นิทานกับการเสริมสร้างพหุปัญญา


การเล่านิทานจากผู้ใหญ่สู่เด็ก นำไปสู่การเล่านิทานของเด็กสู่เด็ก เพื่อพหุปัญญาของเด็กๆ อาจทำได้โดย

1 เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง

2 ชวนเด็กวาดภาพจากเรื่องที่เล่า (เป็นใช้สมองซีกขวาในการวาดภาพจากความจำ ฝึกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์)

3 ชวนเด็กดัดแปลงเรื่องที่เล่าให้เป็นนิทานของตัวเด็กเอง (ฝึกใช้ความคิดในรูปแบบต่างๆด้วยสมองซีกขวา เช่น ฝึกคิดแบบวิเคราะห์ คิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นต้น)

4 ให้เด็กเขียนคำบรรยายภาพ (ใช้สมองซีกซ้ายในการหาเหตุผลอธิบายภาพ จัดระเบียบเนื้อเรื่อง)

5 ให้เด็กเล่าเรื่องที่ดัดแปลงขึ้นให้เพื่อนฟัง (ฝึกความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และเพื่อการทดสอบว่าสิ่งที่สื่อนั้น ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่)

6 เปิดโอกาสให้เพื่อนวิจารณ์ เพื่อสร้างพื้นฐานการเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ (เพราะนักคิดเชิงวิพากษ์ต้องมีความเป็นกลาง รับฟังเหตุผลได้ในทุกเรื่อง)

หน้าที่ของสมองแต่ละซีก นอกจากจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย แล้ว ยังมีหน้าที่อื่นอีก โดยที่ซีกซ้ายทำหน้าที่ทางด้านการคิดหาเหตุผลหรือความสามารถทางตรรกะ ความสามารถในการใช้ภาษา เช่น การพูด การอ่าน การเขียน การวางแผนจัดการ การคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา มีความสามารถทางการรับรู้ การจำ การผสมผสานความคิด ดนตรี ศิลปะ

อ้างอิง

ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ ชนะชีวิต คิดอย่างอัจฉริยะ บริษัท บิสซี่เดย์  จำกัด 5/132 บ้านกลางเมืองมอนติคาร์โล รัชวิภา ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900

รองศาสตราจารย์ ดร.ลักขณา สริวัฒน์ การคิด สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ 860-862 วังบูรพา กรุงเทพมหานคร 10200 พ.ศ.2549

 

หมายเลขบันทึก: 451324เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2011 05:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดียามเช้าตรู่ค่ะ..ขอบคุณภาพและเรื่องเล่าน่ารัก..

สวัสดีค่ะพี่นงนาท

แวะมาเยี่ยมกันแต่เช้าเลย ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท