เมื่อครั้งที่แล้วได้นำเสนอเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไปแล้ว คราวนี้ก็จะขอต่อด้วยสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์กันต่อเลยค่ะ
สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์(Protohistory) หรือ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หมายถึง ช่วงเวลาที่ชุมชนโบราณแห่งหนึ่งมีตัวอักษรใช้แล้ว แต่คนในปัจจุบันยังไม่สามารถอ่านหรือถอดความได้ หรือยังไม่แน่ใจว่ามีการใช้ตัวอักษรหรือไม่ แต่มีชุมชนที่มีตัวอีกษรใช้แล้วกล่าวถึง หรือบันทึกถึงชุมชนนี้ และมีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนทำให้ทราบว่าเป็นชุมชนเดียวกัน การเริ่มต้นและสิ้นสุดของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่นั้นเกิดขึ้นและจบลงต่างช่วงเวลากันนะค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในแต่ละพื้นที่ค่ะ
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญกับพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดชุมพร เนื่องจากมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
ภาพจำลองแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
ตั้งอยู่ติดลำน้ำท่าตะเภา อ.เมือง จ.ชุมพร
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วนั้น ทำให้เราทราบว่าในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๐ ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว มีการรับเอาวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก คือ อินเดีย และเวียดนาม เนื่องจากพบลูกปัดมีจารึกอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในประเทศอินเดีย และพบกลองมโหระทึก ในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเจริญอยู่ในเวียดนามตอนเหนือและจีน-ตอนใต้ซึ่งเจริญในราวพุทธศตวรรษที่ ๒-๗
ชุมชนโบราณเขาสามแก้วเป็นชุมชนที่มีบทบาททางด้านการค้า และอาจจะเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยโบราณของภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตลูกปัด ส่งไปขายยังชุมชนโบราณชุมชนอื่นๆ อีกด้วย ลูกปัดที่พบมาก คือ ลูกปัดที่ทำจากหินคาร์เนเลียนสีส้ม นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำอีกด้วย ชุมชนโบราณเขาสามแก้วจึงเป็นชุมชนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้ และประเทศไทย
ลูกปัดหินและแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
ลูกปัดมีจารึกอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต
แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
กลองมโหระทึก แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
ผู้เขียนเองรู้สึกภูมิใจมากที่มีโอกาสได้มาทำงานในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีโอกาสได้ดูแลสมบัติของคนชุมพร รวมถึงของคนไทยทั้งแผ่นดินค่ะ ซึ่งเป็นสมบัติที่คนไทยทุกคนรักและห่วงแหน สำหรับครั้งนี้ของจบเรื่องราวไว้เพียงเท่านี้ก่อนน่ะค่ะ และโปรดติดตามเรื่องราวของ "สมัยประวัติศาสตร์" กันต่อในค่ะ
"...เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๒๕๐๐)
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
ขอบคุณนะค่ะที่ให้เรามีความรู้นะค่ะ
ถ้าใครไม่รู้โง่ตายเลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณมากเลยค่าาา ใช้ทำการบ้านได้ขอบคุณมากค่าา