กรจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัยจะทำให้คุณรู้ว่า "ความสุขของนักศึกษาคืออะไร"


   ห่างหายไปนานกับการได้เขียนบันทึกบอกเล่าประสบการณ์ผ่านบล๊อก...พยายามหลายต่อหลายครั้งที่จะนำเรื่องราวต่างๆเล่าสู่กันฟังเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ก็ทำไม่ได้ด้วยกับสมาธิในการเขียน อาจจะเพราะห้วงเวลาที่ผ่านมามีอะไรให้ทำและขบคิดมากมาย วันนี้ตื่นเช้ามาตั้งใจมากๆที่จะนำประเด็นของหัวข้อบันทึกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเติมเต็มตัวตนของนักวิชาการอย่างเราๆ

      "อาจารย์ครับผมอยากทำวิจัย" "อาจารย์ครับทำไมเรียนวิจัยไม่รู้เรื่อง" "อาจารย์ครับทำไมพอฟังอาจารย์อธิบายแล้วเข้าใจและไม่เห็นยากเลย" ...

         ผมมองว่า ยุคสังคมนี้ความก้าวไกลของงานวิจัยไปไกลระดับหนึ่งในบ้านเรา กระบวนการ ระเบียบวิธีต่างๆ รูปแบบของการค้นคว้าศึกษาหาคำตอบมันคือความสร้างสรรค์ของพลังทางปัญญาที่จะนำพาสู่การค้นหาคำตอบที่แท้จริง บางครั้งเราเองมักจะติดกรอบล้อมรอบรั้วทางความคิดตัวเองด้วยกับการติดยึดและยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ

           ผมพยายามใช้กระบวนการวิจัยในการจัดการเรียนรู้แก่นักศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา "ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร" โดยการกำหนดประเด็นแล้วให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องทักษะต่างๆทั้งฟัง-ดู พูด อ่าน และเขียน โดยการใช้ทักษะต่างๆเหล่านี้อยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติให้ได้ ข้อค้นพบตลอดระยะเวลาที่ใช้กระบวนการนี้มาสู่การจัดการเรียนการสอนพบว่า "นักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลามีความสุข สนุก เข้าใจ และเห็นแนวทางการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขในการจัดการความรู้ของเขาเอง"ผมมีความสุขทุกครั้งที่ได้แลกเปลี่ยนกับนักศึกษา มีความสุขทุกครั้งที่เห็นความใฝ่รู้ พูดคุยแลกเปลี่ยนและนำเสนอทางความคิดที่สร้างสรรค์กันของนักศึกษา ผมเรียนรู้ว่าความสุขของคนเป็นครู คือ การได้ทำหน้าที่เพื่อทำให้คนที่เราเรียกว่า "ลูกศิษย์" ได้มีทักษะที่จะพัฒนาตัวเองอย่างสร้างสรรค์ กล้าที่จะนำเสนอกระบวนการคิดการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติ แค่นี้ผมก็มีความสุขแล้ว (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)

             ผมว่า หากเราไม่ติดยึดหรือยึดติดกับกรอบเดิมๆของกระบวนการจัดการความรู้ ความอยากรู้ อยากศึกษา ตั้งใจ ทุกช่วงขณะที่ได้เรียนรู้ของนักศึกษาก็จะเกิดขึ้นให้ได้พบเห็น (ไม่เชื่อลองดูครับ)

   -วัลลอฮฺอะลัม-

หมายเลขบันทึก: 446646เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2011 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ตัวตนที่ไม่จ่างหาย

ผมก็ห่างหายไปนานมาก คงมีความสุขใช่ไหมครับกับการสอน...การสอนสำหรับพี่น้องมุสลิม

ผมก็มีความสุขที่ได้ทำงานเพื่อสังคม อันเป็นความตั้งใจที่บริสุทธิ์

ในท่ามกลางที่เราพยายามแสวงหาความลงตัว....แต่ก็ต้องจากกันไปตามความสนใจของกันและกัน

แต่งานสร้างสังคม และการศึกษาถือเป็นภารกิจที่เล็กๆ สำหรับคนเล็กที่มีค่าและยิ่งใหญ่เสมอ

จากความเป็นนักวิจัยบ้านนอกสู่การเป็นครูบ้านนอกก็เป็นอะไรที่ภาคภูมิใจในตัวตนเสมอ

อิสมาอีล

เป็นกำลังใจให้เสมอน้อง...อิสมาอีล

จะบอกว่าการสอนที่โรงเรียนอิสลามสมุทรปราการเนี้ยน่าสนใจมาก

เด็กน่ารักมาก ผมกะว่าจะสอนที่นี่สัก2ปี ถ้าได้วุฒิวิชาชีพครูก็กะจะไปสอนที่อุดรฯอีก

และท้ายที่สุดผมกะว่าจะใช้ชีวิตที่เชียงใหม่อันเป็นความฝันสูงสุด

............................................................................................................................

ตอนนี้ยังเลือกไม่ออกว่าจะเป็นครูในโรงเรียนดีหรือเป็นอ.มหาวิทยาลัยดีอนาคตยังไม่แน่นอน

....................................................................เอบังช่วงที่สอนปรากฏว่ามีนักเรียนพุทธว่างหลายคนมาก

ผมคิดว่าจะทำวิจัย คิดว่าจะให้ศึกษาอะไรดีเนีย

................................................................

อ้อถ้าผมขอโทรปรึกษาช่วงว่างๆๆๆๆๆๆได้ไหม

เรื่องการสึกษานะครับ

0812770938

อิสมาอีล

คุยเรื่องวิจัยชอบ (เพราะชีวิตครึ่งหนึ่งอยู่กับวิจัยแล้ว) แต่พอหันมาคุยวิจัยของ นศ. ใน รปศ. เครียดแทนเด็กครับ เพราะอาจารย์เราบางท่านนำงานวิจัยเด็กมาเทียบกับงานวิจัยสมัยที่แกเรียน ยิ่งถ้าเทียบกับ ป.เอก (ที่กำลังเรียน) มันจะเหมือนกันตรงไหน สุดท้ายของที่เด็กทำเสมือนผิด (หมด) ยึดของคุณภาพจริงๆ โดยลืมไปว่า นี่เด็กยังไม่เคยมีประสบการณ์ ยังไม่เคยรับปริญญา แล้วจะให้ทำลึกเหมือนเค้าได้ไง

อีกอย่างอาจารย์บางคน บางฟิวตึงมากส์ แต่บางคนหย่อนและหย่อนสุดๆ เลย สุดท้ายเด็กเครียด ผู้ดูแลหัวข้อพิเศษก็เครียดแทนครับ เทอมนี้เด็กจะจบกี่คน

ผิดที่ใครหนอ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท