พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

ธรรมชาติจากหิ่งห้อย


แสงสว่างในตัวหิ่งห้อยนั้นเกิดจาก สารลูซิเฟอริน (Luciferin) ไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีสารอีกตัวหนึ่งคือลูซิเฟอเรส(Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งเราสามารถจับดูได้ และปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจากแสงเทียนไขธรรมดา แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด หิ่งห้อยจะใช้แสงของมันในการล่อเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช่แสงล่อเหยื่อของมัน

แสงของหิ่งห้อยนั้น มีระดับแสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ และมีลักษณะเป็นแสงเย็น ซึ่งมีพลังงานคามร้อนเกิดขึ้นเพียง 10% จึงต่างจากหลอดไฟทั่วไปที่ปล่อยพลังงานความร้อนออกมาถึง 95 % หิ่งห้อยจะมีการกะพริบแสงแต่ละรอบในทุก ๆ 24 ชั่วโมงเหมือนมันมีนาฬิกาใจในตัว เพราะเวลาที่เรานำหิ่งห้อยมาขังไว้ในห้องมืดที่ไม่มีแสงเลยก็จะเห็นว่าในทุก ๆ 24 ชั่วโมงมันจะกะพริบแสง ทั้ง ๆ ที่มันไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นเวลาอะไร

จากหนังสือเคมี  ม.4  ห้าง อจท.

หมายเลขบันทึก: 461744เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท