ทิศทางการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 12


แชร์ ประสบการณ์

แชร์..........ประสบการณ์

  เมื่อวันเสาร์ ที่ 17  กันยายน   2554  สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบ.มท.) สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดเสวนา "เหลียวหน้าแลหลังมัธยมศึกษา" ช่วงที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ช่วงเปิดเวที ให้อดีตผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการปัจจุบัน ได้แสดงความคิดเห็น  บางคนที่ไม่เคยเห็นวิธิการของชาวมัธยมศึกษา อาจจะทำใจไม่ได้เพราะผู้อำนวยการที่มากประสบการณ์ ได้ถ่ายทอดให้เจ้าหน้าที่ สพม.12 ที่ย้ายมาจากสารทิศ ซึ่งมีประสบการณ์เรียนรู้องค์ที่แตกต่างกันได้เห็นถึงวัฒนธรรมของอดีตองค์กรสามัญศึกษา(สศจ.)  เท่าที่รับฟังได้พอประมวลได้ว่าหากรวบรวมเอาประสบการณ์ ข้อเสนอแนะของท่านต่างๆ ที่เสนอแนะในวันนั้น มาหลอมกับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว  ถือว่า เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับ สพม. 12 

    ในวันนั้นเท่าที่รับฟังผู้อำนวยการโรงเรียนส่วนใหญ่ จะชี้แนะถึงการบริหารองค์ สพม. 12 ให้มีคุณภาพ และประทับใจผู้รับบริการได้แก่ชาวโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งหลายที่คาดหมายหวังเอาไว้ ว่า เมื่อเป็นเขตพื้นที่มัธยมศึกษาแล้ว วัฒนธรรม แนวทางการทำงาน จะเป็นเช่นคราวก่อน แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า  เมื่อเป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาต้องใช้เวลาในการปรับตัวกันก่อน  เพราะนับแต่ พศ. 2542  เป็นต้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์กรก็เปลี่ยนแปลงไป บุคลากรของแต่ละหน่วยงานต้องปรับตัว เปลี่ยนสีไป ตามสภาพ ตามผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับ

     วันนั้นหากให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด ผู้ที่ควรรับฟังความคิดเห็นให้มากที่สุดได้แก่

     1. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12และรองผู้อำนวยการฯทุกคน

     2.  ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่มงาน ในสำนักงาน สพม.

     3.  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของด้านการเงิน เพราะที่ผิดพลาดมากที่สุดคือ การบริหารจัดการด้านการเงิน เช่น โอนเงินเดือนให้ครู ผิดแล้วผิดอีก ผิดซ้ำผิดซาก จนชาวโรงเรียนเบื่อหน่าย ไม่มีความมั่นในตัวเจ้าหน้าที่

       เท่าที่พูดคุยสนทนากัน ความคาดหวังของชาวมัธยมศึกษาต้องการ

          1. สพม. 12 เป็นหน่วยงานบริการ ไม่ใช่บังคับบัญชา

          2. การบริหารสพม. 12 ต้องมีทิศทางเดียวกัน (ขณะนี้เรายังขาดผู้นำที่แท้จริงคือ ผอ.สพม.12)  แต่การนำพา สพม. ของ รอง ผอ.สพม 12 อยู่ในฐานะ 3 คน 3 ทิศทาง ทำให้ สพม. 12  อ่อนแอ แต่โรงเรียนมีความเข้มแข็ง

          3. ต้องการให้สพม. 12 เข้มแข็ง จัดระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ เช่น การออกระเบียบของ สพม. 12 ว่าด้วย การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาหรือ ว่าด้วยการรักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน ตามกฎกระทรวงศึกษาธิการที่ สพมต้องปฏิบัติ

          4. ต้องการให้สพม. ขับเคลื่อนอนุกรรมการทั้ง 3 คณะ ไม่ใช่ทำงานแต่    อก.คศ. เพียงคณะเดียว 

            หากสิ่งที่กล่าวนี้ไม่ถูกต้อง หรือไม่ควรอย่างไร ต้องขออภัยไว้ด้วย หากเป็นสิ่งที่เป็นประโยขน์ต่อ สพม.บ้าง

 

 

หมายเลขบันทึก: 462145เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2011 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท