พิธีศพอาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว(จีนแต้จิ๋ว)ต่อ


มูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ้ง สว่างเมตตาธรรมสถาน นตรราชสีมา เป็นผู้จัดพิธีการแบบจีนทั้งหมด มีการจัดวางของเครื่องใช้ในพิธีทั้งหมด  ชุดโต๊ะไหว้ศพ ฉากม่านกั้นประดับหน้าโรงศพ สีแดงทั้หมด เพราะ อาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว มีอายุเกินเก้าสิบแล้ว จึงไม่ต้องไว้ทุกข์ และจะต้องแจ้งแขกผู้มาร่วมงานเคารพศพ และฟังสวดอภิธรรม ให้แต่งตัวตามสบาย งดการแต่งกายไว้ทุกข์ ส่วนลูกหลาน และญาติใกล้ชิดให้ใส่สีแดง หรือชมพู ออกแนวสดใส เป็นทำบุญส่ง อาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว กลับไปอยู่บ้านหลังใหญ่ในแดนสุขาวดี ห้อมล้อมด้วยสิ่งที่งดงาม

การแต่งตัวศพ

ผู้หญิงนิยมใส่ชุดท่อนบน(เสื้อ) 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2ตัว ชิ้นนอกสุดเป็นผ้าถุงหรือเป็นชุดกระโปรงแบบจีน รวมเป็น 7 ชิ้น ส่วนผู้ชายนิยมใส่ชุดท่อนบน(เสื้อ) 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2ตัว รวมเป็น 6 ชิ้น (ผู้ชายเป็นคู่ผู้หญิงเป็นคี่) ชิ้นนอกสุดนิยมเป็นสีม่วงเข้ม หรือเป็นชุดเต็มยศ สำหรับ อาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว ท่านตัดเย็บเตรียมไว้ด้วยตัวเองเป็นสีขาวล้วน เพราะท่านถือศีล การแต่งตัวให้ศพ นั้นยังมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก ทั้งคนฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วมาจากมณฑลเดียวกันจึงจะมีพิธีคล้ายกันมาก เสื้อที่สวมให้ผู้ตาย จะเอากระดุมไว้ด้านหลัง

พีธีกงเต็กภาคเช้า

งานศพ อาม่าไซเง็ก แซ่ฉั่ว เป็น การจัดผสมผสานทั้งสองวัฒนธรรมไทย-จีน ตั้งศพที่วัดกลางปัหธงชัย ทำบุญถวายเพลทุกวัน สวดอภิธรรมทุกคืน ตั้งแต่วันที่ ๙ -๑๕ สค. ยกเว้น คืนวันที่๑๒ สค.

วันที่ ๑๖ สค.จะเป็นการสวด และทำบุญแบบจีน ที่เรียกว่าทำกงเต็ก ซึ่งจะมีพิธีไหว้ บรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว และสวดกงเต็กภาคเช้าทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ จบ แล้วเผาเงินทองสิ่งของเครื่องใช้ ทั้งของสำหรับบรรพบุรุษผู้หญิงผู้ชาย เพื่อนำไปใช้ในสรวงสวรรค์

พีธีกงเต็กใหญ่ เริ่มภาคบ่ายต่อด้วยภาคค่ำ ซึ่งมีรายละเอียดที่ลูกหลานจีนควรจะได้ทำความเข้าใจ

หลังจบพิธีกงเต็ก ลูกหลานช่วนกันขนของที่เตรียมให้ อาม่า ไปใช้ที่แดนสุขาวดี มีทุกอย่างตั้งแต่บ้าน คนขับรถ(ชื่อขาว) คนรับใช้ ชาย ชื่อเฮง คนรับใช้หญิงชื่อ กิม บ้าน ตู้ เตียง เครื่องอำนวยควาสะดวกทุกอย่าง โทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องใช้ส่วนตัว ตู้ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ และรถเบนซ์สีแดง เพื่อเผาส่งไปให้อาม่า ลูกหลานทุกคนต้องจดจำ ชื่อของสามคนนี้ให้ดี เพื่อไม่ให้ตั้งชื่อเตรือญาติที่จะเกิดใหม่ในอนาคตค่ะ

การเผาจะต้องเปิดปากทางให้ ดวงวิญญาณ อาม่า เข้ามารับของได้ โดยกันเชือกล้อมเป็นวงรอบ กงเต็กทั้งหมด ลูกหลานคอยกีดกันไม่ให็วิญญาณที่ล่องรอยอยู่ทั่วไปมายุ้มย่าม

หมายเลขบันทึก: 455044เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2011 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นประเพณีที่งดงามและมีความหมายต่อครอบครัวค่ะ

Ico48 ค่ะคุณนงนาท นับวันประเพณีจัดงานศพแบบพิธีจีนค่อยๆ จางหายไปจากสังคมคนไทยเชื้อสายจีน  เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หากลูกหลานจีนไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ ช่วยกันรักษาประเพณีไว้ ก็คงหมดไปในที่สุด อาม่าหลินฮุ่ย แค่เขียนบันทึกเก็บไว้เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกหลานจีนได้เห็น พร้อมภาพประกอบบันทึก เพราะภาพหนึ่งภาพสามารถอธิบายความได้มากมายค่ะ

อ่านแล้วอาตมาได้ประเด็น ดังนี้

-ความเชื่อทำให้เกิดประเพณีและพิธีกรรม เฉพาะตัวของกลุ่มชน

-ทุกขั้นตอนล้วนมีความหมาย ที่คนโบราณได้ซ่อนปรัชญาให้กับผู้คนรุ่นหลังได้แง่คิด

-ชีวิตหลังความตาย เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง

ฯลฯ

กราบนมัสการ พระคุณเจ้า เป็นความกรุณายิ่งที่มาให้ความคิดเห็นอันเป็นจริง ทุกศาสนามีปรัชญาแฝงไว้ ให้ได้ศึกษาปฏิบัติ รู้ทุกอย่าง แต่ไม่ปฏิบัติเท่ากับไม่บังเกิดผล ต่างกับผู้คนที่ปฏิบัติด้วยความเชื่อกฏแห่งการกระทำ ปฏิบัติดีปฏบัติชอบ และถ่ายทอดให้ลูกหลานด้วยการสอนให้ลงมือปฏบัติ เป็นประเพณีจีนที่สืบทอดกันมายาวนาน คนที่ปฏิบัติดีต่อ บรรพบุรุษ ก็จะประสบความเจริญรุ่งเรือง เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นที่พึ่งให้ลูกหลานรุ่นต่อๆ ไปเจ้าค่ะ เพราะความเชื่อชีวิตหลังความตาย ความดีเท่านั้นจะนำติดตัวไปได้เมือจากโลกนี้ไปเจ้าค่ะ

เป็นสะไภ้คนจีนค่ะ แต่ว่าที่บ้านหันไปนับถือศาสนาคริสต์

คงไม่มีโอกาสเห็นพิธีแบบนี้ งดงามและประทับใจค่ะ

ที่เห็นลูกหลานแสดงความเคารพและกตัญญูต่อผู้ใหญ่

ในวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน..พวกเราทุกคนล้วนต้อง

...เดินทางเหมือนกันหมดนะค่ะ..

ดูภาพแล้วสะท้อนความรักความสามัคคีในครอบครัวด้วยค่ะ

เป็นภาพ และประเพณีที่งดงามค่ะ

ขอบคุณอาม่าที่เอามาลงให้ดูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท