JJ2011V08_9 อิทัปปัจจยตา ใน 8th Northeast Regional HA Forum จัดโดย HACC และ สรพ


อิทัปปัจจยตา กับ การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

   เป็นบุญ ของ ชาว HACC คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และ ชาวโรงพยาบาลคุณภาพ ที่ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ จาก พระมหานภันต์ สนติภทโท หรือ พระอาจารย์ติ๊ก กลุ่มพัฒนาจิต เพื่อชีวิตดีงาม เปรียญธรรม ๙ ประโยค จากวัดสระเกศราชวรวิหาร

  พระอาจารย์ติ๊ก เริ่มด้วยนิทานเศรษฐีกับแว่นสีเขียว ที่เราต้องเริ่มด้วยการเปลี่ยนทัศนคติของตนเองให้เป็นการพัฒนาสุขภาวะ ท่านพระอาจารย์ติ๊ก บูรณาการด้วย 3P  คือ Purpose Process Performance แถมมีข้อคิดขำขำให้พวกเรา ไม่มีเธอก็ไม่มีฉัน(กิน)

   พระ คือ Change Agent ที่มาช่วยพัฒนาทางจิต การมีสติตลอดเวลา โดยเฉพาะในการพัฒนาคุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องฝึกและพัฒนา การทำดี ต้องมี หลักการ จุดมุ่งหมาย และ ท่านได้กล่าวถึง สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดีของชาวโรงพยาบาลคุณภาพ คือ

 1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล โยเฉพาะการพัฒนาสู่โรงพยาบาลคุณภาพ

 2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก ของ สรพ หรือ วิชาชีพ

 3. อัตตัญญุตา = รู้จักตนว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

 4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ คือ ความพอดี

 5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น

 6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน ที่เราจะพัฒนา

 7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

 การพัฒนาคุณภาพ ต้องมี ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เรื่องเล่าที่สอง คนขับรถผ่านทางโค้ง ขับผ่านเด็กชายไปด้วยความหวาดเสียว มองกระจกหลังเห็นเด็กชายที่ขับผ่านกำลังใช้หินก้อนโตมาที่กระจกหลังรถ

 คำถาม หากเราเป็นเจ้าของรถจะทำอย่างไร

 ความจริง หากใช้ปัญญา ระงับอารมณ์ เมื่อลงมาเห็นเด็กผู้หญิงนอนจมกองเลือด มีรถจักรยานบูบี้ที่ถูกรถชน

 ข้อคิด หากมีปัญญา เราจะเข้าใจว่าเด็กขว้างหินเพราะต้องการให้รถช่วยเด็กผู้หญิง

 ความสุขอยู่ไม่ไกลหาได้ทุกสถาน Happy Work Place ต้องมี Work Life Balance เริ่มที่ Head เปิด หูจะ Hear แล้วเปิดไปที่ใจ Heart

 อิทัปปัตยตา อาศัยกันและกัน ทุกอย่างเป็นเหตุซึ่งกันและกัน "อิทัปปัจจยตา" คือ เมื่อมีเหตุปัจจัยมันจึงเกิดขึ้น ถ้าเราพูดกลับกัน ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยผลก็ไม่เกิดขึ้น หรืออีกอย่างหนึ่ง

JJ2011 ร่วมพลี ร่วมพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 453236เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สาธุหลวงพี่ติ๊ก ค่ะ   ==>   รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  รู้ประมาณ  รู้กาลเวลา  รู้พัฒนา รู้บุคคล  สาธุ  สาธุค่ะ

เปิดหู  เปิดตา  เปิดใจ  ==> อยากจะบอกใครบางคนจังน๊อ

หลวงพี่ติ๊กมีทั้งภูมิธรรมและภูมิรู้ ในภาพมีแม่ต้อย และ พอลล่า ด้วยใช่ไหมครับ

พรุ่งนี้จะไปร่วมประชุมด้วยค่ะ วันนี้อยู่เฝ้าที่ทำงานค่ะ

ได้ฟังธรรมะไปเหมือนได้มาร่วมงานค่ะ

ท่านพี่เจเจ สบายดีนะคะ.ส่งน้องชาย 2คน ไปร่วมงานด้วยค่ะ

มาไม่ทันครับ อ่านจากอาจารย์ สรุป ในblogger เข้าใจได้ถึงบรรยากาศครับ ขอบคุณ การเขียน blog ดี ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท