ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


ส่วนสำคัญของการ refer ว่างานวิจัยของเราจะสามารถนำไปใช้ได้ กลุ่มตัวอย่างจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

   ประชากร

    หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ขอบเขตของการศึกษาซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของ ซึ่งกลุ่มแต่ละหน่วยมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติบางประการร่วมกันตามที่ผู้วิจัยต้องการที่จะศึกษา หรือเรียกว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของนักวิจัย ในการวิจัยในบางครั้งกลุ่มเป้าหมายก็มีจำนวนไม่มากนัก ผู้วิจัยก็สามารถเก็บข้อมูลจากประชากรได้เลย  

     ตัวอย่างประชากร เช่น  การสำรวจการเข้าห้องสมุดของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประชากร คือ นักเรียนในโรงเรียนแห่งนั้นทุกคนในช่วงระยะเวลาที่ศึกษา 

ประเภทของประชากร

1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด ( Finite population) ประชากรที่สามารถนับจำนวนได้ครบถ้วน 

2. ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด (Infinite population)ประชากรที่ไม่สามารถนับจำนวนได้ เช่น จำนวนปลาในเขื่อน  จำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกาย  นอกจากนี้ยังรวมถึงประชากรที่มีไม่สามารถทราบที่อยู่หรือหลักแหล่งที่แน่นอน  เช่น  จำนวนผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย 

กลุ่มตัวอย่าง

คือ  ส่วนหนึ่งของประชากร อาจได้มาโดยการสุ่ม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีคุณลักษณะเหมือนกันกับประชากรทุกอย่าง นั่นคือ ต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร แต่มีขนาดเล็กกว่า 

การสุ่มตัวอย่าง (Sample)

  1. กำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมาย

  2. บันทึกรวบรวมจำนวน และรายชื่อของสมาชิกทั้งหมดในประชากร

  3.สุ่มตัวอย่างจากรายชื่อทั้งหมดของประชากร

  (จำนวนที่สุ่มนั้น นักวิจัยอาจกำหนดเองตามความเหมาะสม หรือเปิดจากตารางสถิติ และใช้สูตรก็ได้)

กลุ่มตัวอย่างที่ดี

  ต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มได้  คือ มีคุณลักษณะของประชากรครบถ้วน มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด การได้มาของกลุ่มตัวอย่างต้องใช้ เงินและเวลาน้อย มีขนาดกลุ่มตัวอย่างพอเหมาะ มีความเชื่อถือได้ และมีความคล่องตัว

 

 

หมายเลขบันทึก: 462142เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2011 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท