หนี้สหรัฐฯ-ยุโรปทำโลกสะเทือน


Yahoo News ตีพิมพ์เรื่อง 'Stocks sink on fresh fears about global economy' = "หุ้นตก (เนื่องจาก) ความกลัวเศรษฐกิจโลก (ตกต่ำ) ครั้งใหม่", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ก่อนหน้านี้ประเทศชายขอบยุโรป (ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์) และยุโรปใต้ (PIGS = Portugal, Italy, Greece, Spain = โปรตุเกส อิตาลี กรีซ สเปน) มีปัญหาหนี้สินเกินตัว และเกิดวิกฤติการเงินชัดเจนในกรีซ ซึ่งเป็นประเทศขนาด "เล็ก"
.
ข่าวใหม่ คือ วิกฤติการเงินยุโรปขยายตัวไปยังประเทศขนาด "กลาง" หรือมีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 3-4 ของยุโรปได้แก่ อิตาลี และสเปน
.
ข่าวนี้ทำให้ดัชนีหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ ลดลง 1.2-2% ในวันจันทร์ที่ผ่านมา (11กค.54) หลังจากสูงต่อเนื่องมานาน 2 สัปดาห์
.
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปหรือ EU เรียงตามขนาดได้แก่ เยอรมนี (1), ฝรั่งเศส (2), อิตาลี (3), สเปน (4)
.
สูตรทั่วไปของธุรกิจ คือ ถ้าการแข่งขันเป็นไปแบบเสรี, โลกนี้จะเหลือแต่ 'Sun, Moon & Stars' = "พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว"
.
นั่นคือ จะเหลือเจ้าใหญ่ในวงการต่างๆ 1 เจ้า, เจ้ารอง (อันดับ 2) และเจ้าเล็กเจ้าน้อยอีกมากมาย
.
พระอาทิตย์ใน EU (สหภาพยุโรป) คือ เยอรมนี, พระจันทร์ คือ ฝรั่งเศส, ดวงดาว คือ อิตาลี สเปน และประเทศที่เหลือในยุโรป
.
การล้มของกรีซเทียบได้กับดวงดาวเล็กๆ ดวงหนึ่งวูบไป ไม่ค่อยสะเทือนยุโรปเท่าไร, ทว่า... ถ้าดวงดาวดวงใหญ่ล้ม อาจทำให้ระบบสุริยจักรวาล หรือการเงิน-ลงทุนยุโรปสะเทือนได้
.
มีความเป็นไปได้ว่า ความรวยในยุโรปจะ "กระจุก" อยู่ในกลุ่มประเทศพระอาทิตย์และพระจันทร์ คือ เยอรมนี-ฝรั่งเศสมากขึ้นเรื่อยๆ
.
ความช่วยเหลือระหว่างประเทศนั้น, มักจะมีเงื่อนไขด้านการค้า-การลงทุน หรือต้นทุนแฝงมาเสมอ เช่น สมัย IMF มีการขายสินทรัพย์-ธุรกิจ-หุ้นส่วนธนาคารไทยไปมากทีเดียว ฯลฯ
.
กรณียุโรปน่าจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" หรือที่เจ้าสัว CP เคยกล่าวว่า "ปลาเร็วกินปลาช้า" คือ เยอรมนีกับฝรั่งเศสจะเริ่มกว้านซื้อธุรกิจ เช่น เข้าไปเป็นหุ้นส่วนสำคัญในธนาคาร-หลักทรัพย์ของประเทศอื่นๆ ทั่วยุโรป
.
สมัยก่อนคนยุโรปกลัวกองทัพเยอรมนี สมัยนี้มีอะไรที่แนบเนียนกว่านั้น คือ เยอรมนีเริ่มจะครอบครองยุโรปทางการเงิน-ธุรกิจเช่นกัน
.
กล่าวกันว่า คนยุโรปกลาง หรือกลุ่มประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฯลฯ มีลักษณะคล้ายๆ คนตะวันออกไกล (จีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม)
.
ลักษณะเหล่านี้ คือ ขยัน ซื่อสัตย์ (ต่อประเทศชาติ-ส่วนรวม), ประหยัด อดออม กล้าลงทุน กตัญญู
.
คนกลุ่มนี้ค่อนไปทางประหยัด ไม่ค่อยใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภค แต่นิยมใช้จ่ายเงินเพื่อการศึกษาหาความรู้
.
แม้แต่เวลาท่องเที่ยวก็จะพบการพกพาหนังสือ หรือ Kindle (แผ่นหนังสืออีเล็คโทรนิคส์ เก็บหนังสือได้เป็นเล่มๆ) ไปด้วย ชอบซักถามข้อมูล แสวงหาความรู้ใหม่เสมอ
.
ปัญหาการว่างงานของสหรัฐฯ ก็ทำให้คนผิดหวังเช่นกัน คือ ลดจากประมาณ 10% เหลือ 9.2% และที่หนักหนาสาหัสนิดหน่อย คือ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 เป็นวันเส้นตายของสหรัฐฯ
.
รัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องเลือกขยายเพดานเงินกู้ (หนี้สินภาครัฐ) หรือการลดค่าใช้จ่าย (ลดงบประมาณ) โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทางทหาร
.
ถ้าขยายเพดานเงินกู้, สหรัฐฯ จะมีระดับเครดิตต่ำลง เสียดอกเบี้ยมากขึ้น
.
ถ้าลดค่าใช้จ่าย, สหรัฐฯ จะเสี่ยงต่อการมีเศรษฐกิจถดถอย หรือโตช้าลง เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
.
สหรัฐฯ มีจุดได้เปรียบยุโรปตรงที่มีนวัตกรรม (innovation) มาก โดยเฉพาะการก้าวไปสู่เทคโนโลยีคลื่นลูกที่สาม เช่น มีบริษัท IT ฯลฯ มากมาย
.
ยุโรปมีจุดแข็งตรงที่มีต้นทุนเก่ามากมาย เช่น ศิลปวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ
.
ผู้เขียนเชื่อว่า ในที่สุดแล้ว, สหรัฐฯ กับยุโรปน่าจะก้าวต่อไปได้, ทว่า... พระอาทิตย์ (เยอรมนี) กับพระจันทร์ (ฝรั่งเศส) คงจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากในยุโรป ข่มรัศมีประเทศที่เหลือมากขึ้นเรื่อยๆ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 12 กรกฎาคม 2554.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 448649เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท