การจัดทำกรอบงบประมาณ


การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium Term Expenditure Framework : MTEF)

 

             งบประมาณแบบแผนงาน  (Planning Program Budgeting : PPB หรือที่เรียกยาวหน่อยว่า Planning Program Budgeting System : PPBS) คือ การจัดเตรียมงบประมาณจากการเริ่มต้นด้วยการวางแผนงานเพื่อที่จะให้การใช้จ่ายงบประมาณมีผลสำเร็จทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลไปพร้อมๆกัน

 

  • การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium   Term  Expenditure  Framework : MTEF)  หมายถึง  การจัดทำกรอบประมาณ การงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะ  3 – 5  ปี  ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระ           งบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย /
    ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการในปัจจุบัน
  • ระยะเวลาของ MTEF จะประกอบด้วย  งบประมาณรายจ่ายประจำปี  และ   ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า  โดยหลักสากลทั่วไปจะให้ระยะเวลาของแผนระยะ          ปานกลางประมาณ 3 – 5 ปี
  • มีลักษณะเป็น Rolling  Plan ซึ่งจะต้องมีการปรับประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า        ทุกปี  เมื่อเริ่มต้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีถัดไป  เนื่องจากอาจ       มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่าง ๆ  เช่น  นโยบาย / ยุทธศาสตร์ใหม่ที่รัฐบาล      กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีนั้น ๆ  สภาพการทางเศรษฐกิจและสังคม  ผลการดำเนินงานของส่วนราชการ  เป็นต้น
  • การอนุมัติงบประมาณ รัฐสภาจะอนุมัติงบประมาณปีเดียวเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติ        อยู่ในปัจจุบัน  ส่วนตัวเลขประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าจะเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็น    ภาพของภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นจากนโยบายปัจจุบันของรัฐบาล

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance – based Budgeting : PBB)  เป็นระบบงบประมาณที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่เกิดขึ้นว่า  มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร  คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร  นอกจากนี้ PBB ยังเป็นระบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการวางแผนการจัดทำงบประมาณ  การตรวจสอบติดตามทบทวนผลงานซึ่งหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากรต้องรับผิดชอบผลงานที่เกิดขึ้น  ความสำเร็จของผลงานแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ  ผลลัพธ์ (Outcomes)  ผลผลิต(Outputs)

ผลลัพธ์ เป็นผลงาน  ผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  (ลูกค้าเป้าหมาย)  จากการได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ  (ผลผลิต)  ที่เกิดจากการดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ  ผลลัพธ์จะตอบคำถามว่าทำไมจึงมีการดำเนินการผลิตหรือให้บริการนั้น  เช่น  การมีงานทำหรือการเรียนต่อของผู้สำเร็จการศึกษา  ความสามารถในการพัฒนาตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนภายหลังที่จบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว  การกำหนดผลลัพธ์รัฐบาลและหน่วยงานทางด้านนโยบายเป็นผู้ร่วมกำหนดแล้วมอบหมายให้หน่วยงานระดับรองลงมาแปลงเป็นผลผลิตต่อไป

ผลผลิตหรือผลผลิตหลัก คือสิ่งของหรือบริการที่เป็นรูปธรรมหรือรับรู้ได้  ที่จัดทำหรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อให้บุคคลภายนอกได้ใช้ประโยชน์  ผลผลิตคือการตอบคำถามได้รับอะไรจากการดำเนินงานผลิตหรือ  ให้บริการหรือจัดซื้อ  สำหรับผลผลิตของสถานศึกษานั้นได้แก่  การจัดบริการการศึกษาให้นักเรียนประเภทต่างๆ  นอกจากนี้ผลผลิตยังรวมถึงผลผลิตที่เกิดจากการจัดกิจกรรมที่หน่วยงานนั้นได้ทำขึ้นโดยตรงและเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม  เช่น  ครูที่ผ่านการอบรม  หนังสือและเครื่องเขียนแบบเรียนที่ได้จัดซื้อและนักเรียนที่ได้รับอาหารเสริม เป็นต้น  เรียกผลผลิตประเภทนี้ว่า  ผลผลิตภายใน  (Intermediate outputs)  เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน  โดย Intermediate outputs  จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดผลผลิตหลัก

มาตรฐานการจัดการทางการเงิน

การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  สถานศึกษาต้องมีกลไกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยอาศัยแนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน  หรือที่เรียกว่า  “ 7Hurdles ดังนี้ 

1.  การวางแผนงบประมาณ  (Budgeting Planning) เริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานประกอบด้วย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  ผลผลิตหลัก  กลยุทธ์  โครงสร้างแผนงาน  ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ  ของผลงานและการวางแผนงบประมาณระยะปานกลาง  (MTEF)

2.  การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน  (Output Specification and Costing) ในขั้นนี้เป็นการคำนวณต้นทุนในแต่ละผลผลิตที่ได้กำหนดมาแล้วว่าจะใช้ต้นทุนต่อหน่วยงานผลผลิตเท่าไร  ซึ่งมีการคิดทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม

3.  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  (Procurement Management) เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ  การจัดซื้อเน้นความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน

4.  การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ  (Financial Management / Fund Control) หน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างทางบัญชี  เอกสารหลักฐานที่จำเป็น  การปรับระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดไปสู่ระบบเกณฑ์คงค้าง  มีระบบการควบคุมการเบิกจ่าย  และบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

5.  การรายงานทางการเงินและผลดำเนินงาน  (Financial and Performance Reporting) ในกระบวนการรายงานต้องมีการกำหนดดัชนีชี้วัด  กรอบและโครงสร้างการประเมิน  และรายงานผลที่ชัดเจนและมีการรายงานทั้งการเงินและผลการดำเนินงาน

6.  การบริหารสินทรัพย์  (Asset Management) หน่วยงานมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์

7.  การตรวจสอบภายใน  (Internal Audit) หน่วยงานต้องมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบภายใน มีอิสระในการดำเนินงาน  มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน  การตรวจสอบเน้นการตรวจสอบทางการเงิน และการตรวจสอบผลการดำเนินงาน

 

http://fin.in.th/archives/285

 

 
หมายเลขบันทึก: 454362เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท