วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กับ วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นมิตรหรือเป็นศัตรูกัน ขัดแย้งกันหรือเป็นคนละขั้วหรือเปล่า เป็นคำถามที่นักวิจัยหลายคนหลายสำนัก สงสัยกันมากมาย ถ้าเรายังคิดติดอยู่ว่าการวิจัยทั้งสองประเภทนี้มีความขัดแย้ง หรืออยู่คนละขั้ว ก็คงจะมีการเข้าใจคลาดเคลื่อน อยู่มาก เพราะจริงๆแล้ว วิธีการเชิงคุณภาพ และวิธีการเชิงปริมาณ ไม่ได้แยกกันอย่างเด็ดขาด ความเป็นเชิงคุณภาพ และความเป็นเชิงปริมาณ มีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ กล่าวคือวิธีการที่เรียกว่า เชิงคุณภาพนั้น มีคุณสมบัติเป็นเชิงปริมาณด้วย และในทำนองเดียวกัน ในวิธีการชิงปริมาณ ก็มีคุณสมบัติเป็นเชิงคุณภาพ อยู่ด้วยเหมือนกัน( ชาย โพธิสิตา 2549)
การจะเป็น วิธีการเชิงคุณภาพหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “ ตัวเลข ” เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ว่านักวิจัยใช้ข้อมูลที่ได้มานั้นอย่างไรด้วย ถ้าเป็นนักวิจัยใช้โดยนับจำนวนเป็นสถิติ เพื่อเป็นการมุ่งอนุมาน( inference ) ก็จะมีสมบัติเป็นเชิงปริมาณ ถ้าผู้วิจัยใช้โดยมุ่งการตีความหมาย ( interpretation ) ก็มีคุณสมบัติเป็นเชิงคุณภาพ( jessor , 1996 ) การวิจัยทุกชนิด จึงล้วนมีส่วนเป็นเชิงคุณภาพอยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น ถึงแม้จะไม่ได้ทำแบบเชิงคุณภาพเลยก็ตาม weisner (1996: 316) และ Harmmersley( 1992: 159) ใด้กล่าวเตือนสติไว้อย่างน่าคิดว่า “ การแบ่งแยกระหว่าง เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณนั้นมีประโยชน์น้อย และจริงๆแล้วการแบ่งแยกเช่นนั้น ค่อนข้างจะอันตรายด้วยซ้ำ ” ประเด็น “ ญาณวิทยา ” เข้ามาเกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพอย่างไร “ ญาณวิทยา ” เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วยเรืองของ บ่อเกิด ลักษณะ หน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธี และความสมเหตุสมผล ( ราชบัณฑิตยสถาน, 2543 : 34) เนื่องมาจากการถกเถียงทางความคิด หรือ “ สงครามกระบวนทัศน์ ” ที่มีนักรบที่ร่วมในสงคราม สองฝ่าย คือฝ่ายที่นิยมวิธีการเชิงคุณภาพ กับฝ่ายที่นิยมวิธีการเชิงปริมาณ แต่ก็สงบลงเมื่อนักสังคมศาสตร์ จำนวนหนึ่ง เริ่มตระหนักว่าการตอบโต้กันไปมาเช่นนั้นเป็นการสูญเปล่า เพราะถึงอย่างไร ชีวิตและสังคมมนุษย์ ก็มิได้มีมิติเพียงด้านเดียว แต่มีทั้งสองด้าน ซึ่งนักวิจัยเองควรมองหลายๆด้าน จึงจะสามารถทำให้ นักวิจัยเข้าใจ สิ่งที่ตัวเองศึกษา ได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำไห้เกิดการเปิดกว้าง ในแง่ของระเบียบวิธี ในปัจจุบันมีการประนีประนอมมากขึ้น วิธีการทั้งสองจึงถูกมองว่า มีส่วนช่วยเสริมกันมากกว่าที่จะขัดแย้งกันบันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ศิริพงษ์ สิมสีดา ใน นโยบายรัฐกับการพัฒนาชุมชน
คำสำคัญ (Tags)#ปริญญาโท#หลักสูตร#วิชาการ#ชายขอบ#ปริญญาเอก#พัฒนบูรณาการศาสตร์#สี#มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หมายเลขบันทึก: 44962, เขียน: 16 Aug 2006 @ 18:30 (), แก้ไข: 04 Jun 2012 @ 20:26 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 9, อ่าน: คลิก
1.การเข้าใจวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ของท้องถิ่นนั้น ๆ หรือแม้แต่วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง
2.การเข้าใจหลักการปฎิบัติเมื่อเข้าสู่กระบวนการการศึกษาชุมชนและลักษณะการเข้าใจถึงวิ๔วัฒนธรรมเชิงซ้อนของกลุ่มชนว่าเขาเป็นอยู่และเกี่ยวโยงอย่างไร
3.การเข้าใจว่า "ตนเอง" ต้องการอะไร จากสิ่งที่เราเข้าไปศึกษา และ แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญคือ ชุมชน ท้องถิ่น กลุ่มชน แล้วกลุ่มชน ท้องถิ่น เขาจะได้อะไร ภายหลังจากที่เราเข้าไปแล้ว
4.การก่อตัว...ของการสร้างเสริมความพร้อม และวัฒนธรรมนั้น แม้แต่ "คน"ที่เข้าไปศึกษา ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่กลับเห็นใจชาวชุมชนว่า เขามีชีวิตที่ลำบาก หรืออย่างไร เขาควรจะได้รับสิ่งใด นั่นแหละคือคำตอบ " ของ KM
5. ให้ไปค้นหาในชุมชน.........แล้วคุณจะพบกับคำตอบเอง....................