เด็กหญิงปิยนุช


ปัญหาของเด็กหญิงปิยนุช

    

               การกำหนดวิธีการและการจัดการกับสถานะการณ์ปัญหาการไร้รัฐของเด็กหญิงปิยนุช  อากาเป เด็กหญิงปิยนุช  เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทยจากบิดาและมารดาชาวพม่าที่เข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย  เมื่อบิดาและมารดาได้เสียชีวิตลงในขณะที่เด็กหญิงปิยนุชยังเป็นผู้เยาว์  ได้มีคุณมุขทำหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู  โดยรับมาและให้พำนักอยู่ที่ศูนย์ช่วยเหลือเด็กกำพร้าและเรียนหนังสือจนขณะนี้กำลังศึกษาในชั้น ป 4   ปัจจุบันเด็กหญิงผู้นี้อายุ 11 ปี  การที่จะกำหนดวิธีการและการจัดการปัญหาการไร้รัฐในกรณีนี้  จึงต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ถึงสถานะตามกฎหมายของเด็กหญิงปิยนุช  และวิเคราะห์ในด้านสิทธิของเด็กหญิงผู้นี้ที่มีต่อรัฐไทย  ต่อจากนั้นจึงวิเคราะห์ถึงสิทธิที่จะพึงมีพึงได้ตามกฏหมายระหว่างประเทศและตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มกราคม  2548  หลังจากนั้นจึงจะสามารถสรุปและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา       1 สถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของเด็กหญิงปิยนุชในขณะที่เด็กหญิงปิยนุชเกิดนั้น  บุคคลผู้นี้ไม่อาจได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตจากบิดาและมารดา โดยผลของมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.2508 เพราะบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวเมื่อพิจารณาถึงการได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนในมาตรา 7 (2 ) ในกรณีนี้  เด็กหญิงปิยนุชแม้จะเกิดในประเทศไทยแต่ก็เกิดจากบิดาและมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองมาโดยมิได้รับอนุญาติ  จึงย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทยตามหลักในมาตรา   7ทวิ (3  ) อันเป็นบทยกเว้นของมาตรา 7 (2 )อย่างไรก็ตาม  การที่เด็กหญิงปิยนุชเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทย  จึงไม่ถือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิได้รับอนุญาติ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/ 2533 และย่อมถือได้ว่าเป็นคนไร้สัญชาติที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยแล้ว                  2 บทวิเคราะห์ในด้านสิทธิของเด็กหญิงปิยนุชที่มีต่อรัฐไทย            เมื่อพิจารณาถึงสิทธิในความเป็นมนุษย์ของเด็กหญิงปิยนุช  ทั้งในด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนษย์ชน ค.1948   อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.1989  ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของคนไร้รัฐ  รวมทั้งกฎหมายภายในของประเทศไทย  เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.2540  ตามมาตรา 4 ที่รับรองถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของบุคคล และมาตรา 30 ในเรื่องความเสมอภาคกันกฎหมายของบุคคล  ทำให้เห็นว่าเด็กหญิงปิยนุช  ซึ่งเกิดในประเทศไทยและไม่สามารถเดินทางกลับไปยังประเทศต้นทางได้  รวมทั้งเป็นบุคคลไร้รากเหง้า ( บิดามารดาที่เป็นคนต่างด้าวได้เสียชีวิต) จึงเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการพิจารณาให้พำนักอยู่ในประเทศไทย            จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎอีกว่า  เด็กหญิงปิยนุชซึ่งเกิดในประเทศไทยแต่ไม่มีเอกสารใด ๆ ที่จะพิสูจน์ตัวบุคคล  จึงส่งผลให้เด็กหญิงปิยนุชเป็นบุคคลไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริงอีกด้วย  ดังนั้นกระบวนการที่จะเยียวยาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีนี้  นอกจากจะอาศัยกฎหมายแล้วยังต้องอาศัยสิทธิที่จะเกิดขึ้นตามกรอบยุทธศาสตร์การจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม.  เมื่อวันที่  18  มกราคม พ.2548 อีกด้วย                      3 สิทธิของเด็กหญิงปิยนุชที่จะพึงมีพึงได้ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม. เมื่อวันที่  18 มกราคม  .2548              ยุทธศาสตร์ตามมติ ครม. นี้เป็นการกระทำทางปกครองที่นำเอาหลักการที่สำคัญตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในมาผสมผสานกันเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถานะและสิทธิของบุคคลไร้สัญชาติ  โดยอยู่ในหลักการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลและความมั่นคงของชาติ  การยอมรับความจริงว่ามีกลุ่มคนที่มีปัญหาทางสถานะและสิทธิที่ไม่สามารถส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้และมีการกำหนดให้รับรองสถานะของบุคคลเหล่านี้ตามกฏหมายไทยแก่กลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม  ทั้งนี้นอกจากเพื่อหลักสิทธิมนษยชน ความมั่นคงของชาติแล้ว  ยังเป็นการปฎิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย            ในกรณีของเด็กหญิงปิยนุชนี้  เป็นบุคคลต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยแต่เป็นบุคคลไร้รากเหง้าและยังไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันหรือพิสูจน์ถึงสถานะความเป็นบุคคลอีกด้วย  จึงจัดเป็นบุคคลในกลุ่มที่ 5 ตามยุทธศาสตร์  กล่าวคือ เป็นบุคคลไร้รากเหง้าซึ่งไม่ทราบที่มาหรือจุดเกาะเกี่ยวที่ชัดเจนโดยไม่มีประเทศต้นทางใดยอมรับ  รวมทั้งไม่ได้มีการกำหนดสถานะใด ๆ ให้แก่บุคคลเหล่านี้อย่างชัดเจน  ซึ่งมาตรการเร่งด่วนที่ทางการสามารถจะกระทำได้ในกรณีนี้คือการให้สถานะทางบุคคลโดยเริ่มจากการสำรวจและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  เพื่อให้ชื่อของเด็กหญิงปิยนุชนี้ไปปรากฎอยู่ในระบบทะเบียนราษฎร์  อันจะก่อให้เกิดการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานอื่น  ๆ เช่น  สิทธิในการศึกษา  สิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นต้น  ทั้งนี้อย่างน้อยก็เพื่อให้เด็กหญิงปิยนุช  สามารถอยู่ในสังคมและมีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมในอนาคตต่อไป                 4 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา                 ระยะแรก : การให้สถานะบุคคลแก่เด็กหญิงปิยนุช           รัฐควรดำเนินการสำรวจและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลให้กับเด็กหญิงปิยนุช  เพื่อที่จะได้ถูกจัดอยู่ในสารบบทะเบียนและจัดเป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด  รวมทั้งดำเนินการจัดบันทึกข้อมูลของเด็กหญิงปิยนุชให้อยู่ในทะเบียนราษฎร์และจัดทำบัตรประจำตัวของคนต่างด้าวด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.2493 เมื่อเด็กหญิงผู้นี้มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์    ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการศึกษาและการได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย                 ระยะที่สอง              หากเด็กหญิงปิยนุชได้รับการจดชื่อให้อยู่ในระบบทะเบียนราษฎร์และอาศศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 10 ปี  จนกลมกลื่นกับสังคมไทยและไม่สามารถเดินทางกลับไปประเทศต้นทางหรือไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศต้นทางแล้ว  รวมทั้งได้รับการศึกษาจนจบขั้นอุดมศึกษา  ในกรณีนี้ก็สามารถที่จะดำเนินการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามหลักเกณฑ์ของการขอสัญชาติในโอกาสต่อไป                                                                                                           นำเสนอโดย นายอมรินทร์  ม่วงมณี                                              
หมายเลขบันทึก: 45921เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มาฝากรอย   มีสาระความรู้มากค่ะ

พ่อเป็นจีน แม่เป็นจีน เข้ามาเมืองไทยทำธุรกิจ

นำเข้าส่งออก มีวีซ่า และWork permited เรียบร้อย เข้ามาอย่างถูกต้อง อยู่เมืองไทยมา 3 ปีแล้ว

ขอถามครับ

ถ้าคลอดลูกที่เมืองไทย จะได้สัญชาติไทยหรือเปล่าครับ

และจะส่งลูกเรียนต่อในเมืองไทยได้ไหมครับ

และถ้าลูกประสงค์จะถือสัญชาติไทยต่อไปในอนาคตจะได้ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท