comment โครงการศึกษาวิจัยกรณีเด็กหญิงปิยนุช อากาเป


ประเทศไทยควรที่จะสร้างกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล

                        จากที่ข้าพเจ้าได้ทำการศึกษาโครงการศึกษาวิจัยเพื่อสำรวจสถานการณ์และศึกษาความเป็นไปได้  ในการขจัดปัญหาการจดทะเบียนการเกิด และปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ  จะเห็นได้ว่าจากข้อเท็จจริงดังกล่าว  เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยแล้ว  เด็กหญิงปิยนุช  ไม่อาจมีสัญชาติไทยได้    และเมื่อพิจารณาจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี  กรณีดังกล่าวนั้นนั้นอยู่ภายใต้ ข้อ 7 ของอนุสัญญา ฯ คือ เรื่องการจดทะเบียนเกิด และการให้สัญชาติเด็กผู้ลี้ภัย หรือผู้อพยพที่เกิดในประเทศไทย และข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ  คือ เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย  ซึ่งทั้ง 2 ข้อดังกล่าว  ประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนไว้  และเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงในกรณีของเด็กหญิงปิยนุชนั้น  มิได้มีเด็กหญิงปิยนุชเพียงกรณีเดียวที่ประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าว  แต่ยังมีอีกหลายๆบุคคลที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับเด็กหญิงปิยนุชในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คณะนักวิจัยได้ดำเนินโครงการอยู่นั้น            

                        จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ประเทศไทยควรที่จะสร้างกฎเกณฑ์เพื่อแก้ปัญหาในดังกล่าว  เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล  ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 มกราคม  2548  โดยอาจจะออกกฎเกณฑ์ในรูปของกฎหมายหรือระเบียบขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว  ตัวอย่างเช่น  การจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่ตกอยู่ในสถานะดังกล่าว  และเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วก็อาจจะพิจารณาถึงคุณสมบัติของเด็ก ณ เวลาดังกล่าวว่า  ผลการเรียน   ความประพฤติของเด็กคนดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง  และพิจารณาถึงการให้สัญชาติไทยแก่เด็กคนดังกล่าวต่อไป  โดยอาจจะใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการให้สัญชาติ  ว่าเป็นบุคคลที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในเวลาต่อไปได้  หรืออาจจะเป็นกรณีที่หาผู้อุปการะให้กับเด็ก  เพื่อที่จะให้เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูตามที่ควรจะได้   และเมื่อได้มีการศึกษาครบตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หรือมีอายุครบตามเกณฑ์ที่กฎหมายได้วางไว้  ก็ให้เด็กได้กลับประเทศที่ตนมีสัญชาติอยู่  หรืออาจจะพิจารณาให้สัญชาติเด็กต่อไปในกรณีที่เด็กได้มีการร้องขอ 

                       ไม่ว่าจะเป็นกรณีอย่างไรก็ตาม  ในระหว่างที่เด็กอยู่ในระหว่าการศึกษานั้น  ทางรัฐบาลควรที่จะทำความร่วมมือเพื่อพิสูจน์สัญชาติที่แท้จริงของเด็กผู้นั้น  โดยวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงตามที่ได้ทราบมา เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเมื่อเด็กได้มีอายุครบตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้กลับประเทศหรือเมื่อเด็กมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเลือกได้ว่าจะอยู่ในประเทศไทยต่อไปหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 46047เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท