เกษตรกรต้นแบบอำเภอพะโต๊ะ


เกษตรกรต้นแบบ

การจัดการความรู้จังหวัดชุมพร

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

ประเด็นยุทธศาสตร์ : พัฒนาระบบการตลาดและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ

 

 

เกษตรกรต้นแบบ

 

การรับรองมาตรฐาน GAP

สำนักงานเกษตรอำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร

ข้อมูลเกษตรกรเจ้าของแปลง 

ชื่อ-สกุล       นางสมคิด   วรรณจิตต์             อายุ   44   ปี

ที่อยู่           เลขที่  84  หมู่ที่ 4  ตำบลปังหวาน  อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน        3  8606  00094  79  8

ชนิดพืชที่ผ่านการรับรอง  GAP            กาแฟ 

ขนาดพื้นที่ปลูก              5   ไร่

 ประวัติและประสบการณ์ของเกษตรกรในการทำการเกษตรตามระบบส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน GAP

นางสมคิด   วรรณจิตต์  เป็นเกษตรกรที่ขยันขันแข็งมีคามตั้งใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ   มาพัฒนาเพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด  แต่ประสบปัญหา  เรื่อง  การดูแลรักษาพืชผลปัจจัยการผลิตราคาสูง  และที่สำคัญด้านการตลาดราคาผลผลิตที่จ่ายได้ไม่คุ้มต้นทุน  นอกจากนั้นฤดูการผลิต  สภาพอากาศ  ปริมาณน้ำฝน และปัจจัยอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้แปรเปลี่ยนไปมาก  ยากแก่การควบคุมคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพ  โดยเฉพาะในฤดูกาลผลิตกาแฟ  ปี 2554  กาแฟออกดอกได้สมบูรณ์มาก  แต่ระยะดอกบานช่วงเดือนกุมภาพันธ์  2554 ฝนตกชุกมากส่งผลให้กาแฟติดผลประมาณ  40%  ของผลผลิตทั้งหมด

ประสบการณ์ของเกษตรกร 

ปี  พ.ศ.

ชนิดพืชที่ปลูก 

การเข้าสู่ระบบ GAP

สภาพการณ์การผลิต 

2529-2541

กาแฟแซมทุเรียน

-

ราคากาแฟตกต่ำมากโค่นกาแฟไว้เฉพาะทุเรียน

2542

ทุเรียนหมอนทอง (70 ต้น)

-

ทำทะวายตายทั้งแปลง

2542

กาแฟ (เบอร์ 027) เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 500 ต้น

-

-

2553

ปลูกทุเรียนแซมกาแฟ

เตรียมความพร้อม GAP

ผลผลิตกาแฟเมล็ดเล็ก

2554

ปลูกทุเรียนแซมกาแฟ

สู่ระบบรับรองมาตรฐาน GAP

ปฏิบัติตามระบบจัดการคุณภาพพืช (GAP)

นอกจากนั้น  นางสมคิด   วรรณจิตต์  ได้สร้างบ้านอยู่ในแปลงปลูกกาแฟทำให้มีเวลาบำรุงรักษาสวนกาแฟตามระบบการจัดการคุณภาพพืชเป็นอย่างดี  แต่ผลผลิตกาแฟในฤดูกาลผลิต  ปี  2554/2555  ให้ผลผลิตเพียง  40%  และเมล็ดกาแฟมีขนาดเล็กทำให้ขาดกำลังใจ  แต่ทั้งนี้ได้ปลูกทุเรียนแซมในสวนกาแฟไว้แล้ว  และมีการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน (ไก่ชน)           เพื่อจำหน่าย  นำมูลไก่  ทำปุ๋ยหมัก  ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงปลาในบริเวณสวนกาแฟ           เพื่อสนับสนุนระบบ GAP  และเสริมรายได้แก่ครอบครัว 

องค์ความรู้ที่เกษตรกรใช้ในการทำการเกษตรตามระบบ GAP

1.  แหล่งน้ำ

                   แหล่งน้ำที่ใช้ มี  3  ประเภท

1.1       น้ำห้วยเป็นแหล่งธรรมชาติมีลักกษณะสภาพแวดล้อมที่ดีไม่มีสารปนเปื้อน

1.2       น้ำฝน

1.3       น้ำจากบ่อเลี้ยงปลา

2.  พื้นที่ปลูก

                   พื้นที่ปลูก  จำนวน  5  ไร่  สภาพพื้นที่เป็นเนินดิน  มีพื้นราบหลังเนินล้อมรอบด้วยภูเขา  มีลำห้วยน้ำไหลผ่านทั้งปี  สภาพพื้นที่เหมาะสมเพื่อทำการเกษตร  ลักษณะดินเป็นดินร่วนและมีดินลูกรังอยู่บ้างบางส่วนของพื้นที่

3.  การใช้วัตถุอันทรายในการทำการเกษตร

                   วัตถุอันตราย  ไม่ใช้  เพราะในแปลงปลูกกาแฟมีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง (ไก่ชน) เพื่อจำหน่าย  ใช้ตาข่ายล้อมรอบแปลงกาแฟเป็นจุด ๆ  จุดละ 1-2 งาน  เพื่อเลี้ยงไก่และจัดทำโรงเรือนให้ไก่ได้พักในแปลงกาแฟ

4.  การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง

                   ผลผลิตกาแฟ  เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วที่ผ่านมานำผลผลิตตากในบริเวณบ้านซึ่งอยู่ในแปลงกาแฟไม่ได้ขนย้ายออกนอกแปลง  การขนย้ายทำด้วยความระมัดระวัง

5.  การบันทึกข้อมูล

                   การบันทึกข้อมูลที่ผ่านมาเกษตรกรจะไม่บันทึกข้อมูลจะใช้การจำข้อมูลการปฏิบัติงานในแปลง  พอพูดคุยกับเกษตรกรจะจำไม่ได้  สับสน  ทั้งนี้ได้เน้นย้ำให้เกษตรกรใช้การ

บันทึกข้อมูลที่ปฏิบัติงานในแปลงทุกครั้ง  และเป็นปัจจุบันและให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการผลิตและการตลาด

6.  การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช

                   การผลิตกาแฟไม่ใช้สารเคมีเนื่องจากที่อยู่อาศัยอยู่ในแปลงกาแฟ และมีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง (ไก่ชน)  ในแปลงกาแฟด้วย  การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืชที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นตัวควบคุมศัตรูพืช  นอกจากนั้นมีการจัดการแปลงกาแฟให้สะอาด  ทำลายที่อาศัยของศัตรูพืช  โดยเฉพาะมอดกาแฟ  ทำให้ผลผลิตปลอดศัตรูพืชได้ส่วนหนึ่ง

7.  การจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ

                   การจัดการกระบวนการผลิตกาแฟ  ได้ดำเนินการตามแผนควบคุมการผลิตหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต  ให้ดำเนินการตัดแต่งกิ่ง 

7.1 ทำความสะอาดแปลง  กำจัดกิ่งแห้ง  เพื่อกำจัดที่อยู่อาศัยของมอด

7.2  ใส่ปุ๋ย  โดยการใช้ปุ๋ยสูตร  15-15-15  ผสมปุ๋ยสูตร  46-0-0  อัตรา 1:1 ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสมของต้นกาแฟ  โดยแบ่งใน  2  ครั้ง  ต้นฝนและปลายฝน

7.3  การให้น้ำ  มีการให้สม่ำเสมอ  โดยระบบสปริงเกอร์  และระมัดระวังการให้น้ำในระยะกาแฟดอกบานจะต้องไม่ให้น้ำไปถูกดอกกาแฟ

7.4  การป้องกันกำจัดแมลงกาแฟ  โดยใช้ศรัตรูธรรมชาติช่วยในการป้องกันกำจัดประกอบการตรวจแปลงกาแฟอย่างสม่ำเสมอ  ศัตรูที่สำคัญมอดเจาะผลกาแฟกัดกินภายในผลกาแฟตั้งแต่เริ่มสุข  เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

8.  การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

                   การเก็บเกี่ยว  กาแฟที่ปลูกเบอร์ 027  เป็นพันธุ์กาแฟเพาะเนื้อเยื้อ มีผลขนาดเล็กข้อถี่ เป็นพันธุ์กาแฟที่สุกเร็ว  ซึ่งขณะนี้  วันที่  25  กรกฎาคม 2554  ผลผลิตกาแฟเริ่มสุกบ้างแล้วและมีมอดเข้าทำลาย  ฉะนั้นจะต้องทยอยเก็บผลผลิตกาแฟที่มีสีแดง  สีเหลือง  ออกจากต้น  การเก็บเกี่ยวทำได้ไม่ยาก  เพราะกาแฟมีอายุ  3  ปี  ต้นกาแฟมีขนาดไม่สูงมาก  ปัญหาที่ผลกาแฟมีขนาดเล็กมาก  ผลผลิตไม่ดกติดผลเพียง  40%  ของผลผลิตทั้งหมด  เพราะฝนตกในระยะดอกบาน

                   การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว  ผลผลิตกาแฟหลังการเก็บเกี่ยว  เมล็ดกาแฟมีความชื้นสูง  มีเศษดิน  กิ่งแห้ง  ผลแห้ง  สิ่งสกปรกต่างๆคละปนมากับเมล็ดกาแฟ สิ่งที่ต้องปฏิบัติ

                             ?  คัดแยกผลกาแฟ  โดยการนำผลผลิตกาแฟไปลอยน้ำ  เพื่อนำสิ่งที่ปะปนออกมาจากเมล็ดกาแฟในขั้นต้นก่อน

                             ?  นำกาแฟที่คัดแยกเป็นเมล็ดกาแฟที่สมบูรณ์นำไปตากบนร้านตาก  หรือบนลานตากกาแฟ  จะไม่หมักกาแฟไว้ในกระสอบหรือรวบรวมไว้

                             ?  เมื่อตากเมล็ดกาแฟแห้งได้พอเหมาะพร้อมสีได้  นำเมล็ดกาแฟบรรจุใสกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งอากาศถ่ายเทได้สะดวก  เมื่อรวบรวมเมล็ดกาแฟแห้งได้  300-500 กิโลกรัม  พร้อมตรวจสอบราคากาแฟที่พอขายได้จะนำไปโรงสี  เมื่อสีกาแฟเสร็จแล้วนำไปจำหน่ายให้ผู้ค้ากาแฟในท้องถิ่นในวันเดียวกัน 

9.  หลังได้รับรองมาตรฐาน  GAP  มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

                   มีความคิด  ความตั้งใจ  เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตกาแฟให้ดีที่สุดตามศักยภาพ

10.  ระบบ GAP ดีอย่างไรในความรู้สกของเกษตรกร

                   1)  มีความรู้ในกระบวนการผลิต  ทำให้ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพ

                   2)  การจดบันทึก  ช่วยให้สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้

                   3)  ช่วยให้กาแฟที่ปลูกในแปลงมีความสมบูรณ์  มีอายุการให้ผลผลิตได้ยาวนาน

                   4)  มีเจ้าหน้าที่เกษตร  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเยี่ยม  เพื่อให้ความรู้ด้านการผลิต และการตลาด

11.  ท่านได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรรายอื่นอย่างไรบ่าง

                   ได้มีการพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ  เรื่องพันธุ์กาแฟที่ปลูกเป็นกาแฟเบอร์ 027  เพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ  ซื้อจากบริษัทควอลิตี้คอฟฟี่ โปรดักท์ จำกัด  มีปัญหาเมล็ดเล็ก  นอกจากนั้นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันกำจัดมอดกาแฟ  การลดต้นทุนการผลิต    การพัฒนาคุณภาพผลผลิตกาแฟ และเรื่องการตลาด    

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรกรต้นแบบ
หมายเลขบันทึก: 458462เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับพี่ประสงค์
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท