อาจารย์โทนี่
อาจารย์โทนี่ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การพูดเพื่อขาย


การพูดเพื่อขายเป็นการพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เป็นการชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการซื้อสินค้า บริการ หรือชักชวนให้ผู้ฟังมาทำธุรกิจเครือข่าย ซึ่งผู้พูดต้องอาศัยการฝึกฝน ประสบการณ์ จากตำราและการทำงานขายภาคสนามจริงๆ สำหรับการพูดเพื่อขาย สิ่งที่ผู้พูดควรแสวงหา ควรเรียนรู้ เพื่อนำมาประกอบการพูดเพื่อขายคือ

การพูดเพื่อขาย

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                การพูดเพื่อขายเป็นการพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เป็นการชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการซื้อสินค้า บริการ หรือชักชวนให้ผู้ฟังมาทำธุรกิจเครือข่าย ซึ่งผู้พูดต้องอาศัยการฝึกฝน ประสบการณ์ จากตำราและการทำงานขายภาคสนามจริงๆ

                สำหรับการพูดเพื่อขาย สิ่งที่ผู้พูดควรแสวงหา ควรเรียนรู้ เพื่อนำมาประกอบการพูดเพื่อขายคือ

1.ข้อมูลต่างๆ ที่ผู้พูดควรรู้ เช่น

-                    รู้บริษัท กล่าวคือต้องรู้ประวัติของบริษัท รู้ระเบียบ กฎเกณฑ์ การแข่งขันภายในของบริษัท นโยบาย ตลอดจนผู้บริหารบริษัทโดยเฉพาะคนที่สำคัญๆของบริษัท

-                    รู้สินค้า ต้องรู้ประเภทของสินค้า มีกี่แบบกี่สี กี่รุ่น วิธีการใช้ การดูแลรักษา

-                    รู้บริษัทคู่แข่ง ต้องรู้ว่าสินค้าประเภทเดียวกันสินค้าของเราบริษัทไหนเป็นคู่แข่ง เขาขายสินค้าราคาเท่าไร ถูกหรือแพงกว่าสินค้าของเรา

-                    รู้เกี่ยวกับตัวของลูกค้า ต้องรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร ชอบสินค้าประเภทไหน รู้เพื่อจะปรับวิธีการพูดเพื่อนำเสนอขายได้อย่างเหมาะสมกับตัวลูกค้า

2.เทคนิค ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับการขาย  กล่าวคือ ผู้พูดต้องศึกษา เรียนรู้ เทคนิคการขาย จากการอ่าน การอบรม การ

สัมมนาหรือสอบถามจากนักขายรุ่นพี่ การรู้จักเทคนิคการขาย จะทำให้ผู้พูดรู้จัก จังหวะในการพูด ว่าควรจะพูดอย่างไรเมื่อไร เช่น ขั้นตอนการขายมีอยู่ 4 ขั้น

คือ 1.ขั้นเปิดใจ 2.ขั้นถามปัญหา 3.ขั้นแก้ปัญหา 4.ขั้นปิดการขาย ฉะนั้น เมื่อเราทราบว่าขั้นตอนการขายมีอยู่ 4 ขั้น เราจะใช้คำพูดแต่ละขั้นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

ขั้นที่ 1 เปิดใจ เราควรพูดถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวของสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ เป็นการพูดในเรื่องที่ผู้ฟังเกิดความสนใจ เรื่องที่ผู้ฟังเกิดความภาคภูมิใจ เรื่องที่ผู้ฟังอยากฟัง

ขั้นที่ 2 ขั้นถามปัญหา เป็นขั้นตอนที่ผู้พูดตั้งคำถามหรือถามปัญหาของลูกค้าเพื่อที่จะได้นำเอาสินค้าและบริการของเราไปช่วยแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3  ขั้นแก้ปัญหา กล่าวคือผู้พูดต้องพูดนำเสนอสินค้าและบริการของเรา เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาให้แก่

ผู้ฟังหรือลูกค้า

และขั้นที่ 4 ขั้นปิดการขาย เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในการพูดเพื่อขาย ผู้พูดจะต้องพูดจูงใจให้ผู้ฟังตัดสินใจซื้อ

สินค้าและบริการ

                3.การพูดสาธิตสินค้า เป็นการพูดที่ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อ สินค้าตัวอย่าง ประกอบ ควรพูดให้มีการลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ควรพูดให้ผู้ฟังทราบถึงผลประโยชน์ของสินค้า หากต้องการเป็นมืออาชีพ ช่วงขั้นตอนในการสาธิตควรแนะนำชื่อผู้พูดสาธิต ทีมงาน แนะนำขั้นตอนเวลาใช้สินค้า  เน้นย้ำประโยชน์ของสินค้า ความแตกต่างระหว่างสินค้าอื่นๆกับสินค้าของผู้พูด อีกทั้งควรพูดตอบคำถามอย่างมั่นใจ

                การพูดเพื่อขาย ยังคงต้องคำนึงถึงสถานการณ์ ลักษณะของธุรกิจ เช่นการพูดเพื่อขายในธุรกิจเครือข่าย ยังต้องมีการพูดเพื่อขายธุรกิจ(ชักชวนคนมาร่วมทำธุรกิจเครือข่าย) , การพูดหน้าเวทีเพื่อสาธิตสินค้า , การพูดนำเสนอแผนการตลาด , การพูดคุยกับลูกทีมกับแม่ทีม , การพูดขายทางโทรศัพท์ ฯลฯ

                อย่างไรก็ตาม การพูดเพื่องานขายมีความสำคัญอย่างมาก ผู้ที่ต้องการเป็นนักขายจึงต้องควรฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ เกิดประสบการณ์ เกิดทักษะ และจะทำให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในการพูด ไม่ประหม่า ไม่ตื่นเต้น บางคนฝึกฝนมาน้อยหรือนักขายหน้าใหม่  เมื่อพูดนำเสนอขายก็จะพูดวกไปวนมา จนผู้ฟังเกิดความสับสน น้ำเสียงในการพูดก็สั่นเครือ อีกทั้งการพูดเพื่อขายจะต้องใช้ความอดทน ความสุภาพ ความอ่อนน้อม และต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นักขาย
หมายเลขบันทึก: 462719เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท