หลักเกณฑ์ว่าด้วยการได้มาและเสียไปซึ่งสัญชาติ : ศึกษากรณีเด็กหญิงปิยนุช อากาเป


หลักเกณฑ์ว่าด้วยการได้มาและเสียไปซึ่งสัญชาติ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในอันที่จะได้มาซึ่งสัญชาติและการเสียสัญชาติ :ศึกษากรณีเด็กหญิงปิยนุช อากาเป จากข้อเท็จจริงนั้น เป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่าสัญชาตินั้น ก่อให้เกิดทั้งสิทธิและหน้าที่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการที่จะได้รับจากรัฐที่เป็นเจ้าของสัญชาติของบุคคลนั้นๆ และรวมถึงสิทธิที่บุคคลคนนั้นสามารถที่จะใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการศึกษา การที่จะสามารถสมัครเข้าทำงานตามที่ตนได้เรียนมา แต่ในทางตรงกันข้าม หากว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ไม่มีสัญชาติในประเทศที่ตนเองได้เกิดมา บุคคลนั้นก็จะไม่ได้รับสิทธิตามที่กล่าวมาข้างตน ซึ่งการเสียสิทธิดังกล่าวไปนั้น จะนำมาซึ่งปัญหาต่อบุคคลลนั้นเป็นอย่างมาก ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับด็กหญิงปิยนุช อากาเป โดยสาเหตุแห่งการที่เด็กหญิงผู้นี้เป็นผู้ที่ไม่ได้สัญชาติในประเทศที่ตนเองได้เกิดและใช้ชีวิต ก็ไม่ได้เกิดจากการที่เด็กหญิงผู้นี้กระทำความผิดแต่อย่าใด แต่สาเหตุนั้นเกิดจากบิดามารดาของเด็กหญิงต่างหาก กล่าวคือบิดามารดาของเด็กหญิงปิยนุชนั้นเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย คือเข้าเมืองมาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ “ คนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือ การอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” อันเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการเข้าเมืองของบิดามารดาเด็กหญิงปิยนุชนั้น เป็นการกระทำที่ไมชอบด้วยกฎหมายและการกระทำดังกล่าวมีบทกำหนดโทษสำหรับการกระทำดังกล่าวด้วย เราสามารถที่จะมองในอีกมุมหนึ่งว่าแม้ว่าบุคคลนั้นจะมิได้เป็นบุคคลที่ได้เกิดมาในประเทศไทย (ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้ สามารถที่จะได้สัญชาติโดยหลักการเกิดนั่นเอง) บุคคลดังกล่าวก็สามารถที่จะมีสัญชาติไทยได้อีกหลักการหนึ่ง ซึ่งเราเรียกการได้มาซึ่งสัญชาติดังกล่าวว่า การได้มาซึ่งสัญชาติโดยอาศัยหลักดินแดน แต่การจะได้สัญชาติโดยอาศัยหลักดังกล่าวนั้น การอาศัยอยู่ในดินแดนของบุคคลนั้นๆ ต้องเป็นการอยู่ในดินแดนของรัฐนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายประกอบกันด้วย โดยในส่วนของหลักการดังกล่าวนี้ ปรากฎอยู่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ 2508 โดยจะกล่าวในส่วนที่เป็นเนื้อหาแห่งบทความนี้ คือ มาตรา7บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักรไทย (2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยยกเว้นบุคคลตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง [ มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535] กล่าวคือ ในกรณีของเด็กหญิงปิยนุชนั้น ไม่สามารถเข้าหลักเกณฑ์ตาม (1) เพราะข้อเท็จจริงนั้น บิดามารดาของเด็กหญิงเป็นชาวพม่า ดังนั้นการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดตาม (1) ย่อมไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ จึงพิจารณาตาม (2) ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่าจะเข้าข้อยกเว้นตามาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่งหรือไม่ ซึ่งมาตรา7 ทวิ นั้นเป็นข้อยกเว้นของการได้รับสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็น คนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือ บิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น (1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะราย (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งเมื่อพิจารณโดยนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงแล้ว จะมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.บิดามารดาของเด็กหญิงปิยนุช เป็นชาวต่างด้าว 2.การเข้าเมืองของบิดามารดาเด็กหญิงปิยนุชนั้น เป็นการเข้ามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือเป็นการเข้าเมืองที่ขัดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ 2522 ( มาตรา 81) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น 3.ไม่ปรากฎในข้อเท็จจริงว่าบิดามาดาของเด็กหญิงปิยนุช เป็นบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะรายแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว จึงเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิงปิยนุชนั้น ไม่สามารถที่จะเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติทั้งในหลักของการเกิดและหลักดินแดน แม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงว่าเด็กหญิงปิยนุชนั้นอยู่เมืองไทยมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ซึ่งการที่เด็กหญิงปิยนุชไม่ได้รับสัญชาตินั้น จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนเสียหายเป็นอย่างมาก เช่น ทำให้เด็กหญิงปิยนุช -ไม่มีสถานภาพบุคคลตามกฎหมายไทย -ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน -กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ ,ไร้สัญชาติ ทำให้ไม่มีหลักฐานการเกิด กลายเป็นบุคคลไร้รากเหง้า -ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆ ซึ่งนั่นก็รวมถึงสิทธิในการเข้าทำงานด้วยนั่นเอง -ส่งผลต่อการขาดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แนวทางในการที่จะเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายที่เด็กหญิงปิยนุชได้รับ ในกรณีที่กลายเป็นคนไร้รากเหง้าก็คือการจัดให้มียุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติครม. เมื่อ 18 มกราคม 2548 อันเป็นการแก้ปัญหาในกรณีที่มีบุคคลที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมแต่ตกสำรวจจากทางราชการและกลุ่มที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจและความไม่ปลอดภัยในชีวิต โดยบางส่วนไม่สามารถส่งกลับประเทศต้นทางได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่บิดามารดาของเด็กหญิงปิยนุชได้หลบหนีเข้ามาในเมืองไทยก็เป็นได้ เพราะโดยหลักแล้วมนุษย์นั้นเป็นผู้ที่รักถิ่นฐานของตนเองเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะหลบหนีจากถิ่นฐานของตนเองนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด และเมื่อพิจารณาจากตัวเด็กหญิงปิยนุชเองด้วยแล้ว ก็อาจจะเข้าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องที่จะได้สัญชาติได้ เนื่องจากว่าเด็กหญิงปิยนุชนั้น ได้ศึกษาอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ประกอบกับยังไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าได้ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศที่จะพิจารณาให้สญชาติแต่อย่างใด แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การที่รัฐจะให้บุคคลใดเป็นผู้ที่มีสัญชาติของรัฐตนได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบและพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เกิดประสิทธิผลแก่ประเทศที่รับรองสัญชาติของบุคคลนั้นอย่างยิ่งยวดนั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 46054เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท