ควาย..มาแล้ว(๙)


       ช่วงเวลาที่ “เกี่ยวข้าว” กับ “ลากข้าว” เข้าลานนวด  นี่ต้องระมัดระวังควายให้ดีหากปล่อยออกไปกินหญ้ากลางทุ่ง  เพราะควายจะไปกินข้าวที่กองไว้  หากปล่อยควายออกไปเด็กเลี้ยงควายจะต้องเฝ้าไม่ให้ควายไปกินข้าวที่เขากองไว้ในทุ่ง   บางทีมันเอาปากกระชากฟ่อนข้าวลงมาจนกองขอมพังเลยครับ

      ขอบคุณภาพจาก http://www.learners.in.th/blog/kanok1/294

         ควายบ้านเรา “สนตะพาย” แล้วทุกตัว ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไปก่อความเสียหายให้กับผู้ใด  ถ้าไปเลี้ยงกลางทุ่งก็เตรียมหลักไม้ไผ่ไปปักแล้วใช้เชือกยาวประมาณ ๑๐ เมตรล่ามที่ไว้ตามหัวคันนา  สักพักหนึ่งก็เปลี่ยนที่ปักหลักใหม่   เด็กเลี้ยงควายก็สบายมีเวลาเล่นกับเพื่อนไม่ต้องคอยกังวลเรื่องควายไปกินข้าวที่เขากองไว้ในทุ่งนา

        เชือกที่สนตะพายไว้ที่จมูกควายนี่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่ใช้ควายทำนา ไม่ว่าไถนา ลากข้าว นวดข้าวฯลฯ ถ้าไม่สนตะพายไว้เราจะใช้ควายทำงานไม่ได้เลย   ถ้าเชือกสนตะพายขาดไอ้ตัวใหนที่มีนิสัยไม่ค่อยดีอยู่แล้วละก็ เราเหนื่อยครับ..  กว่ามันจะยอมให้สนตะพายมันอีกต้องใช้ทั้งหญ้าทั้งฟางล่อให้มันอยู่นิ่ง ๆ แล้วจึงเข้าไปจับที่จมูกมันพร้อมกับร้อยเชือกอีกครั้งหนึ่ง.....

           ขอบคุณที่ยังติดตามเด็กเลี้ยงควาย..ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 448191เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2011 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีคุณหนุ่มกรคนว่าง่าย

สบายดีนะคะ เห็น ชื่อบันทึกขึ้น ควายๆ มาหลายตอน ตั้งแต่ก่อนลงคะแนน

วันนี้มีอารมณ์ เข้ามาชมน้องควาย อ้าว เป็นเรื่องควายจริงๆ นะคะ ฝันดีค่ะ

  • ตามน้องปู มาดูควาย ควายๆๆ ค่ะ
  • ที่บ้าน  ควายหายาก  เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยเห็นควายแล้วค่ะ
  • พี่คงสบายดีนะคะ  อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วย

สวัสดียามค่ำครับอาจารย์ Poo ..ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจ เด็กเลี้ยงควาย ครับ..ควายจริง ๆ ครับ..

สวัสดียามค่ำครับคุณ  Krusorn  ..พวกเราโชคดีที่ยังได้เห็นควายไถนา นะครับ ขอบคุณครับ ตอนนี้ก็กินยาเป็นอาหารประจำวัน ครับ...

  • สวัสดีค่ะ  คุณหนุ่มกร
  • เอาวัวจากพัทลุงมาฝากค่ะ

 

สวัสดีครับคุณหนุ่ย .. ที่บ้านผมเลี้ยงแต่ควาย คงเป็นเพราะอยู่ใกล้ลำคลอง ควายชอบแช่น้ำเกลือกโคลน...วัวชอบแดดเวลาทำงานก็ต้องทำเป็นคู่..ไม่เหมือนควายไถนา ลากข้าว ตัวเดียวก็ทำได้...ขอบคุณที่แวะมาทักทายยามค่ำ สบายดีนะครับ

การสนตะพายคงทำได้ยากพอควรเทียวครับ

หรือมีวิธีทำให้ง่ายได้อย่างไร

ควายเจ็บมากน้อยเพียงใด

สวัสดีครับอาจารย์โสภณ    "สนตะพาย" นี่ควายคงเจ็บมากตอนเอาไม้ไผ่ปลายเจาะร้อยเชือกที่จมูกครั้งแรก พอเอาเชือกสนตะพายไว้แล้ว เชือกตะพายนี้ก็ใช้ไปจนขาดแล้วเราก็เปลี่ยนใหม่ จมูกมันก็จะมีรูตลอดไป ผมว่าน่าจะคล้าย ๆ กับการเจาะหูของเรา..ขอบคุณครับอาจารย์..    สวัสดีครับคุณ อาร์ม ขอบคุณสำหรับดอกไม้ที่ให้กำลังใจ..ผมเคยเป็นลูกค้าที่ วอง สาขารังสิต ครับ..

บุญคุณควายมีมากล้นนะคะ เป็นเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนาไทยมาแต่โบราณกาล ขอบคุณบันทึกดีๆเหล่านี้ที่เตือนให้พวกเราไม่ลืมคุณค่าของควาย

สวัสดีค่ะมาติดตามเรื่องควายจึงเห็นว่าสมัยนี้ไม่มีเด็กเลี้ยงควายแล้ว เพราะควายไม่มีให้ ถ้ามีก็ถูกกักไว้ให้คนชมและซื้อบัตรขี่ควาย หายากที่มีเป็นฝูงแบบนี้..มีแต่ในรูปเนอะท่านเนอะ

ขอบคุณครับอาจารย์ ..ครับ..สำหรับผมถึงแม้เวลาจะผ่านไปแล้วหลายสิบปี ก็ยังระลึกถึงพวกมันเสมอเหมือนดังที่ท่านว่าเป็นคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนา(ในสมัยนั้น)ครับ ...สวัสดีครับอาจารย์ ถูกต้องครับก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  ก็ยังพอมีอยู่บ้างฝูงควายแต่น่าจะไม่ได้เลี้ยงเพื่อใช้งาน ...ส่วนมากคงขึ้นรถสิบล้อส่งโรงงานลูกชิ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีศูนย์อนุรักษ์ควายหลายแห่ง...ครับ      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท