โรคความดันโลหิตสูง


โดย Kantika Sairat

การเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 วันที่ 17 สิงหาคม 2554 เวลา 13.45 น.

A: ผู้ป่วยสามารถปรับตัว ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

P: ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลตนเองให้ดีขึ้น

I: M: ทบทวนความรู้เรื่องการทานยา เช่น การทานยาอย่างสม่ำเสมอ ทานให้ตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง ไม่ลืมกินยา ไม่หยุดยาเอง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง แนะนำให้น้องสาว (น้องสาวผู้ป่วยอยู่บ้านติดกันและจะอยู่ด้วยกันตลอด จึงให้คำแนะนำน้องสาว ส่วนคนในครอบครัวช่วงกลางวันจะออกไปทำงาน ไปเรียนกัน) ของผู้สูงอายุช่วยดูแลและตรวจสอบทุกครั้งในการกินยา  เพื่อป้องกันการลืมหรือกินยาเกินขนาด

E: แนะนำเรื่องสิ่งแวดล้อม คือ พยายามอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างเพียงพอ แนะนำให้จัดวางสิ่งของในบ้านให้เป็นระเบียบและเป็นสัดส่วน เพื่อสะดวกต่อการหยิบใช้ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ทำความสะอาดบ้าน ห้องน้ำ ห้องครัวทุกวัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค บริเวณรอบบ้านให้หมั่นตรวจดู เท และทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

T: แนะนำถึงแผนการรักษาที่ผู้สูงอายุกำลังป่วย ซึ่งต้องรักษาด้วยการทานยาอย่างต่อเนื่อง ต้องอาศัยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายควบคู่กัน

H: ทบทวนและแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือวันละ 15-30 นาที เช่น การเดิน การแกว่งแขนขา การบริหารร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ ไม้พลอง ยางยืด ให้ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละครั้ง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย โดยมีเป้าหมายในการลดน้ำหนักลงได้ 0.5-1 กิโลกรัม/เดือน

O: แนะนำเรื่องการมารักษาตามแพทย์นัดทุกครั้ง นัดครั้งต่อไป วันที่ 12 ตุลาคม  2554 เพื่อมารับยาต่อเนื่อง ถ้าผู้สูงอายุมีอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น เวียนศีรษะบ่อยมากขึ้น  ให้รีบมาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอถึงวันนัด

D: ทบทวนและแนะนำให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับการเจ็บป่วยของตนเอง โดยรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ตรงตามเวลา ทานผักผลไม้เป็นประจำ เพื่อส่งเสริมระบบขับถ่าย แนะนำให้ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น แกงกะทิ หมูสามชั้น ของหวานต่างๆ อาหารรสเค็ม เผ็ดของหมักดอง หรือไม่ควรรับประทานอาหารในปริมาณมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 6-8 แก้ว/วัน

 

E: ผู้สูงอายุเข้าใจคำแนะนำ บอกว่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำ สามารถอธิบายย้อนกลับเรื่องการทานยา การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารได้

 

อาหารสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 

คำแนะนำในการบริโภคอาหาร

1) อาหารที่มีโซเดียมมาก การจำกัดโซเดียม หมายถึง การกำหนดโซดียมที่รับประทานผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรจำกัดการรับประทานอาหารต่อไปนี้

    1.1 เกลือและอาหารที่มีเกลือมาก ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้วต่างๆ ซอสชูรสต่างๆ เต้าเจี้ยว กะปิ ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดองเค็มต่างๆ และอาหารแปรรูปต่างๆ ไส้กรอก กุนเชียง แฮม  หมูแผ่น

หมูหยอง เต้าหู้ยี้ เป็นต้น

    1.2 ที่ใช้ในการปรุงรส เช่น ผงชูรส, ผงฟู และสารกันบูดต่างๆ

    1.3 อาหารที่มีโซเดียมมากโดยธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม อาหารทะเลบางชนิด และ ผักบางชนิด เป็นต้น

    1.4 ยาบางชนิดจะมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่ด้วย เช่น ยาที่มีส่วนผสมของ

โซเดียม–ไบคาร์บอเนต ผู้ป่วยที่แพทย์สั่งจำกัดโซเดียมต้องคำนึงถึงยาเหล่านี้ด้วย

2) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง  อาหารทะเล ปาท่องโก๋  ไก่ทอด  มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ใช้ปริมาณน้ำมันมาก ๆ เนื้อสัตว์ติดมัน  ไขมันจากสัตว์  น้ำมันมะพร้าว  น้ำมันปาล์ม  กะทิ  เป็นต้น

3) จำกัดน้ำมันในการประกอบอาหาร และควรเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว  น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน  น้ำมันถั่วเหลือง  เป็นต้น

4) รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ

5) ดื่มนมพร่องมันเนยหรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ  เป็นประจำทุกวัน  พบว่าแคลเซียมจากนมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้

6) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า  เบียร์ไวน์ ชา กาแฟ

7) ตัวอย่างอาหารที่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

 

ตัวอย่างอาหารที่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง  The  DASH  (Dietary  Approach  to  Stop  Hypertension)  Eating  Plan

กลุ่มอาหาร

ปริมาณ(ส่วน/วัน)

ปริมาณต่อ  1  ส่วน

ตัวอย่างอาหาร

ประโยชน์ที่ได้รับ

ข้าว  ธัญพืชต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช

7 - 8 ส่วน

ขนมปัง 1 แผ่น

ข้าวสวย ½ ถ้วยตวง

ก๋วยเตี๋ยว ½ ถ้วยตวง

ข้าวซ้อมมือ  ขนมปังธัญพืช  ธัญพืชแห้ง  เส้นก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ เป็นต้น

เป็นแหล่งพลังงาน  และใยอาหาร

 

ผัก

4 - 5 ส่วน

ผักสด 1 ถ้วยตวง

ผักสุก  ½  ถ้วยตวง

น้ำผักสด 6 ออนซ์ (180 cc)

มะเขือเทศ  แครอท

บล็อกเคอรี่  ผักคะน้า  ผักโขม  ผักกาด เป็นต้น

อุดมไปด้วย

โปแตสเซียม  แมกนีเซียม  และใยอาหาร

ผลไม้

4-5 ส่วน

น้ำผลไม้สด 6 ออนซ์(180cc)

ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล

ผลไม้แห้ง  ¼ ถ้วยตวง

ผลไม้สด  ½ ถ้วยตวง

กล้วย  ส้ม  น้ำส้มคั้นสด  มะม่วง  ลูกพรุน  สตอเบอรี่  พีท  แอปเปิ้ล  เป็นต้น

เป็นแหล่งของ     โปแตสเซียม  แมกนีเซียม  และใยอาหาร

นมพร่องมันเนย/ขาดมันเนยและผลิตภัณฑ์

2-3 ส่วน

นม 8 ออนซ์ (240 cc)

นมพร่อง/ขาดมันเนย  โยเกิร์ตพร่องมันเนย  ชีสไขมันต่ำ

เป็นแหล่งของแคลเซียมและโปรตีน

เนื้อสัตว์ต่าง ๆ และปลา

2 ส่วนหรือน้อยกว่า

เนื้อสัตว์สุก 3 ออนซ์(90กรัม)

เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน  และใช้วิธีการต้ม  ย่าง  นึ่ง  แทนการทอด

เป็นแหล่งของโปรตีนและแมกนีเซียม

ถั่วละถั่วเม็ดแห้งต่าง ๆ

4-5 ส่วน/สัปดาห์

ถั่ว 1/3 ถ้วยตวง

เม็ดพืชต่าง ๆ ช้อนโต๊ะ

ถั่วเมล็ดแห้งสุก ½ ถ้วยตวง

อัลมอนด์  ถั่วต่าง ๆ ถั่วลิสง  เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น

เป็นแหล่งพลังงาน  แมกนีเซียม

 โปแตสเซียม  โปรตีน  และในอาหาร

ไชมัน  และน้ำ

2-3 ส่วน

น้ำมันพืช 1 ช้อนชา

มายองเนสไขมันต่ำ 1 ช้อนโต๊ะ

เนยเทียม (แบบนิ่ม) 1 ช้อนชา

น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน คาโนล่า เป็นต้น 

มายองเนส ไขมันต่ำ เนยเทียม (แบบนิ่ม)

DASH กำหนดให้ได้รับพลังงานจากไขมันร้อยละ  27  ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน  โดยรวมถึงไขมันในอาหารที่เติบโตในขบวนการประกอบอาหาร

น้ำตาล

5 ส่วน/สัปดาห์

น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

เยลลี่หรือแยม 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล เยลลี่ แยม

 

 

 

 

 

ตัวอย่างรายการอาหาร

รายการอาหาร (วันที่ 1)

อาหารเช้า

-ข้าวกล้อง ½ ถ้วยตวง                                                        -กล้วยหอมขนาดกลาง 1 ลูก

-นมพร่องมันเนย  1 ถ้วยตวง (240 มิลลิลิตร)             

อาหารกลางวัน

ข้าวผัดสามสหาย

-ข้าวสวยข้าวกล้อง 1 ถ้วยตวง (2 ทัพพี)                         -แครอทหั่นลูกเต๋า

-ถั่วลันเตาสุก ½ ถ้วยตวง (1 ทัพพี)                                 -ลูกเกด ¼ ถ้วยตวง

-เนื้อไก่หั่นลูกเต๋าต้มสุก 60 กรัม                                     -น้ำมันสำหรับผัด 1 ช้อนชา

ต้มจืด

-กะหล่ำปลี แครอท 1 ถ้วยตวง

อาหารว่าง

-ขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น                                                     -แยมส้ม 1 ช้อนโต๊ะ

อาหารเย็น

ข้าวสวยข้าวกล้อง 1 ถ้วยตวง (2 ทัพพี)

แกงเขียวหวานเนื้อปลากรายขูด

-เนื้อปลากรายขูด 60 กรัม                                                 -มะเขือเปราะ มะเขือพวงสุก ½ ถ้วยตวง

-นมพร่องมันเนย  (แทนกะทิ) 1 กล่อง (240 มล.)

ยำแตงกวา

-แตงกวาสับ หอมหัวใหญ่ ต้นหอม 1 ถ้วยตวง             -น้ำตาล 1 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำยา)

ชมพู่ 2 ผล

(พลังงานที่ได้รับ 1,659 กิโลแคลอรี่/วัน   คลอเรสเตอรอล 111 มิลลิกรัม/วัน  สัดส่วนร้อยละ 

คาร์โปไฮเดรต : ไขมัน 55 : 19 : 26)

 

 

http://www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/2548_sem2/group7-1.html

http://www.inf.ku.ac.th/article/diag/500305/hyperstension-exercise.html

หมายเลขบันทึก: 455347เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท