ประวัติความเป็นมาของการบริหารโครงการ


แนวคิด  หลักการของการบริหารโครงการ 

 

          เป็นกระบวนการ/วงจร  ที่ช่วยทำให้ภารกิจขององค์การบรรลุเป้าหมายโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  ภายใต้เวลาที่กำหนด

          ประวัติความเป็นมาของการบริหารโครงการ 

          มโนทัศน์สมัยใหม่  ได้แก่  โครงการแมนฮัทตัน  (กองทัพสหรัฐฯ  พัฒนาการสร้างระเบิดปรมาณู)  โครงการอวกาศขององค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติ  (NASA)  โครงการดาวเทียมสื่อสาร  โครงการผลิตจรวดติดอาวุธของกองทัพ  :  ปิรามิด  (ประเทศอียิปต์)  กำแพงเมืองจีน

          การพัฒนาการของการบริหารโครงการ  :  ค.ศ.  1917  เฮนรี่  แกนต์  (แผนภูมิแกนต์  :  Gantt Chart)  ตารางเวลาการปฏิบัติงาน  (Scheduling Work)  งานกับเวลา  เป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับการวางแผนและควบคุม  ทบทวนงานทั้งหมด  ใช้สื่อสารข้อมูลเวลาการปฏิบัติงานของโครงการ  :  ค.ศ.  1958  ใช้ผังเครือข่าย  (Network Diagrams)  ในโครงการสร้างเรือดำน้ำติดหัวจรวด  ชื่อ  Polaris  :  ค.ศ.  1969  จัดตั้งสถาบันการบริหารโครงการ  (Project Management Institute  :  PMI)

          การบริหารโครงการแบบมืออาชีพ  (The Project Management Profession  :  PMP)  ต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

          อาชีพการบริหารโครงการ  (Project Management Careers)  มีการสอนวิชาการบริหารโครงการ

          ประกาศนียบัตรการบริหารโครงการ  (Project Management Certification)  การยอมรับและมั่นใจในคุณภาพของวิชาชีพ  มีประสบการณ์  จริยธรรม  สอบประมวลความรู้

          จรรยาบรรณ  (Code of Ethics)  ต้องลงนามเพื่อเป็นผู้บริหารโครงการมืออาชีพ

          สมาชิกของ  PMI  ให้คำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนและรักษาไว้

  1. ข้าพเจ้าจะรักษาศักดิ์ศรีและประพฤติทางวิชาชีพด้วยมาตรฐานระดับสูง
  2. ข้าพเจ้าจะยอมรับการปฏิบัติของตนเองด้วยความรับผิดชอบ
  3. ข้าพเจ้าจะหาทางยกระดับความสามารถทางวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
  4. ข้าพเจ้าจะด้วยความยุติธรรมและซื่อสัตย์
  5. ข้าพเจ้าจะส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติอย่างมืออาชีพและมีจริยธรรม

อ้างอิงจาก

เจริญวิชญ์  สมพงษ์ธรรม.  (2554).  การบริการและประเมินโครงการ = Project Management and

             Evaluation.  มปท. : มนตรี.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 453041เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2011 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท