เวทีเล่าเรื่องและถอดบทเรียน “การพัฒนาเข้าสู่ระบบคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(PCA) อย่างต่อเนื่อง ปี ๒๕๕๔


.................................................................. 

หลังวิกฤตน้ำท่วมเมืองน่านผ่านพ้นไป สภาวะต่างๆ ก็เริ่มคลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ Node ปัว ซึ่งได้นัดหมาย node เครือข่าย ประกอบด้วย Node อ.สอง, อ.ลอง, อ.สูงเม่น จ.แพร่, อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.สองแคว, อ.ปัว จ.น่าน Node ละ ๑๐ คน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าเรื่อง และถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน ในเวทีเล่าเรื่องและถอดบทเรียนการพัฒนาเข้าสู่ระบบคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(PCA) อย่างต่อเนื่อง ปี ๒๕๕๔ ภายใต้โครงการพัฒนาระบบคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิต่อเนื่องของ Node ปัว ระหว่างวันที่ ๔-๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ ศศิดารารีสอร์ท อ.เมืองน่าน ท่ามกลางความกังวลหลายคนว่าน้ำท่วมลดหรือยัง จะเลื่อนเวทีออกไปไหม แต่ The show must go on. ทุกอย่างคงเดินต่อไปตามโปรแกรม

..................................................................

เริ่มด้วยทักทายและต้อนรับเข้าสู่เมืองน่านอย่างเป็นทางการ เป็นการเปิดแบบสบายๆ ที่อยากให้ทุกคนได้นำเอาเรื่องราวดีดีมาแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นสุข

เริ่มจากเปิดวีดิทัศน์ประกอบเพลงของคุณอ้อม ชุด “From a note to a song” และเรื่องเล่าของ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ ชุด “ประมวลความรัก” ซึ่งเป็นวีดิทัศน์จากงาน Ignite Thailand ที่ใช้หากินมาหลายงาน

..................................................................

คุณหนิง(ทัศนีย์ สิงห์ธนะ) ชักชวนให้แต่ละ CUP ได้แนะนำตัวเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยกัน หลังจากนั้น คุณหมอเอก(นพ.กิติศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ ผู้อำนวยการ รพร.ปัว) ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ว่าจะเป็นการในแบ่งปันเรื่องเล่าดีดีจากประสบการณ์จริงในพื้นที่ แล้วมานำคลี่ดูว่ามันสอดคล้องกับ PCA อย่างไร หมวดไหน เป็นการเรียนรู้จากเรื่องเล่าเรื่องจริงไปอธิบายตามหลัก PCA

หลังจากนั้นได้แบ่งกลุ่ม ๖ กลุ่มด้วยการนับ เวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องพักเติมพลังกันก่อน

................................................................... 

พักเบรก เติมอาหารกาย 

...................................................................

กลับมาเข้ากลุ่มเดิม เชิญเสียงระฆังแห่งสติ เชื้อเชิญทุกคนกลับมาสู่บ้านที่แท้จริง กลับมาอยู่กับลมหายใจที่อ่อนโยนของตัวเอง

อ่านบทความ “Imelda” โดย Richard Selzer แล้วสะท้อนแลกเปลี่ยนในกลุ่มว่า “อ่านบทความนี้รู้สึกอย่างไร ? และเรื่องนี้บอกอะไรกับตัวเรา ?

................................................................... 

แต่ละกลุ่มสะท้อนความรู้สึกและบทเรียนให้กลุ่มใหญ่ฟัง

 

................................................................... 

ระดมสมอง เรื่องเล่า “ทำให้เกิดการเปลี่ยนในตัวเรา การทำงานของเรา และโลกของเราอย่างไร ?

................................................................... 

เติมอาหารกาย

............................................................... 

หลังพักอาหารกลางวัน เติมน้ำตาลในเลือดแล้ว ก็เริ่มกระบวนการเรียนรู้ด้วยการดูวีดิทัศน์ เพียงความธรรมดาของเส้น แล้วทุกคนให้สะท้อนหัวใจของหนังเรื่องนี้ 

จากหนังสะท้อนให้เห็นว่า 

....การเล่นของเด็ก ที่เล่นๆ แต่การเอาจริงเอาจังนำไปสู่การทะเลาะกัน แต่เด็กทะเลาะแล้วก็ดีกัน หายกัน เป็นเพื่อนกัน.....

....มิตรภาพของความเป็นเพื่อน....

....การเอาจริงเอาจังกับเส้นแบ่ง ที่เป็นกรอบกติกาที่ตั้งขึ้นมา.... 

.....การแข่งขันกัน โดยลืมเป้าหมายที่แท้จริง ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน.....

....การยึดติดกับสิ่งสมมติ ความเป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นนักวิชาการ ทำให้เกิดเส้นแบ่งตัวตนระหว่างกันและกัน....

การยึดติดกับการสมมติ ทำให้เกิดความขัดแย้ง การยึดมั่นในกฎกติกา ความเป็นอัตตา ตัวกูของกู 

....................................................................

เล่าเรื่องเล่าที่แต่ละ CUP ได้เตรียมมาให้กลุ่มฟัง กลุ่มละ ๑ เรื่อง เป็นเรื่องเล่าดีดีจากการทำงานที่ยกมาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา ให้ทุกคนได้ร่วมกันถอดออกมาว่า เรื่องนี้ หัวใจสำคัญของเรื่องคืออะไร

แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสรุปสาระจากเรื่องที้ได้ฟังและสรุปว่าหัวใจของเรื่องนี้คืออะไร แล้วกระบวนกรหลังคือคุณหมอเอก และคุณหมอมยุเรศ (ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ) ได้เสริมว่าเรื่องเล่านี้มันไปเชื่อมโยงกับ PCA แต่ละหมวดอย่างไร ?

 

 

..................................................................... 

พักเติมน้ำตาลเพิ่มความฉ่ำหวานของร่างกายช่วงบ่าย 

..................................................................... 

คุณหมอเอก ขอฟังเสียงสะท้อนจากกลุ่มที่ผ่านมาเข้าใจหรือไม่อย่างไร มีข้อเสนอแนะอย่างไร ? จากเสียงสะท้อนพบว่าหลายคนยังไม่เคยรู้เรื่อง PCA มาก่อน ไม่เข้าใจเรื่อง ๗ หมวดของ PCA

จึงมีการสรุปเนื้อหาเรื่อง PCA ๗ หมวด สั้นๆ แล้วให้เล่าเรื่องต่อจากก่อนเบรก 

คุณหมอเอก และคุณหมอมยุเรศ (ทพญ.มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ) ได้เสริมความเชื่อมโยงกับ PCA แต่ละหมวด ให้เห็นภาพ เป็นการเขียน Profile ที่ไม่แห้งแล้งน้ำ แต่เป็น PCA ที่มีชีวิตและกินได้

......................................................................

เรื่องเล่าเล็กๆ แต่เปี่ยมไปด้วยพลัง พลังของผู้ให้บริการที่ทุ่มเทกายและใจ มุ่งมั่นพัฒนางานสาธารณะให้เป็นสุข

แม้เรื่องราวอาจเล็ก แต่คนฟังหัวใจพองโต นี่เป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิที่จริงแท้

เหลือเพียงแต่ว่าจะนำเรื่องราวเหล่านี้ไปร้อยเรียงเขียนไปเป็น Profile ตามแนวทางของ PCA อย่างไรเท่านั้น

......................................................................

ช่วงท้ายได้แจกกระดาษให้ทุกคนได้เขียนคำถาม หรือสะท้อนความรู้สึกว่า เข้าใจหรือไม่เข้าใจ PCA อย่างไร

คำตอบที่ได้ก็มีทั้งที่เข้าใจมากขึ้น เห็นเป็นรูปธรรม บางส่วนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็พอจะจับทิศทางได้บ้าง

แต่คำตอบที่เรียกเสียงทีมกระบวนกรมากที่สุดเห็นจะเป็นกระดาษที่เขียนว่า เข้าใจ CPA มากขึ้น  ฮา ๆ ๆ ๆ

......................................................................

 

วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔

วันนี้อากาศดี แดดออกจ้าแต่เช้า

เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการเชื้อเชิญทุกคนนั่งสมาธิภาวนาแบบมีบทนำด้วย บทภาวนาจากหมู่บ้านพลัม และดูวีดิทัศน์เรื่องเล่า โครงการหมออาสามาหานะเธอ จากงาน Ignite Thailand

..............................................................

คุณหมอเอก เกริ่นนำว่า .....การทำ PCA เป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถเรียนรู้ได้จากเรื่องเล่าดีดี แล้วนำไปเชื่อมโยงกับการพัฒนา PCA....จะเป็น PCA แท้ ที่จับต้องได้ ไม่ใช่เขียนแบบภาพรวมๆ หาเนื้อแท้ของงานไม่เจอ เวลาทีมตรวจเยี่ยมมาตรวจ เขาจะให้ยกตัวอย่างการทำงานที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หากเรามีเรื่องราวการปฏิบัติงานที่ดีอยู่แล้ว ก็สบาย สามารถเชื่อมโยงกับ PCA หมวดต่างๆ ได้.....

..............................................................

หลังจากนี้ได้ให้ตัวแทนแต่ละ CUP ได้นำเสนอเรื่องเล่า เรื่องละ ๑๐ นาที มีเรื่องเล่าดีดีจากพื้นที่ต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง มีทั้งเล่าสด เล่าประกอบสไลด์ และคลิปวีดิโอ

เรื่องแรก “มิตรภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช” เล่าโดย คุณพจนารถ ปกรณ์รัตน์ รพ.สต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่

 

เรื่องที่ ๒ “รถเร่พุ่มพวง ควงอบต.ขอตรวจมะเร็งปากมดลูก” เล่าโดย คุณรัตน์ชรีญาภรณ์ ฤทธิ์ศาสตร์ รพ.สต.แดนชุมพล อ.สอง จ.แพร่

 

เรื่องที่ ๓ “พลังศรัทธา งดเลี้ยงอาหารว่างและสุราในงานศพ” เล่าโดย คุณสุธีร์วรรณ  คำจันทรา  รพ.สต.เวียงทอง อ.สูงเม่น จ.แพร่

เรื่องที่ ๔ “Paliative care สี่มิตรแท้ดูแลใกล้ใจ เล่าโดย รพ.สต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย

เรื่องที่ ๕ “แม่ ลูก Schizophrenia” เล่าโดย คุณอาพัฒศิริ ธรรมลังกา รพ.สต.ภูคา อ.ปัว จังหวัดน่าน

 

เรื่องที่ ๖ “การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชด้วยมิตรภาพบำบัด เล่าโดย คุณจีระนันท์ รพ.สองแคว จ.น่าน

.............................................................

พักเติมอาหารกาย

.............................................................

ช่วงบ่ายเริ่มด้วยการให้ดูภาพน้ำท่วมเมืองน่านเป็นการอุ่นเครื่อง

แล้วให้คุณเล่า Case Study เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสู่ระบบบริการปฐมภูมิ เครือข่ายบริการสาธารณสุข อำเภอปัว (CUP ปัว)” เล่าโดย คุณกรองกาญจน์ ปะทิ รพร.ปัว จ.น่าน เป็นการนำเสนอให้เห็นระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เชื่อมโยงกันทั้ง CUP ตั้งแต่ รพ. สสอ. รพ.สต. สสช. และชุมชน

หลังจากนำเสนอ คุณหมอเอก และทีมได้ช่วยกันคลี่ให้เห็นว่ากรณีศึกษานี้ไปเชื่อมโยงแต่ละหมวดของ PCA อย่างไร และมีค่านิยมหลักอย่างไร

ทำให้หลายคนถึงบางอ้อ มันไม่ยากอย่างที่คิด

........................................................................

กระบวนการเรียนรู้สุดท้ายได้แบ่งกลุ่มตาม CUP พร้อมให้โจทย์ช่วยกันคิดว่า หลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้มา ๓ รูปแบบแล้วคือ OM, การเขียนแบบประเมินตนเอง, และเรื่องเล่า ให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่าแต่ละรูปแบบมีจุดแข็ง จุดอ่อน อย่างไร และรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ครั้งหน้าอยากให้เป็นรูปแบบใด ?

หลังจากระดมสมองแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มเสร็จก็ให้ตัวแทนกลุ่มได้นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม

..........................................................................

คุณหมอเอก ได้สรุปการเรียนรู้ปิดท้ายว่า .....การเรียนรู้ยังไม่สิ้นสุด เพราะการพัฒนาคุณภาพต้องทำต่อเนื่องตลอดไป ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวงจรคุณภาพที่หมุนไปเรื่อยๆ....การเรียนรู้ไม่มีรูปแบบตายตัว ยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา แต่หัวใจคือเราได้เรียนรู้ และนำเอาเรื่องราวดีดีที่ได้แบ่งปันกัน ได้เล่าสู่กันฟังนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง....

..........................................................................

เป็นการปิดท้ายการเรียนรู้ด้วยมิตรภาพ และรอยยิ้ม

นัดพบกันอีกครั้งที่เชียงราย

..........................................................................

ขอบคุณเรื่องเล่าดีดี และผู้ร่วมแบ่งปันความรู้ มิตรภาพ และร้อยยิ้ม

ด้วยใจที่เป็นสุข

 

หมายเลขบันทึก: 447675เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีความสุขค่ะที่ได้กลับมาดู กระบวนการเรียนรู้นี้อีกครั้งถึงแม้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้มา ๓ รูปแบบแล้วคือ OM, การเขียนแบบประเมินตนเอง, และเรื่องเล่า วิเคราะห์ว่าแต่ละรูปแบบมีจุดแข็ง จุดอ่อน อย่างไร และรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ครั้งหน้าอยากให้เป็นรูปแบบใด ?” ถ้าผู้บริหารของหน่วยงานนั้น ไม่มุ่งผลประโยชน์ตนเองมากกว่าส่วนรวม ผู้บริหารจะสำคัญที่สุดที่นำทีมค่ะ การให้แรงจูงใจแก่ใต้ผู้บังคับบัญชาที่ทำงานด้วยกันอย่างเสมอภาคทีมจะเกิดที่นั่นค่ะ

เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ตั้งใจทำงาน เพื่อสุขภาวะคนน่าน

สวัสดีครับ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน

ชมรมฮักเมืองน่าน งานศพหนานเกียรติ เห็นหลายท่านแต่มิกล้าทักทายครับท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท