กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี


การสอนอ่านภาษาอังกฤษ

สาระสำคัญของโครงการพัฒนาโมเดลการจัดการคุณภาพ

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

RATNAREE Model

  1. 1.      ความเป็นมาและความสำคัญ

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผู้เรียนเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร และเป็นรากฐานของการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป รวมทั้งการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ ดังคำกล่าวที่ว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยตามหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 ได้ส่งเสริมให้การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษได้พัฒนาทักษะทั้งสี่ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อที่ผู้เรียนจะนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม และวิสัยทัศน์ของชุมชนโลกและตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก ( สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,2551 )

            ในยุคปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ทักษะการอ่านนับว่ามีส่วนสำคัญในการแสวงหาความรู้ นักเรียนในยุคปัจจุบันต้องอ่านสื่อภาษาอังกฤษต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาที่เรียนและสื่ออื่นๆตามความสนใจของนักเรียน นักเรียนอาจพบปัญหาอย่างมากในการทำความเข้าใจสิ่งที่อ่าน ถ้านักเรียนไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ  นักวิจัยหลายท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุของการอ่านไม่เข้าใจ พบว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายอย่าง กล่าวคือ ตัวครูเอง นักเรียน และวิธีการสอนอ่านมักจะเป็นเรื่องที่ครูและนักเรียนต่างคิดว่าเป็นเรื่องยาก ในส่วนของนักเรียนมักจะคิดว่าการอ่านเป็นสิ่งที่ยาก ทำให้หยุดอ่านกลางคัน อีกทั้งยังขาดทักษะเกี่ยวกับการอ่านที่ถูกต้องและโดยเฉพาะการขาดวิธีการควบคุมความเข้าใจ และการแก้ปัญหาในระหว่างอ่าน  นอกจากนี้อาจเกิดจากนักเรียนไม่มีสมาธิ ขาดความสนใจ ไม่มีพื้นฐานความรู้เพียงพอ ขาดการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ อ่านผิดวิธี และกังวลเรื่องคำศัพท์ ( ทยภร  กระมุท  และเอกรัตน์  สังข์ทอง , 2549 ) รวมทั้งการที่ผู้เรียนยังเป็นเด็กอยู่มักจะอ่านอย่างไม่มีแบบแผนและไม่มีความสนใจในสิ่งที่อ่าน  สอดคล้องกับ Paris et al. ( 1983)  ที่เห็นว่าการไม่เข้าใจในการอ่านอาจมาจากการที่บทอ่านและคำศัพท์ในเนื้อเรื่องมีความยาก  รวมทั้งการขาดความรู้เดิมของผู้อ่าน  ปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสนใจแก้ไขอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาพัฒนาการสอนอ่านให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ได้ผลดีขึ้น

 ( ศิริพร  เกียรติรัตนเสวี )

            จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นักวิชาการจำนวนมากพยายามศึกษาเทคนิคการสอนอ่านที่มีประสิทธิภาพ ครูได้มีการนำเทคนิคการสอนอ่านต่างๆไปใช้ในการเรียนการสอนแต่พบว่ายังไม่แพร่หลายมากนัก ครูยังสอนการอ่านเพียงแค่การหาคำตอบจากคำถามที่ต้องตอบเท่านั้น นักเรียนไม่มีความเข้าใจสิ่งที่อ่านอย่างแท้จริง  การเรียนการสอนเน้นเนื้อหาวิชาและการเรียนแบบท่องจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ เรียบเรียงและเขียนสื่อความ  แนวทางการแก้ปัญหาความเข้าใจในการอ่านควรนำการใช้ยุทธศาสตร์ทางปัญญา หรือ อภิปัญญามาใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด การควบคุมอารมณ์ และการนำความรู้ไปใช้

( สุวัฒน์  วิวัฒนานันท์ , 2550 ) ตรงกับที่ Ruddell  ( 2000 อ้างใน มณีรัตน์  สุกโชติรัตน์ , 2550 ) ที่แนะนำว่า ครูควรสอนกระบวนการคิดแบบอภิปัญญา ( Metacognition ) ที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิด ทำให้มีจุดประสงค์ในการอ่าน  มีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดี

ปัญหาการอ่านเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ  นักวิจัยจำนวนมากเห็นตรงกันว่าเกิดจากสามปัจจัยหลัก คือ ผู้สอน นักเรียนและวิธีการสอนอ่าน   การแก้ปัญหาการอ่านมีความซับซ้อนเนื่องจากการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องให้เวลา และวิธีการที่เหมาะสมกับนักเรียน  วิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการใช้แนวคิดขั้นสูง  หรือ อภิปัญญา เพื่อช่วยในการฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ  ในบริบทของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐานปีพุทธศักราช 2551  ที่ต้องการให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านได้ในระดับจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการอ่าน จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับกลวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอน และวิธีการที่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนพบกลวิธีสตาร์ท ( START : Students and Teacher Active Reading Text ) ซึ่งเป็นกลวิธีที่คิดขึ้นโดย Tabatha Dobson Scharlarch ( 2008) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสอนอ่าน

Scharlarch  ได้สร้างเทคนิคการอ่านชื่อกลวิธีสตาร์ท ซึ่งมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อนักเรียน กล่าวคือ เป็นกลวิธีที่ส่งเสริมการอ่านโดยขั้นตอนต่างๆ มีการสอนอ่านทีใช้อภิปัญญาส่งเสริมให้นักเรียนมีภาระงานในการอ่าน คิดวิเคราะห์โดยมีครูและเพื่อนคอยให้ความช่วยเหลือ และจากนั้นกิจกรรมในขั้นตอนทั้งหมดจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านด้วยการเสริมการเรียนรู้และการใช้อภิปัญญา  ดังขั้นตอนดังนี้

  1. การทำนายล่วงหน้า ( Predicting / Inferring ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้มีการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยอาจมีการสังเกตรูปภาพ อ่านชื่อเรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
  2. การจินตนาการภาพ ฉาก ของเรื่อง ( Visualizing ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสร้างภาพหรือความเข้าใจที่ได้จากการอ่าน อาจมีการวาดภาพหรือคิดสร้างภาพในใจถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ได้อ่าน
  3. การเชื่อมต่อกับความรู้เดิม ( Making Connections ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่อ่านและมีการเชื่อมโยงความรู้เดิมทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น
  4. การตั้งคำถาม ( Questioning ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสร้างคำถามเพื่อช่วยในการตรวจสอบความเข้าใจและการจำ ซึ่งทำให้เข้าใจสิ่งที่อ่านมากขึ้น
  5. วิเคราะห์ใจความสำคัญ ( Determining  Main Idea ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
  6. การสรุปความ ( Summarizing ) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนทำหลังการอ่านโดยการสรุปย่อใจความสำคัญมาเรียงลำดับให้ครบถ้วน ทำให้สั้นลงและเป็นภาษาของตัวเอง
  7. การตรวจคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนตรวจสอบผลการอ่านและประเมินการอ่าน ได้แก่ประเมินการทำนาย โดยใช้ทักษะการคิดเกี่ยวกับการระบุ และการให้เหตุผล
  8. ประเมินค่า  ( Making Judgments )  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนประเมินคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้น และการนำไปประยุกต์ใช้

จากแนวทางการสอนการอ่านดังกล่าวสรุปได้ว่า ความเข้าใจในการอ่านสามารถสร้างจากการมีปฎิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน รวมทั้งบทอ่าน การช่วยเหลือของครูนั้น ครูต้องคำนึงถึงขั้นตอนของการพัฒนาของเด็ก ครูเป็นตัวอย่าง และให้คำแนะนำแก่นักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่ขาดทักษะในการอ่าน เพื่อที่นักเรียนจะสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ ( Palincsar & Klenk ,

1992 )  เช่นเดียวกับ Pressley (1998) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญต่อการเสริมการเรียนรู้  (Scaffolding ) ว่า การอ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านและบทความ ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยนักเรียนให้สามารถเข้าใจในสิ่งที่อ่านตามหลักการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้วิจัยได้นำกลวิธีสตาร์ทมาพัฒนาเป็นรูปแบบการสอนของผู้วิจัยเอง คือ กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

 ( RATNAREE  Reading Teaching Model )

ซึ่งมีขั้นตอนการสอนดังนี้

1.Roam  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนกวาดสายตาดูรูป ภาพ หัวข้อเรื่องที่จะอ่าน โดยสร้างภาพ หรือความเข้าใจที่ได้จากการดูรูปและหัวข้อเรื่อง

2.Arouse เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นจากผู้สอนโดยใช้คำถามแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่จะอ่าน โดยให้ผู้เรียนทำนายเรื่อง คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า( Predicting / Inferring ) จินตนาการ ภาพ ฉากของเรื่อง ( Visualizing )

3.Tell  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนช่วยกันบอกความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน ว่ามีความรู้อะไรบ้าง อยากรู้อะไรเพิ่มบ้าง

4.Notice  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนสังเกตว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่มากน้อยเพียงใด เป็นการเชื่อมต่อความรู้เดิม

 ( Making Connections )   มีอะไรบ้างที่ผู้สอนควรเสริมการเรียนรู้  ( Scaffolding ) เช่น คำศัพท์ วัฒนธรรม

5.Act  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่กำลังจะอ่าน หรือถามคำถาม ( Questioning )เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน  One Person One Comment

6.Read เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด หลังจากที่ได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านแล้ว ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

 ( Determining  Main Idea )

7.Explain  เป็นขั้นตอนหลังการอ่านที่ผู้เรียนจะต้องอธิบายเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีอภิปรายกลุ่ม เล่าเรื่อง ตอบคำถาม วาดรูป ทำมายแมพ เป็นการตรวจสอบคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  และการสรุปความ ( Summarizing )

8.Evaluate & Create  เป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่าน( Making Judgments )    ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้นและการนำไปประยุกต์ใช้ โดยสร้างเป็นงานรูปแบบใหม่ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ  เขียนเรื่องใหม่ ทำโครงงาน

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี มีลักษณะที่เหมาะสมต่อการสอนอ่านหลายประการ กล่าวคือ  ส่งเสริมการใช้ความคิดแบบอภิปัญญา การใช้ความคิดวิเคราะห์  นอกจากนี้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี ยังสนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วยใ0 วามรู้ไปใช้าใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

  1. 2.      โจทย์และคำถามวิจัย

2.1  โจทย์วิจัย 

-         นักเรียนพบปัญหาการทำความเข้าใจสิ่งที่อ่าน

-         นักเรียนไม่มีเครื่องมือหรือกลวิธีการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

-         กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีจะเป็นเครื่องมือ หรือกลวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้หรือไม่

2.2  คำถามวิจัย

1. นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้นหรือไม่ หลังการใช้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

  1. 3.      เป้าหมายและวัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

  1. 4.      นวัตกรรมที่พัฒนา

4.1  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

4.2กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีจะเป็นเครื่องมือ หรือกลวิธีที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้หรือไม่

4.3 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช

4.4ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

4.5 กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี

 ( RATNAREE  Reading Teaching Model )

ซึ่งมีขั้นตอนการสอนดังนี้

1.Roam  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนกวาดสายตาดูรูป ภาพ หัวข้อเรื่องที่จะอ่าน โดยสร้างภาพ หรือความเข้าใจที่ได้จากการดูรูปและหัวข้อเรื่อง

2.Arouse เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นจากผู้สอนโดยใช้คำถามแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่จะอ่าน โดยให้ผู้เรียนทำนายเรื่อง คาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า( Predicting / Inferring ) จินตนาการ ภาพ ฉากของเรื่อง ( Visualizing )

3.Tell  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนช่วยกันบอกความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน ว่ามีความรู้อะไรบ้าง อยากรู้อะไรเพิ่มบ้าง

4.Notice  เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนสังเกตว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่มากน้อยเพียงใด เป็นการเชื่อมต่อความรู้เดิม

 ( Making Connections )   มีอะไรบ้างที่ผู้สอนควรเสริมการเรียนรู้  ( Scaffolding ) เช่น คำศัพท์ วัฒนธรรม

5.Act  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่กำลังจะอ่าน หรือถามคำถาม ( Questioning )เกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน  One Person One Comment

6.Read เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมด หลังจากที่ได้ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านแล้ว ผู้เรียนมุ่งให้ความสนใจกับใจความสำคัญ และจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

( Determining  Main Idea )

7.Explain  เป็นขั้นตอนหลังการอ่านที่ผู้เรียนจะต้องอธิบายเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีอภิปรายกลุ่ม เล่าเรื่อง ตอบคำถาม วาดรูป ทำมายแมพ เป็นการตรวจสอบคำตอบของการคาดเดา ( Checking Predictions)  และการสรุปความ ( Summarizing )

8.Evaluate & Create  เป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่าน( Making Judgments )    ประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน ความรู้ที่เพิ่มขึ้นและการนำไปประยุกต์ใช้ โดยสร้างเป็นงานรูปแบบใหม่ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ  เขียนเรื่องใหม่ ทำโครงงาน

4.6 กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี มีลักษณะที่เหมาะสมต่อการสอนอ่านหลายประการ กล่าวคือ  ส่งเสริมการใช้ความคิดแบบอภิปัญญา การใช้ความคิดวิเคราะห์  นอกจากนี้กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี ยังสนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วยใ0 วามรู้ไปใช้าใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

 

5.      ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรี เป็นกลวิธีการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนใช้กระบวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม  นอกจากนี้ เมื่อนักเรียนอ่านจะเกิดการคิดวิเคราะห์ ะเกิดการคิดวิเคราะห์สรุปความวนการอ่านแบบคิดวิเคราะห์และเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมสรุปความ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และถ่ายทอดเป็นการเขียนและพูด  กลวิธีการสอนอ่านสไตล์รัตน์นรีส่งเสริมการอ่านแบบร่วมมือระหว่างครู นักเรียน และบทอ่านตามที่ Armbruster et al. (1982) , Vacca and Vacca (1989)  ที่แสดงความเห็นคล้ายกันว่าวิธีการสอนอ่านเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างครู นักเรียนและบทอ่าน จำเป็นที่ผู้เรียนต้องตระหนักถึงเรื่องที่อ่าน ภาระงาน และตนเอง เป็นกลวิธีการอ่านที่มีคุณลักษณะที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจการอ่าน  และเป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการอ่านระหว่างครู นักเรียน และสิ่งที่อ่าน ผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ใช้อภิปัญญาและการเสริมการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้สามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้จับใจความสำคัญ สรุปความ ตีความ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และตัดสินใจ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางปีพุทธศักราช 2551 จึงได้สนใจที่จะศึกษากลวิธีการสอนอ่านในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้ในชั้นเรียน และเพื่อช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนานภาษาอังกฤษควรส่งเสริมการฝภิปัญญา เพื่อช่วย

ให้นำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมการทำความเข้าใจและสร้างความรู้ผ่านวิธีการต่างๆ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิด

 

 

หมายเลขบันทึก: 460171เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท