ผมร่วง


โดย Supharat Meerahunnok

ผมร่วง ( Alopecia ) มี 2 ประเภท
Scarring – ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมถูกทำ ลาย ทำให้ผมร่วงอย่างถาวร ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียผมอย่ างถาวรตามมา
Non Scarring – ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมยังไม ่ถูกทำลาย ผมร่วงในลักษณะนี้สามารถรักษาให ้หายได้ เนื่องจากเซลล์รากผมยังไม่ถูกทำ 

ลายอย่างถาวร แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจพัฒนาไปสู่แบบ Scarring ได้

สาเหตุ ผมร่วง ( Alopecia ) 
ความเครียด ความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด การคลอดบุตร 
ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือต่ำเก

 

 

ินไป
อาการแพ้ยา
การฉายรังสี
การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อรา เอชไอวี 
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
โรคทางผิวหนัง DLE และโรคทางภูมิคุ้มกัน SLE 
ภาวะโลหิตจาง
เส้นผมถูกดึงรั้งแน่นเกินไป 
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

รายงานการเยี่ยมบ้าน

A : ผู้ป่วยหญิง คู่ อายุ  62  ปี  อาศัยอยู่กับสามี  บุตรสาว  2  คน  และหลานอีก  2  คน  ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2540  ได้รับยา  Metformin hydrochloride  500 mg  1 เม็ด   หลังอาหาร  เช้า-เย็น  และยา  Aspent-M  1 เม็ด  หลังอาหารเช้า  ผู้ป่วยรับประทานยาได้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่ง  วันที่  9 สิงหาคม  2554  ผู้ป่วยมีปัญหาปวดหลังซีกขวา  และวันที่  17  สิงหาคม  2554  มาตามนัดเพื่อมาพบนักกายภาพบำบัด  หลังทำเสร็จได้กลับบ้านไปบริหารยืดกล้ามเนื้อและประคบอุ่นที่บ้าน  บ้านที่อยู่อาศัยเป็นบ้าน  2  ชั้น  ด้านบนเป็นไม้ด้านล่างเป็นปูน  ในห้องน้ำพื้นไม่ลื่น  หยาบๆ  และเป็นส้วมชักโครก  ถังน้ำเป็นถังพลาสติกแสงสว่างเพียงพอ  ไม่มีราวจับ  แต่ภายในบ้านยังจัดของไม่เป็นระเบียบ  มีของเล่นเด็กและมีของอื่นๆวางทางขึ้นบันได บันไดมีประมาณ  10  ขั้น  และแต่ละขั้นแคบ  สูงชัน  และไฟในบ้านไม่ค่อยสว่าง  เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม  อาจเกิดอุบัติเหตุได้

        การตรวจร่างกาย

V/S  :  BP = 133/68  mmHg  ,  P = 99  ครั้ง/นาที  ,  RR = 18  ครั้ง/นาที

ส่วนสูง  155  cm.  ,  น้ำหนัก  67  kg.  ,  BMI  =  27.88  kg/m2

ผม  :  Total  alopecia  (ผมร่วงหมดศีรษะ) 

ตา  :  ตาขวามองไม่เห็น  ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง  ตั้งแต่  5  ขวบ,  ตาซ้ายเห็นระยะห่างประมาณ  1  เมตร  ไกลจากนั้นมองไม่เห็น  เคยตรวจจอประสาทตาเสื่อมทั้ง  2  ข้าง

ฟัน  :  เหลือทั้งหมด  21  ซี่  ไม่มีฟันผุ

หู  :  เคยตรวจประสาทหูเสื่อม  ได้ยินเหมือนเจียหิน  บางครั้ง  บางวัน  ทางหูซ้าย

ผิวหนัง  :  ไม่แห้ง  ชุ่มชื่น 

เท้า  :  ปกติทั้งความรู้สึก  รูปร่าง  และไม่มีแผล

ประเมิน  2Q  =  0 คะแนน

P  :  ส่งเสริมความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและการระมัดระวังอุบัติเหตุเมื่ออยู่ที่บ้าน

I  :  ให้คำแนะนำตามแบบแผน  METHOD 

 Medication  (M) 

     แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานยาสม่ำเสมอ  อย่างต่อเนื่อง  ควรทานยาตรงตามขนาด  จำนวนครั้ง  ระยะเวลาที่ใช้  ตามแพทย์สั่ง  ไม่ควรหยุด  เพิ่ม  ลด  ยาเอง   ยาที่ได้รับในปัจจุบัน

Metformin hydrochloride  500 mg  1 เม็ด   หลังอาหาร  เช้า-เย็น  เป็นยารักษาโรคเบาหวาน

Aspent-M  1 เม็ด  หลังอาหารเช้า  เป็นยาบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะอักเสบของข้อและป้องกันหลอกเลือดอุดตัน

Environment (E)

     ลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยเป็นบ้านสองชั้น  ด้านบนเป็นไม้ด้านล่างเป็นปูน  แนะนำให้ญาติจัดสิ่งแวดล้อมเป็นระเบียบ เก็บของเล่นเด็กเป็นสัดส่วน  ป้องกันการสะดุดหกล้ม  และไม่ควรวางของบริเวณบันไดขึ้นชั้นสอง  เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น  ห้องน้ำควรมีราวจับเพื่อความสะดวกและป้องกันการลื่นหกล้มได้  และสภาพแวดล้อมรอบๆบ้านไม่ควรปล่อยให้รก  อากาศถ่ายเทสะดวก

Treatment (T)

     เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวาน  ลูกอมติดตัวไว้ ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน

 

 

 

Healthy (H)

     ออกกำลังกายทุกวันวันละ  15-30 นาที  สัปดาห์ละ  3  ครั้ง  ควรออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ   เช่น บิดตัวไปข้างๆช้าๆ  ก้มแตะปลายเท้า  เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังด้านขวาที่ปวดคลายตัว  และประคบอุ่น  ตามแพทย์แนะนำ  และแนะนำให้ผู้ป่วยลดน้ำหนัก  เดือนละครึ่งกิโลกรัม

Outpatient Referral (O)

                แนะนำให้กลับมาตรวจตามนัด  มาพบแพทย์ตามนัด  วันที่  20  สิงหาคม  2554  หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนนัดได้

Died (D)

              แนะนำผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่  รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่ายแม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงและควรควบคุม เช่น น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้งผลไม้กวนประเภทต่างๆ  ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ  ผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ  เช่น  ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ลำไย ละมุด อ้อย มะขามหวาน ลูกเกด ลำไย ผลไม้กระป๋องต่าง ๆ น้ำหวานประเภทต่างๆ  ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด  และควรมีการควบคุมปริมาณอาหาร  ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก  เพราะน้ำหนักมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างมากมาย

E  :  ผู้สูงอายุ   สามารถอธิบายเรื่องการรับประทานยาได้ถูกต้องและตรงเวลา  และอธิบายการเลือกรับประทานอาหารและการสังเกตอาการน้ำตาลต่ำ  คือ  จะรู้สึกหน้ามืด  จะเป็นลม  ผู้สูงอายุจะพกลูกอมติดตัวตลอด  ถ้ามีอาการดังกล่าวจะอมทันที  ถ้าน้ำตางสูง  จะรู้สึก  กระหายน้ำ  เหนื่อย  อ่อนเพลีย  ผู้สูงอายุจะสังเกตและควบคุมปริมาณอาหารที่ทานไปก่อนหน้านั้น  ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อน  หากมีอาการรุนแรงก็จะรีบไปหาหมอ

 

 

 

ความรู้เพิ่มเติม

ผมร่วง ( Alopecia )

Scarring – ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมถูกทำลาย ทำให้ผมร่วงอย่างถาวร โดยโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังและเยื่อบุ (Cutaneous lupus erythematosus) และ เชื้อราที่หนังศีรษะ เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการผมร่วงแบบนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียผมอย่างถาวรตามมา

Non Scarring – ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลาย อาการผมร่วงเป็นหย่อมวงกลมหรือวงรี (Alopecia areata) ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ ซึ่งมักเกิดจากกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำลายเซลล์รากผมของตนเอง และยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุจากอะไร ผมร่วงในลักษณะนี้สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลายอย่างถาวร แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจพัฒนาไปสู่แบบ Scarring ได้

สาเหตุ

  • ความเครียด ความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด การมีไข้เป็นเวลานาน การคลอดบุตร ภาวะเครียดทางจิตใจ การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
  • อาการแพ้ยา
  • การฉายรังสี
  • การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อรา ซิฟิลิส เอชไอวี เริม
  • ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • โรคทางผิวหนัง DLE และโรคทางภูมิคุ้มกัน SLE (Systemic and discoid lupus erythematosus)
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เส้นผมถูกดึงรั้งแน่นเกินไป ด้วยการม้วนด้วยที่ม้วนผม การมัดผมหางม้า และการถักผมเปียติดหนังศีรษะ
  • การบิดม้วนและดึงผมที่เกิดจากปัญหาทางจิตใจ
  • ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

การวินิจฉัยโรค

อาจจำเป็นต้องตรวจและทดสอบร่างกาย เช่น การดึงผม การนำผิวหนังบริเวณศีรษะไปตรวจ ตรวจการร่วงของขนในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการผมร่วง

การรักษา

  • การใช้ยาหรือแชมพูกำจัดเชื้อรา
  • การฉีดเสตียรอยด์
  • การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต เช่น นุ่มนวลกับผมของคุณมากขึ้น เรียนรู้และฝึกฝนควบคุมความเครียด
  • การผ่าตัด
    • การปลูกผม โดยการนำเส้นผมจากด้านหลังและด้านข้างของศีรษะ มาปลูกบนบริเวณที่ศีรษะล้าน
    • การผ่าตัดเคลื่อนย้ายหนังศีรษะ โดยการตัดหนังศีรษะบริเวณที่ล้านออก แล้วดึงหนังศรีษะส่วนที่มีเส้นผมให้เข้ามาอยู่ใกล้กันมากขึ้น

ในผู้ป่วย

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) คือ เม็ดเลือดขาวกลายเป็นมะเร็ง  มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมาก  ร่างกายควบคุมไม่ได้ เซลล์มะเร็งนี้ไม่สามารถทำงานได้  เซลล์มะเร็งมีมากทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีน้อย  เกิดภาวะซีด  และเลือดออกง่าย

2   Menopause คือ การหมดของระดูอย่างถาวรของสตรี เนื่องจากรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนเพศ โดยนับจากการไม่มีระดูติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม ทำให้สตรีเข้าสู่วัยที่ไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป

 

      อาการทั่วไปที่พบ ได้แก่ ร้อนวูบวาบเหงื่อออกมาก ใจสั่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด ปวดเมื่อย อ่อนล้า หลงลืม
      อาการอื่นได้แก่ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดแห้งและ เจ็บแสบเวลามีเพศสัมพันธ์ ผิวพรรณเหี่ยวย่น ผมร่วง เล็บเปราะ

      ตามปกติรากผมหรือขนจะฝังตัวในชั้นหนังแท้ ซึ่งมีคอลลาเจน (ตัวเพื่อความหนาและความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง) ประกอบอยู่เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ปริมาณคอลลาเจนจะลดลงตามไปด้วย ทำให้ผิวหนังแห้งบางและเหี่ยวย่น ขณะเดียวกันรากผมและขนที่เคยฝังตัวอยู่จะหลุดร่วงออกมาได้ง่าย

*  Menopause เนื่องจากการผ่าตัด ต่างจาก Menopause โดยธรรมชาติอย่างไร เมื่อรังไข่ทั้งสองข้างถูกตัดออกไป ร่างกายสตรีจะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศทันที เราถือว่าเข้าสู่วัย Menopause หรือหมดประจำเดือนโดยการผ่าตัด แต่ในสตรีที่ยังมีรังไข่ รังไข่จะค่อย ๆ ลดการทำงานลงและหยุดสร้างฮอร์โมนเพศ เมื่ออายุประมาณ 49 ปี จะถือว่าเข้าสู่วัย Menopause โดยธรรมชาติ

      เมื่อไม่มีมดลูก สตรีจะไม่มีระดูจึงไม่มีอาการระดูผิดปกติที่จะคอยเตือนให้ทราบ แต่จะสามารถสังเกตเห็นอาการผิดปกติทั่วไปอื่น ๆ ที่แสดงว่าเข้าสู่วัย Menopause แล้ว เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ปวดเมื่อย อ่อนล้า หงุดหงิด หลงลืม ผิวพรรณแห้งย่น ผมร่วง เล็บเปราะ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดแห้งแสบเวลาที่มีเพศสัมพันธ์

 

คำสำคัญ (Tags): #ผมร่วง
หมายเลขบันทึก: 455345เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท