นักศึกษาและอาจารย์ระวังการถูกฟ้องร้องจากการคัดลอกข้อความ


ช่วงนี้มีนักเรียนนักศึกษาเข้ามาเขียนบล็อกเพื่อส่งการบ้านผ่าน GotoKnow จำนวนมาก และบันทึกที่พบเห็นนี้โดยส่วนใหญ่เป็นการคัดลอกเนื้อความของผู้อื่นมาแปะในบล็อก ซึ่งถือเป็นการ "โจรกรรมทางวรรณกรรม" ทางออนไลน์นะค่ะ

อ้างถึงจาก Wikipedia นะค่ะว่า "การฟ้องร้องโจรกรรมทางวรรณกรรมสามารถทำได้ทางแพ่ง โดยเจ้าทุกข์สามารถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายจากถูกโจรกรรมทางวรรณกรรมได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมก็ได้"

ดังนั้นนักเรียนนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนพึงตระหนักเรื่องการโดนฟ้องร้องจากเจ้าของเนื้อหาไว้นะค่ะ ซึ่งตามที่เคยเกิดขึ้นแล้วนั้น อาจารย์ผู้สอนจะเป็นจำเลยร่วมค่ะ

ในการนี้ ทาง GotoKnow จะไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ตามเงื่อนไขการใช้บริการ http://www.gotoknow.org/policies ที่ได้ระบุไว้ตั้งแรกเริ่มนะค่ะ

และกรุณาศึกษาแนวทางการเขียนโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้จากที่นี่นะค่ะ http://www.gotoknow.org/nonplagiarism-writing-guideline

หมายเลขบันทึก: 458030เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2011 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เนื้อหา " "โจรกรรมทางวรรณกรรม" ควรเป็นเนื้อหาหนึ่งที่ครูต้องสอนนักเรียนก่อนที่จะตัดสินใจให้ใบงานนี้ เพราะถือเป็นความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายอย่างที่หลาย ๆ คนไม่รู้ตัว และตามบทบัญญัติของกฎหมาย เราก็อ้างไม่ได้ด้วยว่า "ไม่รู้กฎหมาย" ;)...

ขอบคุณครับ อาจารย์จัน ;)...

สวัสดีค่ะ ดร. จันทวรรณ (สวยหน้าเด็ก )ขอบคุณที่ให้กำลังใจ ขอร่วมแปลงบันความรู้ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์น้องสาวของ ครูอ้อย

ข้อความ ในบล็อกของครูอ้อย ส่วนใหญ่เขียนจากความคิด และประสบการณ์ของครูอ้อย  ครูอ้อย มีแต่จะนำความรู้ ผลงาน มาเผยแพร่  และมีผู้คน มาก๊อป  มาอ้าง  และโหลดไปใช้ 

ไม่เคยหวงเลยค่ะ  เพราะคิดว่า  จะนำไปใช้อย่างไร  ปัญญานั้นๆก็อยู่กับตัวเราเองเสมอ

เอ   แต่การไปนำของคนอื่นมา  ครูอ้อยก็เคย มีเจ้าของภาพมาทักทายว่า.....คุ้นๆๆนะภาพนี้  และครูอ้อยก็  ขออภัย และ ลบทิ้งเลย  ครั้งเดียวค่ะ  

แต่ของครูอ้อยเอง  ถูกนำไปใช้ ทั้งการศึกษา  การค้า  ตามไปพบ กลับ ยิ้มยิ้ม  ไม่ได้รู้สึกเป็นอย่างอื่น

แต่ก็ ขอบคุณนะคะ  ครูอ้อย จะท่องไว้ เสมอ ไม่นำของคนอื่นมา โดยเด็ดขาดค่ะ

ช่วยกันคิดครับ

ในทางปฏิบัติ

เปลี่ยน copy&paste เป็น read, summarise, rewrite/paraphrase & cited อาจจะป้องกันเรื่องการคัดลอกได้ครับ 

หมอสุข

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ... คนรุ่นใหม่อย่าเพิ่ง "ดูถูกตัวเอง" คิดว่า ถ้าเราเขียนเอง ค้นคว้าเอง ไม่ลอกใคร แล้วจะไม่มีใครอ่าน... // เพราะคนรุ่นใหม่ที่สามารถสร้าง "ความแตกต่าง (differentiate)" ให้งานเขียนต่างจากคนรุ่นเก่าได้ มีโอกาสได้รับการนำไปอ้างอิง ตีพิมพ์ หรือสร้างทรัพย์สินปัญญาให้ประเทศชาติได้ --- อย่าลืมว่า "คนเรามักจะทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ"

ขอขอบคุณท่านDr.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์(น้อยวัน)และครอบครัว

ตัวเองจะเจอลักษณะนี้บ่อยมากค่ะ ตัวอย่างเช่น อาจารย์ด้วยกันนำข้อเขียนที่เราเขียนไว้ไปใส่ในเอกสารอบรมนักศึกษา (ยกข้อความไปทุกตัวอักษรความยาวประมาณ 2 หน้า) โดยไม่อ้างอิง เสมือนหนึ่งว่า ข้อความทั้งหมดนั้น ท่านผู้นั้นได้เขียนขึ้นมาเอง (เอกสารดังกล่าวไม่ใส่แหล่งอ้างอิง/บรรณานุกรม) อาจารย์ด้วยกันนำข้อเขียนที่เราเขียนไว้ ไปใส่ในตำราของตนหลายแห่ง โดยการยกข้อความไปทุกตัวอักษรความยาวแห่งละครึ่งหน้า-3 หน้า โดยไม่มีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (จึงเสมือนหนึ่งว่า ข้อความทั้งหมดนั้น ท่านผู้นั้นได้เขียนขึ้นมาเอง) มีเฉพาะที่ปรากฏในบรรณานุกรม และครูที่ทำผลงานทางวิชาการไปให้เราซึ่งเป็นผู้ตรวจประเมินคนหนึ่ง คัดลอกข้อความจากตำราของเราไปทุกตัวอักษรต่อเนื่องกันรวม 3 หน้าครึ่ง โดยไม่มีทั้งการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา และในบรรณานุกรมก็ไม่มีรายการตำราของเรา แต่ตนเองก็ไม่ได้ทำอะไรค่ะ

ตอนนี้วิชาสัมมนากิจกรรมบำบัดก็ต้องตักเตือนนักศึกษาทุกครั้งในเรื่องการโจรกรรมทางปัญญาครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครูอ้อยนะคะ ที่ให้คำแนะนำที่ดีมากค่ะ ทุกคนต้องให้เกียรติเจ้าของผลงานต่างๆที่นำมาตีพิมพ์นะคะ

การลงทางเน็ต มันไม่สมบูรณ์เสมอไป เช่นพวกตัวเลข เลขยกกำลัง

อยากลงก็แสดงว่าเผยแพร่ ให้นศ เขาไปเถอะ ตายไปก็เอาไปไม่ได้ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท