จบบทเรียน "PAR"


ทางออกของการทำงานส่งเสริมให้มีชีวิตและไม่ตาย

   เมื่อการทำงาน ไปถึงจุด ๆ หนึ่งที่เราได้คำตอบหรือข้อค้นพบตามที่เราสงสัย ก็ถือว่าเราบรรลุผล

     การจัดเวทีการแถลงและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ "การพัฒนาบุคลากรโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม" หรือที่เราเรียกกันว่า "พาร์" (PAR) ของจังหวัดกำแพงเพชร ประจำเดือนสิงหาคม 2549 ที่เกิดขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร นั้น ทำให้เกิดข้อสรุปของคำว่า "ทำไม? เราต้องทำ...รีเสิร์ท (R)" 

     เพราะที่ผ่านมาเรามีทุนเดิมของคำว่า "P" (Paticipatory) และ     คำว่า "A" (Action)  ฉะนั้น เมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องที่เรายังมีข้อมูลและคำตอบที่ยังไม่ชัดเจนเราเลยต้องนำการวิจัยชุมชนเข้ามาใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งจะทำให้งานส่งเสริมไม่หยุดนิ่ง.

หมายเลขบันทึก: 45638เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การส่งเสริมที่ไม่หยุดนิ่ง นั้นหมายถึง กระบวนการ

ต่าง ๆ สามารถค้นหาคำตอบด้วยคนในชุมชน ผู้เข้าศึกษาสามารถทราบคำตอบได้เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้านและสร้างเครือข่ายฯ บนข่ายงานที่ทำนั้น....

ชุมชนและเรามีเรื่องที่ให้ทำอยู่ตลอดเวลา "มีส่วนร่วม" อย่างแท้จริง และเป็นงานของชุมชนที่เราถ่ายโอนให้เขาได้  แล้วเรามาทำบทบาทเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาอย่างแท้จริง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท