ข้าวหอมไชยา ยังหอมทั่วทุ่งที่เมืองคนดีสุราษฎร์ธานี


อนุรักษ์และฟื้นฟูข้าวหอมไชยา

ข้าวหอมไชยา

ชื่อพันธุ์ข้าว : หอมไชยา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza Sativa L.

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ชนิด : ข้าวเจ้า

สมาชิกในกลุ่มมี 24 คน

บุคคลผู้ให้ข้อมูลข้าวหอมไชยาเบื้องต้น

1. นายลิขิต                     โทร. 089 - 3905030

2. นายภิรมย์  จันทร์คง       โทร. 077 - 228339

3. นายประสงค์                โทร. 081 - 7876490

4. นายสง่า  มณีรัตน์          โทร. 084 – 8466535

ประวัติและที่มา

ข้าวหอมไชยาเป็นชื่อพันธุ์ข้าวที่มีแหล่งปลูกในท้องทุ่งไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นข้าวพื้นเมืองที่มีมาแต่ดั้งเดิม  มีหลักฐานอ้างอิงได้ว่าพันธ์ข้าวชื่อหอมไชยามีมานานแล้ว  จากรายงานของสถานีข้าวควนกุฎ(ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง  ปัจจุบัน  บันทึกว่า  ปี  พ.ศ.  ๒๔๙๖  ได้ปลูกข้าวขยายพันธุ์และแปลงทดลอง  โดยใช้ข้าวหอมไชยาในทั้ง  ๒   แปลง     ข้าวหอมไชยาเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงมาก่อนในท้องทุ่งไชยา  ที่มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำท่าจากคลองไชยาไหลผ่าน ชาวบ้านเรียกติดปากว่าข้าวหอมไชยา  มีการเล่าขานกันว่า “ เมื่อข้าวออกรวงมีกล่นหอมไปทั่วทุ่ง  เวลาหุง  หอมไปทั่วบ้าน” 

เมื่อก่อนชาวบ้านเรียกข้าวหอมห้วง (หอมไชยา) ข้าวหอมไชยา (ข้าวเบา) ข้าวกันตรัง (ข้าวหล้า)

ทำนา 2 ครั้ง / ปี และคัดพันธุ์แท้ไว้กินในครัวเรือน

ลักษณะข้าวหอมไชยา

-          รวงยาวกว่าใบ ต้นใหญ่สูง 1.5 เมตร

-          เมล็ดใหญ่เมื่อสุกมีสีเหลือง

-          หอมตั้งแต่ออกดอก หอมทั่วทุ่ง เวลาหุงหอมทั่วบ้าน

-          หุงไม่ขึ้นหม้อ เนื้อนิ่ม เหนียว

 

 

ฤดูปลูก

ข้าวหล้า (กันตรัง) ปลูก มิ.ย.  เก็บ ส.ค.

พื้นที่ปลูก

-          ใช้ขี้ค้างคาวจุ่มต้นกล้า(ราก)ก่อนปลูก

-          ใช้เมล็ดหว่านเพื่อปลูก

หมายเหตุ  เริ่มปลูกนาดำแล้วเปลี่ยนเป็นนาโยน

ผลผลิต

1 ไร่ ได้ 50 ถังหรือ 500 กิโลกรัม

ราคา

1 กิโลกรัม เท่ากับ 12 บาท 

วิธีหาพันธุ์แท้

-          ขอจากธนาคารข้าว จังหวัดปทุมธานี

-          ขอพันธุ์ปรับปรุงในพื้นที่

คำขวัญเมืองไชยา

“อันเมืองไชยา   ใครไปใครมา   ข้าวปลาไม่อด  

อารีอารอบ   ไม่ชอบถือยศ    เป็นที่ปรากฏ    แต่ไหนแต่ไรมา”

  ปี  ๒๕๕๔  ได้ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมไชยา รวมกลุ่มและจัดทำระบบจัดการคุณภาพข้าว ประเภทข้าวเพื่อแปรรูป  เน้นให้มีการผลิตข้าวหอมไชยาที่มีคุณภาพปลอดภัยกับผู้บริโภค ปลอดภัยจากสารพิษ  เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ  ๑๘   ราย  จากตำบลเลม็ด  ตำบลทุ่ง  ตำบลป่าเว และตำบลโมถ่าย  อำเภอไชยา  พื้นที่รวม    ๗๕   ไร่   ทั้งนี้จะได้ร่วมมือกันทุกฝ่ายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูข้าวหอมไชยา  ให้อยู่ในทอ้งทุ่งคู่กับเมืองเก่าไชยา  ไม่ใช่มีแต่ชื่อเสียงที่จับต้องไม่ได้เหมือนพันธุ์พืชหลายๆชนิด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 460403เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาเชียร์ชาวสุราษฯครับ
  • ชอบข้าวหลายสายพันธุ์
  • ขอบคุณครับ

มาชมข้าวพันธุ์ดีอีกหนึ่งสายพันธุ์

  • รักษา สืบทอด ส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปนะครับ
  • ดีใจแทนชาวไชยาด้วยครับ
  • กลิ่นหอมจริงๆ หุงหอมทั่วบ้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท