การพัฒนาความรู้วิจัยสำหรับพยาบาล


การพัฒนางานประจำสู่การวิจัย

โครงการพัฒนาความรู้ด้านการวิจัย สำหรับบุคลากรทางการพยาบาล

วันที่ 19 สิงหาคม  2554  โดย รศ.นพ.สมชาติ  โตรักษา

พวกเรามีความข้องใจกันมานาน ว่า  R2R คืออะไรกันแน่  งง....เป็นปัญหาคาใจกันมาตลอด อ่านหนังสือ ไปดูนำเสนอผลงาน สอบถามผู้ที่ไปประชุมเรื่องนี้มา ก็ยังไม่หายข้องใจ เหมือนคำกล่าวว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ วันนี้ ท่านอาจารย์ สมชาติ มาบรรยายให้ที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรเริ่มกระจ่างขึ้นเริ่มมีความหวัง(  แต่ยังต้องลองปฎิบัติดูก่อนนะคะ)  และหวังว่าชาวโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรจะมีความรู้ R2R มากขึ้นไม่มากก็น้อยเช่นกันนะคะ

R2R คืออะไรคือ กระบวนการในการทำงานที่เราทำอยู่ทุกวันให้เป็นงานวิจัย ก่อให้เกิดการพัฒนา เน้นการพัฒนาไม่เน้นที่กระบวนการวิจัย โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่   สิ่งที่บงบอกถึงคุณค่าและความสำเร็จของงานดูที่ตัวชี้วัด 5 ตัวดังนี้ ด้านปริมาณงาน ด้านคุณภาพงาน  ด้านเวลาแรงงานที่ใช้ ด้านความพึงพอใจ และด้านเศรษฐ์ศาสตร์

 

R2R ที่ดี  

  • เป็นงานที่ผู้วิจัยทำเอง และ เป็นความจริง  (Routine & Fact)
  • เกิดการพัฒนา ที่มีหลักฐานยืนยัน(Evident Based Development/Improvement)
  • ใช้ระยะเวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1 ปี (Longtime Continuous Implementation)
  • เป็นผลงานวิจัย ที่มีคุณค่าต่อทุกฝ่าย(Valuable Research for All)
  • ถูกต้องตามหลักของกระบวนการวิจัย(Correct to Research Methodology)

R2R ที่แท้และดีต้องเป็น R2R เป็น Experimental Research  (R&D)

(R&D)จำแนก 4กลุ่ม

1. ค้นหาองค์ความรู้ใหม่ (Fundamental R&D)

 2. สร้างองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความรู้เดิม( Radical R&D)

3. เพิ่มพูนองค์ความรู้เดิม(Incremental R&D)

4. การปรับปรุงการปฏิบัติงานประจำวัน(Practical R&D)

 

  • การเขียนผลงานประจำ จากงานเดิม  จากCQI QC ใช้ระยะเวลา 1 เดือน
  • การเขียนผลงานประจำ ที่จะทำใหม่ใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • การเลือกเรื่องที่จะเขียน เป็นเรื่องที่เรามีความสุขมีความภาคภูมิใจทุกครั้งที่นึกถึง

ท่านอาจารย์ให้รูปแบบการเขียน R2R ไว้

หลักการเขียน สรุปได้ดังนี้ค่ะ

1. ความเป็นมาและความสำคัญของงานและปัญหา   ในการศึกษา/วิจัย  …เขียนงานที่เราทำประจำ และต้องไม่ใส่ความคิดเห็นของเราลงไปต้องอ้างอิงจากตำรา จากโครงการต่างๆ

2. วัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย ต้องระบุให้ชัดเจน ดังนี้

  • เพื่อพัฒนางาน  (ที่เราทำเรื่องอะไร) โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
  • เปรียบเทียบผลงานก่อนหลังการพัฒนาโดยต้องมีตัวชี้อย่างน้อย 1ตัว
  • ข้อเสนอแนะข้อแนะนำหรือจุดเด่นของการทบทวนความรู้ใน 1 ปีคืออะไร KM ที่ถ่ายทอดและพัฒนา

3. วิธีการศึกษาวิจัย

  • แบบการวิจัย แบบทดลอง  Experimental Development Research: EDR
  • ประชากร จำนวนผู้ป่วย ( โรคที่ทำวิจัย) ที่มารับบริการตั้งแต่…..ถึง….
  • กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลชัยนาท
  • การสุ่มตัวอย่างให้สุ่มตามช่วงเวลา อ่าน file รศ.อรุณ จิรวัฒน์กุล การคำนวณขนาดตัวอย่างในงานวิจัยประเภทต่างๆ ทางสาธารณสุข
  • Intervention คือเครื่องมือหลักที่ใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการดำเนินงาน Working Model
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จะไม่เน้นแบบสอบถามยกเว้นมีเครื่องมือเดิมอยู่แล้วและไม่ต้องหา Reliability แบบสอบถาม แบบบันทึก การสังเกต
  • การทดสอบคุณภาพเครื่องมือ  ต้องทำในเครื่องมือใหม่ หา Validity ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ PCT หัวหน้าโครงการ ผู้เชี่ยวชาญ3 ด้าน ด้านเครื่องมือ ด้านปฎิบัติการ ด้านการนำไปใช้
  • การเก็บข้อมูล ต้องมีกระบวนการเก็บที่มีการควบคุมทุกขั้นตอน คณะผู้วิจัยเก็บข้อมูลเองทั้งหมด เน้นผู้เกี่ยวข้องมาเป็นผู้วิจัย
  • การวิเคราะห์ข้อมูล ห้ามวิเคราะห์มือ ให้ใช้โปรแกรม computer  Epi Info
  • สถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน ฯลฯ  สถิติเชิงอนุมาน (inference statistics)การอนุมานแบบมีพารามิเตอร์ (parametric inference) เป็นการนำค่าที่ได้จากตัวอย่าง (sample) ซึ่งเป็นค่าสถิติ (statistics) ไปอธิบายคุณลักษณะประชากร (population) ซึ่งเป็นค่า พารามิเตอร์ (parameter)ค่าของประชากรควรมีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) การเลือกตัวอย่าง (sampling) เป็นไปอย่างอิสระ และไม่มีความเอนเอียง (unbiased) ค่าของข้อมูลที่วัดได้ควรอยู่ในระดับช่วง (interval scale) หรือ ระดับอัตราส่วน (ratio scale)

การอนุมานแบบไม่มีพารามิเตอร์ (non-parametric inference)เป็นวิธีการอนุมานข้อมูลจากตัวอย่างไปอธิบายลักษณะของประชากร ในกรณีที่ข้อมูลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดตามวิธีการอนุมานแบบพารามิเตอร์ เช่น ไม่ทราบค่าข้อมูลของประชากร ไม่ทราบว่ามีการแจกแจงแบบใด และข้อมูลอยู่ในระดับนามบัญญัติ (nominal scale) หรือระดับเรียงอันดับ (ordinal scale) โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมามีขนาดเล็ก

  • ใช้ไคสแควร์จะกระทำโดยการหาความแตกต่างระหว่าง ค่าสังเกต (Observed Value) กับค่าคาดหวัง (Expected Value) เป็นการทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรทั้งสอง ว่ามีความเป็นอิสระจากกันหรือไม่ ห้ามใช้ในกลุ่มเดียวกันข้อมูลที่สัมพันธ์กันต้องใช้คนละปี
  • เป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Compare Means) อย่างเช่น -ค่าเฉลี่ยกับค่าคงที่ (One Sample T Test)
    -ค่าเฉลี่ยกับค่าเฉลี่ยอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample T Test)
    -ค่าเฉลี่ยกับค่าเฉลี่ยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired T Test)

4. ผลการศึกษา/วิจัย ต้องได้ตามวัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนางาน  (ที่เราทำเรื่องอะไร) โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ …..ได้รูปแบบ
  • เปรียบเทียบผลงานก่อนหลังการพัฒนาโดยต้องมีตัวชี้อย่างน้อย 1ตัว
  • ข้อเสนอแนะข้อแนะนำหรือจุดเด่นของการทบทวนความรู้ใน 1 ปีคืออะไร KM ที่ถ่ายทอดและพัฒนา

5. การนำสิ่งที่ได้จากการศึกษา/วิจัย ไปใช้ประโยชน์

  • ผลการวิจัยไปใช้ทำอะไร
  • เสนอแนะตัวเองไปทำต่อ

 

ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่ทำให้มีการประชุมวิชาการในครั้งนี้

  รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา

  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท

  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร

  หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล

  ทีมงาน HRD  และคณะกรรมการวิจัยทุกท่าน

 

หมายเลขบันทึก: 455157เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2011 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วได้แนวคิด แนวทาง

ขอบคุณคะที่นำมาแบ่งปัน

ขอบพระคุณนะคะที่มาให้กำลังใจ

มือใหม่เรื่องวิจัยนะค่ะ กำลังศึกษาอยู่เลยนำมาแบ่งปัน

ยินดีรับข้อเสนอแนะทุกท่านด้วยความขอบพระคุณค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ สำหรับสรุป สั้น ๆ ที่เข้าใจง่ายกับคำว่า R2R

ลงมือทำแล้วเป็นอย่างไร เอามาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

เชื่อว่า คงจะสนุก สนาน เบิกบาน ไม่น้อยค่ะ

ขอบคุณนะคะ คุณใบไม้ร้องเพลง งานชิ้นแรกกำลังปวดหัวค่ะได้ผลประการใดจะนำมาเล่าสู่ให้ฟังนะคะ

R2R  จะสำเร็จ  คนทำต้องใช้ใจทำค่ะ

ความสำเร็จของกิจกรรม หรือโครงการ เกิดจากกระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การคิดก่อนทำ

2. การทำ

3. การประเมินผล

4. การขยายผล (งานวิจัย บทความ  เรื่องเล่า )  

เคยคิดว่ายาก  แต่เมื่อตั้งใจ และพยายาม  ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อมค่ะ

 

ติ๋วเคยไปนั่งฟัง นพ.สมบูรณ์ บรรยายในงานมหกรรม R2R ว่า

"งานวิจัยชื้นแรก น่าอานเสมอ เพราะฉะนั้นให้รีบทำรีบอาย ฮ่าๆๆ"

ตอนนั้นหัวเราะกันทั้งห้องค่ะ

และเชื่อว่าคำกล่าว ณ วันนั้นของท่าน

ทำให้มีคนกล้าลุกขึ้นมาทำ r2r ด้วยหัวใจไม่น้อย

ลงมือทำแบบไม่ตั้งมัวกังวลในผล แจ่มมากมายค่ะ

สู้ค่ะ แล้วจะรออ่านนะคะ


เรียนคุณจินนี่

ไม่ทราบมีไฟล์ที่ อาจารย์อรุณ. เขียน. การสุ่มตัวอย่างให้สุ่มตามช่วงเวลา

ที่เป็นไฟล์. การคำนวณขนาดตัวอย่างในงานวิจัยประเภทต่างๆ ทางสาธารณสุข

มั๊ยคะพยาม. Search แล้วไ ม่มีค่ะขอบคุณค่ะ




พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท