วางแผนเตรียมความพร้อม : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่ 2


แม่นมผักหวานป่า

  

                                        9'9'2011

 

          เนื่องในวโรกาสแห่งปีมหามงคลเฉลิมพระชนม์ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครบรอบ 84 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติพระบรมราชินีนาถ ทรงครบรอบ 79 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2554 และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

 

          “อุฑยานผักหวานป่า’๔๔” ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทุกๆท่านร่วมทำความดี เพื่อน้อมเกล้าถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์(พ่อหลวง-แม่หลวง ) พ่อรักษ์ดิน--แม่รักษ์น้ำ ลูกๆมาช่วยกัน สร้างป่าเพื่อผืนแผ่นดินให้ชุ่มเย็น   และสร้าง (รักษา) สายน้ำให้ใสบริสุทธิ์สืบไป….. 

                  ด้วยการปลูกผักหวานป่าสร้างป่า.... “โครงการป่าชาวบ้านในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” (สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ) ในที่ดินของทุกๆท่าน ( สร้างชีวิต คน-พืช-และสัตว์ให้อยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลแบ่งปันซึ่งกันและกัน =     ความสุขในแผ่นดิน.

 

               ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเกษมสำราญ พระชนม์มายุยิ่งยืนนาน 

         

                      ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงโปรดฯ กรุณา

                            ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

                 

                      “ข้าพระพุทธเจ้า “อุฑยานผักหวานป่า’๔๔”

        บ้านหนองอ้อน้อย  ตำบลกุดน้ำใส  อำเภอน้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น

                 -----------------------------------

 

   วันนี้กับสิ่งที่สูงสุดในชีวิต(ความดี)ข้าพพระพุทธเจ้านายโอภาส ไชยจันทร์ดี  และ นางศศิธร ไชยจันทร์ดี  " อุฑยานผักหวานป่า”๔๔ " ขอน้อมเกล้าฯถวาย ทรัพย์สินทางปัญญา สูตร-วิธีปลูกผักหวานป่า (สร้างป่า) คู่กันกับต้นตะขบ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติในวโรกาสแห่งปีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา  แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงครบรอบ 84พรรษา ในวันที่ 5  ธันวาคม พ.ศ. 2554  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงครบรอบ 79พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม  พ.ศ.2554 และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

             โดยการเผยแพร่-ถ่ายทอดความรู้สูตรวิธีปลูกผักหวานป่าคู่กับตะขบให้กับคนไทย( เกษตรกรไทยทุกคน) และให้อยู่คู่กับแผ่นดินไทย - ฝากไว้เป็นวิทยาทาน (เพื่อตอแทนบุญคุณแผ่นดิน) ซึ่งเป็นแนวทางตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ     

             ข้าพเจ้าขอเป็น อีก1ในหลายๆล้านความดี ที่ลูกในฐานะพสกนิกรชาวไทยทำเพื่อ ทูลเกล้าถวายพ่อ และแม่ของแผ่นดิน  เพื่อลูกหลานอนุชนคนรุ่นหลังที่จะตามมาได้มีอยู่มีกิน กับอาหารที่ปลอดภัยไร้สารเคมี   สร้างจิตสำนึกรักธรรมชาติจะได้ช่วยกันรักษาและพลิกฟื้นผืนดินไทย ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นในอดีต“ในน้ำมีปลาในนามีข้าว  อู่ข้าวอู่น้ำ”    ช่วยผลิตอาหารสร้างชีวิต (เลี้ยงโลก)

 

 

            หลังจากที่ได้รับรู้ ข้อดี ข้อจำกัด ของสูตรปลูกด้วยวิธีหยอดด้วยเมล็ดและปลูกโดยต้นกล้ากันแล้ว ไม่ว่าจะเลือกปลูกกับวิธีไหนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันก่อนที่จะปลูกผักหวานป่า  ที่เป็นหัวใจสำคัญของการปลูกผักหวานป่าให้ประสบความสำเร็จ( 2ปีเก็บกิน 3ปีเก็บทาน-เก็บขาย ) นั่นก็คือ การเตรียมความพร้อม (วางแผน) ในพื้นที่ ที่จะปลูกผักหวานป่า ( ความพร้อมของผู้ปลูกเรื่อง เวลา และหัวใจที่เปิดรับ ) โดยการนำต้นตะขบต้น (แม่นมผักหวาน )ไปปลูกในพื้นที่เพื่อสร้างร่มเงาไว้ให้กับต้นผักหวานที่จะนำมาปลูก ซึ่งต้นผักหวานป่าเมื่อปลูกคู่กัน(ภายใต้ร่มเงา)กับต้นตะขบมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่า ต้นมะม่วง,ขนุน,แค,ลำไย,มะขามเทศ,น้อยหน่า,ต้นยางนา ตะเคียนทอง สัก มะค่า พยุง ต้นไม้ชนิดอื่นๆหลายเท่า คำตอบที่ได้คือต้นผักหวานป่าเลือกต้นตะขบ ให้เป็นแม่นม หลังออกจากอ้อมอกของพ่อแม่  คือการเก็บเมล็ดจากต้นมาเพาะ-ปลูก (การปลูกต้นตะขบพร้อมกันกับต้นกล้าผักหวานป่า และการปลูกต้นตะขบไว้ก่อน6เดือน-1ปีในการเจริญเติบโตของผักหวานที่ปลูกไม่แตกต่างกัน แต่วิธีหลังจะมีเวลาเตรียมความพร้อมมากกว่า และระบบราก-ร่มเงาเหมาะสมกว่า )

 

           ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อม(วางแผน) และทำการปลูกผักหวานป่าสูตรวิธีหยอดด้วยเมล็ด และปลูกโดยต้นกล้า ตามลำดับนั้นจะแบ่งรูปแบบพื้นที่ออกเป็น 2 ลักษณะ  คือพื้นที่โล่งแจ้ง กับพื้นที่สวนที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือพื้นที่สวนป่า( ป่าไม้ ธรรมชาติ ) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

       1 .การเตรียมความพร้อมสำหรับพื้นที่โล่งแจ้งเช่น  แปลงอ้อย ,แปลงมัน ,ที่นา ,พื้นที่รกร้างว่างเปล่า

         ขั้นตอนแรกนี้คือการนำต้นตะขบ  (ที่เพาะหรืองอกจากเมล็ดขึ้นเองตามธรรมชาติ) ไปปลูกในพื้นที่แปลงปลูกโดยไม่ต้องทำการไถพรวนหรือปรับสภาพพื้นที่แต่อย่างใด (ทำการเปิดเฉพาะบริเวณหลุมปลูกตะขบ :ยกเว้นพื้นที่ๆดิน อม-น้ำในฤดูฝนต้องทำร่องเพื่อระบายน้ำและยกโคนหลุมปลูกให้สูงแบบเนินหลังเต่า ) ระยะห่างของแถวต้นตะขบไม่ควรต่ำกว่า 4X4 เมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเนื้อที่

 ซึ่งต้นตะขบควรนำมาปลูกเตรียมพร้อม ก่อนปลูกผักหวานป่า 6เดือน ถึง1 ปี. อยู่ที่ความสมบูรณ์ของร่มเงาต้นตะขบที่ปลูก ที่จะเป็นคำตอบได้ว่าควรนำต้นกล้าผักหวานป่าลงปลูกในแปลง ( การปลูกผักหวานป่า ในช่วง 1-2 ปีแรก) ขอแนะนำให้ทำการปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ด เพื่อผู้ปลูกจะได้ทำการศึกษาเรียนรู้ลักษณะนิสัยใจคอช่วงเวลาการนอนหลับ การตื่นนอน ช่วงเวลาให้น้ำ-ปุ๋ยกับผักหวานป่า ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญขั้นที่สองหลังจากนำผักหวานป่าลงปลูกในพื้นที่ เมื่อต้นตะขบที่ปลูกเตรียมพร้อมแล้วต่อมาคือการนำต้นกล้าผักหวานป่ามาปลูกภายใต้ร่มเงาของต้นตะขบ ห่างจากโคนต้นตะขบประมาณ 30 เซนติเมตร  และนต้นกล้าผักหวานป่าลงปลูก   4-10  ต้นต่อหนึ่งหลุมปลูก ไม่ใช่เผื่อตาย  แต่นี่คือคำตอบ...ที่ได้จากผักหวานป่าซึ่งเป็นผู้กำหนดด้วยการเจริญเติบโตที่ตอบสนอง (ในการหยอด-ปลูก ด้วยเมล็ดก็ทำเช่นเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนจากต้นกล้าเป็นเมล็ดเท่านั้น)

 

      2. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมสำหรับพื้นที่สวน-ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่น มะม่วง,  ลำไย,ลิ้นจี่,กระท้อน,น้อยหน่า,ยางพารา,สักทอง,ประดู่,ยางนา,ตะกู ฯลฯ

         ขั้นตอนแรกนำต้นกล้าตะขบมาปลูกเสริมบริเวณช่องว่างระหว่างแถวของต้นไม้เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่เช่นเดียวกับข้อที่ 1หากเป็นสวนไม้ผลควรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม(ทำสาว)เพื่อเปิดช่องแสงแดดให้กับต้นตะขบที่ปลูกโดยที่ไม่ต้องไปเรื้อไม้ผลหรือต้นไม้เดิมที่มีอยู่ทิ้ง  (นับหนึ่งใหม่)แต่ให้ได้ประโยชน์ไปพร้อมๆกัน แต่ถ้าหากเป็นสวนไม้ป่าเชิงเดี่ยวหรือพื้นที่ป่าธรรมชาติไม้พื้นถิ่นที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ก็ไม่ต้องทำการรื้อ ไถปรับพื้นที่แต่อย่างใด สามารถนำต้นกล้าตะขบเข้าไปปลูกในแปลง โดยการเจาะ-เปิดช่องแสงแดด  เฉพาะบริเวณหลุมที่จะปลูกต้นตะขบเท่านั้น

หากจะให้เหมาะสมได้ประโยชน์สูงสุดในพื้นที่แปลงปลูกได้ทั้งพันธุ์ไม้ผล,ไม้ใช้งาน(ฟืน)และผักหวานป่า ที่เจิญเติบโตอยู่ในพื้นที่เดียวกันไปพร้อมๆกัน อยู่ที่การเริ่มต้นวางแผนปลูกไปพร้อมๆกันตั้งแต่แรก(หรือไม้ผล-ไม้ป่าที่ปลูกไว้ก่อนหน้านี้อายุไม่เกินห้าปี)  อาจจะมีหลายคนสงสัย-ตั้งคำถามว่า  ไม่ปลูกผักหวานป่าร่วมกับต้นตะขบได้ไหม จะปลูกร่วมกับต้นมะม่วง หรือต้นน้อยหน่าเพราะมีประโยชน์กว่าต้นตะขบและมีอยู่แล้ว  ขอตอบว่า ได้ค่ะ แต่ 5 ปีเก็บกิน 7 ปีเก็บขาย (ประโยชน์จากต้นตะขบที่ให้  เมื่อปลูกร่วมกันกับผักหวานป่า เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดซึ่งก็คือ “เวลา” เป็นคำตอบสุดท้าย) 

 

       หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและปลูกต้นตะขบกับต้นกล้าผักหวานป่าลงไปในพื้นที่แปลงปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ลำดับต่อไป ดิฉันขอแนะนำแนวทางขั้นตอนและวิธีการเพิ่มประโยชน์สูงสุดให้กับพื้นที่นอกจากต้นตะขบ-ผักหวานป่าและไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว  ซึ่งเป็นคำตอบที่ได้จากการปฏิบัติ-ค้นคว้า(วิจัย)

 

 วิธีปลูกผักหวานป่ากับตะขบมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

      ปีที่ 1 ( ขั้นที่หนึ่ง ) ปลูกต้นตะขบร่วมกับต้นกล้าผักหวานป่าในบริเวณพื้นที่แปลงปลูก = เกษตรศาสตร์  

 

      ปีที่ 2 ( ขั้นที่สอง ) ภายใต้ร่มเงาต้นตะขบควรนำพืชอาหาร( ระยะสั้น – ระยะกลาง)เข้ามาปลูกเสริมในพื้นที่เช่น  อีลอก,ดอกกระเจียว,บุก,กระชาย,ใบชะพลู,กระเพรา,แมงลัก,พริก,โหระพา,ชีฝรั่ง,ผักเม็ก(เสม็ด) ผักติ้ว ส้มโมง(ชะมวง),ต้นเหลียง,ดอกดาวเรือง,ตะไคร้หอม ฯลฯ เมื่อเข้าสู่ปีที่สองในแปลงปลูกภายใต้ร่มเงาต้นตะขบ หญ้าวัชพืชต่างๆจะถดถอย ลดน้อยลงแทบไม่มี ใบและลูกตะขบที่ร่วงลงมากลายเป็นปุ๋ย  (อาหารปลวก-แมลง-ไส้เดือน) รวมถึงรากของต้นตะขบที่เป็นรากฝอยจำนวนมาก(รากหาอาหารถึงแม้ต้นจะอายุมีมาก) แต่กลับอื้อเฟื้อเกื้อกูลกับพันธุ์พืชชนิดต่างๆที่ปลูกภายใต้ร่มเงา ) = พืชศาสตร์ 

 

(สำหรับต้นตะขบที่ปลูกในปีที่ 2 หรือปีที่3 ต้องทำการตัด แต่งกิ่ง(ทำสาว)ควบคุมความสูงของต้นอยู่ที่ 3-3.5เมตรจากพื้นดิน เพื่อป้องกันการโค่นล้ม ซึ่งใน1-5 ปีแรกจะต้องรักษาต้นตะขบให้อยู่คู่กันกับต้นผักหวานป่าที่ปลูก เพราะมีผลต่อการหยุดชะงักหรือเจริญเติบโตต่อต้นผักหวานเป็นอย่างมาก )

 

       ปีที่ 3 (ขั้นที่สาม) นำพืชโครงสร้าง พืชระยะกลาง-พืชระยะยาว  มาปลูกเสริมบริเวณช่องว่างระหว่างแถวของต้นตะขบ ( ด้วยเหตุนี้ การวางแผนปลูกในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มแรกจึงมีความสำคัญ )  เช่นมะไฟ,ลองกอง,ขนุน,น้อยหน่า,มังคุด,มะม่วง,ลำไย,ลิ้นจี่,ส้มโอ,มะนาว,กระท้อน,กาแฟ(อาราบิก้า) ,มะค่าโมง,สักทอง,ยางนา,ตะเคียนทอง,เพกา,พะยอม,กฤษณา ฯลฯ

      เข้าสู่ปีที่3 นำเมล็ดสุกของ ผักหวานป่ามาปลูก(หยอด)เพิ่มบริเวณโคนต้นไม้ที่ปลูกไว้ในปีที่สองและสาม ซึ่งต้นผักหวานป่าที่ปลูกจะเจริญเติบโตรวดเร็วเช่นเดียวกันอยู่ภายใต้ร่มเงาตะขบเพราะอิทธิพลความเย็นของร่มเงาตะขบที่แผ่กระจายมาถึง   ( อากาศ air ธรรมชาติ )รวมถึงระบบรากของตะขบที่อยู่ใต้พื้นดินที่แผ่ขยายมาถึงบริเวณโคนต้นไม้ที่หยอดเมล็ดผักหวานเพิ่ม (สัมผัสของการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน-ไม่ใช่แก่งแย่ง) 

         ในปีที่สามนี้ต้นผักหวานป่าที่ปลูกรุ่นแรกเริ่มมีผลผลิต-ยอด ที่สามารถเก็บจำหน่ายได้บ้างแล้วซึ่งปริมาณของยอดก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุของต้นและความสมบูรณ์ของต้นที่ปลูก รวมถึงปริมาณของต้นผักหวานป่าที่ปลูกต่อหนึ่งหลุม (ปลูก1ต้นให้ปุ๋ย1ลิตร ปลูก10 ต้นก็ให้ปุ๋ย11 ลิตร(ปุ๋ยน้ำ)   เมื่อให้ปุ๋ยจนอิ่ม  แล้วทำไมต้นไม้จะต้องแย่งอาหารกัน ที่สำคัญให้ปุ๋ยไม่พอ  (ถูกชนิด) ดูแลไม่ทั่วถึง แต่ระบุว่าต้นไม้แย่งอาหารกัน เฮ้อ!

  

           สูตร-วิธีปลูกผักหวานป่าคู่กับต้นตะขบ ของ อุฑยานผักหวานป่า๔๔ ในหนึ่งหลุม จะหยอดเมล็ด หรือปลูกต้นกล้าผักหวานป่า จำนวน4-10ต้น(ปลูกเป็นกอ) ไม่ใช่เผื่อตาย แต่เป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติ ค้นหาตำราสูตรปลูกผักหวานป่า ซึ่งผักหวานป่าเป็นผู้ให้คำตอบ ไม่ใช่กำหนดเอง เพียงแต่วันนี้ดิฉันและคุณโอภาส ไชยจันทร์ดี ทำหน้าที่พูดแทนผักหวานป่าเท่านั้น คือการยอมรับความจริง กับสิ่งที่ผักหวานป่าเลือกที่จะเป็น  ปลูกต้นไม้ต้องตามใจต้นไม้ (ประเด็น ใช่อยู่ที่ต้นไม้พูดได้หรือไม่   เพราะเสียงที่ต้นไม้พูดนั้นมนุษย์เรา   ส่วนใหญ่  ไม่ได้สนใจที่จะรับฟังเขาเลยต่างหาก ) 

 

        ในการนำพืชโครงสร้างมาปลูกเสริมในพื้นที่สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างซึ่งก็คือ พืชที่เกื้อกูลในการสร้างวงจรและระบบนิเวศ(เชื้อ)ของเห็ดป่า (โครงสร้างทางชีววิทยา)เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าได้ไม่น้อยในแต่ละปี อาทิเช่นต้นกรุง(พลวง)  ต้นหมากก่อหนาม(เกาลัดไทย)ต้นเต็งรัง -พะยอม = เกิดเห็ดเผาะ,เห็ดตระใคร,เห็ดก่อ, เห็ดระโงกฯลฯ ต้นโสน,ต้นทองหลาง -เห็ดผึ้ง, ต้นหว้า- เห็ดถ่าน = วนศาสตร์

 

      ปีที่4 (ขั้นสุดท้าย) เป็นการเสริมสร้าง-เพิ่มเติมสิ่งมีชีวิต ที่เคลื่อนที่ได้เข้าไปในพื้นที่หรือสิ่งที่เรียกว่า จิตวิญญาณของธรรมชาติ  เช่น อึ่ง, กบ โดยการทำบ่อน้ำแก้มลิง(แก้มมด)เล็กๆไว้เป็นจุดๆในพื้นที่ (จิตวิญญาณของธรรมชาติท้องถิ่น ไส้เดือน,ปลวก,จิ้งหรีด,กิ้งก่า,มดแดง(ห่วงโซ่อาหาร ) พอถึงฤดูฝนจะได้พบเห็นกับ ความอัศจรรย์ของธรรมชาติ ( เลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ เลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหาร  เลี้ยงห่านไว้ช่วยกินหญ้า ) =  ชีววิทยา-สัตวศาสตร์ 

 

         มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ได้คนเดียวในโลกใบนี้ต้องมีสังคมเพื่อการแบ่งปันคือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเช่นไร!   พืชและสัตว์ก็ต้องมีสังคมของการพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน    และกัน  นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าระบบนิเวศเชิงวิถีพุทธที่เน้นความสมดุลระหว่างสรรพสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต(ธรรมชาติ)ซึ่งมนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติไม่ใช่เป็นนายเหนือธรรมชาติ 

     “ หากไม่มีมนุษย์ ธรรมชาติอยู่ได้ 

        แต่ไม่มีธรรมชาติ มนุษย์อยู่ไม่ได้ ” 

 

       องค์ความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ที่เสนอไว้ข้างต้นเป็นการประมวลที่ดิฉัน นางศศิธร ไชยจันทร์ดี ได้เรียนรู้จากต้นไม้ที่มีชื่อว่าผักหวานป่า  จากการลงมือปฏิบัติ(ทำ) ตลอดระยะเวลา14ปี และนี่คือปณิธาน-แนวทางของสูตรทรัพย์สินทางปัญญา (วิทยานิพนธ์ชีวิต)กับ สูตร-วิธีปลูกผักหวานป่าคู่กันกับต้นตะขบ (แม่นมผักหวาน)   เกษตรศาสตร์  พืชศาสตร์  วนศาสตร์และสัตวศาสตร์ (ชีววิทยาและระบบนิเวศวิทยา = ความหลากหลายทางชีวภาพและความปฏิสัมพันธ์ของป่า การพึ่งพาอาศัยและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิตในโลกใบนี้ที่เรียกว่า มนุษย์-พืช-และสัตว์  กับแนวทางปลูกผักหวานป่าสร้างป่า ..ที่ใช้เวลาตามหาเกือบทั้งชีวิต..... 

      สำหรับข้อมูลความรู้ที่นำมาเผยแพร่ให้กับทุกๆท่านวันนี้คือ คำตอบสุดท้ายกับวิธีปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ฝากไว้กับแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ตน  ประโยชน์ท่าน  และประโยชน์อย่างยิ่งในภายภาคหน้า (วิทยาทาน)

                  

               .....ใครว่าเรื่องกินมิใช่เรื่องใหญ่ ….

 

         “ใครชอบ  ใครชัง   ชั่งเถิด

           ใครเชิด   ใครแช่ง  ช่างเขา

            ใครเบื่อ   ใครบ่น   ทนเอา 

            ใจเรา      ร่มเย็น    เป็นพอ”

 

        “ เฮ็ดดีแล้วไผสิย่องกะตามซาง  

           เฮ็ดดีแล้วไผสิย่องกะซางตาม ”

 

         เกิดมาทั้งทีเอาดีให้ได้ จะตายทั้งทีฝากดีเอาไว้

 

                             ---------------------------------

 

                                              

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 460397เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

"ชีวิต ชีวิตฉันคือผักหวานป่า เนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับผักหวานป่า ข้อมูลความรู้อัดแน่นอยู่เต็มหัวใจที่จะนำมาแบ่งปัน กับสังคมผู้ให้(gotoknow) แต่ตอนนี้ยังหาวิธี-ศึกษาเกียวกับการที่จะนำข้อมูลเนื้อหา(รูป)  ลงบล็อกอยู่ค่ะ จะไปรอดรึเปล่า.  แต่คงจะไม่ยากเกินหัวใจที่จะใฝ่รู้    จึงทำรอ ไม่รอทำ ให้งานสอนคน  "ขอบคุณค่ะ" ..."

 เป็นกำลังใจให้นะคะ

ผักหวานป่า ถ้าไม่รู้ใจ ปลูกไม่ได้กิน

ไม่กล้าคิด ว่าจะปลูกผักหวานป่าได้

ตามบันทึกนี้เรื่อยๆ คงมีใจมีไฟขึ้นมาบ้าง ฝันไว้ก่อน 

             

ดิฉันขอขอบพระคุณทั้งสองท่านมา ณ โอกาศนี้ด้วยนะคะ สำหรับดอกไม้และกำลังใจ ดิฉันเป็นเด็กบ้านนอก มีความประทับใจกับธรรมชาติที่ได้คลุกคลีตั้งแต่จำความได้ (มีความภาคภูมิใจที่เกิดบ้านนอก พ่อแม่คือเกษตรกร)

ความสุข ความประทับใจกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตจากวัยเด็ก เป็นจุดสำคัญกับเส้นทางเดินชีวิตที่เลือกเป็นเกษตรกรแม้รู้ว่ามันลำบากแต่ก็ยินดี (ความลำบากไม่เคยทำร้ายคน กลับฝึกฝนให้คนสู้ปัญหาด้วยปัญญา ตรงกันข้ามกับความสบาย ไปที่ไหนเสีย(คน)หายที่นั่น) แต่กว่าจะถึงวันนี้ได้ ปลูกผักหวานป่ากลายเป็นต้นท้อแท้ ต้องคอยตัด ต้องคอยปลูกแต่สิ่งที่ได้คือพลังหัวใจ"สู้ "

ผักหวานป่าไม่ใช่เรื่องยากเกินฝันแต่มันคือเรื่องจริงที่ทุกคนทำได้ "แค่เปิดใจ" ที่จะปลูกให้ได้เก็บกิน-เก็บทาน(ทำบุญ)-เก็บขาย อาจจะเปรียบได้กับเส้นผมบังภูเขาก็ว่าได้ เพียงแค่หัวใจที่รักษ์ในธรรมชาติและผักหวานป่า ดิฉันรับรองว่าในสูตรปลูกที่ประหยัดที่สุดดังกล่าวนี้ภายใน 2-3ปี ท่านจะได้ชิมยอดผักหวานป่าแบบสดๆจากต้นที่ลงแรงลงใจปลูกได้ด้วยมือตัวเองอย่างแน่นอนค่ะ ไม่ต้องใช้เวลา 10กว่าปีอย่างดิฉันและคุณโอภาส " เพราะสิ่งที่ค้นคว้ามาด้วยชีวิตมีค่าเกินกว่าที่จะปล่อยให้ตายไปพร้อมกับตัวเอง จึงยินดีฝากไว้เพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สร้างทางเลือกให้กับผู้มีใจรักษ์ผักหวานป่า(คนรุ่นหลัง) เพื่อเพิ่มพื้ทีสีเขียวให้แผ่นดินไทย ให้แม่พระธรณีชุ่มเย็น

และเพื่อเดินตามรอยเท้าพ่อผู้ยิ่งใหญ่ แม่ผู้ให้ได้ทั่วทั้งแผ่นดินไทย หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในชาตินี้นอกจากที่นี่แผ่นดินไทย "

ปล.กรุณาติดตามอ่านเนื้อหา สูตร-วิธีปลูกผักหวานป่าได้ในตอนต่อๆไปนะคะ ตอนแรกตั้งใจว่าเดือนต้นตุลาคมจะได้เพิ่มเติม

ข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับผักหวานป่าเรื่อยๆตามหัวข้อที่ตัวเองได้ร่างไว้ แต่น้ำเอ่อล้นเข้าสวน สมองก็เลยมีแต่น้ำ แต่ตอนนี้น้ำเริ่มลดเกือบเข้าสู่ปกติแล้วค่ะคงอีกไม่นานเกินรอ.( หากต้องการทราบ-วางแผนปลูกผักหวานป่า ติดต่อได้ที่ 081-0618299 ยินดีรับใช้ค่ะ )

  • ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องการปลูกผักหวานค่ะ
  • ดีใจด้วยที่น้ำเริ่มลดเกือบเข้าสู่ปกติแล้ว

ขอบพระคุณค่ะคุณสุภัทรา ที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจสำหรับคนปลูกต้นไม้

ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องผักหวานครับ วันเสาร์ไปตลาดที่วิเชียรบุรีเขามีผักหวานขายแล้ว วันนี้โชคดีได้อ่านเรื่องราวของผักหวานอีกเป็นบุญจริงๆครับ เห็นต้นผักหวานตั้งแต่เด็กไม่เห็นพ่อปลูกได้เลยนอกจากที่มันขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว จนต้นที่เห็นแต่เด็กตอนนี้พี่สาวเก็บเมล็ดมาเพาะได้ ผมไปขอมาปลูกขอบรั้วบ้านจัดสรร นึกไปก็ตลกดีนะครับมันไม่โผล่มาให้เห็นเลยสงสัยปลวกกินหมด ขอบคุณอีกครัง้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณน้อยที่ให้โอกาสในการที่จะสอบถามได้

วันนี้ผมกลับมาอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อทำำความเข้าใจเพิ่มเติม ยิ่งทำให้มั่นใจในแนวทางปลูกผักหวานป่าสร้างป่า

ของคุณน้อยมากขึ้น ผมมีปัญหามาถามคุณน้อย ดังนี้ครับ

วันนี้ผมได้เพาะตะขบตามวิธีที่คุณน้อยแนะนำไว้แล้ว หากตะขบขึ้นได้ดีตามปกติ

ผมจะลงมือปลูกตะขบ ระยะ 4*4 ให้เต็มพื้นที่ 4 ไร่ ในโอกาสแรกที่ฟ้าฝนอำนวย

แล้วรอเมล็ดผักหวานป่าที่จะสุกประมาณ พ.ค. มาปลูกตามลงไป ทรงพุ่มใบของตะขบ

จะใหญ่พอที่จะให้ผักหวานป่าอาศัยได้หรือครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ

อีกข้อหนึ่งคือน้ำใต้ดินที่มีสนิมมาก (ทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง) จะใช้รดให้กับผักหวานป่าได้หรือไม่

แต่เกษตรกรในละแวกนี้ใช้น้ำนี้รดพืชผัก พืชไร่ทุกชนิดได้เป็นปกติ (รดโดยใช้สายยาง)

ผมอยู่ ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นที่ราบ ที่ไร่ ดินปนทราย

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณเชษฐ์...ขอตอบคำถามที่ท่านได้สอบถามมาดังนี้นะคะ

...พื้นที่4ไร่ก็มากมายเพียงพอสำหรับการปลูกผักหวานป่าสร้างป่าแล้วค่ะ(ไม่มากไม่น้อย).

...สำหรับการวางแผนปลูกตะขบหากเป็นพื้นที่โล่งแจ้งให้ท่านปลูกต้นตะขบลงไปตามความเหมาะสม(ไม่มีข้อตายตัวสำหรับระยะห่าง)แต่ขอให้เผื่อพื้นที่ตรงช่องว่างระหว่างต้นตะขบไว้สำหรับปลูกพืชเสริมไปพร้อมๆกันด้วยนะคะ.

...สำหรับพื้นที่สวนก็ให้ปลูกต้นตะขบแซมช่องว่างต้นไม้ที่มีอยู่โดยย่อทรงพุ่ม(ทำสาว)ต้นไม้เดิมที่มีอยู่.

...ส่วนที่ท่ารถามว่าต้นตะขบจะมีร่มเงาเพียงพอเพื่อปลูกผักหวานป่าตามไปด้วยหรือไม่นั้น..ในข้อนี้ให้ท่านทำตามความเป็นจริงที่เกิดหมายความว่าหากท่านปลูกต้นตะขบในเดือนพฤษภาคมซึ่งตรงกับช่วงระยะเวลาที่เมล็ดผักหวานป่าสุก แม้ว่าต้นตะขบที่นำมาปลูกจะโตพอเป็นร่มเงาแต่ระบบรากใต้ดินก็ยังเดินไม่แข็งแรงเท่าที่ควร.

...ดังนั้นให้ท่านปลูกดูแลต้นตะขบให้แข็งแรง(ติด)รากเดินแข็งแรงไปก่อน ส่วนเมล็ดสุกของผักหวานป่าหากท่านหามาได้ให้ท่านทำการเพาะเป็นต้นกล้าไว้ก่อน รอให้ต้นตะขบที่ปลูกอย่างน้อยประมาณ3เดือนแล้วค่อยนำต้นกล้าผักหวานป่ามาปลูกโดยให้ขุดหลุมปลูกห่างจากโคนต้นตะขบประมาณ20-30เซนติเมตร.

...ส่วนเรื่องเกี่ยวกับน้ำที่เป็นสนิมในการปรับใช้กับผักหวานป่า ให้ท่านนำเศษอาหารมาทำการหมักผสมกับน้ำที่เป็นคราบสนิมดังกล่าว(ในการหมักก็ใช้สูตรธรรมดาทั่วไปไม่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์สำหรับผักหวาน"พอดี")สำหรับเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับปุ๋ย.

...ในการปลูกผักหวานป่าสิ่งที่ใช้คือหัวใจสบายๆวางรูปแบบที่ติดค้างในใจออกให้มากที่สุดในเนื้อหาที่ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดในแต่ละบันทึกให้ท่านทวนอ่านช้าๆปฎิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไป(อย่ากำหนด)ทำไปตามสภาพความเป็นจริงแล้วท่านจะเห็นทางไปที่มีแสงนำทางอยู่ในตัง(งาน)ของมันเองนะคะ...

***ดับข้อสงสัยในใจคือการลงมือทำไปเลยค่ะ"ใช่ก็คือคำตอบไม่ใช่ก็คือคำตอบ"แต่สิ่งที่ได้คือคำตอบที่ชัดเจนไม่ลังเลสงสัยในการก้าวเดินไปกับผักหวานป่าค่ะ...

สวัสดีครับ..พี่น้อย นํ้าผอง..คือผมอยากทราบว่าถ้าเราปลูกแซมกับ ต้นตะกูได้มั้ยครับ..แล้วถ้าเราปลูกรอบๆต้นตะขบ..เราสามารถปลูกเมล็ดผักหวานได้กี่ต้น.?

 สวัสดีปีใหม่2556ค่ะคุณปิยะ...ไม่ทราบว่าใช่คุณปิยะรึเปล่าคะที่โทรศัพท์มาคุญกัน(5ม.ค.56)

...ปลูกผักหวานแซมกับตะกูได้มั๊ย..ได้ค่ะ แต่ผักหวานป่าจะเติบโตช้ากว่าปลูกกับตะขบค่ะ...

...หากจะปลูกผักหวานในแปลงตะกูและอยากให้ผักหวานป่าโตไวๆ..ทำได้ค่ะ! โดยการเลือกตัดต้นตะกูบางต้นที่ทรงไม่สวยหรือไม่ค่อยโตออกแล้วปลูกต้นตะขบเข้าไปแทน(กรณีปลูกตะกูระยะชิด)วิธีการดังกล่าวจะได้ทั้งตะกูและผักหวานป่าที่เก็บยอดได้ในเวลา2-3ปี...

...หากตะกูปลูกระยะห่างก็สามารถปลูกตะขบแซมได้เลยในแปลงปลูก...

ต้นตะขบ1ต้นสามารถปลูกผักหวานป่าได้10-20ต้น โดยปลูก4ด้าน(สี่ทิศ)รอบๆโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ20-30ซม.(ขึ้นอยู่กับพื้นที่มากหรือน้อย) "รอบๆโคนตะขบ1ต้นจะมีผักหวาน4หลุม ปลูกหลุมละ5เมล็ด(ต้น)" จะได้ผักหวานป่า4กอ(กลุ่ม) รวม20ต้น/ตะขบหนึ่งต้น วิธีการดังกล่าวผ่านการทดลองแล้ว90%ผักหวานเติบโตได้ดีจึงไม่ต้องกลัว "หงำ"

สวัสดีค่ะ คุณน้อย น้ำพอง ดิฉันสนใจเรื่องปลูกผักหวานมานานแล้วค่ะ แต่ที่ที่มีเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำนา หากจะนำที่ตรงนั้นมาปลูกผักหวานไม่แน่ใจว่าจะปลูกได้เลยหรือเปล่า หรือมีวิธีจัดการกับที่นาอย่างไรให้เหมาะสมกับการปลูกโดยใช้งบประมาณที่น้อย พื้นที่จะใช้ปลูกอยู่ที่ร้อยเอ็ดค่ะ ช่วงหน้าร้อนจะร้อนและแล้งมาก ดิฉันจึงขอความกรุณาคุณน้อย น้ำพอง ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกรรณ...

พื้นที่ทำนาสามารถปรับสภาพพื้นที่ปลูกผักหวานป่าได้ค่ะ..ขอเพียงน้ำไม่ท่วมขังในฤดูฝน..

การปรับสภาพพื้นที่ทำนาผสมผสานการปลูกผักหวานป่าในแนวทางแบบพอเพียง..เริ่มจาก

-สำรวจจำนวนที่ดินกี่ไร่? สำรวจแหล่งน้ำในแปลงที่ดินหรือที่มาของแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่! หากไม่มีควรจัดหาเป็นลำดับแรกก่อนปลูกต้นไม้..น้ำบ่อหรือบาดาลก็ได้..(น้ำคือหัวใจของการทำการเกษตรหากมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปีต้นไม้ที่ปลูกก็งาม..และก็ตามมาด้วยรายได้จากผลผลิต)

-พื้นที่ทำนาเดิมปรับเนื้อที่แปลงนาให้ใหญ่ขึ้นและสร้างคันนาให้สูง50-80เซนติเมตรกว้าง1.50-2เมตรเพื่อปลูกพืชผักหวานและไม้ผล โดยที่สามารถทำนาได้เช่นเดิมเพียงแต่ลดเนื้อที่เพื่อปลูกต้นไม้

-หลังจากปรับคันนาได้แล้วหากจะปลูกผักหวานป่าก็สามารถเตรียมความพร้อมวางแผนปลูกได้โดยการปลูกต้นตะขบไว้บนคันนาระยะ4*4เมตร(ช่องว่างต้นตะขบระยะ4*4เมตรสามารถปลูกไม้ผลหรือพืชผักได้)

...ถามข้อมูลปลูกผักหวานเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-0618299ได้ค่ะ...

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท