ปัญหาพยานหลักฐาน : พยานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง


พยานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง, พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544, เอกสารปริ๊นเอาท์ (print out), สัญญาซื้อขายทางเวบไซต์, วิทยาการนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics and Investigation)

20 พฤศจิกายน 2553

แรงบันดาลใจอยากศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ  “กฎหมายคอมพิวเตอร์” เนื่องจากเป็นเรื่องของความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ในยุคข่าวสาร “ไร้พรมแดน” (Globalization) และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องประสบพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมปัจจุบัน

ข้อจำกัดการศึกษาเรื่องนี้ก็คือเป็นเรื่องใหม่ มีกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลายฉบับ ฉะนั้นรายงานฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาถึงข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นใน สังคมปัจจุบัน  ทั้งนี้เพื่อหามุมมองที่ดี ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออาจขึ้นต่อไป

ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

สถานการณ์โลก
ในสังคมโลกปัจจุบันอาจนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 (1980’s) เป็นต้นมา ไม่อาจปฏิเสธกระแส “โลกาภิวัตน์” (Globalization) ได้ใน 4 เรื่อง (issues) สำคัญ ๆ ด้วยกัน คือ เรื่อง ประชาธิปไตย (Democracy) เรื่องสิทธิมนุษยชน (Humanity) เรื่อง ข่าวสารความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ( Information Technology) และ เรื่อง สิ่งแวดล้อม (Environment) โดยเฉพาะการแผ่ขยายแนวคิดด้านการค้าเสรี (Free Trade Area) มีการแพร่ขยายของลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) ซึ่งเน้นการผลิตเพื่อการบริโภค เพื่อการพาณิชย์ การค้าขาย มิใช่เพื่อการยังชีพ หรือ การพออยู่พอกินตามอัตภาพ เหมือนดังแต่ก่อน  ฉะนั้น แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ “การค้าเสรี” จึงมีอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์

Alvin Toffler ผู้เขียนหนังสือ Third wave อันลือลั่น ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติโลก ที่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของมนุษยชาติไว้ โดยเปรียบเป็นทฤษฎีคลื่นสามลูก คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 สามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) (ปรเมศวร์ กุมารบุญ, 2550)

แม้ว่าจะเป็นกระแสแนวคิดแบบทุนนิยมใหม่ (Liberalism) ก็ตาม ตราบใดที่สังคมโลกยังอยู่ในระบบ “โลกแห่งข่าวสาร” แน่นอนว่า คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมโลกมากขึ้น ๆ ทางการค้าการพาณิชย์ และในขณะเดียวกัน ก็มีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เข้ามาก่อกวน  ทำให้ต้องมีการออกทั้งกฎหมายสบัญญัติ และ กฎหมายวิธีสบัญญัติ เพื่อการควบคุม การป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และ การดำเนินการตามกฎหมายอื่น คือ ใช้ทั้ง การป้องกัน และ การดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย (crime protection and due process of law)

ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการติดต่อสื่อสาร วิทยาศาสตร์ การแพทย์ การศึกษา การปกครอง การทหาร การพาณิชย์ฯลฯ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก่อคุณประโยชน์นานัปการให้แก่มนุษย์ ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่มนุษย์ที่ไม่สามารถประเมินได้ หากจะได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรม หรือการอื่นใดในคดีแพ่ง อาทิ ที่เป็นการขโมยข้อมูล การปลอมแปลง การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม การฟอกเงิน การแทรกแซงทางการค้า การค้าขายสิ่งผิดกฎหมาย รวมไปถึงวิธีการที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคต่าง ๆ เป็นต้น 

บรรดากฎหมายที่ใช้ทั้งในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางอื่น ซึ่งเป็นกฎหมายหลัก “แม่บท” ที่บังคับใช้จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ทันกับวิทยาการสมัยใหม่ เช่น กฎหมายสบัญญัติต่าง ๆ รวมถึงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีต่าง ๆ ที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัตินี้ไว้ในกฎหมายต่าง ๆ แต่ด้วยความก้าวหน้าของโลกยุควิทยาศาสตร์ ก็ยังดูเหมือนว่าล่าช้าไม่ทันสมัยอยู่ดี โดยเฉพาะ “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์”

จากความสำคัญของเรื่องที่ได้กล่าวข้างต้น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ศึกษา ต้องหันมาศึกษาทำความเข้าใจเรื่อง “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์” ให้มากขึ้น จึงได้เลือกศึกษา “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง” ซึ่งมีหลักในการนำสืบพยานในคดีที่แตกต่างจากคดีอาญา


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

ในการจัดทำรายงานฉบับนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ดังนี้
1.เพื่อศึกษาถึงขอบข่ายอย่างย่อของพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย
2.เพื่อศึกษาปัญหาการอ้างพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง

สมมติฐานของการศึกษา 

ผู้ศึกษาตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์คือพยานเฉพาะ โดยต้องมีการกำหนดนิยามไว้ให้ชัดเจน”

 

ขอบเขตของการศึกษา 

 

เนื่องจากการขอบเขตการการศึกษานี้มีขอบเขตค่อนข้างกว้างขวาง ผู้ศึกษาจึงได้จำกัดขอบเขตการศึกษาเรื่อง พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะปัญหาข้อสังเกตบางประการของไทย ในคดีแพ่ง 

 

วิธีการศึกษา

 

โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) ทั้งจากหนังสือ เอกสารวิชาการ บทความ ข่าวสารต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์ วารสาร และ ข้อมูลสด [Online Available] จากเวบไซต์ 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เพื่อทราบถึงขอบข่ายอย่างย่อของพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
  2. เพื่อทราบปัญหาการอ้างพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง
หมายเลขบันทึก: 449641เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2011 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

บทที่ 2

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

รายงานการวิจัย

1. “รายงานการวิจัย เรื่อง ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน,”ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์ ,คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2545. URL : www.lawthai.org/read/acharnpitikul18.doc

ผู้ศึกษาเห็นว่าสื่อบันทึกเสียงและภาพเป็นพยานเอกสารเมื่อได้พิจารณาถึงความหมายของพยานเอกสาร ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนในการนำเสนอและการตรวจสอบความถึงถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสาร เพราะพยานเอกสารมีการตรวจสอบที่ดีกว่าพยานวัตถุ เมื่อมีการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนแล้วก็จะให้ศาลใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหรือการชี้ขาดข้อเท็จจริง แต่การพิสูจน์ความจริงของศาลถึงแม้จะมีการผ่านกระบวนการพิจารณาของศาลก็ยังอาจไม่ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนบริบูรณ์ ฉะนั้นแล้วจะหวังให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลครบถ้วนบริบูรณ์และถูกต้องตรงกับความจริงทุกครั้งไปย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่หากสื่อบันทึกเสียงเป็นพยานเอกสารก็จะมีผลทำให้การวินิจฉัยและตัดสินคดีของศาลจะดำเนินไปอย่างเที่ยงธรรมที่สุด

นอกจากนั้นผู้ศึกษายังเห็นว่าควรให้คำจำกัดความของคำว่าพยานเอกสารตามกฎหมายลักษณะพยานว่ามีความหมายว่าอย่างไร ก็สามารถขจัดความสงสัยได้ว่าอะไรคือพยานเอกสาร โดยผู้ศึกษามีความเห็นว่า “พยานเอกสาร คือ สิ่งที่ถูกเขียนหรือบันทึกขึ้นเพื่อเป็นพยานเอกสาร โดยให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องปรากฏบนวัตถุใด อาจจะปรากฏบนกระดาษ ก้อนหิน ดิน โลหะ หรือวัตถุอื่นใด แต่จะต้องคงทนอยู่ในช่วงระยะเวลาอันใดอันหนึ่ง”

วิทยานิพนธ์

1. “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์,” ปารเมศ บุญญานันต์ วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย , 2543 URL : http://www.tkc.go.th/thesis/abstract.asp?item_id=11998

การศึกษาวิจัยนี้เกิดจากความเป็นจริงในปัจจุบันที่โลกมีการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความนิยมแพร่หลายอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนก่อให้เกิดการปฏิวัติในระบบความคิดและวิธีการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแนวทางหลักรวมทั้งในเรื่องของการเก็บบันทึกข้อมูล (data) การรวบรวมข้อมูลให้อยู่เป็นระบบหรือเรียกว่าฐานข้อมูล (database) ที่ล้วนแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัว ข้อมูล (data) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เกิดจากการสะสมความรู้ความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ได้ถูกนำไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆที่เป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมสมัยก่อน ข้อมูลจะเก็บไว้ในสมองของผู้คิดสร้างสรรค์บ้าง จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรบ้าง กระจัดกระจายกันอย่างไม่เป็นระเบียบแบบแผนต่อเมื่อมีการจัดหมวดหมู่ในภายหลังหรือเรียกว่า ฐานข้อมูล(database) ทำให้ข้อมูลมีระเบียบมากขึ้น นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อนำข้อมูลในฐานข้อมูลมาสร้างสรรค์งานจะได้ผลงานออกมาเรียกว่าทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) อย่างไรก็ดี แม้ในประเทศที่พัฒนาก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ยังมีปัญหาทางด้านจริยธรรม และการควบคุมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมีปัญหาผู้ทุจริต ปลอมแปลง ลอกเลียน เอาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะสมเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้สร้างสรรค์งาน จนในที่สุดก็ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามาใช้บังคับและมีการพัฒนากฎหมายดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาพร้อมกันนี้ก็มีการผลักดันให้ประเทศภาคีในองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกยอมรับกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่พัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของเหล่ามหาอำนาจทางการสื่อสารมาใช้แต่ปัจจุบันยังไม่บรรลุผล ผลจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยเห็นความสำคัญของการคุ้มครองงานสร้างสรรค์และมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับออกใช้ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า แต่ยังล้าหลังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานโลกและความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงควรหามาตรการและวิธีการคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม โดยศึกษาจากรูปแบบที่ใช้กันในระดับระหว่างประเทศ และกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการบัญญัติกฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่อไป

2. “การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง,” โกวิท หนูโยม, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2551 URL : www.oja.go.th/doc/Lists/doc1/DispForm.aspx?ID=311

ผู้ศึกษาเสนอแนวทางในการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ดังนี้

1. ความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กำหนดไว้มีขอบเขตครอบคลุมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะมีในอนาคต และมีความสอดคล้องกันกับกฎหมายต่างประเทศ จึงขอกำหนดความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

2. ในส่วนการจัดประเภทพยานหลักฐานนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แม้จะมีลักษณะเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ แต่ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพยานเอกสารและพยานวัตถุทั่วไป ในการนำสืบจึงต้องมีวิธีการพิเศษโดยเฉพาะ การยอมรับให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งจึงมีความเหมาะสมมากกว่า

3. เมื่อจัดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่งแล้ว ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ จะต้องมีวิธีการนำสืบและหลักในการรับฟังอย่างไร และจะนำบทตัดพยาน ได้แก่ หลักการรับฟังพยานหลักฐานที่ดีที่สุด และหลักการรับฟังพยานบอกเล่า มาใช้ด้วยหรือไม่

4. ดังนั้น การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานจำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดวิธีการนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐาน โดยควรบัญญัติหลักการไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนรายละเอียดให้กำหนดเป็นข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

3. “การประทับตราเวลา: ความจำเป็นสำหรับการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และตามผลกฎหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544,”

พรชัย นพประโคน กับพวก, วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553 URL: http://pattaniconference.pn.psu.ac.th/proceeding/poster/humen/Pornchai_Time%20Stamping.pdf

ความจำเป็นของการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลาสำหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นับว่ามีความสำคัญมาก โดยวันและเวลาต้องได้มาตรฐานสากลและให้เป็นที่ยอมรับของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง โดยผลที่เกิดขึ้นสามารถรับรองการกระทำของบุคคลซึ่งผูกพันโดยสัญญาของกระบวนการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลาสามารถขจัดปัญหาทางด้านเทคนิค แนวปฏิบัติ และกฎหมายแม่แบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายแม่แบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เปิดกว้างสำหรับการออกเป็นกฎหมายภายใน โดยให้ประเด็นความน่าเชื่อถือการบริการสารสนเทศ และเทคโนโลยีกลายเป็นความสำคัญกับการพัฒนาความน่าเชื่อถือระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันเปิดโอกาสให้มืออาชีพที่มีความแตกต่างในวิทยาการต่างๆ มาทางานร่วมกัน หรือเรียกว่าการบูรณาร่วมกันของการพัฒนาเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีแนวนโยบาย แนวปฏิบัติ และกฎหมายเพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาพาณิชย์

อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการประยุกต์ใช้ผู้ให้บริการประทับตราเวลามีความสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศมีการเตรียมข้อเสนอเกี่ยวกับสารสนเทศ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์การนาเข้าส่งออกเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือพยานหลักฐานดิจิทัลที่นำมาใช้เป็นพยาน หลักฐานในการพิจารณาคดีต้องสามารถพิสูจน์ความจริงและมีความน่าเชื่อถือได้

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลาสำหรับประเทศไทยปัจจุบันไม่มีการออกกฎหมายในขณะนี้ กลุ่มอาเซียนผู้ทำวิจัยได้ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียมีกฎหมายเรื่องการประทับตราเวลา ดังนั้นแนวทางการออกกฎหมายของไทยเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับต่อนานาประเทศ แนวคิดการประทับตราเวลาของผู้ให้บริการประทับตราเวลายังเป็นประเด็นที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อไป

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิทัล หรือพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากการกระทำของคู่กรณี โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 6 ให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัลเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีพาณิชย์ คดีอาญา คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีล้มละลาย และคดีอื่นๆ ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่และสำคัญในสังคมสารสนเทศ โดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือการตรวจสอบความถูกต้องและเป็นพยานหลักฐานที่ดี

ข้อเสนอแนะทางกฎหมายสำหรับประเทศไทยการออกกฎหมายแต่ละฉบับใช้ระยะพอสมควรด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ผู้ทำวิจัยเห็นว่ายังไม่เพียงพอสำหรับการเพิ่มศักยภาพการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นมาตรฐานสากล รัฐต้องบัญญัติกฎหมายเพื่อกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการอุดช่องว่างของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพให้ทัดเทียมกับนานาประเทศต่อไป

บทที่ 3

วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หลักกฎหมายด้านพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้ในคดีแพ่งของไทยนั้น มีด้วยกันหลายฉบับ ตั้งแต่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ รวมถึงข้อกำหนดของศาลต่าง ๆ ได้แก่ (1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (4) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 (5) ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 (6) ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 (7) ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 (8) ข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2549 (9) ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2550 (10) ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ดังนี้

1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

1.1 ลักษณะทั่วไป

ในการพิสูจน์ความจริงในกระบวนพิจารณาของศาลนั้น ต้องอาศัยพยานหลักฐานเป็นสำคัญ หากคู่ความฝ่ายที่อ้างข้อเท็จจริงใดแล้วก็ต้องแสดงพยานหลักฐานให้ศาลเห็น หากไม่สามารถแสดงได้ ศาลก็ไม่อาจรับฟังว่ามีข้อเท็จจริงเช่นนั้น ซึ่งอาจทำให้ประเด็นที่ต่อสู้กันคู่ความฝ่ายนั้นอาจเป็นฝ่ายแพ้คดีได้ ทั้งนี้ การนำพยานหลักฐานมาสืบนอกจากจะต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงความถูกต้องแท้จริงและความน่าเชื่อถือแล้วยังจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด เช่น วิธีการนำสืบพยานหลักฐานนั้น ๆ เป็นต้น

โดยปกติแล้ว คู่ความเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ (ปวิพ.ม. 85) ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานก็ตาม และศาลเองก็จะต้องรับฟังข้อเท็จจริงภายใต้กฎเกณฑ์ที่กฎหมายวางไว้ (โสภณ รัตนากร อ้างใน โกวิท,2551) เช่นกัน เช่น หากเป็นพยานหลักฐานก็ต้องนำต้นฉบับสืบ เว้นแต่เป็นข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นศาลก็จะไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และศาลก็มีอำนาจที่จะทำการสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องให้ ฝ่ายใดร้องขอ หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม(ปวิพ.ม. 86 ว.3)

ในการนำสืบพยานหลักฐานนั้น คู่ความต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

การยื่นบัญชีระบุพยาน (มาตรา 88) การส่งสำเนาเอกสาร (มาตรา 90) เป็นต้น หากคู่ความไม่ดำเนินการ ตามปกติศาลก็จะต้องไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น แต่กฎหมายเองก็ได้ให้อำนาจแก่ศาลหากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ก็สามารถทำได้(ปวิพ.ม. 87)

ระบบกฎหมายพยานหลักฐานของไทยนั้น กำหนดพยานหลักฐาน ไว้ 4 ประเภท คือ

พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการกำหนดประเภทตามวิธีการนำสืบ (การยื่นพยานหลักฐาน) และการรับฟังพยานหลักฐาน

1.2 หลักการรับฟังข้อมูลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน

ตามปวิพ.ม. 85 กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในปัจจุบันกำหนดประเภทพยานหลักฐานได้ 4 ประเภท คือ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รองรับการนำพยานหลักฐานมาสืบจึงจำกัดอยู่เฉพาะ 4 ประเภทนี้เท่านั้น

ปัจจุบันกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคดีแพ่ง ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) มาตรา 11 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 25 และมาตรา 26 ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 33-36 ข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2549 ข้อ 20-23 ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ข้อ 23

2. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

มาตรา 4 นิยาม ,มาตรา 7 การรับรองสถานะทางกฎหมาย ,มาตรา 8 หนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ และเอกสาร ,มาตรา 9 การลงลายมือชื่อ ,มาตรา 10 วรรคสี่ รับรองเอกสารปริ๊นเอาท์แทนต้นฉบับ ,มาตรา 11 ห้ามปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน (พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 6 แก้ไขมาตรา 10,11)

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“ธุรกรรม” หมายความว่า การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4

“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น

“ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

“ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบ

ของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ

“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่

เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการปิดอากรแสตมป์ หากได้มีการชำระเงินแทนหรือดำเนินการอื่นใดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งเกี่ยวข้องประกาศกำหนด ให้ถือว่าหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หรือเอกสาร ซึ่งมีลักษณะเป็นตราสารนั้นได้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามกฎหมายนั้นแล้ว ในการนี้ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว คณะกรรมการจะกำหนดกรอบและแนวทางเพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปไว้ด้วยก็ได้

มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า

(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้นว่าเป็นของตน และ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการ สร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี

วิธีการที่เชื่อถือได้ตาม (2) ให้คำนึงถึง

ก. ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคลสภาพพร้อม ใช้งานของทางเลือกในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กำหนดไว้ในกฎหมายระดับความมั่นคงปลอดภัยของ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทำธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร

ข. ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทำ จำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการทำธุรกรรม ประเพณีทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสำคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทำ หรือ

ค. ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร

ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการประทับตราของนิติบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโดยอนุโลม…

มาตรา 10 วรรคสี่

“ในกรณีที่มีการทำสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งสำหรับใช้อ้างอิงข้อความของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากสิ่งพิมพ์ออกนั้นมีข้อความถูกต้องครบถ้วนตรงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีการรับรองสิ่งพิมพ์ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดแล้ว ให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้”

มาตรา 11 ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้นให้พิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการเก็บรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง

ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองมิให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพราะเนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฐานต่าง ๆ และมีหลักเกี่ยวกับการรับฟังข้อมูลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 25 กำหนดให้ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดย มิชอบประการอื่น ซึ่งการกำหนดให้รับฟังข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นพยานหลักฐานได้นี้ จำกัดเฉพาะคดีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาอื่นหรือคดีแพ่งได้และตามมาตรา 26 กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ นอกจากนี้ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

ปัจจุบันมีประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 ซึ่งออกตามความในมาตรา 26 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้

มาตรา 25 ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบ วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษา ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็น เวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

4. พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

มาตรา 7 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ และ มาตรา 8 กรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย

มาตรา 7 กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 6 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 8 ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น

การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามวรรคหนึ่งไม่ว่าโดยคู่ความเป็นผู้ขอหรือโดยศาลเห็นสมควร ถ้าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา แต่ถ้าเป็นการขอในคดีอื่นต้องกระทำอย่างช้าในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วห้ามมิให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีก และเมื่อได้รับคำขอจากศาลชั้นต้นแล้ว ให้ประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยและแจ้งผลไปยังศาลชั้นต้นโดยเร็ว

เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การดำเนินการใด ๆ ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ตามมาตรานี้ จะดำเนินการโดยทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้

5. ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540

เป็นข้อกำหนดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยอนุมัติประธานศาลฎีกาได้กำหนดเรื่องการรับฟังข้อมูลคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ข้อ 33 ศาลอาจรับฟังข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ หาก

(1) การบันทึกข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำตามปกติในการประกอบกิจการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และ

(2) การบันทึกและการประมวลผลข้อมูลเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน ตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และแม้หากมีกรณีการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้องก็ไม่กระทบถึงความถูก ต้องของข้อมูลนั้น

การกระทำตามปกติของผู้ใช้ตาม (1) และความถูกต้องของการบันทึกและการประมวลผลข้อมูลตาม (2) ต้องมีคำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินการนั้น

ข้อ 34 คู่ความที่ประสงค์จะเสนอข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องระบุข้อมูลที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พร้อมยื่นคำแถลงแสดงความจำนงเช่นว่านั้น และคำรับรองตามข้อ 33 วรรคสอง กับสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล เว้นแต่

(1) สื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่น หรือของบุคคลภายนอก ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดส่งคำรับรองตามข้อ 33 วรรคสอง และสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูล และขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาจากผู้ครอบครองโดยให้คู่ความฝ่ายที่อ้างนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้สื่อที่ บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน หรือในวันอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

(2) ถ้าการทำสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้น จะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าหรือเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิง ข้อมูลนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นให้แล้วเสร็จภาย ในเวลาตามที่กำหนดได้ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูล และขอนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานหรือในวันอื่นตาม ที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงไม่สามารถนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาล ได้ภายในเวลาตามวรรคหนึ่ง ศาลจะกำหนดให้ทำการตรวจข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นสมควรแล้วแต่สภาพแห่งข้อมูลนั้น ๆ ก็ได้

ถ้าคู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความในวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจะรับฟังข้อมูลเช่นว่านั้น เป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วยก็ได้

ข้อ 35 คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐานยันตนอาจยื่นคำแถลงต่อ ศาลก่อนการสืบข้อมูลนั้นเสร็จ คัดค้านการอ้างข้อมูลนั้น โดยเหตุที่ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขของการรับฟังตามข้อ 33 หรือสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นปลอม หรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจทราบเหตุแห่ง การคัดค้านได้ก่อนเวลาดังกล่าว คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างข้อมูลหรือสื่อหรือ สำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลเช่นว่านั้นต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้นและคำร้อง นั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง ในกรณีที่มีการคัดค้านดังว่ามานี้ ให้นำมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างข้อมูลดังกล่าวเสียก่อนการ สืบข้อมูลนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการอ้างอิงข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจของศาลในการที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องเงื่อนไขของ การรับฟังข้อมูลนั้นตามข้อ 33 หรือในเรื่องความแท้จริงหรือถูกต้องของสื่อหรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูล เช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ข้อ 36 ให้นำข้อกำหนดข้อ 33 ถึงข้อ 35 มาใช้บังคับแก่การรับฟังข้อมูลที่บันทึกไว้ในหรือได้มาจากไมโครฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม

6. ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544

ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 เป็นข้อกำหนดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร พ.ศ. 2528 อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง โดยอนุมัติประธานศาลฎีกา ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานสำหรับคดีภาษีอากร โดยมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 33-36 ทั้งประเภทของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การยื่นพยานหลักฐาน และการรับรองความถูกต้องแท้จริง

ข้อ 30 ศาลอาจรับฟังข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ หาก

(1) การบันทึกข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการประมวลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นการกระทำตามปกติในการประกอบกิจการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และ

(2) การบันทึกและการประมวลผลข้อมูลเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และแม้หากมีกรณีการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้องก็ไม่กระทบถึงความถูกต้องของข้อมูลนั้น

การกระทำตามปกติของผู้ใช้ตาม (1) และความถูกต้องของการบันทึกและการประมวลผลข้อมูลตาม (2) ต้องมีคำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินการนั้น

ข้อ 31 คู่ความที่ประสงค์จะเสนอข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องระบุข้อมูลที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานตามข้อ 15 พร้อมยื่นคำแถลงแสดงความจำนงเช่นว่านั้น และคำรับรองตามข้อ 30 วรรคสอง กับสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล

เว้นแต่

(1) สื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่น หรือของบุคคลภายนอก ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดส่งคำรับรองตามข้อ 30 วรรคสอง และสำเนาสื่อบันทึกข้อมูล และขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาจากผู้ครอบครองโดยให้คู่ความฝ่ายที่อ้างนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้สื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานหรือในวันอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

(2) ถ้าการทำสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้น จะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าหรือเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงข้อมูลนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นให้แล้วเสร็จภายในเวลาตามที่กำหนดได้ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลและขอนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน หรือในวันอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงไม่สามารถนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลได้ภายในเวลาตามวรรคหนึ่ง ศาลจะกำหนดให้ทำการตรวจข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นสมควรแล้วแต่สภาพแห่งข้อมูลนั้น ๆ ก็ได้

ถ้าคู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจะรับฟังข้อมูลเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วยก็ได้

ข้อ 32 คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ

ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐานยันตน อาจยื่นคำแถลงต่อศาลก่อนการสืบข้อมูลนั้นเสร็จ คัดค้านการอ้างข้อมูลนั้นโดยเหตุที่ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขของการรับฟังตามข้อ 30 หรือสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นปลอม หรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจทราบเหตุแห่งการคัดค้านได้ก่อนเวลาดังกล่าว คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างข้อมูลหรือสื่อหรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลเช่นว่านั้นต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้นและคำร้องนั้นมีเหตุผลฟังได้ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง ในกรณีที่มีการคัดค้านดังว่ามานี้ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 126 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างข้อมูลดังกล่าวเสียก่อนการสืบ

ข้อมูลนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการอ้างอิงข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจของศาลในการที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องเงื่อนไขของการรับฟังข้อมูลนั้นตามข้อ 30 หรือในเรื่องความแท้จริงหรือถูกต้องของสื่อหรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลเช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

ข้อ 33 ให้นำข้อกำหนด ข้อ 30 ถึงข้อ 32 มาใช้บังคับแก่การรับฟังข้อมูลที่บันทึกไว้

ในหรือได้มาจากไมโครฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม

7. ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 นี้ ออกอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาความปกครอง พ.ศ. 2542 ออกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ตามข้อ 23 เป็นการกำหนดให้การเก็บรักษาหรือนำเสนอพยานหลักฐานรูปอื่น ๆ เช่น เอกสาร ให้มาอยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

“ข้อ 23 สำนวนคดี เอกสารของคู่กรณี พยานหลักฐาน รายงานกระบวนพิจารณา คำพิพากษา คำสั่ง หรือเอกสารอื่นใดที่รวมไว้ในสำนวนคดี ไม่ว่าจะเป็นเอกสารต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับ ถ้าศาลเห็นสมควร จะมีคำสั่งให้เก็บรักษาหรือนำเสนอในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้”

8. ข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2549

เป็นข้อกำหนดที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 มาตรา 8 อธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางโดยความเห็นชอบจากประธานศาลฎีกาได้กำหนดถึงการรับฟังข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้

ข้อ 20 ศาลอาจรับฟังข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ หาก

(1) การบันทึกข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นการ กระทำตามปกติในการประกอบกิจการของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และ

(2) การบันทึกและการประมวลผลข้อมูลเกิดจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามขั้นตอน การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และแม้หากมีกรณีการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง ก็ไม่กระทบ ถึงความถูกต้องของข้อมูลนั้น

การพิสูจน์ถึงการกระทำตามปกติของผู้ใช้ตาม (1) และ ความถูกต้องของการบันทึกและการประมวล ผลข้อมูลตาม (2) อาจใช้คำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินการนั้นก็ได้

ข้อ 21 คู่ความที่ประสงค์จะเสนอข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องระบุข้อมูลที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พร้อมยื่นคำแถลงแสดงความจำนงเช่นว่านั้น กับสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง มารับไปจากเจ้าพนักงานศาล เว้นแต่

(1) สื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่น หรือของบุคคลภายนอกให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลและขอให้ศาล มีคำสั่งเรียกสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาจากผู้ครอบครองโดยให้คู่ความฝ่ายที่อ้างนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้สื่อที่บันทึก ข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานหรือในวันอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

(2) ถ้าการทำสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้น จะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าหรือเป็นที่เสื่อมเสียแก่ คู่ความซึ่งอ้างอิงข้อมูลนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นให้แล้วเสร็จภายในเวลาตามที่ กำหนดได้ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงข้อมูลยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตงดส่งสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูล และขอนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน หรือในวันอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด

ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงไม่สามารถนำสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นมาแสดงต่อศาลได้ภายในเวลาตามวรรคหนึ่ง ศาลจะกำหนดให้ทำการตรวจข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นสมควร แล้วแต่สภาพ แห่งข้อมูลนั้น ๆ ก็ได้

ถ้าคู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผลโดยเครื่อง คอมพิวเตอร์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจะรับฟังข้อมูลเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นด้วยก็ได้

ข้อ 22 คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐานยันตน อาจยื่นคำแถลงคัดค้านการอ้างข้อมูลนั้นต่อศาลก่อนการสืบข้อมูล นั้นเสร็จ โดยเหตุที่ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขของการรับฟังตามข้อ 20 หรือสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นปลอม หรือ สำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่ามีเหตุอันสมควร ที่ไม่อาจทราบเหตุแห่งการคัดค้านได้ก่อนเวลาดังกล่าว คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างข้อมูล หรือสื่อหรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลเช่นว่านั้นต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าคู่ความ ฝ่ายนั้นไม้อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้นและคำร้องนั้นมีเหตุผลฟังได้ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง ในกรณีที่มีการคัดค้าน ดังว่ามานี้ ให้นำมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างข้อมูลดังกล่าวเสียก่อนการสืบข้อมูลนั้นเสร็จ หรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการอ้างอิงข้อมูลนั้นเป็นพยานหลักฐาน แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอำนาจของศาลในการที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องเงื่อนไขของการรับฟังข้อมูลนั้น ตามข้อ 20 หรือในเรื่อง ความแท้จริงหรือถูกต้องของสื่อหรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลเช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม

ข้อ 23 ให้นำความในข้อ 21 ถึงข้อ 22 มาใช้บังคับแก่การรับฟังข้อมูลที่บันทึกไว้ในหรือได้มาจากไมโครฟิล์มสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม

9. ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2550

กำหนดถึงวิธีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “เอกสารสามารถส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้”

ข้อ 4 ในการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล คู่ความอาจส่งโดย

ทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

(2) โทรสาร

(3) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

การส่งคำคู่ความหรือเอกสารตามวิธีการที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากกระทำนอกเวลาหรือนอกวันทำการปกติของศาล ให้ถือว่าเป็นการส่งในเวลาแรกหรือวันทำการแรกที่ศาลเปิดทำการปกติถัดไป

10. ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 16 มาตรา 25 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 53 และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไว้ใน หมวด 4 ว่าด้วยการสืบพยานหลักฐาน

ข้อ 19 ก่อนการสืบพยานให้ศาลแจ้งประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็นและลำดับก่อนหลังในการนำพยานหลักฐานของคู่ความ แต่ละฝ่ายเข้าสืบ ให้คู่ความทุกฝ่ายทราบ

ข้อ 20 ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่ง คดี ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจสอบพยานหลักฐาน อันเป็นประเด็นแห่งคดี การตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ การตรวจพิสูจน์สินค้าหรือความเสียหายอันเกิดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ หรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน ทุนจดทะเบียน รายได้ รายชื่อหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือเรียกให้หน่วยงานหรือบุคคลใดมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งพยานหลักฐาน หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานคดีอาจประสานงานไปยังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ตรวจพิสูจน์หรือขอข้อมูลที่จำเป็น หรือมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งเอกสารมาเพื่อ ประกอบการดำเนินการ แล้วจัดทำรายงานเสนอต่อศาล โดยอาจระบุถึงพยานหลักฐานที่ศาลสมควรเรียกมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา 33 หรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลสมควรรับฟังความเห็นเพื่อประกอบการ พิจารณาพิพากษาตามมาตรา 36

ข้อ 21 พยานหลักฐานหรือความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญตามรายงานของเจ้า พนักงานคดีตามข้อ 20 ให้ศาลแจ้งให้คู่ความทราบก่อนการสืบพยานนั้นตามสมควร เพื่อให้คู่ความมีโอกาสโต้แย้งพยานหลักฐานดังกล่าวหรือเรียกผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมได้

ข้อ 22 ศาลอาจใช้ข้อมูลที่ได้จากรายงานของเจ้าพนักงานคดีเป็นแนวทางในการซักถามพยานก็ได้

ข้อ 23 ในกรณีที่มีการบันทึกคำพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใด ซึ่งคู่ความและพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของบันทึกการเบิกความนั้นได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 121 วรรคสอง ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความที่ บันทึกตลอดจนการจัดทำสำเนาข้อความดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร

หรือสิ่งบันทึกอย่างอื่น

ข้อ 24 ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีช่วยตรวจสอบและดูแลให้คู่ความดำเนินคดีไปตาม ขั้นตอนของกฎหมาย หากพบว่ามีข้อบกพร่อง ให้รายงานต่อศาลพร้อมด้วยแนวทางแก้ไขโดยเร็ว เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร

บทที่ 4

วิเคราะห์ปัญหากฎหมาย

กล่าวนำ

กฎหมายลักษณะพยานเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่จะต้องมีการเสนอพยานหลักฐานต่อศาล ข้อเท็จจริงอาจได้จากพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ โดยพยานเอกสารมีลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือ ลักษณะความครบถ้วนบริบูรณ์อยู่ในตัว ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือให้เห็นเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตามจุดด้อยของพยานเอกสารที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ หรือความถูกต้องของข้อเท็จจริง เนื่องจากพยานเอกสารเกิดขึ้นเองไม่ได้จะต้องมีบุคคลกระทำขึ้น ซึ่งก็ไม่มีหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะทำเอกสารตามความเป็นจริงหรือแกล้งทำเอกสารเท็จ ถ้าไม่นำบุคคลที่ทำเอกสารมาสืบประกอบ ยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของพยานเอกสารลดลง นอกจากนั้นพยานเอกสารยังมีปัญหาเรื่องปลอมแปลงหรือความไม่ถูกต้องแท้จริงด้วย

ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์” ยังไม่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างเป็นระบบเป็นการทั่วไป หรือแม้แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ยังไม่มีเช่นกัน ที่มีอยู่ผู้ศึกษาเห็นว่า เป็นเพียงการเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป ได้แก่ การสืบพยานทางจอภาพ (video conference) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 28 พ.ศ.2551) มาตรา 172 หรือ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2550 ข้อ 4 หรือ กำหนดไว้ในกฎหมายอาญาพิเศษบางฉบับ เช่นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และ มีข้อกำหนดของศาลชำนัญพิเศษต่าง ๆ ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับพยานอิเล็กทรอนิกส์ไว้บ้าง เป็นต้น

จึงมีข้อสงสัยว่า “พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์” เป็นพยานเอกสารประเภทใด เพราะ ตาม ปวิพ. มาตรา 88 มีกล่าวไว้เพียง 4 ประเภท คือ พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ และ พยานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการพิจารณากันว่า พยานอิเล็กทรอนิกส์เป็น “พยานเอกสาร” หรือ เป็น “พยานวัตถุ”

โดยมีกรณีศึกษาตัวอย่างในกรณีของ “สื่อบันทึกเสียงและภาพ” ซึ่งมีผู้ศึกษาวิจัยไว้ ฉะนั้นในที่นี้ ผู้ศึกษาจึงขอแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ (1) กรณีของสื่อบันทึกเสียงและภาพ และ (2) กรณีพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

(1) กรณีของสื่อบันทึกเสียงและภาพ

1.1 ปัญหาการเป็น พยานเอกสาร หรือ พยานวัตถุ

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์ ได้ศึกษาไว้เมื่อปี 2545 ให้ความเกี่ยวกับ สื่อบันทึกเสียงเป็นพยานเอกสาร หรือ สื่อบันทึกภาพเป็นพยานวัตถุ หรือไม่เพียงใด

เพราะจะมีผลต่อการวินิจฉัยและตัดสินคดีของศาล เนื่องจากหากสื่อบันทึกเสียงและภาพมีสถานะเป็นพยานเอกสารต้องมีการส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นการป้องกันการจู่โจมกันทางพยานหลักฐาน นอกจากนั้นเวลานำเทปบันทึกเสียงเข้าสืบต้องนำสืบด้วยต้นฉบับของจริงจะนำสำเนาเข้าสืบไม่ได้ตามมาตรา 93 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 23 พ.ศ.2550 ภายหลังจากการศึกษาของ ปิติกุล พ.ศ. 2545) เนื่องจากการตรวจสอบถึงความถูกต้องแท้จริงของพยานไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสารต้องตรวจสอบจากต้นฉบับเท่านั้น หรือพยานวัตถุต้องตรวจสอบจากของจริงเช่นเดียวกัน และยังมีการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงในกรณีของพยานเอกสารโดยอาศัยมาตรา 94 และมาตรา 125 คู่ความมีสิทธิโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสารก่อนสืบพยานเอกสารเสร็จ และศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสารถึงแม้คู่ความจะไม่คัดค้านตามมาตรา 125 วรรคสาม และหากคู่ความจะคัดค้านหรือโต้เถียงถึงความถูกต้องของพยานเอกสาร ศาลก็ยังมีอำนาจตรวจสอบถึงความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสารก่อนศาลพิพากษาตามมาตรา 126 (ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์, 2545 ,Ibid.)

ในทางอาญานิยามของพยานเอกสารว่า “กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น” แต่บทนิยามดังกล่าวมีข้อจำกัดว่าข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อต่าง ๆ ที่จะเป็นเอกสารต้องมีลักษณะที่สามารถรับรู้โดยจักษุประสาทคือสื่อทางตาได้ ก็ทำให้เกิดปัญหาว่าในกรณีของเทปบันทึกเสียงเพราะสื่อความหมายที่บันทึกทางตาไม่ได้ ไม่เหมือนกับวีดีโอเทปจึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเอกสารในประมวลกฎหมายอาญา ด้วยเหตุนี้เองเมื่อมีคดีเรื่องเทปบันทึกเสียงเกิดขึ้น ศาลฎีกามักจะมองว่าเทปบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ (ปิติกุล , 2545 ,Ibid.)

เกิดปัญหาขึ้นว่าตัวอักษรเบลล์ที่คนตาบอดใช้ ซึ่งสื่อโดยกายสัมผัสไม่ได้สื่อทางหู (เมื่อเทียบว่าเทปเสียงเป็นพยานวัตถุ เพราะรับรู้ทางหู) ซึ่งโดยหลักวิชาถือว่าเป็นพยานเอกสารแน่ เพราะเป็นข้อความที่บันทึกไว้ในสื่อกระดาษ (ปิติกุล , 2545 ,Ibid.)

ในทางแพ่ง พยานหลักฐานที่เป็นปัญหาคือภาพถ่ายห้องเช่าว่าเป็นพยานเอกสารหรือเป็นพยานวัตถุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าภาพถ่ายที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นภาพจำลองวัตถุ คือการอ้างภาพจำลองวัตถุ ไม่ได้อ้างความหมายของตัวหนังสือที่ปรากฏในเอกสาร (ปิติกุล , 2545 ,Ibid.)

ปัญหาต่อไปคือกรณีของรูปถ่าย มีปัญหาว่ารูปถ่ายเป็นเอกสารหรือไม่ ถ้าดูตามนิยามศัพท์กฎหมายอาญารูปถ่ายเป็นเอกสารได้เพราะได้บันทึกข้อมูลไว้ แต่พอนำรูปถ่ายมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ถามว่ารูปถ่ายเป็นพยานเอกสารหรือไม่ ศาลฎีกาวางบรรทัดฐานมาว่ารูปถ่ายที่คู่ความนำสืบเข้ามาในคดีแพ่งเป็นพยานเป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร ให้ถือว่ารูปถ่ายเหล่านั้นนำสืบเข้ามาในฐานะเป็นพยานวัตถุ (คำพิพากษาฎีกาที่ 840/2499) (ปิติกุล , 2545 ,Ibid.)

1.2 ปัญหาการรับฟังสื่อบันทึกเสียงและภาพในกฎหมายลักษณะพยาน

ปัญหาว่าข้อมูลที่ได้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้เพียงใดหรือไม่นั้น เป็นหัวข้อที่นักกฎหมายทุกระบบจะต้องพิจารณา ระบบกฎหมายของประเทศที่มีการพิจารณาพิพากษาคดีแบบไต่สวน (inquisitorial system) ซึ่งเปิดให้มีการรับฟังพยานหลักฐานอย่างกว้างขวางดูจะไม่ค่อยเป็นอุปสรรคเท่าใดนักในการปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อรองรับการนำเสนอข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ในระบบที่มีการพิจารณาคดีแบบกล่าวหา (accusatorial or adversary system) ซึ่งมีข้อจำกัดในการเสนอพยานหลักฐานที่ประกอบด้วยบทตัดพยาน (exclusionary rules) มากมายย่อมต้องก่อให้เกิดปัญหาหลายประการในการที่จะนำพยานหลักฐานประเภทนี้มาอ้างอิงและนำเสนอต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้ออ้างข้อเถียง (พรเพชร วิชิตชลชัย, อ้างใน ปิติกุล ,2545, Ibid.)

1.3 บทสรุป

ปิติกุล ,2545 เห็นว่า “สื่อบันทึกเสียงและภาพเป็นพยานเอกสาร” เมื่อได้พิจารณาถึงความหมายของพยานเอกสาร ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนในการนำเสนอและการตรวจสอบถึงความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสาร เพราะพยานเอกสารมีการตรวจสอบที่ดีกว่าพยานวัตถุ เมื่อมีการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนแล้วก็จะให้ศาลใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหรือการชี้ขาดข้อเท็จจริง แต่การพิสูจน์ความจริงของศาลถึงแม้จะมีการผ่านกระบวนการพิจารณาของศาลก็ยังอาจไม่ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนบริบูรณ์ ฉะนั้นแล้วจะหวังให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลครบถ้วนบริบูรณ์และถูกต้องตรงกับความจริงทุกครั้งไปย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่หากเทปเป็นพยานเอกสารก็จะมีผลทำให้การวินิจฉัยและตัดสินคดีของศาลจะดำเนินไปอย่างเที่ยงธรรมที่สุด

และยังเห็นว่าควรให้คำจำกัดความของคำว่าพยานเอกสารตามกฎหมายลักษณะพยานว่ามีความหมายว่าอย่างไร ก็สามารถขจัดความสงสัยได้ว่าอะไรคือพยานเอกสาร โดยมีความเห็นว่า “พยานเอกสาร คือ สิ่งที่ถูกเขียนหรือบันทึกขึ้นเพื่อเป็นพยานเอกสาร โดยให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่นจะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องปรากฏบนวัตถุใด อาจจะปรากฏบนกระดาษ ก้อนหิน ดิน โลหะ หรือวัตถุอื่นใด แต่จะต้องคงทนอยู่ในช่วงระยะเวลาอันใดอันหนึ่ง” (ปิติกุล , 2545 ,Ibid.)

(2) กรณีพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคดีอาญา หรือ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในทางแพ่งจะเป็นเรื่องธุรกรรม ทางการค้าการพาณิชย์

ระบบอินเตอร์เน็ตได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางด้านการสื่อสารระหว่างมนุษย์ในรูปของสื่อผสม (Multimedia) ซึ่งบุคคลสามารถติดต่อถึงกันได้โดยอาศัยสื่อหลายประเภทผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อความธรรมดา การรับส่งภาพ หรือเสียง ตลอดจนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (พินัย ณ นคร,2543 อ้างใน นารี กิตติสมบูรณ์สุข, 2549) มีการส่งเสริมให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศต่างๆ แม้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นก็มีทั้งคุณและโทษ แต่ก็น่าจะเป็นคุณมากกว่า ประเทศต่างๆจึงให้ความสำคัญ และพยายามที่จะหามาตรการมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ต่างก็พยายามหามาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น แต่การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันมักไม่มีประสิทธิภาพ และสำหรับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีการกระทำความผิดที่มิใช่เกิดขึ้นแต่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ จึงเกิดปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศ มาตรการในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ในรูปของความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดช่องว่างที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง หรือจัดให้มีความร่วมมือในลักษณะขององค์กรต่อองค์กร หรือประเทศต่อประเทศเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการสืบสวนสอบสวน

มีผลการศึกษาของ นารี กิตติสมบูรณ์สุข , 2549 และ โกวิท หนูโยม , 2551 ที่พอจะนำมาอ้างอิงและศึกษา

2.1 ตามแนวผลการศึกษาของนารี กิตติสมบูรณ์สุข , 2549

2.1.1 ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ในทางอาญากำหนดไว้ ในกฎหมายพิเศษบางฉบับ เช่นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และทางแพ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 10 วรรคสี่

“ในกรณีที่มีการทำสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งสำหรับใช้อ้างอิงข้อความของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากสิ่งพิมพ์ออกนั้นมีข้อความถูกต้องครบถ้วนตรงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีการรับรองสิ่งพิมพ์ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดแล้ว ให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกดังกล่าวใช้แทนต้นฉบับได้”

2.1.2 ปัญหาการรับฟังเป็นพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

นารี กิตติสมบูรณ์สุข ได้ศึกษาหลักเกณฑ์การรับฟังและการสืบพยานหลักฐานโดยทั่วๆไปในคดีอาญา โดยเห็นว่าจะต้องนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการรับฟังและการสืบพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน (นารี ,2549 ,Ibid.) พอสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

1) ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องของการทำนิติกรรมสัญญา กฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ทำนิติกรรมนั้น มิฉะนั้นจะไม่มีผลบังคับกันในทางกฎหมาย แต่ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการทำนิติกรรมสัญญา ได้แก่ โทรเลข เทเล็กซ์ โทรสาร และอินเตอร์เน็ต เรียกว่า “ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” เป็นการทำนิติกรรมสัญญาในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้ทำลงบนกระดาษเช่นในสมัยก่อน จึงมีการบัญญัติ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ขึ้นมาใช้บังคับในกรณีนี้โดยเฉพาะ แต่ก็ยังมิได้มีการแก้ปัญหาการรับรองพยานหลักฐานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา ว่าเป็นพยานเอกสารหรือไม่แต่อย่างใด (นารี ,2549 ,Ibid.)

2) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับลักษณะของพยานเอกสารแล้ว จะเห็นว่า เอกสารฉบับหนึ่งอาจเป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการอ้าง นั่นคือหากต้องการให้ศาลพิจารณาข้อความในเอกสารนั้นก็เป็นพยานเอกสาร แต่ถ้าเป็นการอ้างเพื่อให้ศาลพิจารณารูปลักษณะของพยานหลักฐานชิ้นนั้นก็เป็นพยานวัตถุ โดยทั่วไปแล้วพยานวัตถุจะมีความสำคัญในคดีอาญามากกว่าในคดีแพ่ง เพราะเป็นพยานที่ดีที่สุดในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางประการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ของกลางต่างๆ (นารี ,2549 ,Ibid.)

3) ในความเป็นจริงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์ แต่มีทั้งกล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง ซึ่งต่างก็มีลักษณะเป็นพยานวัตถุ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อมูลที่เกิดจากการประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นพยานหลักฐานประเภทหนึ่งเช่นกัน (นารี ,2549 ,Ibid.)

ดังนั้นการจะพิจารณาว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการนำสืบพยานหลักฐานชิ้นนั้นว่าจะเป็นการนำสืบตัววัตถุหรือนำสืบข้อความ เช่น ต้องการนำสืบข้อเท็จจริงจากข้อความในเอกสารที่ได้พิมพ์ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เป็นเอกสาร หรือการนำสืบแถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ (คำพิพากษาฎีกาที่ 7155/2539) ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษา แสดงให้เห็นว่าแถบบันทึกเสียงสามารถตรวจสอบได้ด้วยการฟัง เพราะการนำสืบพยานวัตถุเป็นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง (โสภณ รัตนากร อ้างใน นารี ,2549 ,Ibid.)

4) ในคดีอาญา นารี กิตติสมบูรณ์สุข ซึ่งได้ศึกษาไว้เมื่อปี 2549 ก่อนที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีความเห็นว่า “พยานเอกสาร กรณีที่ Printout ออกมาเป็นเอกสาร หรือเป็นพยานวัตถุ กรณีที่อยู่ในรูปของฮาร์ดดิสก์ ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะ ไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ ต่างก็เป็นพยานหลักฐานที่กฎหมายบัญญัติให้รับฟังได้” (นารี ,2549 ,Ibid.)

5) ในทางอาญานั้น ถือว่า การค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง ต้องกระทำไปภายในขอบเขตที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ ทำให้ต้องมีเหตุที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจน ตามหลักการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่ามีความผิด โดยจะต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัยโดยการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (นารี ,2549 ,Ibid.)

2.2 ตามแนวผลการศึกษาของโกวิท หนูโยม , 2551

โกวิท , 2551 เห็นว่า “ในส่วนการกำหนดความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีขอบเขตครอบคลุมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบันและสอดคล้องกันกับกฎหมายต่างประเทศ” (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

“ในส่วนการจัดประเภทพยานหลักฐานนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นพยานหลักฐาน

ประเภทใด เป็นพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ หรือเป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่งแยกต่างหากออกมา การจัดประเภทของพยานหลักฐานย่อมส่งผลโดยตรงต่อวิธีการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจัดประเภทเป็นพยานเอกสารย่อมต้องเผชิญกับบทตัดพยาน ได้แก่ การรับฟังต้นฉบับเอกสาร การห้ามนำสืบพยานประกอบเอกสาร และการรับฟังพยานบอกเล่า ซึ่งเมื่อพิจารณาจากลักษณะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้วแม้จะมีลักษณะเป็นพยานเอกสารและพยานวัตถุ แต่ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพยานเอกสารและพยานวัตถุทั่วไป ในการนำมาสืบจึงต้องมีวิธีการพิเศษโดยเฉพาะ ประกอบกับตามกฎหมายต่างประเทศเองก็มีบทบัญญัติที่ใช้ในการรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะที่เหมาะสม ดังนั้น การยอมรับให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งจึงมีความเหมาะสมมากกว่า” (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

ซึ่งในศาลชำนัญพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลาย ก็ได้ยอมรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานอีกประเภทหนึ่งมาเป็นเวลานานแล้ว โดยกำหนดให้มีวิธีการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะ

ซึ่งนุชนาฏ(นามแฝง) ,2552 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “...คราวนี้คงต้องตั้งตารอครับว่าข้อกำหนดที่ใช้กับศาลแพ่งและศาลอาญา(ซึ่งเป็นศาลส่วนใหญ่ของประเทศ) จะออกมาใช้บังคับเมื่อใดครับ เพื่อจะได้หมดปัญหาการตีความ เพราะศาลอื่นเขาก็บัญญัติเรื่องนี้ไว้หลายปีแล้วครับ…”

โดยเห็นว่า สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ทันที โดยไม่ต้องมีกฎหมายกำหนดวิธีการนำสืบและวิธีการรับฟังเป็นพยานหลักฐานอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากการบัญญัติมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้รับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ต้องการให้ความคุ้มครองคู่กรณีที่เกี่ยวข้องหากมีข้อพิพาทจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบทบัญญัติอื่นๆ ก็มีผลใช้บังคับแล้ว หากจะให้การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ต้องรอให้มีกฎหมายกำหนดวิธีการนำสืบและวิธีการรับฟังเป็นพยานหลักฐานก่อนย่อมไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ ในเรื่องการกำหนดวิธีการนำสืบและวิธีการรับฟังเป็นพยานหลักฐานนั้นศาลก็อาจกำหนดเป็นแนวทางของศาลเองได้ (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

2.2.1 มีความเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนด “พยานอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” เป็นพยานอีกประเภทหนึ่ง

นอกเหลือจาก 4 ประเภทที่กำหนดไว้เดิม ดังนี้ หากเป็นพยานหลักฐานประเภทอื่นนอกจาก 4 ประเภทข้างต้นแล้ว ศาลจะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

สำหรับพยานหลักฐานประเภทอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ 4 ประเภท ข้างต้นนั้นคู่ความจะสามารถนำเสนอต่อศาลได้หรือไม่ และศาลจะต้องรับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่ มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย คือ (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

ความเห็นแรก เห็นว่า ในการนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลนั้น คู่ความสามารถนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลได้เฉพาะพยานหลักฐาน 4 ประเภท คือ พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสาร และพยานผู้เชี่ยวชาญ เท่านั้น หากนำพยานหลักฐานอื่น ๆ มาก็ต้องจัดให้อยู่ใน 4 ประเภทนี้ และนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐานของพยานหลักฐานแต่ล

ละประเภทมาใช้ด้วย

ความเห็นที่ 2 เห็นว่า ในการนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลนั้น หากเป็นพยาน บุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสาร และพยานผู้เชี่ยวชาญ แล้ว คู่ความก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐานของพยานหลักฐานแต่ละประเภท แต่หากเป็นพยานหลักฐานประเภทอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปก็ไม่ต้องนำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐานของพยานหลักฐานทั้ง 4 ประเภท ที่กฎหมายกำหนดมาใช้ แต่ให้เป็นดุลพินิจของศาลในการนำสืบและการรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นอำนาจทั่วไปของศาลในการพิจารณาพิพากษาคดี

2.2.2 ขอบเขตการใช้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 6 แก้ไขมาตรา 11

โดยหลักใช้กับธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้นำกฎหมายมาใช้บังคับแก่ธุรกรรมในการดำเนินงานของรัฐบางเรื่อง ดังที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ซึ่งคำว่า “ธุรกรรม” นั้น หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น จะเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มีขอบเขตครอบคลุมคดีแพ่งและพาณิชย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีละเมิดหนี้ คดีเด็กและเยาวชน คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าต่างประเทศ และถือได้ว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานในกฎหมายฉบับนี้มีขอบเขตครอบคลุมในคดีแพ่งเทียบเท่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีการกำหนดข้อยกเว้นไว้ซึ่ง ข้อยกเว้นที่ไม่นำพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปใช้บังคับ คือ ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ (มาตรา 3 วรรค 1) (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

2.2.3 การที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานอีกประเภทหนึ่ง

เพราะมีลักษณะและสภาพที่พิเศษ ทำให้ไม่อาจนำวิธีการนำพยานเข้าสืบของพยานทั้ง 4 ประเภทข้างต้นมาใช้ได้ ต้องมีวิธีการนำสืบเป็นกรณีพิเศษ แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ก็ไม่ได้กำหนดวิธีการนำสืบไว้แต่อย่างใด ทำให้ยังเป็นช่องว่างของกฎหมายในเรื่องนี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของบทตัดพยานต่าง ๆ เช่น หลักพยานหลักฐานที่ดีที่สุด หลักการรับฟังพยานบอกเล่า ว่าจะต้องนำมาใช้กับพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ และควรที่จะมีวิธีการในการรับรองความถูกต้องแท้จริง ตลอดจนการเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

การมีกฎหมายรองรับการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานย่อมทำให้ประชาชนเชื่อถือในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ประชาชนย่อมมั่นใจว่าพยานหลักฐานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และการมีกฎหมายรองรับดังกล่าวย่อมทำให้ศาลมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน (โกวิท ,2551 ,Ibid.)

2.3 ปัญหาของ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544

2.3.1 ปัญหาเอกสารปริ๊นเอาท์ (print out)

แม้จะมีการปรับแก้ในปี พ.ศ.2551 แต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ยังใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะใน พ.ร.บ.ยังไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจนถึง หน่วยงานที่มีอำนาจรับรองเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลต่อความสมบูรณ์ของ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเชื่อมั่นในการลงทุน และความเชื่อมั่นของผู้ที่จะใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนธุรกรรมที่ใช้กระดาษแบบเดิม รวมทั้งกรณีการบังคับใช้ พ.ร.บ.เพื่อรับรอง "สิ่งพิมพ์ออก" หรือที่เราๆ เรียกว่า "เอกสารที่ปริ๊นออกมาจากเครื่อง" ซึ่งตามพ.ร.บ.กำหนดให้ต้องมีการรับรองเอกสารดังกล่าว โดยหน่วยงานที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการประกาศรายชื่อหน่วยงานที่มีอำนาจนั้นอย่างชัดเจน (ประมาณ, 2553 ,Ibid.)

มีผู้พิพากษา ตุลาการ ทนายความ ได้ร่วมสัมมนากฎหมาย “9ปีอี-คอมเมิร์ซ”นี้เมื่อต้นปี 2553 เห็นว่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในไทยยังไม่มีอะไรคืบหน้านับจากปี 2544 และ 2551 (ดูใน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ,2 มีนาคม 2553)

จรัล ภักดีธนากุล เห็นว่า กรณี “สิ่งพิมพ์ออก” จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ แม้โดยสภาพจะเป็นสำเนา ไม่ใช่ต้นฉบับ แต่สามารถนำไปใช้อ้างยันในฐานะเป็นต้นฉบับได้ เพราะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นต้นฉบับ

การที่กฎหมายไปตั้งเงื่อนไข โดยกำหนดให้ สิ่งพิมพ์ออก” ต้องมีการรับรองโดยหน่วยงานที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศทำให้เกิดการติดเลือกปฏิบัติ

ทางออกกรณีนี้ควรกำหนดใหม่ว่า ข้อมูลเป็นของใครหรือหน่วยงานใด ก็ให้ผู้นั้น หรือหน่วยงานนั้นเป็นผู้รับรองข้อมูลสิ่งที่พิมพ์ออก...”

วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เห็นว่า “การเขียนกฎหมาย แม้จะเขียนอย่างไรก็ไม่มีทางตามโลกแห่งเทคโนโลยีได้ทัน เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การออกกฎหมายในเชิงที่ไป กำหนดว่า นี่คือเส้นที่ต้องเดิน หรือยิ่งไปสร้างเงื่อนไขมากขึ้นเท่าไร จะยิ่งไปทำลายการค้ารูปแบบใหม่มากขึ้นเท่านั้น ระบบที่ใช้ในการกำกับดูแล ควรกำหนดไว้เพียงกรอบบางอย่าง แต่ต้องไม่เป็นกรอบที่สร้างขึ้นมาจนคนที่เกี่ยวข้องเดินไม่ได้

หากจะแก้กฎหมายอีกครั้ง ก็ควรแก้ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่ต้องไปกำหนดกฎเกณฑ์ใดออกมาอีก ควรแก้เฉพาะในเรื่องแบบวิธีเป็นหลัก แม้ทุกวันนี้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์จะโตเร็ว หรือมีการขโมยข้อมูลกันได้มากขึ้น หากภาครัฐอยากเข้าไปแทรกแซง ก็ควรเข้าไปดูแลในแง่ของการคุ้มครองผู้บริโภค หรือกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น การใช้บัตรเครดิตปลอม หรือการนำข้อมูลหลายอย่างมาประกอบกัน เพื่อนำไปใช้ทำอะไรบางอย่างที่ไม่ สุจริต กรณีเหล่านี้ต่างหาก ที่รัฐควรเข้าไปดูแลอย่างแข็งขัน...”

เดชอุดม ไกรฤทธิ์ เห็นว่า “ข้อมูลจากทีดีอาร์ไอ ระบุว่า เวลานี้ไทยมีประชากร 67 ล้านคน แต่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแค่ 2 ล้านคน แสดงว่าเรายังไม่ได้เป็นสังคมเน็ตติเซ่น (NetiZen) หรือยังไม่มีประชากรใช้อินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางเหมือนบางประเทศ

การที่สังคมไทย ยังไม่มีสภาพเป็นสังคมระหว่าง คน กับเครื่องฯ หรือเน็ตติเซ่นอย่างแท้จริง ต่อให้แก้กฎหมาย หรือเขียนกติกาใหม่ขึ้น มาอีกรอบ หวังจะให้เกิดการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ ย่อมเป็น ไปได้ยาก

การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างคนกับเครื่องฯอย่างแท้จริง เวลานี้ในเมืองไทยมีแห่งเดียว คือ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกนั้น ไม่ใช่ ถึงแก้กฎหมายไป ก็ไม่สำเร็จ..."

2.3.2 สัญญาซื้อขายทางเวบไซต์

แม้ว่า พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ยังคงไม่สมบูรณ์ในการใช้งาน แต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้รับรองสถานะทางกฎหมายของการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตให้ เทียบเท่ากับการทำเป็นหนังสือสัญญา โดยหากมีการส่งข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ในการบอกรับการซื้อขาย การตกลงราคา หรือคำเสนอของผู้ขายสอดคล้องถูกต้องตรงกันกับคำสนองของผู้ซื้อแล้วลงชื่อและ click ส่งไปให้ฝ่ายตรงข้าม และสามารถเรียกข้อมูลกลับมาดูหรือ print out ข้อมูลออกมาดูได้ ก็เป็นอันว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นแล้ว (ประมาณ, 2553)

มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องทราบชื่อ นามสกุลจริง ชื่อบริษัท ที่อยู่ที่แน่นอนหรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นของผู้ที่เรากำลังติดต่อทำธุรกรรมอยู่ด้วย ส่วนกรณีหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนทั้งหลายนั้น หากเขาจะทวงหนี้คงค้าง เขาจะทำหนังสืออย่างเป็นทางการแจ้งให้ทราบ ดังนั้นอย่าหลงทำตามคำหลอกลวงของมิจฉาชีพที่พยายามใช้ธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรม (ประมาณ, 2553 , Ibid.)

โชคชัย ตั้งรักษาสัตย์ ,2552 กล่าวว่า “ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติรองรับในเรื่องพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจนและเป็นระบบ กล่าวคือในระบบพยานหลักฐานของไทย ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งนำไปใช้ในวิธีพิจารณาความอาญาด้วยนั้น จะเป็นระบบของพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งมิได้ออกแบบไว้สำหรับพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ การที่จะนำมาใช้จึงยังไม่ค่อยเหมาะสมแก่กรณี” (โชคชัย และวิชัย,2552)

ปริญญา หอมอเนก เสนอให้มี “ การอบรมความรู้ขั้นสูงทางด้าน Information Security เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับพนักงานสอบสวนตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจนถึงขั้นศาล หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญเรื่องการฝึกอบรมบุคลากรดังกล่าวในเรื่อง Computer Forensics และInvestigations ให้พร้อมรับกับกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะถูกนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อปราบเหล่าอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และ รูปแบบคดีก็ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ความเข้าใจ และ ความรู้จริงด้าน Computer Forensics และ Investigations จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมสามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด” (ปริญญา , 2547)

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ วิพากษ์ว่า “พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่ให้ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffic Data) จากผู้ใช้บริการทั่วไป เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือสิทธิส่วนบุคคลที่ระบุไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เพราะต้องเปิดเผยผู้ใช้บริการว่าเป็นบุคคลใด การห้ามส่งต่อ (forward) ข้อมูลที่ลามกอนาจาร การให้อำนาจแก่รัฐบาลในการปิดหรือบล็อกเว็บไซต์ พูดง่ายๆ ว่า กฎหมายฉบับนี้คือ รัฐประหารแบบเบ็ดเสร็จสำหรับสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้บริการในโลกไซเบอร์สเปซ หรือในโลกอินเตอร์เน็ตหรือเปล่า” (ไพบูลย์ ,2550)

บทที่ 5

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

บทสรุป

ในสังคมโลกปัจจุบันยุค “ข่าวสาร” ไร้พรมแดน มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร เปรียบได้ว่า “เพียงลัดมือเดียว” หรือ “เพียงแวบเดียว” ก็ถึงแล้ว การติดต่อสื่อสารกัน โดยเฉพาะทางอินเตอร์เนตเปรียบเหมือนการสื่อสารกัน “ตัวต่อตัว” เมื่อโลกวิทยาการก้าวหน้า แต่กฎหมายไม่สามารถเข้าไปควบคุมดูแลได้ทั่วถึง ย่อมเกิดความไม่สมดุลในระหว่าง “การควบคุมป้องกัน” และ การแก้ไข” เพราะจะมีการแก้ไขเสียมากกว่า ยังไม่มีการป้องกัน เพราะ บางอย่างไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ต้องรอให้เกิดปัญหาเสียก่อน เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ในคดีอาญา นั้น ปัญหา ข้อกฎหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์คือ หลักของกฎหมายอาญาที่ระบุว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nulla poena sinelege) และมุ่งคุ้มครองวัตถุที่มีรูปร่างเท่านั้น แต่ในยุคไอทีนั้น ข้อมูลข่าวสารเป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เอกสารไม่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ไม่อาจขยายการคุ้มครองไปถึงได้ หรือในคดีแพ่ง ก็มีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ หรือ เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการค้า การพาณิชย์ มากขึ้น หรือ การก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหวังผลกำไร โดยไม่มองเรื่องคุณธรรม เป็นต้น จากการศึกษา “พยานอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” เฉพาะมุมมองที่เน้นเฉพาะทางคดีแพ่ง พบว่ามีข้อสังเกตบางประการ อันจะเป็นประโยชน์ในการเสนอแนวคิดเพื่อการปรับปรุงแก้ไขเรื่องนี้ในโอกาสต่อ ไป

ข้อเสนอแนะ

1. การกำหนดประเภทของ “พยานอิเล็กทรอนิกส์” ขึ้นใหม่ต่างหาก

ระบบกฎหมายพยานหลักฐานของไทยนั้น กำหนดพยานหลักฐาน ไว้ 4 ประเภท คือ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการกำหนดประเภทตามวิธีการนำสืบ (การยื่นพยานหลักฐาน) และการรับฟังพยานหลักฐาน ปัญหาคือ “พยานอิเล็กทรอนิกส์” เป็นพยานประเภทใด ระหว่าง “พยานเอกสาร” หรือ “พยานวัตถุ” ซึ่งจะมีผลเรื่องการนำสืบพยาน และเรื่องอื่น ๆ ผู้ศึกษาเสนอว่า ควรมีการกำหนดประเภทของพยานประเภทนี้ขึ้นมาอีกต่างหาก เนื่องจาก พยานอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ไม่หยุดนิ่ง “ต้องสร้างมาตรการเชิงรุก” มิใช้ “มาตรการเชิงรับ” หรือ “การตั้งรับ” อย่างเดียว และ เพื่อให้ฐานะของพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เทียบเท่ากับพยาน ประเภทอื่น และสามารถนำไปใช้ในคดีอาญาและคดีอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนรายละเอียดควรให้ออกเป็นข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา โดยเฉพาะ ปวพ.มาตรา 87 ดังนี้

“มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใดเว้นแต่ (1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้อง นำสืบ และ (2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 มาตรา 90 และมาตรา...(เพิ่มมาตราใหม่(พยานอิเล็กทรอนิกส์)) แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้”

2. จัดให้มีการอบรมความรู้ชั้นสูง ด้าน Information Security หรือ วิทยาการนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics and Investigation) ให้แก่เจ้าพนักงานการสอบสวน และ ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ยังรวมถึง การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ให้กับประชาชนทั่วไป การอบรมทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้มีความรู้ด้านนี้ เพื่อให้สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในการดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้ม ครองสิทธิได้อย่างเต็มที่ หากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้แล้ว ก็จะหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งก็ย่อมเป็นการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

3. มีการปรับปรุงกฎหมายคอมพิวเตอร์ให้เป็นหมวดหมู่

เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ แบบ “เชิงรุก” จึงควรจัดระบบกฎหมายให้เป็นหมวดหมู่ หรือ จนพัฒนาไปเป็นระบบ “ประมวลกฎหมาย” (Code) ในที่สุดก็ยิ่งดี ส่งผลไปถึงความเชื่อมั่นเชื่อถือในเทคโนโลยีสมัยใหม่ของประชาชนในประเทศและ นักลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อเตรียมการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจการค้าแบบ “เสรี” (Free Trade Area) ในเร็ววันนี้ เพราะหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ประชาชนย่อมมั่นใจว่าพยานหลักฐานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่จะรับ ฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และการมีกฎหมายรองรับดังกล่าวย่อมทำให้ศาลมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการรับฟัง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน

4. ประเด็นแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่ศึกษาพบ ควรแก้ไข เช่น

4.1 ปัญหาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ก็ใช้เฉพาะในคดีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัตินี้ เท่านั้น และยังไม่มีแนวทางในการนำสืบและการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว และแม้ตามพระราชบัญญัติและประกาศดังกล่าวจะมีการกำหนดให้มีการเก็บรักษา ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถแสดงถึงความถูกต้องแท้จริงบางส่วนได้ก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นการเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

4.2 ปัญหาข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540

เป็นเพียงข้อกำหนดของศาลชำนัญพิเศษไม่สามารถนำมาใช้กับคดีประเภทอื่นได้ หากจะนำไปใช้ก็จะต้องกำหนดหรือบัญญัติขึ้นมาต่างหาก เช่น ข้อกำหนดคดีล้มละลาย ข้อกำหนดคดีภาษีอากร เป็นต้นและในส่วนของเนื้อหาที่กำหนดไว้นั้น รูปแบบของการรับรองความถูกต้องมีเพียง 3 วิธีเท่านั้น และก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีบางประการ ได้แก่ ความสะดวกความสามารถในการพิสูจน์ความจริง อีกทั้งเมื่อได้ศึกษากฎหมายต่างประเทศก็จะเห็นได้ว่ามีแนวทางในการรับฟัง พยานหลักฐานหลากหลาย ซึ่งก็น่าจะนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทยตามความเหมาะสมต่อไป

บรรณานุกรม

กฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พระราชบัญญัติธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (แก้ไข พ.ศ. 2551)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่

ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร

ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540

ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544

ข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2549

ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสารหรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2550

ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

 

เอกสารวิชาการ บทความ ข่าว หนังสือพิมพ์ วารสาร

โชค ชัย ตั้งรักษาสัตย์ และ วิชัย ศักดาไกร. “การรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์(Forensic Evidence).” หลักสูตร “กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ณ ควีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอน อังกฤษ , 6-21 มิถุนายน 2552 [Online], Available URL : www.coj.go.th/iad/info.php?cid=30

นุชนาฏ(นามแฝง). “นิยามของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(อีคอมเมิร์ซ).”

2 พฤศจิกายน 2552 [Online], Available URL : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=267.0

ปรเมศวร์ กุมารบุญ.“คิดตามหนังสือเก่า “ทฤษฎีคลื่นลูกที่สาม” ของอัลวิน ทอฟเลอร์.” 22 สิงหาคม 2550 [Online], Available URL : http://lab.tosdn.com/?p=40

ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช . “กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.” 3 พฤศจิกายน 2553 [Online], Available URL : http://www.pramarn.com/pramarn/modules.php?name=News&file=print&sid=148

ปริญญา หอมอเนก. “กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และ การพิสูจน์หลักฐานด้วยวิธีการ "นิติคอมพิวเตอร์" (Thailand Computer Crime Law and Computer Forensics).” หนังสือ eWeek Thailand , 11 กุมภาพันธ์ 2547 [Online], Available URL : http://www.acisonline.net/article_prinya_crimelaw.htm

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ. “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหรือรัฐประหารแบบเบ็ดเสร็จ ?” , 2550 [Online], Available URL : http://paiboon.biz/index.php?option=com_content&view=article&id=50:summary-of-computer-crime-act-of-2007&catid=35:thai-articles&Itemid=37

Logos (นามแฝง). “ความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับ “เวบตรวจสอบเหตุการณ์ ภาคประชาชน”.” 23 พฤษภาคม 2553 [Online], Available URL : http://lanpanya.com/wash/archives/1523

“9ปีอี-คอมเมิร์ซก้าวย่างที่ยังเดี้ยง.” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ,2 มีนาคม 2553 [Online], Available URL : http://www.thairath.co.th/today/view/68185

รายงานวิจัย

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์. การรับฟังสื่อบันทึกเสียงและภาพในกฎหมายลักษณะพยาน. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2545. URL : http://www.lawthai.org/read/acharnpitikul19.doc

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์. ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2545. URL : http://www.lawthai.org/read/acharnpitikul18.doc , http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?profile=pridi#focus

วิทยานิพนธ์

โกวิท หนูโยม. “การรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2551. URL : www.oja.go.th/doc/Lists/doc1/DispForm.aspx?ID=311

นารี กิตติสมบูรณ์สุข. “การแสวงหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ใน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. , 2549. URL : http://www.thailis.or.th/tdc/

ปารเมศ บุญญานันต์. “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย , 2543 URL : http://www.tkc.go.th/thesis/abstract.asp?item_id=11998

พร ชัย นพประโคน กับพวก. “การประทับตราเวลา: ความจำเป็นสำหรับการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และตามผลกฎหมายของพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544.” วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2553 URL: http://pattaniconference.pn.psu.ac.th/proceeding/poster/humen/Pornchai_Time%20Stamping.pdf

อณิ ญพิไล เงินวิจิตร. “ปัญหาในการค้นและยึดพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2544 URL : http://library.car.chula.ac.th

เวบไซต์

เวบไซต์กฎหมายไทย http://www.thailaws.com/

เวบไซต์ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (TKC e-Thesis) http://www.tkc.go.th/thesis/

เวบไซต์ผู้จัดการออนไลน์. http://www.manager.co.th/

เวบไซต์รวมลิงค์กฎหมายไทย http://www.lawamendment.go.th/totallink.asp

เวบไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://search.library.tu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?profile=pridi#focus

เวบไซต์ศูนย์บริการช่วยสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

http://isc.ru.ac.th/

เวบไซต์สำนักกฎหมายสวัสดิ์ธรรม http://www.lawthai.org/

เวบไซต์ห้องสมุดออนไลน์ https://history.myfirstinfo.com/

เวบไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม http://www.library.coj.go.th/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท