554)

ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509(2)/ว 9 ลงวันที่ 9 กันยายน 2554 เรื่อง ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ นั้น ได้แจ้งว่า ก.พ.อ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ได้มีมติกำหนดฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนเพื่อใช้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามผลการปฏิบัติราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

ศึกษารายละเอียด เรื่อง

ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือน

ในแต่ละประเภทและระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนใน

สถาบันอุดมศึกษาที่ปรับปรุงใหม่

ได้จากไฟล์ด้านล่างนี้...

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/759/592/original_klk1.pdf?1317026731

หมายเลขบันทึก: 462723เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขออนุญาตเรียนถามคุณบุศยมาศครับว่า เงินเดือนขั้นต่ำในการปรับเงินประจำตำแหน่งวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ 8 เป็น รศ 9 (เพื่อปรับเงินประจำตำแหน่งจาก 5600 เป็น 9900 บาท) ยังใช้ฐานเงินเดือนที่ 23230 บาท อยู่เหมือนเดิมหรือเปล่าครับ

ขอบคุณมากครับ

อ มนตรี

ตอบ...คุณมนตรี...

  • ใช่ค่ะ 23,230 บาท (เงินเดือนเก่า ก่อน 1 เมษายน 2554 นะคะ) ถ้าใหม่น่าจะเทียบอีก 5 % = 1,170 บาท คือ เท่ากับ 24,400 บาท ที่ใช้เป็นฐานเงินเดือนในการปรับเข้ารับเงินประจำตำแหน่งจาก 5,600 เป็น 9,900 บาท ค่ะ...

 

ขอบคุณมากครับ

ุถ้าเป็นเช่นนี้ แสดงว่าตั้งแต่ เมษายน 2554 เป็นต้นไป ถ้าเงินเดือนไม่ถึง 24400 บาท ก็ต้องรอไปให้ถึงก่อนที่จะปรับจากเงินประจำตำแหน่ง รศ 8 เป็น รศ 9 (ที่เงิน 9900 บาท) ผมเข้าใจถูกต้องนะครับ แล้วจะมีประกาศอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไรครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

มนตรี

ตอบ...คุณมนตรี...

  • ถ้าประกาศ น่าจะต้องที่ สกอ.แจ้งมาให้ทราบค่ะ แต่ถ้าไม่มีเราก็สามารถเทียบเองได้ เพราะฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือน ฯ แจ้งมาให้เราทราบและปฏิบัติแล้ว อยู่ที่ สกอ.จะแจ้งมาให้ปฏิบัติค่ะ ถ้าไม่ก็ถือว่าเราสามารถปรับเทียบได้ตามมติ ครม. 5 % ค่ะ เช่น 23,230 บาท X 5 % = 1,161.50 บาท ให้ปัด 1.50 บาท เป็น 10 บาท จึงเป็น 1,170 บาท (เป็นหลักของการคิดคำนวณเงินของกระทรวงการคลังค่ะ) แล้วนำไปบวกกับ 23,230 บาท จึงเท่ากับ  24,400 บาท ค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ พี่แก้ว...Ico24...

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ

มนตรี

ตอบ...คุณมนตรี...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

ตอบคุณกู้เกียรติ บุญมี

ให้คุณดูช่วงเงินเดือนนะคะ ถ้าเท่ากับหรือน้อยกว่า ๔๐,๓๘๐ บาท ให้นำฐานล่างมาคิดคูณกับ % ที่ได้ค่ะ แต่ถ้าเงินเดือนอยู่ในช่วง ๔๐,๓๙๐ - ๕๔,๐๙๐ บาท ให้นำฐานบนมาคิดคูณกับ % ค่ะ การจะคิดฐานบนฐานล่างต้องดูที่เงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นและมาเทียบกับช่องเทียบเงินเดือนด้วยค่ะว่าอยู่ที่เท่าใด...ถ้าคิดผิด กจ. ต้องคิดใหม่นะคะ เนื่องจากคิดผิด และกรมบัญชีกลางเขาจะทานสอบเราด้วย...ของพี่เจอไปแล้วค่ะ กจ.ต้องออกคำสั่งให้ถูกต้อง...ประเด็นนี้ไม่เท่าไหร่ ประเด็นที่จะมีปัญหา เราต้องเรียกข้าราชการผู้นั้นมาชี้แจงและมีการเรียนเงินคืนค่ะ ถ้าเข้าใจก็ดีไป แต่ถ้าไม่เข้าใจเป็นเรื่องนะคะ เพราะของ ม. พี่โดนไปแล้ว กจ. รับเต็ม ๆ เพราะเขาไม่ฟัง ไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น...ซึ่งในความเป็นจริง เมื่อคิดผิด กจ. ต้องคิดให้ถูกต้อง และต้องนำไปเข้าระบบโครงการจ่ายตรงเงินเดือนด้วยค่ะ มันโยงกันไปหมดไงค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท