จุลสัณฐานของผิวพระสมเด็จ และพระเนื้อปูนเปลือกหอย


นอกจากบ่อน้ำตา และคราบธารน้ำตาแล้ว ยังมีรูน้ำตาเล็กๆ ที่มีผงแป้งอยู่รอบๆปากรู แบบเดียวกับ "ปากรูจิ้งหรีด" ที่มีขุยดินอยู่รอบๆ

เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมของชมรม "วิชาการพระเครื่อง" ที่กำลังพัฒนาองค์ความรู้ ที่ใช้ในการแยกแยะ "พระโรงงาน" ออกจาก "พระแท้"

  • โดยอาศัยการวิเคราะห์จุดรายละเอียดที่ "ช่างฝีมือ" ของโรงงานทำพระเก๊ ยังน่าจะทำไม่ได้ หรือ
  • แม้จะทำได้ก็ต้องใช้เวลามาก ลงทุน ลงแรงมากเพื่อมาหลอกขายให้ชาวบ้านที่รู้น้อยกว่า
  • ที่ไม่น่าจะคุ้มกับการลงทุนของเจ้าของโรงงาน

ดังนั้น ผมได้พยายามรวบรวม และจัดลำดับอายุพระเนื้อปูนเปลือกหอย เพื่อสร้างชุดความรู้ และทำความเข้าใจวิธีการแยกพระแท้ออกจากพระโรงงาน

โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องตรวจดู

  • ลักษณะการงอกของผิวต่างอายุ ใหม่เก่า ดูเหี่ยวย่น เหมือนผิวหนังช้าง
  •  
  • การกร่อนของผิวเดิม และผิวใหม่
  • การแตกระแหงเฉพาะที่ผิวและการซึมออกมาของน้ำมันตังอิ๊วตามรูระแหงแบบหลากอายุ เป็นคราบเก่า หรือลายร่างแห ตามลายรอยแตก
  • การเกิด และการพอกตัวของผิวแป้งตามรูน้ำตา บ่อน้ำตา และรอยระแหง
  • และการพัฒนาการของผิวปูน หรือผิวหินอ่อนแบบต่างๆ
    รูปรูน้ำตา
    ที่ตำราส่วนใหญ่จะเรียก "รูปลายเข็ม" (ที่ดูเป็นหลุมๆ กลางภาพ)
    มีคราบน้ำตา หรือน้ำปูนสีขาวๆ ไหลออกมาจากรู
    (ขนาดรูประมาณ ๐.๐๕ มม.)
    รูระแหง
    ที่มีรอยแยกและคราบน้ำปูนขาวๆซึมออกมา
    (ตรงกลางภาพ)
    รอยหนอนด้น (ขอบบน) และบ่อน้ำตา (กลางขวา)
    ที่มีรูน้ำตาเป็นแถวๆ อยู่ในร่องบ่อน้ำตา ที่มีคราบแป้งเหงื่อปูนบางๆ ไม่เกาะเป็นก้อน โดยเฉพาะที่ปากรูน้ำตา ที่อยู่ในบ่อน้ำตาอีกทีหนึ่ง
    จะสังเกตได้ง่ายในพระที่ผ่านการล้างมานานแล้ว
    (ผมต้องขอประทานโทษ ที่ยังไม่มีกล้อง ที่สามารถถ่ายรูปได้ละเอียดพอที่จะมาลงให้ชัดเจนกว่านี้ได้)

โดยเฉพาะที่เกิดกับพระเนื้อปูนเปลือกหอย ที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ ปี ถึง ประมาณ ๒๐๐ ปี

ที่พบว่า

  • นอกจากต้องมี
    • ผิวปูนหินอ่อนพอกจากผิวมวลสารหรือเนื้อปูนเดิม
      • แบบหลากอายุ ๔-๕ ชั้น (แบบ)
    • มีการแตกระแหงเฉพาะผิวปูนที่งอกคลุมจนได้อายุ
      • ที่มักมีคราบน้ำมันตังอิ๊วซึมออกมาเป็นเส้นตามรอยระแหง "ทั้งองค์" ทั้งด้านหน้า ข้าง และหลัง
      • ผิวยิ่งเก่ามาก เส้นน้ำมันตังอิ๊วยิ่งหนา และ
      • ถ้าหนามากจะแตกออกเป็นเส้นขนานสีน้ำตาลแก่ขนานกันสองเส้นคร่อมรอยระแหงอีกทีหนึ่ง 
    • เนื้อปูนงอกแบบ "ฟองเต้าหู้" แบบปลายอ่อน โคนแก่ หลากอายุในฟองเดียวกัน
    • บ่อน้ำตา และ รูน้ำตา หรือที่เรียกว่า "รูปลายเข็ม"
    • คราบธารน้ำตาต่างอายุ
    • และเหงื่อปูน หรือที่เรียกกันว่า "ผงแป้งโรยพิมพ์"แล้ว
  • บริเวณที่เป็นหลุมๆ ของรอยปริ หรือ รอยแยกเดิม ที่กำลังจะปิดสนิทจากการงอกของผิวปูน
    • ยังมีรูน้ำตาเล็กๆ ที่มีธารน้ำตาไหลอยู่ แบบต่างอายุ
    • จะยังมีผงแป้งเหงื่อปูนเกาะ (ที่ตำราเดิมบอกว่าเป็น "แป้งโรยพิมพ์" ) อยู่รอบๆ บริเวณปากรู หรือในซอกของรอบปริ 
    •  
      • แบบเดียวกับ "ปากรูมด หรือรูจิ้งหรีด" ที่มีขุยดินอยู่รอบๆ

รูดังกล่าวจะมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่แตกต่างกัน

  • ที่คาดว่าเป็นไปตามความแรงของ "ธารน้ำตา" อย่างน้อย ๑ รู ต่อ ๑ รอยปริ บางทีมีมากกว่า ๑
    • ยกเว้นรอยปริที่เนิ้อปูนงอกมาอุดตันแล้ว หรือรอยปริที่ยังเปิดกว้าง
    • จะมีเพียงผงแป้ง แต่ไม่ปรากฏว่ามีรูดังกล่าว
  • รูดังกล่าว คือ แบบที่เรียกกันว่ารู "ปลายเข็ม" 
  • ปรากฏอยู่ทั่วไปตามผิวที่มีหลุม หรือ รอยปริ ที่มีการรบกวนน้อย 
  • ถ้าจะให้มั่นใจ แบบ "พระแท้ดูง่าย" อย่างน้อยควรมี ๔-๕ จุดขึ้นไป
  • มักมีขนาดประมาณ ๐.๐๑-๐.๐๕ มม.
  • ที่คาดว่าไม่น่าจะทำได้โดยช่างฝีมือในโรงงานทำพระเก๊

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่นั้น

  • ขอบปากรูดังกล่าวจะ
    • มน
    • ไม่คม
  • รูไม่ตรง มีการคดเคี้ยวแบบธรรมชาติ 
    • มีความลึกลงไปในเนื้อ และ
    • การคดของรูทำให้มองไม่เห็นก้นรู 
  • และถ้ารูดังกล่าว เกิดในหลุม ที่ถูกรบกวนจากการใช้น้อย
    • อาจมีผงแป้งเหงื่อปูนก่อตัวเป็นท่อทรงกระบอก
    • อยู่บนปากรูอีกทีหนึ่ง 
      • แบบเดียวกับรูแมงมุมบนผิวดิน
      • ที่มักมีดินหรือเศษใบไม้เกาะรอบๆปากรู
        • ที่เป็นใยสานเป็นท่อกลมๆ

จุดสังเกตระดับ "จุลสัณฐาน" นี้น่าจะใช้แยกพระแท้ออกจากพระโรงงานได้โดยง่ายครับ

นอกจากนี้ผมยังพบว่า

  • การเกิด "เหงื่อปูน" จะป้องกันการเกาะตัวแน่นของรัก ชาด หรือยางไม้ ที่ทารักษาผิวพระไว้ หรือสิ่งที่มาเกาะที่ผิวพระ
  • ทำให้แกะ หรือปัดออกได้ง่าย
  • ที่ทำให้การ "ล้างพระ" ทำได้โดยง่าย
    • ถ้าแกะยาก น่าจะเป็นพระที่เนื้อทาผิวใหม่ๆ
    • แบบเดียวกับสีทาบ้าน
      • ที่ถ้าผนังปูนเก่า สีจะร่อนหลุดง่าย
      • ถ้าผนังบ้านใหม่ๆ สีก็จะติดแน่น
        • ล้างออกไม่ได้
        • แม้จะพยายามแกะออก ก็แกะได้ยาก

และเมื่อแกะออก หรือสังเกตดูในช่องว่างระหว่างเนื้อพระกับรัก

  • จะมี "ผงแป้งนวลๆ" กั้น หรือเคลือบผิวอยู่ หรือคั่นอยู่
  • ที่น่าจะเป็นสิ่งที่ทำโดยช่างฝีมือได้ยากเช่นกัน
  • แต่พระที่เคลือบรักไว้ จะพบรอยระแหงที่ผิวค่อนข้างน้อย และคราบน้ำมันตังอิ๊วจะเป็นปื้นๆ มากกว่าจะเป็นเส้นๆ ตามรอยระแหง

ทั้งสองประเด็นของผิวพระสมเด็จ อายุกว่า ๑๒๐ ปีขึ้นไปนี้ น่าสนใจมาก

จึงอยากให้ท่านลองสังเกตดู

สำหรับลักษณะที่คล้ายๆกันในพระโรงงานนั้น

  • ช่างฝีมือจัด จะทำให้มีรอยปริในเนื้อพระ หรือเป็นหลุม แล้วโรยผงแป้งไว้
    • ผงแป้งจะแยกจากผิว ไม่แนบเนียนไปกับผิวที่ปริแยก
  • นำมวลสารสีดำกลมๆ มาฝังไว้ที่ก้นหลุม
    • เพื่อหลอกตาคนที่ดูพระแบบรีบๆ
  • เมื่อมองด้วยเลนส์ส่องพระธรรมดา จะดูคล้ายๆเป็นรูลึก
  • ที่สำคัญ
    • จะไม่มีสภาพความหลากหลายและไล่ตามอายุของผิวพระ(ผิวอายุเท่ากันหมด)
    • ไม่มีรอยระแหงที่ผิวงอก "แบบละเอียด" มักทำเป็นร่องระแหงลึกเข้าไปในเนื้อพระ
    • ไม่มีเส้นคราบน้ำมันตังอิ๊วแบบสอดคล้องกับรูระแหง
      • ส่วนใหญ่แค่ทาสีน้ำตาลลงไปในรูระแหงที่ทำขึ้น (ทั้งๆที่ควรเป็นเส้นลอยอยู่บนผิวปูนที่งอกใหม่ เหนือรูระแหงอีกทีหนึ่ง)

ถ้ามีความเห็นอย่างไรก็ลองมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันดูนะครับ

ความรู้นี้จะได้พัฒนาต่อไปอย่างมีประโยชน์กับทุกคนครับ

หมายเลขบันทึก: 446449เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พระบางองค์เป็นพระแท้ แต่ไม่ได้สร้างและอธิษฐานจิตโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ผมเชื่อว่ามีอย่างแน่นอนที่สร้างร่วมสมัยเดียวกัน เฉกเช่นเดียวกับศิลปะที่มีความร่วมสมัยกัน แต่ความโด่งดังจะไม่เท่ากัน เนื่องจากการมากำหนดค่านิยมเอาตอนหลัง ตรงนี้เลยทำให้ วงการเลยตีแคบเล่นกันไม่กี่พิมพ์ อย่างไรก็ดีวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการศึกษาศาสตร์ต่างๆ แต่ความเป็นศิลปะแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายและถ่ายทอดกันได้ ผมเข้าใจเซียนใหญ่ดีว่าองค์ความรู้นี้มันเป็นอย่างไร ต่อมาระบบการตลาดและมายาแห่งวงการเข้ามีอิทธิพลมากขึ้น ส่งผลให้เซียนใหญ่ไม่แสดงความเห็นและมีบางกลุ่มอาศัยช่องว่างเข้ามายึดกุมตลาดและวงการไป

ขอให้กำลังใจในการพยายามเขียนศาสตร์ในเรื่องนี้ขึ้นมา

การที่เซียนกำหนดให้เล่นบางพิมพ์นั้น สาเหตุอย่างหนึ่งเกิดจาก การได้พระที่มีที่ไปชัดเจนแล้วมั่นใจว่าแท้แน่นอน เมื่อนำมาศึกษาก็กำหนดตำหนิจุดตายตลอดจนพิมพ์ของตนเองเป็นมาตราฐาน เข้าทำนองเขียนก่อนถูกต้องก่อน ทั้งๆที่ประวัติการสร้างก็ชัดเจนว่า(พระสมเด็จ)มีหลายหมื่นองค์ในแต่ละวัด จะเห็นว่าจะมีไม่กี่พิมพ์ไม่กี่บล๊อคเท่านั้น เข้าทำนองว่าถ้าไม่เหมือนของตู ตีเก๊ได้เลยหรือตีวัดอื่นไปเลย(ในกรณีเนื้อเก่ามาก) หรือสร้างตำนานสมเด็จปลอมของยายแฟงที่ทำเลียนแบบในยุคสมเด็จท่าน(เก๊เก่า) ถ้าสังเกตดูดีๆขณะนี้ความนิยมในการเล่นหาพระเครื่องมีแนวโน้มไปสู่พระสร้างใหม่ๆ เพราะที่มาที่ไปชัดเจนไม่ต้องให้เซียนชี้ก็แท้ได้ คนขายที่ไปเอามาจากวัดก็กล้ารับประกัน พระใหม่หลายๆองค์แพงกว่าพระเก่าหลายๆองค์มากจนน่าตกใจ ถ้าหากไม่มีคนแบบอาจารย์ในวงการ วงการพระเก่าพระกรุก็คงจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ ผมเพิ่งอ่านพบและเห็นว่าศาสตร์แห่งพระผสมด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์คงสามารถนำพาวงการพระเก่าพระกรุให้กลับมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีก อย่าให้พวกไดโนเสาร์ที่ทรงอิทธิพลมาบงการได้อีก......ขอบคุณครับ.......สวัสดีครับ

ก็ไม่คิดไกลขนาดนั้นครับ แค่รู้ความจริง ที่จริงๆ พิสูจน์ได้ รู้เท่ากันได้ก็พอครับ อิอิอิอิอิ

ถ้าพระที่ถูกล้างมาด้วยน้ำสบู่อะคับ พอดีผมยังเด็กเรยอยากเห็นผิวพระชัดๆอะคับและล้างถูไปถูมาพระดันหลุดหักเนื้อด้านในเหมือนมีผงสีส้มปนอยู่อะคับคือผงรัยคับ พระของผมดูในเว็ปเหมือนเนื้อเทียนชัยเรยคับ


ขอรบกวนท่านอีกหน่อยคับผมมีพระที่มีปูนทรงกระบอกและมีทรงกลมรวมเป็นกระจุกหลายรูตามที่ท่านบอกแต่นานวันไปกลับกลายเป็นน้ำตาลผมเรยเอาพระแช่น้ำอุ่นอีกผงปูนนั้นก้กลับมาอีกแต่บางรูที่เคยมีก้ดันมีคลาบน้ำตาลแทนอะคับควรทำงัยให้รูที่เคยมีปูนกองอยู่บนรูเดิมอะคับเพรามีร่นพี่บอกว่ากองปูนเหล่านั้นก้คือเนื้อปูนงอกถ้าไม่ล้างถูมันตอนขึ้นมาใหม่ๆอะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท