ถอดบทเรียน การอบรมการจัดการความปวด ตอนที่ 1


หัวใจการดูแลผู้ป่วยที่มีความปวด คือการประเมิน พยาบาลจะต้องประเมินให้ได้ ใช้เครื่องมือเป็น

12-13 กันยายน 2554 งานบริการพยาบาลโดยคุณพี่ศิริพร ถาวรมงคลชัย รองหัวหน้างานบริการ ฝ่ายคลีนิคบริการ ได้จัดอบรม พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการความปวด โดยได้เชิญท่านผอ. โรงพยาบาลมาเปิดงาน อาจรย์บอกว่าครั้งที่ไปทำงานเป็นกุมารแพทย์ที่ต่างประเทศ เด็กที่มา OPD จะไม่กลังการเจะเลือดเลย พยาบาลจะแปะยาชา ถึงเวลาที่ยาออกฤทธิ์ เด็กก็จะโดนเจาะเลือดแม่เจ็บ เลยไม่กลัวการมาหาหมอ...ความปวดเป็นเรื่องที่หมอ พยาบาลต้องจัดการให้ผู้ป่วยสุขสบาย พึงพอใจ และถูกบรรจุไว้ในแผนกลยุทธของ รพ. ไม่งั้นจะไม่ผ่านระดับสากล...

วันแรกของการอบรม...คุณศจีมาศ ก็มาพูดถึง การประเมิน pain และบันทีกเป็น 5 vital sing ซึ่งก็เป็นความภูมใจของเรา...

และหัวหน้าท่านอื่นๆก็มาพูดถึง ความปวดในหน่วยงาน เช่นพี่เผ่าทิพย์ ได้นำเสนอความปวดในผู้ผ่วยที่ได้รับการฉายรังสี แผลไหม้ รอยไหม้ดำๆไม่ต้องแกะออกเพราะจะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้

พี่บุปผาก็มานำเสนอการใช้เครื่องมือประเมิน ความปวดในผู้ป่วยที่ หมดสติ ซึ่งเป็นการนำเสนอที่ยอดเยี่ยม เห็นการค้นข้อมูล การหาความเที่ยงของเครื่องมือ ทำให้ฉันอยากเรียนต่อนะ

ที่ประทับใจสุดๆก็พี่นาง พูดได้จากจิตวิญญาณ...การปวดในมะเร็งสตรี นอกจากปวดกายแล้ว มันปวดจี๊ดๆที่ใจ...ผัวไปมีเมียใหม่..อาการปวดทุกข์ทรมานมาก ท้องโต ปวดแน่นอึดอัด ปวดช่องท้อง คนไข้

พี่เขาพูดได้เห็นภาพ...มาก...และยังดูแลครบวงจร...เน้นการวางแผนจำหน่ายถ้าปวดต้องมียาให้...ถ้ามีพยาบาลดีๆอย่างนี้ คนไข้ไม่ต้องไปทุกข์ทรมาน เจ็บปวดตามลำพัง...พี่พูดได้สนุก มีการสอดแทรกภาษาอีสานที่ deep

ผู้ฟังหัวเราะสนุกสนาน มีส่วนร่วม มีคนฝากบอกว่า ประทับใจการพูดของพี่มาก

สรุป ความปวดต้องใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เริ่มตั้งแต่ การประเมิน ซึ่งเป็นหัวใจของการดูแล

พยาบาลจะต้องตระหนักใส่ใจ ใช้เครื่องมือเป็น ให้การดูแลซึ่งมีทั้งการลดแบบไม่ใช้ยา และใช้ยา

หลังให้ยาต้องติดตามการประเมินผล ให้ยาแล้วดีขึ้นไหม...มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ที่สำคัญต้องดู ประเมิน sedative score คะแนนมากกว่า 2 ต้องรายงานแพทย์

 

หมายเลขบันทึก: 460543เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวังและคาดว่า รพ. เรามีการจัดการความปวดที่เป็นเลิศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท