การชะลอการประเมินคุณภาพอาชีวศึกษา รอบ 3


การประเมินคุณภาพรอบสามด้านอาชีวศึกษาดำเนินการโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือที่มีชื่อย่อว่า สมศ. เป็นการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545) มาตรา 49 และมาตรา 50

การประเมินคุณภาพอาชีวศึกษาได้ดำเนินการมาเป็นรอบที่สาม  มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องโดย สมศ.  แต่วันนี้มีการขอให้ชะลอการประเมินคุณภาพอาชีวศึกษารอบสามโดยเลขาฯ สมศ. ขณะที่หลายวิทยาลัยได้มีการเตรียมการประเมินคุณภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างสองฝ่าย

.................................................................................................

คำสั่งชะลอการประเมินฯ รอบสาม ของ สอศ.

.................................................................................................

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหาร สอศ.ว่า
ขณะนี้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับการประเมินจาก สมศ. แล้ว
จำนวน 30 แห่ง ยังเหลืออีก 78แห่ง พบปัญหาต่าง ๆ หลายประการ ซึ่งเลขาธิการ กอศ. ได้มีหนังสือถึง สมศ.
เพื่อขอชะลอการประเมินภายนอก และขอประชุมทบทวนเกณฑ์การประเมินใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
ในเรื่องขององค์ประกอบคณะกรรมการประเมินมีคณะกรรมการหลายกลุ่มที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ในเรื่อง
การจัดการเรียนการสอนสายอาชีพบางกลุ่มมาจากสถานศึกษาเอกชน ซึ่งอาจมีความซับซ้อนในเรื่อง
นโยบายการรับนักศึกษา ทำให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ดุลพินิจ เพื่อตัดสินการประเมินอีกทั้ง
คณะกรรมการแต่ละคนในแต่ละกลุ่มไม่เข้าใจงานอาชีวศึกษาจะใช้ดุลยพินิจในการตีความเกณฑ์
การประเมินแตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งเอื้อประโยชน์ให้กับสถานศึกษาและในทางตรงกันข้าม สร้างความ
ลำบากในการจัดหาเอกสารและรายละเอียดประกอบเกณฑ์ในเรื่องตัวบ่งชี้ทั้ง 18 ตัว มีหลายเรื่องที่
เป็นอุปสรรคและไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวพึ่งจะนำมาใช้ในการประเมินรอบนี้
แต่ขอเก็บข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งหลายเรื่องไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น เกณฑ์การประเมินที่ระบุ
ว่าผู้สำเร็จ ปวช. ต้องมีงานทำหรือประกอบอาชีพภายใน 1 ปีโดยขอเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ซึ่ง
สถานศึกษาไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน เมื่อนักศึกษาออกไปแล้ว ไม่สามารถติดตามและหาหลักฐาน
มารายงานในการประเมินได้ แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้แจ้งล่วงหน้าเพื่อกรอกข้อมูลไว้ก่อนสำเร็จการศึกษา
การประเมินจะมีผลสำเร็จและตรงตามตัวชี้วัดมากขึ้น อีกตัวบ่งชี้หนึ่ง ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจของ สอศ.
ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ระบุว่าจำนวนครูและบุคลากรที่มีผลต่อคุณภาพของการจัดการศึกษาต้องสัมพันธ์กัน
สถานศึกษาไม่สามารถปฏิบัติในตัวบ่งชี้นี้ได้ เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจข้าราชการครูมีระบบในการ
บริหารบุคลากรที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทำให้ตัวบ่งชี้ข้อ
ดังกล่าวได้ค่าการประเมินที่คลาดเคลื่อน  นอกจากนี้ ยังมีระเบียบและข้อกำหนดอีกหลายประการ
ที่พึ่งใช้ปฏิบัติในปี 2551 และอาจมีผลต่อการประเมินผลย้อนหลัง ซึ่งยังต้องอ้างอิงถึงระเบียบเก่าอยู่

เลขาธิการ กอศ. จึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการ สมศ. ขอให้ชะลอการประเมินภายนอกของสถานศึกษา
ทั้งหมด และได้สั่งการให้สถานศึกษาในสังกัดที่ยังไม่ได้รับการประเมินให้แจ้งคณะกรรมการ เพื่อชะลอ
การประเมินด้วย โดยจะได้ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินแล้ว 30 แห่งและผู้บริหาร
สถานศึกษาที่รับผิดชอบ เพื่อหาแนวทางและเกณฑ์การประเมินที่สามารถใช้วัดได้อย่างเที่ยงตรงและจะ
ได้ขอเชิญผู้แทนจาก สมศ. มาหารือร่วมกันอีกครั้งก่อนจะให้ความเห็นชอบร่วมกันและนำไปประเมิน
สถานศึกษาให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป ทั้งนี้ เลขาธิการ กอศ. แจ้งว่าควรต้องย้อนกลับไปประเมิน 30
วิทยาลัยที่ผ่านการประเมินแล้วด้วย เพื่อให้เกิดความแม่นยำในเกณฑ์การใช้การประเมินใหม่ และให้ผล
ของการประเมินภายนอกของสถานศึกษานี้ นำไปใช้พัฒนามาตรฐานของสถานศึกษาในสังกัด สอศ.
อย่างแท้จริง เพราะต้องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานมากขึ้น อีกทั้ง
จะปรับเกณฑ์การประเมินภายในด้วย สำหรับในปีการศึกษาหน้า เพื่อให้การประเมินภายในสอดคล้องกับ
การประเมินภายนอก เนื่องจากเป้าหมายของการประเมินภายในสถานศึกษาต้องการให้เกิดการพัฒนา
คุณภาพภายใน และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้สถานศึกษาของ สอศ.พัฒนาไปอย่างมีระบบมากขึ้น ขณะนี้
เลขาธิการ กอศ. ได้มอบหมายให้รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ปรึกษา และผู้อำนวยการ
สำนักที่รับผิดชอบจัดทำรายละเอียดเพื่อไปหารืออย่างสร้างสรรค์กับ สมศ.ด้วย

http://www.vec.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=571:2011-07-12-142951&catid=1

 

 

คำตอบของ สมศ.

..........................................................................................................

การประเมินคุณภาพรอบสามด้านอาชีวศึกษาดำเนินการโดย  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
หรือที่มีชื่อย่อว่า สมศ.  เป็นการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545)  มาตรา 49 กำหนดว่า
"ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน  ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน
คุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย
หลักการและแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้   ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของ
สถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี   นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้ายและเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และสาธารณชน"   และมาตรา 50 กำหนดว่า "ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูล
เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษารวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา
ให้ข้อมูลตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงาน
ดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น"    สมศ.ได้ดำเนินการผ่านกระบวนการศึกษาและพัฒนาระบบ
ประเมินคุณภาพผ่านคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ  มีการประสานกับสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังจัดให้มีการประเมินนำร่องเพื่อใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง และรวบรวมถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ  และมีการประชาสัมพันธ์เพื่อ
ให้สถานศึกษาพร้อมรับการประเมินก่อนที่จะมีการประเมินจริง  ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามปกติเช่นเดียวกับการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบแรกและรอบสองที่ผ่านมา 
 ทั้งนี้หากสถาานศึกษาใดมีความประสงค์จะไม่ขอรับการประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2554
ขอให้สถานศึกษาทำหนังสือพร้อมชี้แจงเหตุผลมอบให้แก่ผู้ประเมิน  เพื่อนำส่ง สมศ. สำหรับดำเนินการต่อไป

หมายเลขบันทึก: 449223เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท