คิดเล่นเห็น (คุณค่า)จริง..เทคนิคคิดแบบอริยสัจจ์


จากความสนใจเรื่อง "โยนิโสมนสิการ" ทำให้โชคดีพบแหล่งความรู้อันมีค่าใน gotoknow นี้
คือ บทความของ ท่าน ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ เรื่อง
กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ...อ่านเอาไปทำจากพุทธธรรม
1 ใน 10 วิธีคิดนั้นคือ คิดแบบอริยสัจจ ซึ่งท่าน ได้รับสืบทอดมาจาก อาจารย์ ดร.มงคล  เอี่ยมสำอางค์
http://gotoknow.org/file/wiratkmsr/SystematicPBLModel1.pdf

ประกอบกับ ข้าพเจ้า ได้อ่านบทความเกี่ยวกับ แพทย์แผนไทย 
ผ่านกระบวนทัศน์จากผู้มากประสบการณ์ อย่าง ท่าน นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์

จึงนำทั้งสองแหล่งความรู้ มาลองประกอบเพื่อหาคำตอบ..
โดยมองสิ่งใกล้ตัว (ที่พอจะร่วมคิดร่วมทำได้) คือ
ศูนย์การแพทย์แผนไทยแพทย์ทางเลือก ในโรงเรียนแพทย์ ควรมีทิศทางและบทบาทเช่นไร
โดยเฉพาะ บทบาทของแพทย์ทางคลินิก อย่างข้าพเจ้า..
ซึ่งไม่มีความรู้ ประสบการณ์ มากนัก แต่มีความสนใจ และคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมไทยน่า "ใส่ใจ"

สิ่งที่ข้าพเจ้าติดใจสงสัยคือ..เรามีคนเก่งๆ อยู่มากมาย
เหตุใด การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนตะวันตก
จึงยังไม่สามารถรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว แบบแพทย์แผนจีน..
หรือมีอะไร เป็นอุปสรรคต่อ "การยอมรับซึ่งกันและกัน"..

หมายเหตุ

1. ข้าพเจ้า มิได้แยก แพทย์คลินิก แผนตะวันตก กับ ตะวันออก จากกัน
เพราะเชื่อว่า ลึกๆ แล้ว ทั้งสองที่ทำเวชปฎิบัติ ต่างเชื่อ ผลประจักษ์กับตา มากที่สุด
 ..การเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
อาจต่างตรง ศัพท์ที่ใช้อธิบาย  วิธีการแปลงความรู้ Tactic สู่ Explicit

2. ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด Integrative medicine

มีการถกเถียงกันมากว่า การแพทย์ที่มิได้มีสอนในโรงเรียนแพทย์ นั้นควรเรียกว่าอะไร
"แพทย์แผนโบราณ"  คิดว่า ไม่น่าใช้ เพราะเราเชื่อว่า มันมีคุณค่าเหนือกาลเวลา
"การแพทย์ทดแทน" (Alternative medicine) ใครยอมหลีกทาง ?
"การแพทย์ส่วนเสริม" (Complementary medicine)ใครเป็นตัวจริง ?
มีคำหนึ่ง ซึ่งส่วนตัวข้าพเจ้าชื่นชอบ คือ

"การแพทย์ผสมผสาน" ( Integrative medicine)

ไม่ต้องเถียง ว่าใครดีกว่าใคร ใครเป็นตัวจริง เป็นตัวสำรอง
เพราะเป้าหมายของการแพทย์แผนไหน ก็คือ 

"ลดความทุกข์ของผู้ป่วย"

To cure sometimes,Relieve often,Comfort always (Anonymous)

เก็บไว้เขียนต่อบล็อกหน้าดีกว่าคะ :-)

หมายเลขบันทึก: 453713เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2011 02:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จะขอติดตามตอนต่อไป เช่นกันครับ

ฮั่นแน่! มีการกั๊กไอเดียไว้ด้วยเน๊าะ 555

...

ว้าว มีแต่คนรู้จักทั้งนั้นเลย ;)...

อ.ดร.มงคล เอี่ยมสำอางค์ ... อาจารย์ได้ล่วงลับไปแล้ว อยู่มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่

อาจารย์เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภรรยาอาจารย์ ชื่อ อ.ดร.สุนันทา เอี่ยมสำอางค์ ปรมาจารย์ด้านการวัดผลการศึกษา

มีลูกสาว ๓ คน เก่งทุกคน ...

ผศ.ดร.วิรัตน์ ศรีคำจันทร์ ที่มาแวะเวียนมาคุยกับอาจารย์หมอตลอดนั้น เป็นรุ่นพี่ระดับปริญญาโท ของผมเอง

ที่คุยมาเก่งหมด ยกเว้น ผมนี่แหละ ;)...

สวัีสดีครับคุณหมอ แวะมาทักทายครับ

แหม... เล่นซะเหมือนกับตอนดูละครเลยนะครับ ชวนให้ติดตามตอนต่อไป..อิอิ..

  • เห็นมุมมอง และความสำคัญกับความจำเป็นที่จะต้องมีและใช้อย่างผสมผสานกันแล้ว ต้องขอชอบ'การแพทย์อย่างผสมผสาน' ด้วยอีกคนหนึ่งครับ
  • จะว่าไปแล้ว ตรงกับความหมายของการปฏิบัติในความเป็นจริงมากกว่าอีกด้วยนะครับ การพัฒนาทางเลือกในสาขาต่างๆก็เหมือนกัน ในความหมายหนึ่งนี่ก็คือการเพิ่มพูนทางเลือกให้ยืดหยุ่นและหลากหลาย เพียงพอที่จะสนองตอบต่อสถานการณ์ปัญหาให้ครอบคลุมความหลากหลายซับซ้อนได้มากกว่าเดิม ซึ่งสิ่งใหม่ๆและความดั้งเดิมทั้งหลาย ก็ยังต้องใช้อยู่อย่างผสมผสาน
  • กำลังมีคณะทำงานการแพทย์ทางเลือก มาชวนไปถอดบทเรียนเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อทบทวนเรื่อวงการแพทย์แผนไทยทางเลือกอย่างที่อาจารย์หมอนำมาคิดดังๆด้วยกันนี้อยู่พอดีเลยละครับ ต้องขอยืมมุมมองนี้ไปใช้เป็นแนวพูดคุยกันด้วยเสียเลยนะครับ 

ขอบคุณคะ ที่ให้เกียรติติดตาม..
เรื่องของเรื่องคือ หมดแรงเพราะย้ายห้องคะ
พรุ่งนี้จะมาเขียนต่ออีกแน่นอนคะ
ชื่อตอน "Banana"zepam ..อุ๊บส์..

ดร.ภิญโญ ยังเคยเขียนว่า KM = คลุกคลีกับคนเก่งมากๆ
เลยขอไม่เชื่อคะ ว่าอาจารย์ไม่เก่ง

ดีใจคะ อาจารย์ ที่มีการรับฟังจากภาคประชาชน

จำได้ว่า ครั้งหนึ่งผู้ป่วยชวนสนทนา เรื่องใบแป๊ะกำปึง ว่าเขาลองใช้แล้วลดน้ำตาลในเลือดได้ดี -- เสร็จแล้วหันมาถามเราว่า ตกลงหมอว่ามันดีไหม ? เราก็ "..."

ชอบจังครับ ...แล้วจะติดตามตอนต่อไปนะครับ

 

  • ชอบครับ "การแพทย์ผสมผสาน"
  • จองที่นั่งเพื่อติดตามตอนต่อไปด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

 


เชิญที่นั่งแถวหน้าเลยคะอาจารย์ :-)

ภาคต่อ เขียนไว้ที่นี่คะ

เขียนวิเคราะห์อิงธรรมะ ได้เจ๋งจังค่ะคุณหมอ ชอบๆ ขอบคุณค่ะ

หมอในโรงบาล..นั่นแหละเป็น หมอทางเลือกของชาวบ้าน....เพราะปกติก็ดูแลกันเองแบบบ้านๆมาช้านาน โรงพยาบาลก็พึ่งจะมาตั้งแล้วจะบอกว่าที่เคยดูแลกันมาเป็นพวกแพทย์ทางเลือกได้อย่างไร????

เห็นด้วยคะคุณหมอสีอิฐ
การใช้คำว่า "ทางเลือก" จึงไม่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม
การแพทย์ตะวันตก เข้ามามีอิทธิพลเหนือแพทย์พื้นบ้าน
ก็ด้วยจุดแข็งของการบันทึกเผยแพร่ ต่อยอดความรู้
เน้น การทำซ้ำ ปรับเปลี่ยนได้ภายใต้กติการที่ยอมรับทั่วกัน
สิ่งนี้สามารถเรียนรู้จากเขาแล้วมาส่งเสริมแพทย์แผนเราได้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท