ความสุข “Happy Workplace” อาจจะไม่ใช่แค่ความสำเร็จของงาน แต่คือกระบวนการบนพื้นที่ที่ได้แลกเปลี่ยนและแบ่งปัน บนเส้นทางที่จะก้าวสู่จุดหมาย ระหว่างทางท่านได้เก็บเกี่ยว สำรวจ และศึกษากันและกันแล้ว “กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ”
สิ่งดีงามได้บังเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์ และผู้เขียนได้ร่วมเดินทางไปจัดกิจกรรมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยศาสตร์ Enneagram ในหลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จัดโดย NSTDA Academy (สวทช.)

การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เหมือนกับการอบรมในห้องบรรยาย/สัมมนาที่เราเคยคุ้นเคย มันคือพื้นที่ที่เป็นโซนแห่งความปลอดภัย ไว้วางใจ และก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ยิ่งสมาชิกกลุ่มผู้ร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความสัมพันธ์อันดีกันมาก่อน ก็จะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเบิกบาน อยากสะท้อนตัวตนและทำความเข้าใจผู้อื่นให้มากขึ้น
การเรียนรู้ศาสตร์ Enneagram ไม่ใช่การอ่านตำรา หรือฟังบรรยายจากผู้รู้เท่านั้น สาระสำคัญคือต้องผ่านกระบวนการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสะท้อนความเหมือนและความต่างของคนแต่ละลักษณ์ กล่าวได้ว่าวิธีการแสวงหาความรู้ของ Enneagram คือการดึงความรู้ ประสบการณ์ ความคิด ความเห็น ความรู้สึก ความเข้าใจต่อโลก ต่อผู้คน ต่อสรรพสิ่งของผู้ร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกมาให้ปรากฎ เพื่อทำความเข้าใจและยอมรับด้วยตัวของเจ้าของลักษณ์นั้น ๆ เอง
การเตรียมพร้อมของกลุ่มที่จะแลกเปลี่ยนร่วมกัน

ช่วงผ่อนพักกายใจ เตรียมสู่การเรียนรู้โลกภายในร่วมกัน


ฟังเพลงบรรเลงขับกล่อมจิตใจ โน้มนำเข้าสู่โลกภายในที่กว้างใหญ่ไพศาล

การผ่อนคลายจิตใจด้วยการฟังเพลงบรรเลง และสังเกตลมหายใจของเราเอง เป็นการ “หยุด” ชั่วขณะ จากบทสนทนาที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก และ ”หยุด” จากการเพ่งมองผู้คนและสิ่งภายนอก
เมื่อสังเกตภายในอย่างเป็นกลาง เราจะพบว่า “กลไกการทำงาน” ไม่ว่าสมองหรือจิตใจ ไม่เคยหยุดเลย ภาพผู้คนที่เราคุ้นเคย ความรู้ ประสบการณ์มากมาย หรือ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ยังคิดไม่เสร็จยังคงร้อยเรียง วนเวียนอยู่ในความรู้สึกนึกคิด

การเป็นนักสังเกตการณ์ภายใน คือการย้อนกลับมาใส่ใจในโลกทัศน์ของตน
ช่วงฟังโลกทัศน์ ๙ ลักษณ์


ช่วงแห่งการฟังโลกทัศน์ของลักษณ์ ๓ ลักษณ์ในแต่ละศูนย์ เพื่อยืนยันโลกภายในที่ห้อหุ้มตัวตนของเรา ซึ่งทำให้เกิดการก่อรูปก่อร่างเป็นความรู้สึกนึกคิดและวิธีการมองโลกภายนอกในแบบนั้น ๆ
บรรยากาศการแลกเปลี่ยนภายในศูนย์



ช่วงความสุขของเรา
การทำงานในทีมและการนำเสนอผลงาน


การแบ่งงานกันทำ และการอธิบายที่อาศัยหลักเหตุผล : ความสุขนอกโลก

ความสุขจากการทำงานกับผู้รู้ใจ และร่วมกันสร้างสรรค์สามัคคีปรองดอง

ลีลาจากศูนย์ใจ "สีไม่แห้ง" ทำให้ผู้ชมลุ้นระทึก ข้างหลังกระดาษมีอะไร

ความสุขเยาว์วัยที่ไม่หวนคืน ...กลับมาก่อนวันวาน วันวานยังหวานอยู่
รอยยิ้มจากท่านผู้ชม




กำลังใจจากเพื่อนร่วมทีม "คำพูดแทนใจทุกคนโดยไม่ได้นัดหมาย"
ความประทับใจเยาว์วัย เรื่องเล่าหลากหลายตามโลกทัศน์

คำกล่าวปิดจากตัวแทนรุ่น
บทสรุปสุดท้ายจากผู้เขียน
ความสุข “Happy Workplace” อาจจะไม่ใช่แค่ความสำเร็จของงาน แต่คือกระบวนการบนพื้นที่ที่ได้แลกเปลี่ยนและแบ่งปัน บนเส้นทางที่จะก้าวสู่จุดหมาย ระหว่างทางท่านได้เก็บเกี่ยว สำรวจ และศึกษากันและกันแล้ว จึงกล่าวได้ว่า “กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือเป้าหมายสำคัญ” นั่นคือวัตถุประสงค์ของ Human KM แบบ "รู้สึกตัว" ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการความรักและความรู้คู่ขนานกันไปอย่างมีความสุข



สัปปายะทั้งคน สถานที่ อาหาร บรรยากาศ อริยาบท การสนทนา
หลังเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เขียนได้ถอดบทเรียนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สนใจ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ลงลึกรายละเอียดจะไม่นำมาเผยแพร่ในที่นี้ แต่จะส่งให้กลุ่มเพื่อทำการศึกษาทบทวนต่อไป การนำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นเพียงภาพบรรยากาศโดยรวมเท่านั้นค่ะ ท้ังนี้ เนื่องจากแนวทางการศึกษา Human KM by Enneagram ควรผ่านการปฏิบัติร่วมกัน และถอดบทเรียนมาศึกษาทบทวนตามบริบทของกลุ่มนั้น ๆ
ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ

ฝีมือการถ่ายภาพ โดยคุณนายดอกเตอร์ (ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์)
เชิญแวะไปชมบันทึกคุณนายดอกเตอร์ด้วยค่ะ Human KM – Ba เพื่อ Happy Workplace
http://www.gotoknow.org/blog/k-creation/448704