Palliative = การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ??


 --  วันนี้นักศึกษาแพทย์นั่งคอตก หลังจากมอบหมายให้ไปรับผู้ป่วยรายหนึ่ง เมื่อทีมถามว่าเกิดอะไรขึ้น
"..ผมกำลังจะนั่งลงคุยกับผู้ป่วย พอแนะนำตัวว่ามาจากทีม "Palliative care" ญาติผู้ป่วยที่เป็น PA (Physician assistant) รีบดึงผมออกมาจากห้อง บอกว่า ผู้ป่วยยังไม่รู้ว่าอาการตัวเองหนักแค่ไหน ถ้าเป็นไปได้ ยังไม่อยากให้คุยตอนนี้.." เหตุเกิด ณ USA..

 เหตุการณ์นี้ ทำให้ฉันนึกไปถึงคุณหมอท่านหนึ่งในทีม เล่าว่า ได้รับปรึกษาต่างแผนกให้ไปดูผู้ป่วยรายนึง "ด่วน" ตอนเกือบสองทุ่ม...ปรากฎว่า เมื่อไปถึง ผู้ป่วยไร้สติ กำลังหายใจทางปาก (air hunger) มือเท้าเย็น ยังไม่ทันที่เธอจะทบทวนประวัติผู้ป่วยจบ ผู้ป่วยก็เสียชีวิต..ตอนนั้นเธอบอกรู้สึกเหมือนมีฮู้ดและมีหาง (เหมือนยมทูต) ในสายตาของญาติๆ ข้างเตียงผู้ป่วย...เหตุเกิด ณ  Singapore.

  ทั้งสองเรื่องนี้ เป็นตัวอย่างของปัญหาการเปลี่ยนผ่านจาก "Cure to Care" ที่พบในประเทศซึ่งมีการพัฒนาระบบ Palliative มาก่อนบ้านเรา..ทำให้กลับคิดว่า

  "การที่บ้านเราเพิ่งเริ่มมี ก็ดีเหมือนกัน..อาจตั้งต้นดีแล้วไปได้ดี (กว่าต้นแบบ)"

   คงเพราะประวัติศาสตร์ของ Palliative care เริ่มต้นจากระบบ Hospice ทำให้ Palliative care ในยุคบุกเบิกคือ synnonym กับ End of life care และกลายเป็นทัศนคติที่ฝังลึก แม้ว่าองค์การอนามัยโลก หรือ กลุ่มองค์กรวิชาชีพ ได้ออกนิยามใหม่มา และมีการอ้างอิงกันในหมู่นักวิชาการ..
   ..แต่การปฎิบัติ ก็ไม่ไปตามนิยามมากนัก..ผู้ป่วยกลุ่ม "Life threatening illness" ยังถูกดูแลแบบแยกส่วน จนกว่าช่างซ่อมทุกท่านจะลงความเห็นว่า "ทุกส่วนพังโดยสิ้นเชิงแล้ว" จึงยกมาให้หน่วย Palliative ดูต่อ..

 ..ถ้าจะให้เป็นอย่างนิยามจริง ทำไม ทีม Palliative ไม่มีสิทธิเข้าไป "ร่วมดูแล" ตั้งแต่ตอนผู้ป่วยยังรับการรักษาแบบ curative อยู่ ไม่ต้องถึงขนาดแต่แรกวินิจฉัยก็ได้ แต่น่าจะมีเวลาให้ผู้ป่วยและญาติ ทำความรู้จักกับทีมที่มาดูแลนี้ว่ามาเพื่อ "Prevention and relief of suffering" มิใช่มาเพื่อบอกว่า "ใกล้ถึงเวลาของคุณแล้ว"

..... 

  ท่านคิดอย่างไร
  Palliative care
  = การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
  = การดูแลผู้ป่วยสิ้นหวัง

  หรือเปล่า ??????

หมายเลขบันทึก: 451329เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 06:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การทำงานกับความรู้สึกและจิตใจต้องใช้เวลาและความละเอียดอ่อน

เห็นด้วยว่าการต้องประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตั้งแต่แรก

เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้ครั้งนึงค่ะแม้เป็นคนที่ใกล้ตัวเราอาจไม่สามารถทำอะไรได้มาก

นอกจากยอมรับการตัดสินใจของญาติ.........และบอกกับตัวเองว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

สวัสดีครับ คุณหมอ

เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ผมเคยป่วยเป็นโรคน้ำท่วมปอด และเข้าไปนอนรักษาตัวอยู่ที่ รพ.สวนดอก 39 วัน

มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น.....เช่น หมอผ่าและเจาะซี่โครง 3 ครั้ง พยาบาลให้ยาผิด 2 ครั้ง

มองในแง่ร้าย....รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นหนูสำหรับทดลองยาอะไรทำนองนั้น

แต่เมื่อมองในแง่ดี.....ที่ผมรอดตายและมีชีวิตอยู่มาได้ถึงวันนี้ ก็เพราะหมอและพยาบาลเอาใจใส่อย่างดีครับ

บังเอิญ...ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดี ชอบ "คิดบวก" และ "คิดเป็นวงกลม" ครับ

ก็เลยมองเห็นความสุขและความสวยงามอยู่เต็มไปหมด(แม้แต่ในห้อง ICU)

คุณ orphan คะ การมีใจละเอียดอ่อน ปรารถนาให้ผู้ป่วยและญาติได้รับสิ่งที่เหมาะสมกับเขา ก็คือการทำดีที่สุดแล้วจริงๆคะ

คุณอักขณิช ชื่นชม ที่เลือกมองเหตุการณ์เหล่านั้นในแง่ดีได้คะ

ความผิดพลาด ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้องน้อมรับไปแก้ไข

ที่แพทย์และพยาบาล ยังทำงานได้อย่างมีความสุข

ก็เพราะมีผู้ป่วยที่เข้าใจอย่างคุณคะ

ทีม palliative care ไม่ต้องรีบเข้าไปก็ได้ หรืออาจจะไม่ต้องมีด้วยซ้ำ ถ้าแพทย์ทุกคนมี palliative care mind

นั่นคือสิ่งที่เราพยายามทำให้เกิดในระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย

เห็นด้วยคะว่า บ้านเราน่าจะตั้งทิศทางให้ Palliative care ผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกับระบบบริการที่มีอยู่เดิม

แพทย์ทุกท่านน่าจะมี Palliative mind คือทราบความสำคัญ และดูแลเรื่องอาการได้ในเบื้องต้น

แต่การมีระบบทีมแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ที่เชี่ยวชาญ มาช่วย support อีกแรงก็เป็นสิ่งน่าสนใจคะ

โดยเฉพาะการดูแลต่อหลังออกโรงพยาบาล บ้านเราไม่ต้องมี Hospice ก็ได้ ถ้าสามารถสร้าง Hospice at home

อาจารย์ทำให้ผมสะดุด(ความคิด)...แล้วครับ

สวัสดีคะอาจารย์
แต่ละพื้นที่ แต่ละบริบท รูปแบบอาจต่างกันไปคะ
Hospice at home ในความคิดหนู
เป็นการจัดระบบ เยี่ยมบ้าน ที่ตอนนี้ เสมือนเป็นอุปกรณ์การศึกษา
ให้เป็นบริการที่ผู้ป่วยและญาติได้รับประโยชน์จริง
ตารางการเยี่ยมแทนที่จะเป็นไปตามนักศึกษา
ควรเป็นไปตามความจำเป็นของผู้ป่วยแทน


แต่สิ่งที่ต้องทำการบ้าน คือจะหา incentive แก่ผู้ปฎิบัติงานอย่างไรคะ

คุณหมอสีอิฐ ดีใจมากที่มาเยี่ยมเยียนคะ นึกว่าลืมกันไปแล้ววว..

 

วันนี้ไปทำแผลให้พระสงฆ์ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่วัด ท่านป่วยเป็นมะเร็งที่ลิ้นซึ่งลุกลามมาที่คอด้านนอกมีก้อนขนาดใหญ่ เลือดออกเยอะมาก ท่านไม่ยอมมานอนที่โรงพยาบาลหลังจากจำหน่ายไป 4 ครั้ง ไม่ยอมสึกขอหมดลมหายใจในรูปของผ้าเหลือง และท่านถามเสมอว่าไม่มีทางรักษาแล้วหรือหมอ...ดิฉันคิดว่าด้วยความเป็นมนุษย์แล้วนั้นแม้ว่าแพทย์จะแจ้งอย่างไรเกี่ยวกับการรักษาใจลึกๆๆของผู้ป่วยก็ยังต้องการหาย...เมื่อรักษาไม่หายก็สิ้นหวัง...เราต้องมา palliative supportive care แบบองค์รวมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท