การจัดการเรียนรู้เด็กพิเศษเรียนร่วม ด้านบกพร่องการเรียนรู้ (LD)สู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียนบ้านวังปึ้ง


เด็กพิเศษเรียนร่วม,บกพร่องการเรียนรู้ (LD)

การจัดการเรียนรู้เด็กพิเศษเรียนร่วม ด้านบกพร่องการเรียนรู้ (LD) สู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียนบ้านวังปึ้ง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ สำหรับนักเรียนพิเศษเรียนร่วมด้านบกพร่องการเรียนรู้ (LD) โรงเรียนบ้านวังปึ้ง จำนวน 33 คน โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการพัฒนาดำเนินการ 1) วางแผน(Plan) ศึกษาสำรวจสภาพปัญหานักเรียนโดยการคัดกรองผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2)ดำเนินการ(Do) การคัดกรองนักเรียนโดยใช้แบบ Kus-si เด็กพิเศษบกพร่องการเรียนรู้(LD)ให้ได้รับบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษาพัฒนาความรู้ความสามารถพิเศษของเด็กสู่ความเป็นเลิศ โดยการฝึกฝน(Trainning) ตามกิจกรรมโปรแกรมการเรียนรู้รายบุคคล (IEP)และแผนพัฒนารายบุคคล(IIP) และกิจกรรมพัฒนาทักษะเฉพาะด้านสู่การเข้าร่วมการแข่งขัน (Coaching)ในการแสดงความสามารถ ในด้านต่างๆโดยผ่านการประเมินผลในระดับโรงเรียน 3) การตรวจ ประเมิน(Check)นำผลประเมินรายบุคคลเทียบเกณฑ์การแข่งขันเพื่อส่งต่อในเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายการศึกษา และกิจกรรมการแข่งขันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 1 เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ และงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับประเทศ 4) การนำผลมาพัฒนา(Act)โดยรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ นำไปใช้พัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วมสู่ความเป็นเลิศในปีต่อไป

ผลการดำเนินการพบว่า

1. นักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องการเรียนรู้ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ  อารมณ์  สังคม  และช่วยเหลือตนเองได้ร้อยละ 100

2. นักเรียนที่มีความบกพร่องการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามความถนัดของตนเองสูงสุด ทุกๆคนคือ

2.1.  ด้านการร้องเพลง

2.2.  ด้านการอ่าน (อ่านออกเสียง และ อ่านจับใจความ)

2.3.  ด้านการเขียนและการคัดลายมือ

2.4.  ด้านการวาดภาพระบายสี

2.5.  ด้านการประดิษฐ์ ของเล่นและของใช้ 

2.6.  ด้านการจัดสวนถาดแบบชื้นและแบบแห้ง

3. ครูสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคลและสามารถพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดร้อยละ 100

4. ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินการจัดการเรียนรู้เด็กพิเศษเรียนร่วม ด้านบกพร่องการเรียนรู้ (LD)  สู่ความเป็นเลิศ ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 96)

หมายเลขบันทึก: 461755เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นวิธีการที่ดีน่าจะนำไปใช้กับเด็กพิเศษเรียนร่วมในโรงเรียนอื่นต่อไป

สุดยอด ที่ช่วยเหลือเด็กพิเศษ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท