วิธีการตรวจการบ้านแบบใหม่ของอาจารย์แหวว


แต่พออาจารย์แหววรู้จักกับ gotoknow อาจารย์ก็เริ่มเปลี่ยนวิธีการสอนและวิธีในการประเมินผลการเรียนการสอนของนักศึกษา โดยการมอบหมายให้นักศึกษาเขียนงานวิชาการลงใน gotoknow ทุกอาทิตย์

ตามปกติเวลาเรียนปริญญาโทอาจารย์ประจำวิชาบางท่านก็จะ บอกให้นักศึกษา lecture ส่วนบางท่านก็จะให้นักศึกษากำหนดหัวข้อแล้วทำรายงานเพื่อเก็บคะแนนโดยอาจจะให้มา present หน้าห้องก่อนแล้วค่อยทำเล่มจริงส่งตอนปลายเทอม ซึ่งส่วนใหญ่นักศึกษาก็จะเก็บไว้ทำตอนปลาย ๆ เทอมทำให้ paper ออกมาไม่ค่อยดี ไม่มีการสังเคราะห์ เป็นการตัดแปะความคิดของนักวิชาการท่านอื่น ๆ มาต่อ ๆ กันซึ่งอาจารย์ก็จะหงุดหงิดเวลาตรวจ paper

แต่พออาจารย์แหววรู้จักกับ gotoknow อาจารย์ก็เริ่มเปลี่ยนวิธีการสอนและวิธีในการประเมินผลการเรียนการสอนของนักศึกษา โดยการมอบหมายให้นักศึกษาเขียนงานวิชาการลงใน gotoknow ทุกอาทิตย์ และสามารถส่งได้จนถึงเวลาเที่ยงคืนของวันก่อนเรียนวิชานั้น

ยกตัวอย่างเช่น ในวิชาปัญหากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลซึ่งจะเรียนกันทุกวันพฤหัส ตอนเย็นแต่นักศึกษาจะต้องส่งการบ้านภายในเที่ยงคืนของวันพุธ เพื่อเก็บคะแนน แต่ละหน การส่งการบ้านช้าทำให้ถูกหักคะแนน

วิธีการประเมินผลแบบนี้จะประสบผลแค่ไหนน้า

เท่าที่รัตน์สังเกตผลดี

1. บังคับให้นักศึกษาอ่านหนังสือ

2. เมื่ออ่านแล้วสามารถสังเคราะห์ออกมาและสามารถถ่ายทอดโดยการเขียนผ่านบล๊อก

3.บังคับโดยปริยายให้นักศึกษาเรียนแบบ E-learning โดยการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณ gotoknow และอาจารย์แหววที่แนะนำให้นักศึกษารู้จักเทคโนโลยีนี้คะ

หมายเลขบันทึก: 45094เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2006 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ฮิฮิ การบังคับให้ "ค้น คิด และเขียน" นั้น มิได้ทำแค่ในห้องเรียนนะคะ นักวิจัยที่ดูแลโดย อ.แหววทุกคน ก็โดนบังคับจ๊ะ

แล้วไงล่ะ ความคิดชัดเจนขึ้นในแต่ละเรื่องที่ต้องเขียนไงล่ะ ใช่ไหมเล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท