โรคเบาหวาน 2


โดย Wallaya Krangkatok

การเยี่ยมบ้าน 

A: ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคหอบหืด น้ำหนัก 63 kg ส่วนสูง 160 cm.  BMI=24.60 kg/m2 (อ้วน) ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับลูกสาวคนโต และหลานสาว ลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ผู้สูงอายุจะอยู่ชั้นล่าง บริเวณบ้านเป็นพื้นปูนหมด  มีต้นไม้รอบๆบริเวณบ้าน  แต่จะมีราวสำหรับจับ รอบบ้านและในห้องน้ำ  บ้านจะอยู่ติดถนน ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง จัดยาทานเอง  ไม่ขาดยา แต่  ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันโดยการทำกายบริหารวันละ 30 นาที รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ และตรงเวลา ไม่ชอบทานอาหารรสหวาน เผ็ด เปรี้ยว และเค็ม  ผู้สูงอายุทำงานบ้านเองและทำกิจวัตรประจำวันเอง  จากการประเมินร่างกาย พบว่า  ร่างกายสะอาด  ไม่มีบาดแผล  สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ 

P: ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองให้ดีขึ้นเกี่ยวกับโรคที่เป็นและการรับประทานยา

I: M: แนะนำเรื่องการทานยา เช่น การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

  • รับประทานยาให้ตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
  • ก่อนรับประทานยาทุกครั้งควรดูหน้าซองยา จำนวนเม็ดยา เวลาที่รับประทาน และยาชนิดไหน
  • ถ้าลืมรับประทานยาควรรีบทานทันทีที่นึกได้แต่ถ้านึกได้หลัง 2 ชั่วโมงไปแล้วไม่ควรทาน ควรทานมื้อถัดไปเลย และไม่ควรรับประทานเป็นสองเท่า
  • แนะนำให้พ่นยา Budesonide inhaler 200 mcg. ทุกวันเช้าและเย็น
  • แนะนำให้จดบันทึกการรับประทานยาไว้ที่ปฏิทินที่บ้าน เช่น วันนี้วันที่ 17 สิงหาคม 2554รับประทานยาตอนเช้าไปแล้วก็ ใช้ปากกาขีด 1 เส้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่ารับประทานยาไปแล้ว 1 มื้อ พอมื้อเที่ยงและเย็นก็ใช้ปากกาขีด  1 ขีด เพื่อป้องกันการลืมรับประทานของผู้สูงอายุ

             E: แนะนำเรื่องสิ่งแวดล้อม พยายามอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อยู่ในที่มีกลิ่นควันบุหรี่ ฝุ่น กลิ่นสี จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

T: แนะนำถึงแผนการรักษาที่ผู้สูงอายุกำลังป่วย ซึ่งต้องรักษาด้วยการทานยาและพ่นยาทุกวัน ต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อาจจะกระตุ้นให้อาการหอบหืดเป็นมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม ควันบุหรี่ ควันจากเตา

H: แนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 15-30 นาที เช่น การเดิน การแกว่งแขน   การบริหารปอด

ท่าที่ช่วยในการบริหารปอด ได้แก่

ท่าที่ 1 ท่าหายใจด้วยท้อง หรือกระบังลม นอนหงายกับพื้น วางต้นแขนทั้ง 2 แนบลำตัว วางมือบนอก และท้อง งอเข่า 2 ข้าง

- สูดหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูก ให้หน้าท้องป่องออก และหน้าอกมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก


- ผ่อนลมหายใจออกยาว ๆ ผ่านทางไรฟัน ในขณะที่ปากเผยอออกเพียงเล็กน้อย

 ท่าที่ 2 ท่าพักเหนื่อย จะช่วยให้เหนื่อยน้อยลง เมื่อหายใจไม่ค่อยสะดวก

- นั่งพัก เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย

- วางข้อศอกบนเข่า 2 ข้าง หายใจ เข้าและออกช้า ๆ หรือวิธี

- นั่งพับเพียบ หมอนวางบนตัก

-วางแขน และซบหน้าลงบนหมอน

 

 

ท่าที่ 3 ท่าโน้มตัว

- นั่งบนเก้าอี้ แล้วโน้มตัวลง มือแตะพื้นขณะหายใจออก

- กลับยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แยกเป็นตัว V ขณะหายใจเข้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ท่าที่ 4

- มือ 2 ข้างประสานท้ายทอย ยกมือลงเอาศอกชิดกัน ขณะหายใจออก กางข้อศอก ขณะหายใจเข้า

 

 

 

 

 

 

ท่าที่ 5 ใช้ไม้เท้าในท่ายกแขน 2 ข้างขึ้น ขณะหายใจเข้าแล้วยกลงในขณะหายใจออก

 

 

 

 

O: แนะนำให้ผู้สูงอายุมารับการรักษาตามนัดทุกครั้ง ถ้าผู้สูงอายุมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น หายใจหอบเหนื่อยมาก เหนื่อย ให้รีบมาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอถึงวันนัด

 

              D: แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหาร ครบ 3 มื้อ ตรงตามเวลา แนะนำให้ควบคุมอาหาร ควรงดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อติดมัน ทุเรียน ลำไย อาหารที่มัน เช่น กะทิ และแนะนำให้รับประทานอาหารจำพวกปลา และทานผัก ผลไม้ เพื่อช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น

E: ผู้สูงอายุเข้าใจคำแนะนำ สามารถอธิบายเรื่องการทานยา การรับประทานอาหารได้

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โรคเบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 455349เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท