นวัตกรรมการสอนแบบCIPPA MODLE โดยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป


นวัตกรรมการสอน
 Best Practice  
                                                                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
                                        การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model) 
1.    ข้อมูลทั่วไป
       1.1  ชื่อเรื่องผลงานที่เป็นเลิศ
          การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา  โรงเรียนวัดกาญจนาราม (ประชาชนูทิศ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 1
       1.2  เจ้าของผลงาน     นางจรัสศรี  เวียงทอง
       1.3  ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้   โรงเรียนวัดกาญจนาราม  เลขที่  101  หมู่ 6   ตำบลกาญจนา  อำเภอเมือง           
              จังหวัดแพร่
        1.4  สภาพโดยทั่วไป
               ในปีการศึกษา  2553 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวนหนึ่งที่ยังขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และขาดนิสัยรักการอ่าน ต้องการ ดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ  วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความตั้งใจเอาใจใส่อย่างจริงจัง  ทบทวนสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมกับผู้อื่น  จึงทำให้มีนักเรียนบางคนที่ไม่ค่อยมีความตั้งใจอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเรียน  ไม่ศึกษาทบทวนความรู้หลังจากที่เรียนไปแล้ว  ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้บางจุดประสงค์  ผู้สอนจึงได้พยายามคิดจัดทำนวัตกรรม  “ บทเรียนสำเร็จรูป  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model) ”    เพื่อช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนทั้งกลุ่มที่มีปัญหาและกลุ่มที่ต้องการทบทวนความรู้เพื่อพัฒนาตนเองพยายามศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจ ในเรื่องที่ตนยังมีความบกพร่องอยู่หรือต้องการทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาเรื่องใดก็ศึกษาเฉพาะเรื่องนั้นด้วยตนเอง  แล้วจึงตรวจสอบผลการศึกษากับครูผู้สอนอีกครั้งหนึ่ง
     1.5  ปัญหาที่พบ
           1)  นักเรียนขาดนิสัยรักการอ่าน
           2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
           3) นักเรียนขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
           4) นักเรียนขาดความเข้าใจที่คงทน
     1.6  จุดประสงค์
           1)  เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
           2)  เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
           3) เพื่อให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
           4) เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คงทน
2.  วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  “ บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ”   
     2.1  ขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นเลิศ
            2.1.1   วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการพัฒนา
            2.1.2   วางแผนในการแก้ปัญหา
            2.1.3   จัดทำนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนา
            2.1.4   ใช้นวัตกรรมที่จัดทำเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา  โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้แก่นักเรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก (CIPPA) นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบรูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
                ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
                                ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆได้อย่างหลากหลาย
                ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
                                ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
                ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
                                ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆด้วนตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
                ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
                                ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมกันๆ
               ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
                                ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนเป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
                ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และการแสดงผลงาน
                                หากข้อความที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้เป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ปฏิบัติด้วย
                ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
                                ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
                                หลังจากการประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
                                ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา และทางสังคม อย่างเหมาะสมอันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPA
                                 ขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้  จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA
            2.1.5    เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
            2.1.6    สรุปรายงานผลการแก้ปัญหาและพัฒนา             
  2.2  นวัตกรรมที่เป็นเลิศ   Best  Practice
                         นวัตกรรมที่เป็นเลิศ  คือ  “ บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ”   ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  และตรวจคำตอบได้
3.  ปัจจัยเกื้อหนุนหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ / ความภาคภูมิใจและบทเรียนที่ได้รับ
       3. 1 ปัจจัยเกื้อหนุนหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ

              1)  การนำองค์กร
                    นายพีรวิชญ์  สิริปัญญาแสง  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกาญจนาราม(ประชาชนูทิศ)  กระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในโรงเรียนไปในทิศทางที่จะพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  ส่งเสริมให้บครูเข้ารับการอบรมสัมมนาเติมเต็มความรู้ในทุกเรื่องที่จำเป็นในการทำหน้าที่ครูที่ดี  มีความรู้ความสามารถ  ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และนิเทศติดตามให้ครูทำตามแผนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
               2)  การมีส่วนร่วมของบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการแสดงความคิดเห็น  ให้คำแนะนำ  ให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดทำนวัตกรรม
               3)  การมีส่วนร่วมของคณะครู   ได้แนะนำการจัดทำนวัตกรรมที่ต้องใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
         3.2  ความภาคภูมิใจและบทเรียนที่ได้รับ
                1)  ความภาคภูมิใจและบทเรียนที่ได้รับ
                  ทำให้สามารถแก้ปัญหานักเรียน ได้ในระดับที่น่าพอใจ   ได้รับทราบความรู้สึกของผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ในการใช้บทเรียนสำเร็จรูป
                  2)  ปัญหาและอุปสรรค
                        ในการจัดทำนวัตกรรมต้องใช้เวลามากพอสมควร
4.  ผลการดำเนินงาน
                1)  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น
                2)  นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ สามารถ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
                3)  นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบหนังสือวิทยาศาสตร์ เล่มเล็กได้
                4)  นักเรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน จากการจัดกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
                5)  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
 
 
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 461751เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท