หลักสูตร พัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลง..สำนักงาน กสทช


ท่ามกลางกระแสของเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่แน่นอน การเรียนรู้วิธีคิดแบบต่าง ๆ เพื่อเอาชนะอุปสรรค แสวงหาโอกาส หลีกเลี่ยงคามเสี่ยง และบริหารการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จด้วยการมีแรงบันดาลใจ มีพลังในการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
สวัสดีครับชาว Blog และท่านผู้บริหารสำนักงาน กสทช. ทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสจัดหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อพัฒนา "ทุนมนุษย์" ให้แก่สำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญของประเทศและการพัฒนา
หลักสูตรพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสำนักงาน กสทช. เป็นหลักสูตรที่จำเป็นและมีความสำคัญมากต่อการร่วมกันขับเคลื่อนผลงานที่มีคุณค่าของสำนักงาน กสทช. เพราะท่ามกลางกระแสของเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่แน่นอน การเรียนรู้วิธีคิดแบบต่าง ๆ เพื่อเอาชนะอุปสรรค แสวงหาโอกาส หลีกเลี่ยงคามเสี่ยง และบริหารการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จด้วยการมีแรงบันดาลใจ มีพลังในการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
ผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณ ท่านอาจารย์ลิขิต หงส์ลดารมภ์ พี่ชายที่รักและเคารพของผมที่มาร่วมเป็นวิทยากรพิเศษให้แนวคิดและมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตของ กสทช. ขอขอบคุณ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์เพื่อนรักของผมที่มาช่วยกัน Coaching วิธีการคิดเชิงยุทธศาสตร์ แม้ว่าจะหาเวลายากมากแต่ท่านก็ให้เวลากับผมเสมอ ขอขอบคุณ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ นักวางแผนยุทธศาสตร์ด้วยความคิดแบบสร้างสรรค์ที่ผมชื่นชม ขอบคุณท่าน ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล ซึ่งท่านให้เกียรติและตั้งใจที่จะนำความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจมาแบ่งปันกับพวกเรา และขอบคุณ Mr. Bruce Hancock, Executive Director, Passion Plus Development Co., Ltd. ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาภาวะผู้นำและสร้างแรงบันดาลใจด้วย Passion ซึ่งพวกเราคงจะได้เรียนรู้จากคุณ Bruce ไม่น้อยเลยทีเดียว
ขอขอบคุณผู้บริหารระดับสูงและทีมงาน HR ของสำนักงาน กสทช. ที่ผลักดันให้เกิดโครงการครั้งนี้ และที่ขาดไม่ได้ครับ ขอขอบคุณผู้บริหารของสำนักงาน กสทช. ทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลักสูตรนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยจุดประกายและสร้างพลังให้ทุกท่านทำงานอย่างเข้มแข็งเพื่อพัฒนาประเทศไทยของเราครับ
จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศพิธีเปิดและการบรรยายวันที่ 23 มิ.ย.54

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เรียนรู้ วิธีคิดเชิงกลยุทธ์ กับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
 
 
ภาพบรรยากาศการเรียนรู วันที่ 24 มิ.ย.54
ช่วงเช้า เรียนรู้ในรูปแบบ Panel Discussion หัวข้อ "Creative Thinking & Critical Thinking"
โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
ภาพบรรยากาศวันที่ 25 มิ.ย.54
ช่วงเช้า เรียนรู้ "วิสัยทัศน์เพื่อการทำงานยุคใหม่ของสำนักงาน กสทช. ในมุมมองของข้าพเจ้า".. โดย อ.ลิขิต หงส์ลารมภ์
ช่วงบ่าย เรียนรู้ เรื่อง "Passion - Leadership - High Performance".. By Mr. Bruce Hancock ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้าง Passion ให้กับตัวเองและองค์กร
 ภาพบรรยากาศวันที่ 26 มิถุนายน 2554
หัวข้อการเรียนรู้ในช่วงเช้า "Systematic Thinking กับการแก้ปัญหาแบบองค์รวม" โดย ดร.พงษ์พิสิฏฐ์ วิเศษกุล

 
พิธีปิด และมอบวุฒิบัตรให้แก้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 445435เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2011 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ    5 รูปแบบการคิดเชิงกลยุทธ์ กับการทำงานของ กสทช.

โดย       รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

             คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมภพ รัตนาธรรมวัฒน์

หลักสูตรเนื้อหาที่บรรยายนั้นเหมาะสมกับวิทยากรซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ตรงกับเนื้อหาที่บรรยาย และสามารถเป็นแรงพลักดันให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดพลังที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีอยู่เดิมและเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี แต่เสียดายที่ระยะการเข้ารับการอบรมน้อยทำใน้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีเท่าที่ควร ผู้จัดการอบรมน่าจะจัดเวลาเข้ารับการอบรมให้มากกว่านี้ครับ

มณีร้ตน์ กำจรกิจการ

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการเรียนจาก รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในวันนี้ ได้รู้ถึงแนวทางและหลักคิดในการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่จะนำไปปรับใช้ในองค์กรของตนเองได้ โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ในการบริหารการทำงานและบุคลากรที่ร่วมปฏิบัติงานและอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา เนื่องจากในปัจจุบัน กลุ่มงานที่รับผิดชอบอยู่ต้องมีการติดต่อกับกลุ่มผู้ประกอบกิจการที่มีความต้องการหลากหลาย และจำนวนมากกว่า 10,000 ราย ประกอบกับมีจำนวนบุคลากรที่มีจำนวนจำกัด ฉะนั้น การได้เรียนรู้ในวันนี้จึงนำเอาไปเป็นแนวทางการบริหารจัดการบุคลากรและองค์กรภายในได้อย่างเป็นระบบ และบริหารจัดการการให้บริการแก่ผู้ประกอบกิจการได้อย่างเหมาะสม ด้วยการฟัง คิด และวิเคราะห์ เพื่อที่จะกำหนดทิศทางการให้บริการในอนาคตอย่างเป็นระบบ

ทนงศักดิ์ สุขะนินทร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก อาจารย์สมชาย สร้าง ความคิดทบทวน ในการให้บริการงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานสนับสนุนงานภายในองค์กร ที่รับผิดชอบอยู่ ไม่คิดเพียงแต่ความสำเร็จที่เป็น Output เพียงอย่างเดียว แต่ให้มองเห็นทิศทาง(Trend)หรือ แนวโน้มของการพัฒนางานสนับสนุนองค์กร เพื่อเป็นเบื้องหลังของความสำเร็จแท้จริง มองสัญญาณหรือเห็นความต้องการของผู้รับบริการจากมุมมองผู้รับบริการ ไม่ใช่มุมมองผู้ให้บริการ และควรมีการทำนายความต้องการของผู้ใช้งานให้ใกล้เคียงมากที่สุด ด้วยปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของผู้ใช้งาน ค้นหามันให้เจอ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ให้ตรง หมั่นทบทวนตำแหน่งความต้องการของผู้ใช้งานสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้หลุดโค้ง และมั่นใจว่าอยู่ในเส้นทางเดินที่ถูกต้อง เขียนสิ่งที่รู้มันง่าย แต่เวลาทำนั้น ต้องหยิบตัวแปรให้ถูกต้องด้วย เฮงๆด้วยครับ

ความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายโดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ วันนี้ ได้รับรู้ถึงแนวการคิดแบบกลยุทธ์ ซึ่งได้สอนให้เห็นถึงการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ การคาดการณ์ การมองแบบองค์รวม และการมีวิสัยทัศน์ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในการทำงานแก่ สำนักงาน กสทช. เนื่องจากขณะนี้ สำนักงานฯ อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านองค์กรจาก กทช. เป็นกสทช. ซึ่งจะมีภารกิจ บทบาทและอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ในองค์รวมเหล่านี้มาช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านนโยายและการบริหารจัดการ เพื่อให้สำนักงานฯ สามารถดำเนินงานและปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ และ

สำนักงาน กสทช. กับการเปลี่ยนแปลงและการทำงานแบบเป็นยุทธศาสตร์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ วันที่ 23 มิถุนายน 2554

• อยากให้องค์กรของ กสทช. ทำอะไรให้สังคมยอมรับ ในลักษณะ Ultimate Goal

• ถ้านึกถึง กสทช. จะนึกถึงองค์กรที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ

ดร.จีระ มีแนวคิดในเรื่องการ คิด 3 เรื่อง คือ

1. มองอะไรเป็น Strategic Thinking คือคิดเป็นยุทธศาสตร์ มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร มีโครงการที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จากเทเลคอมได้อะไรบ้าง

2. Creative Thinking ทำไมถึงแตกต่างจาก Strategic Thinking

Strategic Thinking เป็นการมองในเรื่องโอกาส จุดอ่อน จุดแข็ง

Creative Thinking เป็นเรื่องการคิดนอกกรอบ

3. Mark & Angels เคยพูดในเรื่อง Critical Thinking คือคิดให้ลึก เพื่อให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ

Thinking ไม่ใช่อย่างเดียวต้อง Turn Thinking into Action อยากให้แต่ละกลุ่มทำ Project ซึ่งจะช่วยได้เยอะ แต่ความจริงแล้วก็คงยังไม่พอ ต้องนำไปปฏิบัติด้วย

ดร.จีระ

• Strategic ไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Change) แล้วการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Performance ถ้า กสทช. มีประโยชน์ทับซ้อน องค์กรนี้ก็คงอยู่ไม่ได้ Stakeholder ที่ยิ่งใหญ่ของ กสทช.คือประชาชน

• ให้นึกถึงการที่ กสทช.มาอยู่ที่นี่ มีอะไรที่แตกต่าง ถ้าเราเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วองค์กรเปลี่ยนหรือไม่ และอาจดูไปถึงระดับประเทศ แต่ละท่านมีบทบาทช่วยประเทศของท่านได้ ความจริงแล้วองค์กรนี้ถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่ประชาชนไว้วางใจ

• ให้แต่ละท่านมี Open mind กับ Open heart แล้วตัวเราก็จะเป็นเลิศ

• ตัวอย่าง Bill Gates มีเพื่อนชื่อ Paul Allen นำเรื่อง Popular Electronic มาให้ Bill Gates อ่าน พอ Bill Gates อ่านได้รับการกระตุ้น ก็เกิด idea สามารถเอาฟิสิกส์ กับเทคโนโลยีมารวมกันและสร้าง Microsoft ขึ้นมาได้

• คนในห้องนี้เก่งแต่อาจไม่ได้รับโอกาสในการแสดงออก จึงอยากให้แต่ละท่านนำเสนอออกมา ....อยากให้แต่ละท่านทำตัวเหมือน Peter Drucker และให้อ่านหนังสือเรื่อง From Good to Great ....แล้วลองคิดดูว่าก่อนตายนั้นความสำเร็จจริง ๆ คืออะไร อย่าง Peter Drucker มีคนสรุปเรื่องความสำเร็จของ Peter มา 2 เรื่องคือ

1. เรียนรู้จากลูกศิษย์ของเขา

2. ไม่มีอะไรที่ไม่ถูกต้อง

• การถามคำถามที่สำคัญ ( Ask interesting Question) สำคัญกว่าการรับคำสั่งอย่างเดียว

• ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เร็ว และไม่แน่นอน Peter Drucker บอกว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราตาย เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะจัดการการเปลี่ยนแปลง

• Edward Debono เป็นคนเก่งมากเรื่องความคิดเน้นการสอนให้คนไม่ประมาท อย่าทำตัวแบบฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง เพราะว่าการคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ จะต้องต่อสู้กับการใช้ชีวิตประจำวัน ที่เรียกว่า Routine เช่นบางท่านอาจทำงานมีเงินเดือนเป็นแสนแต่ยังคงทำงานเหมือนเดิม เป็นต้น

• รู้กับคิด คนละตัว คิดแบบสร้างสรรค์จึงคนละเรื่อง ทำไมคนเราไม่มีความคิดเชิงยุทธศาตร์ ส่วนหนึ่งอาจมาจากเจ้านายที่ชอบแบบ Command & Control

• สุดท้าย Yahoo กับ Google ทำไม Google ถึงยึด Market share เกือบหมดเลย ลองคิดดู? เช่นกัน กสทช. ถ้าเล่นการเมืองอยู่ เล่นพวก ก็จะมีคนมาด่าเราว่าไม่ดี เป็นต้น

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

• ค้นหาตัวเองซะก่อนคืออะไร

• แล้วมีจุดอ่อนจุดแข็งคืออะไร (ใช้จุดแข็งแต่ปรับปรุงจุดอ่อน)

• เข้าใจ Environment ให้ดี

• แสวงหาโอกาส ให้ธุรกิจยั่งยืน แต่ประชาชนได้ประโยชน์ (องค์กร กสทช.มีประโยชน์มากที่ให้รากหญ้าได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่ปราศจากการคุกคาม)

• How to overcome difficulties

• ต้องเอาความคิดเหล่านั้นไปพูดความจริง ให้เอาบริบทมาดู และต้องเอาชนะอุปสรรค (ต้องปรับพฤติกรรมในการหาความรู้ แล้วเอาความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม)

ดร.จีระ

• สิ่งสำคัญที่สุดของหลักสูตรนื้คือ การใฝ่รู้

• ถ้าพูดเรื่อง Creativity ต้องนำไปสู่การทำงานของ กสทช. ให้ได้

• ความสำเร็จของการเอาความคิดใหม่ไปใช้ใน กสทช. ไม่ง่าย การทำ Creative in new project อย่าคิดว่าทำได้ง่าย ๆ ยากมากในการ Apply บริบทนี้ในสังคมไทย

• อยากให้แต่ละโต๊ะคิด Project ใหม่ ๆ ขึ้นมาเสมอ เป็นโครงการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เยอะ ๆ แล้วมาสรุปร่วมกัน

4L’s

1. วิธีการเรียนรู้

2. บรรยากาศการเรียนรู้ ทำให้เราสบายใจ สามารถกระตุ้นให้เกิดความคิด

3. โอกาสจากการเรียนรู้ คือ ปัญญายกกำลัง 5 ถ้า Commentator มีมากกว่า 1 คน เป็น Panel Discussion จะดีมาก แต่ความจริงเป็นเรื่องยากที่จะเอาคนเก่งหลายคนมาอยู่บนเวทีเดียวกัน

4. เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือหลังจากจบหลักสูตรแล้วยังสนใจการเรียนรู้อยู่หรือเปล่า ?

• ทุกเรื่องที่พูดต้องไปปะทะกับ กสทช.

• 1. ปะทะมี 4 Level คือ 1.ปะทะตัวเอง ถ้าปะทะแล้ว Life Changing Moment ยิ่งดี เมื่อดีแล้ว 2. ให้กสทช.ดีขึ้น Organizational Changing Moment 3. แล้วต่อไปประเทศดีขึ้น เป็นอาเซียน Citizens ที่ดี 4. สุดท้ายเป็นเรื่องของ Global

2. ทุกอย่างที่เรียนต้องมี impact ต่อคุณ ห้ามพูดอะไรไร้สาระ สังเกตว่าทุกวันนี้อินเดียสู้จีนไม่ได้เนื่องจากไม่ Realistic

3. ต้องเก่งในการสัมมนาแล้วเก่งใน องค์กรของ กสทช. ด้วย

4. เริ่มต้น Concept ต้องแม่นก่อน แล้วต้องใช้ Imagination เยอะ ๆ จินตนาการเยอะ ๆ กสทช. ถ้าบางเรื่องเป็นเทคนิค แล้วยังขาดจินตนาการ เทคโนโลยีจะทำเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

5. 3 L’s

• เรียนรู้จากความเจ็บปวด (Learning from pain)

• เรียนรู้จากประสบการณ์ (Learning from experiences)

• เรียนรู้จากการรับฟัง (Learning from listening)

6. การเรียนรู้นอกจากการรู้จักกันแล้ว Connecting แล้วต้องรู้จัก Engaging ด้วย

7. ฝากไว้ว่าคุณภาพของคนที่พึงประสงค์อยากให้มีความรู้ต่อไปนี้

1. ทุกคนในห้องนี้เป็นทุนมนุษย์ วัดจากปริญญาได้

2. มีปัญญาหรือไม่

3. เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรมจริงหรือไม่

4. การทำงานมีความสุขหรือไม่ มี Passion ในการทำงานหรือไม่

5. ต้องมีทุนทางสังคมและเครือข่าย คนในห้องนี้ต้องสร้าง Network ให้ดี

6. ต้องเป็นคนที่มองอนาคต อย่างน้อยตัวเองกับองค์กรต้องยั่งยืน

ต้องเป็นคนมีสุขภาพที่ดี ต้องไม่เป็นคนอวิชา (อวิชาคือไม่ทันคนอื่นเขา)

7. มี เทคโนโลยีเหมาะสม

8. มีความรู้ทักษะ และทัศนคติ

นอกจากนี้ ยังมีทุนที่ช่วยพัฒนาให้เราเป็นคนเก่งได้ คือ 5K’s

1. คนเก่งได้ต้องมี Creativity แล้วสามารถ turn idea สู่ Innovation

2. ต้องมีทุนความรู้

3. Innovation คืออะไรก็ตามที่ใหม่ สร้างสรรค์ และมีความรู้

4. ถ้าจะเป็นผู้นำได้ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

5. ทุนที่มาจากภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปลูกฝังของเรา

8. หลักสูตรนี้ฝากไว้ 5 เรื่อง คือเรียนด้วย

1. การมีแรงบันดาลใจ

2. มีพลังและไฟให้ตัวเอง ปล่อยวางงานที่ไร้สาระ แล้วแสวงหางานแปลกใหม่ทุกวัน

3. การแบ่งปัน การเรียนในครั้งนี้ต้องข้าม ไซโรให้ได้ คนสำคัญที่สุดคือประชาชน

4. สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

5. การมาวันนี้ขอให้มีความสุข

3 วิธีคิดที่ต้องแยกกันให้ดี แต่ในที่สุดรวมกัน

1. Strategic Thinking คิดอย่างมีกลยุทธ์

2. Creative Thinking คิดแบบสร้างสรรค์

อย่างไรก็ตามอยากให้ Left Brain แข็งก่อน Concept ต้องแม่นก่อน คิดให้เป็นเหตุเป็นผล แล้วถึงค่อยคิดแตกต่าง

ตัวอย่าง Tony Buzan เรียน ปริญญาตรี 6 ใบ และเรียน การทำงานของสมอง ก็บอกว่า เราต้องมีหลักการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลก่อนถึงค่อยคิดสร้างสรรค์

3. Critical Thinking คิดให้ลึก คิดให้รอบคอบ ส่วนใหญ่มาจาก Concept ของ Diuretic

- Thesis –ผู้ลงทุนรายใหญ่

- Anti-Thesis – ประชาชนทั่วไป

- Synthesis - ต้องรวมความหลากหลายให้ได้ ทำอย่างไร ถึงได้ประโยชน์จริง ๆ ทำยังไงให้ประชาชนหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ทำงานร่วมกัน

• การพัฒนาความคิด ต้องนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ turn idea into action ถ้าทำสำเร็จจะยกตัวอย่าง new project

• Concept ต้อง know, think, do ไปด้วยกัน

• ความคิดที่เป็นยุทธศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์อาจแยกจากงานประจำ การเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ต้องหลบจากระเบิดที่วางไว้ อาจมี New project เสริม

• Attitude ยังเปลี่ยนได้ แต่ Mindset เปลี่ยนได้ยาก

• ถ้าจะเริ่มคิดทั้งเชิงวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ ต้องปรับพฤติกรรมของบุคคลว่าจะปรับตัวเองอย่างไร คือการมีวิธีการปรับตัวเพื่อพัฒนาทักษะทางการคิด ดังทฤษฎีแว่นตา ถ้าแว่นตามัวอย่าคิด เพราะพฤติกรรมนั้นจะเหมือนเดิม

• ต้องทำให้องค์กรเป็นเลิศ และได้ประโยชน์

• ใส่แว่นตาใหม่ เพื่อมองให้ออกว่าอะไรสำคัญ เมื่อเข้าใจ สุดท้ายก็ทำให้สำเร็จ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด

• การทำให้สำเร็จคือความคิดเชิงยุทธศาสตร์ เส้นทางที่เราไปก็จะไม่พลาด แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จต้องใช้เวลา ต้องศึกษาเรื่อง วัฒนธรรมองค์กร การเจรจาต่อรอง แรงจูงใจ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำของคนในห้องนี้ จุดสรุปคือ ต้องทำให้สำเร็จ

• Diversity ต้องเปลี่ยนให้เป็น Excellence อย่าเปลี่ยนเป็น Conflict

Workshop (ให้เวลา 10 นาที)

1. อยากให้แต่ละโต๊ะ ลองเล่าให้ฟังว่ามี Moment หรือมีจังหวะไหนบ้างที่เราได้แรงบันดาลใจที่มาอยู่ด้วยกัน และแรงบันดาลใจเกิดขึ้นเพราะอะไร

2. ให้วิจารณ์หลักสูตรนี้ดูว่า จุดอ่อน และจุดแข็งคืออะไร

3. ให้แต่ละโต๊ะมีคำถาม 1 คำถามที่น่าสนใจ คาดหวังจาก Project นี้อะไรบ้าง

กลุ่ม 3

1. แรงบันดาลใจมาจากคำว่า Sunrise , เมื่อมี Sunrise ทำให้คิดตามว่า ต้องมี Sunset ขณะที่อยู่จุดขึ้นทำอย่างไรให้เป็นยุคทองของ กสทช. และทำยังไงให้จุด Peak อยู่ในยุคของเรา

ดร.จีระ เสริมว่า ทำอย่างไรให้ความรู้กระจาย เพราะว่า trend อันนี้อยู่กับเราอีกนาน และกระทบกับทุกฝ่าย

2. จุดแข็งเห็นหลายจุดในสิ่งที่เรียนรู้ จุดอ่อนคือหลักสูตรนี้ไม่มีคำว่า Fear หรือคำว่ากลัว สิ่งที่กลัวคือ กลัวผิด และ กลัวโง่ในจุดนี้ คือสิ่งที่ยังไม่สร้างให้เกิดขึ้น เป็นความกลัวที่กลัวตัวเอง และกลัวคนอื่น ๆ ในหลักสูตรพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมของ กสทช. แต่ไม่พูดเรื่อง Fear

ดร.จีระ เสริมว่า ความไม่แน่นอนของธุรกิจนี้ในอนาคต ถึงแม้มี 5 วันก็ยังไม่พอ

อย่างดร.จีระ มีเรื่องสุขภาพ และไม่กลัวอวิชา เพราะใฝ่รู้ตลอดเวลา

จึงอยากให้ทุกคนในห้องนี้ ใฝ่รู้ และแบ่งปันความคิดเห็นกัน ก็อาจทำให้ความกลัวลดไปบ้าง

3. Change สิ่งที่มอง คืออนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรบ้าง Change มากกว่า re-engineering เนื่องจากเป็นเรื่องกิจกรรม ที่พึงปฏิบัติ คำถามคือ คำที่ถัดจาก Change คืออะไร

ดร.จีระ บอกว่า Beyond change คือ intangible มนุษย์วัดกันด้วยข้างใน ไม่ว่าจะเป็น Value ต่อส่วนรวม หรือ Value ที่สามารถแก้ปัญหาในอนาคตได้ , พูดถูกที่ว่า Reengineering คือการวิ่งแนวตั้งเป็นแนวนอน แต่ปัจจุบันไม่ work แล้ว , Change เร็ว และเป็นเรื่อง Human และส่วนมาก มนุษย์ก็เป็นผู้ต่อต้าน Change เอง แต่ถ้า Change ไม่เป็นไซโร แล้วทุกคนพร้อมใส่แว่นตา เข้าใจมัน Change จะเกิดขึ้น

กลุ่ม 5

1. สิ่งแรกคือรู้จักอาจารย์จีระทางวิทยุ moment แรกอยากรู้ตัวจริง ว่าเป็นยังไง moment ที่สอง ตรงไปตรงมาและแรง และอยากรู้ว่าผู้บริหารในกลุ่มนี้ ใครมีคุณสมบัติตามที่อาจารย์บอก

2. จุดแข็งของหลักสูตร เห็นว่าอาจารย์จีระ มีความรู้ ความสามารถและมีแนวคิดที่ดี จุดอ่อนไม่แน่ใจว่าจะนำไป Implement หรือนำไปปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า และอาจารย์อาจไม่คุ้นเคยในองค์กรคือเป็นแบบ Outside in

3. อาจารย์มีความเห็นอย่างไร ถ้าการอบรมหลักสูตรนี้ไม่ Success แล้วบางครั้งอาจารย์ที่สอนอาจจะติด ๆ ดับ ๆ หรือไม่ติด

ดร.จีระ เสนอว่าต้องไปปรับตัวข้อ 2, 3 เยอะ

กลุ่ม 4

1. จุดประกาย คำแรกคือ Thinking คำที่สองคือ For change ได้แรงบันดาลใจจาก 2 คำนี้ หลังจากฟัง 2 ชั่วโมง ความคิด Change หรือ สร้างคน Network สร้างองค์กร

2. การเรียนรู้ใหม่ ๆ ทำให้มีความคิดเห็นแบบอิสระ ไม่ยึดติด สร้างสรรค์ จุดอ่อนคือ วัฒนธรรมองค์กรมาจากราชการ กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเป็นช่วงอายุที่สูงกว่าเอกชนมาก ดังนั้นวิธีการแบบใหม่ มี Workshop 50 % จะประสบความสำเร็จแค่ไหน ?

3. มีรากที่ติดตัวมาในแต่ละท่านซึ่งมาจากหลายองค์กรค่อนข้างนาน หลายท่านใกล้เกษียณอายุแล้ว มีกลยุทธ์หรือวิธีอะไรที่จะถอนรากถอนโคนได้อย่างไร

ดร.จีระ ตอบ ถ้าจะตอบคำถามเรื่องความสำเร็จ คือต้องมีทฤษฎี 3 ต คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

กลุ่ม 6

1. ที่ฟังมาทั้ง 3 โต๊ะ แม้อยู่คนละสำนัก อยู่คนละโต๊ะ แต่ความคิดของเราไม่ค่อยแตกต่างกัน คือ วัฒนธรรมองค์กรยังเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ จริง ๆ แล้ว moment impact หลาย ๆ ตัวคือ Change ไม่อาจหลีกหนีหรือหลีกเลี่ยงได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยู่รวมกัน

2. จุดแข็งของหลักสูตร เนื้อหาแน่นมาก จากจุดแข็งของหลักสูตรจะแปลงเป็นจุดอ่อนด้วยในตัวคือ เนื้อหาที่เข้มข้นจะมีเวลาเพียงพอที่เราจะซึมซับมาได้ด้วยหรือเปล่า

3. อาจารย์จะทราบได้อย่างไรว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จแล้ว แล้วต้องใช้เวลานานขนาดไหนถึงทราบว่าโครงการนี้ได้บรรลุแล้ว

ดร.จีระ จะวัดความสำเร็จในทุก moment ที่อยู่ร่วมกัน มีอารมณ์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ต้องเป็นสงครามยืดเยื้อ อย่างน้อยใน 5 วัน ทุกคนเริ่ม Share ความคิดกัน และมี meaning project ควรมีความภูมิใจว่า Benchmark ของ กสทช. ดีกว่าหลายกระทรวงหลายที่ ที่อาจลึก แต่อาจลูกเล่นไม่เท่ากับ กสทช.

อยากให้กำลังใจ แล้วเก็บบรรยากาศแบบนี้ไว้

กลุ่ม 2

1. Inspiration แรกคือการทำงานเป็นทีม ทำให้เรากระตุกให้ตัวเองอย่าหยุดนิ่ง อาจารย์เป็นคนพูดตรงและกระตุ้นตลอดเวลา

2. จุดอ่อนคือหลักสูตรขาดการ link ในเรื่องต่าง ๆ ทำให้อาจมีปัญหาเรื่องการนำไปใช้ จุดแข็งคือ การเขียนหลักสูตรมีความเข้าใจใน กสทช. ดี และวิทยากรแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถ

3. ทำยังไงให้เรื่องการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติทำได้อย่างไร

ดร.จีระ เสนอให้ถามคำถามยากคืออนาคต กสทช.ใน 5และ 6 ปีต้องเจอความไม่แน่นอนอะไรบ้าง ? ต้องมียุทธศาสตร์ในการเอาชนะ ต้องเน้นการตั้งโจทย์ที่ไม่มีคำตอบแต่กระตุ้นความสามารถตัวเอง ต้อง re-inventing

เราสามารถยืดตัวเองได้ กสทช. และอาจารย์สามารถขึ้นได้ ถ้าชุดนี้เรียนเพิ่มอีก 3-4 ครั้งจะเห็นชัดว่าขึ้นได้

ความ Fear ทำให้เราต้องฟิต ถ้าไม่ฟิตจะอยู่ไม่ได้ จุดอ่อนของคนไทยคือ ชอบ แผ่ว จริง ๆ ความเก่งต้องเก่งตลอด แต่ส่วนใหญ่คนชอบเก่งแบบจุด ๆ

กลุ่ม 1

1. ตอนแรกเป็นเรื่อง Think change คือ คิดเปลี่ยน เนื้อหาหลักสูตรเหมาะกับสถานการณ์ในองค์กรเรา ในหนังสือมีความหลากหลายในตัว Communication

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้า กสทช. หลากหลายในการหาความรู้ แล้วจะรอด แต่ละคนควรจะข้ามศาสตร์ และ Know what going on ความรู้ต้องสด ต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา ต้องรู้กว้าง และลึก

ผู้นำในห้องนี้ถ้าจะมีจุดอ่อนคือความใส่ใจในสถานการณ์

ผู้นำคือคนที่ศรัทธาคุณ กสทช. ต้องเป็นกระบอกเสียง

เน้นเรื่อง Sharing มี Inspiration และพลัง

2. ผู้นำกับนักบริหารคิดยังไงบ้างที่เรื่องการคิดกับการ Change เกิดขึ้น

ด้านจุดแข็ง มองว่าการเปลี่ยนแปลงไม่น่ากลัวเท่าไหร่ แต่กลัวในเรื่องความขัดแย้งมากกว่า

ดร.จีระ เสริมว่า...โจทย์ Strategic Thinking + Change จะเข้าเรื่องผู้นำอ้อม ๆ แต่อยากพัฒนาก็ได้ อุปสรรคที่แท้จริงคือเรื่องคน ไม่ขาด แต่ขาดที่ทัศนคติของคน

Wisdom ,sustainability,creativity,trust พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 9) ทรงมีทุกเรื่อง

อนึ่งการวัดว่าความสำเร็จขององค์กรจะตายที่ความมองไม่เห็น ตัวอย่างของ กสทช. มีการสะสมเยอะ แต่การเรียบเรียงแบบ Chain Value หลังจากจบหลักสูตรนี้แล้วจะสร้างโซ่แห่งคุณค่าได้อย่างไร เพราะเราชอบทำแบบไซโล

3. เราจะก้าวข้ามการบริหารงานเชิงขัดแย้งอย่างไรบ้าง ปัญหานี้เป็นตั้งแต่ระดับชาติ และระดับองค์กร ตอนนี้เลยคำว่า Change มาแล้ว

ที่ไหนมีผลประโยชน์ ก็มี Conflict มากขึ้น ดังนั้น กสทช.ต้องทำตัวเป็นคนคอยปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ

กิตติศักดิ์ อนิวรรตน์

ความรู้ที่ได้รับในการบรรยายจากการเรียนกับ รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นั้น ทำให้ทราบถึงแนวการคิดเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีเหตุ มีผล ตลอดจนการคาดการณ์ถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดหา และการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฎิบัติงาน ภายในสำนักงาน กสทช.

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง 5 รูปแบบการคิดเชิงกลยุทธ์กับการทำงานของ สำนักงาน กสทช.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ วันที่ 23 มิถุนายน 2554

• ปัจจุบันเข้าสู่ยุคไม่เหมือนเดิม คือ เป็นแบบ Paradigm shift

• สมัยก่อนใช้ตา และหู เรียกว่าประสบการณ์ เป็นการบริหารจากประสบการณ์ ไม่ต้องเรียน อย่างโลกทัศน์ หรือ Mindset ของคนสมัยก่อนจึงเป็นแบบนั้น คำพูดที่คนออกมาคือ What? อะไร ? เป็นต้น แต่ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ที่Thomas Siegmund บอกว่า The world is flat

• ฉลาดแบบเก่า กลายเป็นโง่แบบใหม่ อย่างนี้เรียกว่า Paradigm Shift

• โลกเปลี่ยนเร็วมาก ความรู้ไม่ได้อยู่ในตัวปริญญาที่ได้

• ระวังโรค IOLO คือ รู้ทุกเรื่องเว้นเรื่องที่ควรรู้

• ถ้าจะชนะคนต้องเก่งคำนวณ และภาษา

• Competency ควรเป็น Strategist จึงจะรอด

• Paradigm Shift สรุปคือ ต้องการมนุษย์พันธ์ใหม่ใช้ตากับหูแค่ 10 % ให้สมอง 90 % เป็นพันธ์ที่ตรงกับโลกแบน เห็นการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เรียกพันธ์นี้ว่า Visionary – Thinker สามารถใช้สมองและกลั่นกรองข้อมูลได้

• รับเฉพาะข้อมูลและความรู้ที่สำคัญยังไม่รอดเนื่องจากข้อมูลสำคัญเยอะมาก เราต้องการมนุษย์ที่รับข้อมูลเฉพาะ ๆๆๆๆ ที่สำคัญ ใช้สมองตลอดเวลาตั้งแต่ Input และใช้สมองตลอดเวลา

• การใช้สมอง 1. เป็นแบบ Mechanic ไม่มีชีวิต ไม่ใช้สมอง เกิดจากการสอนแบบ Input ออกมาแบบ Output นักเรียนเครียด ไม่กล้าพูด กลัวพูดผิด ดังนั้นจึงเงียบตลอด ตรงกับโลกกลมพอดี คือ What? 2. ระบบ Organic แบบมีชีวิต ต้องใส่ปุ๋ยให้ดี จริง ๆ มนุษย์มีสมองแบบมีชีวิตแต่ระบบการศึกษาสอนให้โง่ ความจริงแล้ว หน้าที่ของมหาวิทยาลัยมีหน้าที่อย่างเดียวคือกระตุ้นให้เกิดความรู้ และสอนให้แสวงหาความรู้

• ปัจจุบันโลกแบน ดังนั้นการเรียนการสอนจึงต้องแสดงออกให้เป็น Why? และ How to?

• โลกแบน 1. Organic ใช้สมอง 2. Weight in Thinking ทุกอย่างมีน้ำหนัก บริหาร 20 %ให้ได้ผลลัพธ์ 80%

• Change วิเคราะห์ไม่ได้แต่ทุกอย่างเป็นสัญญาณในการวิเคราะห์อนาคตได้ สิ่งนั้นจึงเป็นที่มาของการเรียน Change Management

• Visionary มี 2 ความหมายคือ 1. มองอนาคตให้เจ๋ง 2. มองตัวเองให้เจ๋ง

• จุดอ่อนสามารถปรับเป็นจุดแข็งได้โดยการใฝ่หาความรู้ เพื่อพัฒนาให้ตัวเองรอด

• จงทำสิ่งที่เรามีพลังถึงสามารถทำให้สำเร็จได้ เรียกว่ามี Passion

• ในวันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่ต้องรู้จักใช้สมองในการคิด เช่นพวกเราต้องปรับกระบวนทัศน์ ต้องถามว่า How to? ต้องทำให้ลูกค้าพอใจ ต้องใช้กลยุทธ์ความแตกต่าง ต้องตอบว่าเปลี่ยนอย่างไร?

• Paradigm Shift คือปรับวิธีคิดแบบ Mechanic เป็น Organic , ปรับ What ? เป็น Why ? กับ How to ? ปรับการใช้ตากับหู เป็นการมองข้ามอนาคต ให้มองข้ามชอต ใช้ความฉลาดที่มีอยู่จะเห็นอนาคตในอีก 20 - 30 ปีข้างหน้า

• โลกมีการเปลี่ยนแปลง โลกมีการแข่งขันเยอะ

• Competency ของ อ.สมชาย คือ Predictive ทำให้สามารถทำนายอนาคตได้

• The future management บอกว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จ 33% มาจาก Passion จะนำไปสู่ความฉลาด มีพลังในการหาความรู้ตลอดเวลา

• องค์กรที่ประสบความสำเร็จ หัวต้องเก่ง มี Vision คนตามต้องตามได้

ถ้าคนจะรอดต้องเป็น DNA แบบ เต้นแทงโก้ได้ หมายความว่า ในวันนี้ต้องการคนในองค์กรปึ้งให้ทันกับจังหวะ คือ ต้องทันกับเจ้านาย เจ้านายต้องมีวิสัยทัศน์ บริษัทที่เจ้ง เพราะเจ้านายไม่มีวิสัยทัศน์

• คนที่จะปรับ Paradigm Shift ได้ต้อง เป็น Strategic Thinking

• คนฉลาดต้องมี 8 ประการสู่ Strategic Thinker 1.ต้องมี Visionary เห็นอะไรล่วงหน้า 2.คนต้องมี Weighted Thinker 3. ต้องมององค์รวม 4. Concept ต้องชัด 5.มี Innovative Thinking 6. ตรงประเด็น (Relevance) รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร เพราะมีอะไรใกล้กับลูกค้ามากที่สุด 8. มีวิญญาณของคู่แข่งตลอดเวลา

• Strategic Thinker ใช้สมองตลอดเวลา ไม่เชื่อใครง่าย ๆ เป็น Conceptual Thinker มี Weighted Thinker, Visionary เห็นอะไรล่วงหน้า วิเคราะห์อะไรได้เจ๋ง มองอะไรเป็นองค์รวม คือเห็นทุกระบบ ไม่ใช่ System Thinking มี Customer Value Thinking มี Blue Ocean ที่ประสบความสำเร็จ

• คนฉลาดจะเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เช่นทำไมบ้านไร่กาแฟถึงไม่ประสบความสำเร็จ หรือ อย่าทำนวดฝ่าเท้าในปั้ม เหมือนกัน ยังไง ? Why?

- การทำธุรกิจเป็นการมองจากมุมตัวเอง

- มีโอกาสเป็นลูกค้าคนเดียวกัน

- เวลาเดินไปทางต่างจังหวัดต้องการไปสู่เป้าหมายที่เร็ว แต่ทั้ง 2 ธุรกิจนี้มีความเหมือนกันคือเป็นการทำอาชีพที่โคตรช้า

• การมองจากผลประโยชน์ของตัวเองไม่แน่ใจว่าสังคมไทยจะไปแบบไหน จะสามารถนำสู่ความล่มสลายของประเทศไทย

• Paradigm shift – ให้มองข้ามไปในอนาคต,อย่ามองตนเอง ให้มองจากคนอื่นด้วย, อย่าเป็นโรค IOLO, รู้เขารู้เรา

• วิสัยทัศน์ในความหมายที่ 1 ทิศทางขององค์กรไปสู่อนาคต Concept ต้องชัด – ความสามารถในการมองอนาคตขององค์กรต้องเจ๋ง ทางรอดขององค์กรอยู่ที่คน แต่เป็นคนประเภทไหน?

ตัวอย่างเช่น เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปลี่ยนโรงแรมเป็น Hospitality เป็นต้น

หัวใจกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรคือ Visionary เป็นส่วนหนึ่งของ Strategic

Game Theory

1. ทุกอย่างมีสัญญาณ

อาจารย์สมชายเอาถังมาใบหนึ่งใส่ลูกกอล์ฟเต็มถัง ถามนักเรียนว่าเต็มยัง? นักเรียนบอกเต็มแล้ว อาจารย์บอกยัง แล้วก็ใส่ทรายให้เต็ม ถามนักเรียนว่าเต็มยัง? นักเรียนบอกเต็มแล้ว อาจารย์บอกยัง แล้วก็ใส่น้ำไปจนเต็มถัง? Case นี้สอนอะไร ?

คนเราต้องเรียนรู้ และมีลำดับความสำคัญ

1. ความรู้ไม่มีทางเต็ม หลังจากจบแล้วต้องหาความรู้เพิ่ม ๆ ๆ ระบบการศึกษาที่ดีต้องสอนให้คิดแบบนี้ หัวใจคือความรู้ไม่มีวันเต็ม ต้องหาอยู่เรื่อย ๆ

2. ความรักไม่มีวันเต็ม อยู่ด้วยกันเป็น Dynamic นับวันยิ่งรักมากขึ้น เต็มเมื่อไหร่อย่าขาดเมื่อนั้น ความสวยมองด้วยใจตลอดชีวิต

3. ลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นเราต้องใช้สมองตลอดเวลา

4. เวลามองเรื่องความสำคัญให้มองสองมุมคือมุมอ.สมชาย หรือมุมเรา ...

5. ในการวิเคราะห์อนาคต อย่ามองจากมุมตัวเอง...ทุกอย่างมีสัญญาณ เช่น อ.สมชายใส่กอล์ฟก่อน กอล์ฟจึงสำคัญในมุมมองอาจารย์

6. ต้องเรียนรู้ในการจับสัญญาณ เช่น ถนนในเมืองไทยมีเยอะมาก , รู้จักฟัง และสังเกต เช่นมีคนบ่นเรื่องห้องน้ำ เกิดห้องน้ำสะอาด, สังเกตุเห็นร้านอาหารเยอะแสดงว่าคนชอบกิน เกิด Jiffy ในปั๊ม เป็นต้น

2. น้ำหนักในใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

• มีคนตกงาน มีอาจารย์คนที่ 1 แนะนำให้มีอาชีพขอทาน ไปขอ ก็ได้เงิน ต่อมา อาจารย์คนที่ 2 แนะนำว่าชุมชนไหนมีคนเยอะ ให้ไปขอตรงนั้นเลย คนนี้ได้เลยได้เยอะขึ้น แต่คนไม่ชอบ อาจารย์คนที่ 3 บอกว่าอย่าไปขอแบบกดดันเขาให้ไปนั่งเฉย ๆ ปรากฎว่าได้น้อยลง อาจารย์คนที่ 4 บอกให้เขียนข้อความให้คนสงสาร เช่น Help me I’m blind ทำให้ได้เงินเยอะมากขึ้น อาจารย์คนที่ 5 บอกว่าให้เขียน The world is beautiful but I can’t see ทำให้คราวนี้ได้เงินเยอะมากขึ้น เลยอยู่ทั้ง 24 ชั่วโมง

• อยากถามว่า ทำไมข้อความเขียนเหมือนกัน สถานที่เดียวกัน บางช่วงบางเวลาให้เยอะ บางช่วงเวลาคนให้น้อย

ตอบ....กลางวัน,กลางคืน ,ฝนตก ,ฝนไม่ตก

• ต่อมาอาจารย์คนที่ 7 สอนว่าทำไมบางครั้งขายดี บางครั้งขายไม่ดี ให้อธิบายถึงสิ่งที่เหมือนกันบนความแตกต่าง อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จ อะไรคือตัวกำหนด ถ้าจะเห็นคือจุดเริ่มต้นต่อการใช้ชั่วนิรันดร์ คือให้รู้จักมองสิ่งเหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

• ความแตกต่างที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ขอให้ค้นพบลูกกอล์ฟของคนที่จะให้เงินคุณได้ อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้ตัดสินใจให้หรือไม่ให้

• Key Success Factor คือความสงสาร ยิ่งสิ่งที่เห็นกับสิ่งที่รู้สึกแตกต่างมาก ยิ่งมีความสงสารมาก

คนบางคนไม่เขียนก็จะไม่รู้สึก เป็นต้น สังเกตได้ว่า ความสงสารได้มาจาก Contrast

ความเคยชินทำให้เกิด law of diminishing return จึงต้องควรมีการเปลี่ยนมุข หาที่ใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ดังนั้นการประสบความสำเร็จ ต้องเข้าใจ Key Success Factor

1. ทุกอย่างมีสัญญาณ

2. น้ำหนักในใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน

3. อย่ามองแต่มุมตัวเอง

4. การวิเคราะห์ตำแหน่งทางการตลาดใครใกล้ความต้องการลูกค้ามากสุดชนะ

3.ในการวิเคราะห์พฤติกรรมคนอื่น

• เอาเฉพาะปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของคน ๆ นั้น ปัจจัยภายนอกจะเป็นตัวกำหนดทางเลือก ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในคืออุปนิสัย แล้วเราจะได้คำตอบว่าควรทำอย่างไร ว่าแต่ละทางเลือกมีความเป็นไปได้อย่างไร ?

• เช่น ในห้องเรียน สภาพแวดล้อมภายนอก คือ ห้องนี้ คุณ เวลาที่สอนอยู่ แล้วมาวิเคราะห์ไปได้

• สมมุติว่า อาจารย์สมชาย เปิดประตูออกไปในรอบ 2 ถามว่ามีโอกาสไปไหนได้บ้าง ลองคิด.......เช่นไป ห้องน้ำ กลับบ้าน โทรศัพท์ กินน้ำ กินข้าว เอาเอกสาร สูบบุหรี่ คลายเครียด ผายลม นัดคนไว้ แล้วลองวิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่คน ๆ นั้นจะทำสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด ทุกอย่างมีสัญญาณ และสามารถทำนายได้ แต่ต้องใช้สมองในการวิเคราะห์ อดีตจะบอกอนาคต แต่ต้องใช้สมองถึงบอกได้

5. การวิเคราะห์ตำแหน่งของทางการตลาด ใกล้ที่สุดชนะแล้ว ให้เข้าไปสู่ตำแหน่งทางใจเขา ทุกอย่างมีสัญญาณ ความสำเร็จในการบริหารจัดการอย่ามองจากมุมตัวเองให้มองจากมุมเขา ให้ใกล้กับเขามากกว่าคนอื่น ๆ ลองวิเคราะห์คน ๆ หนึ่ง แล้วจะรู้ว่าคน ๆ นั้นให้น้ำหนักกับอะไรมากที่สุดตามลำดับความสำคัญ ?

นายมาโนชญ์ จารุสมบัติ

ได้เรียนรู้จากอาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในรูปแบบและแนวทางการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การเป็น Strategic Thinker ทำให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาหน่วยงานของ สำนักงาน กสทช. ที่ทำหน้าที่การวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์อนาคต โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Visualization Management ใน War Room สำหรับผู้บริหาร เพื่อกำหนดนโยบายเชิงรับ เชิงรุกในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ได้เรียนรู้กับอาจารย์สมชาย ในเรื่อง 5 รูปแบบการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์ องค์ความรู้ที่ได้ จะนำไปจุดประกายความคิด สร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหารจัดการในด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาแผนกลยุทธ์ สำหรับศูนย์ Call Center 1200 สำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็น Contact Point ที่สำคัญของหน่วยงานในการให้บริการข้อมูลข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เป็นเรื่องเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม สร้างการแตกแยกในสังคม ทำให้ย้อนไปถึงแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Hotel Rwanda (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/hotelrwanda/rwanda.html) ซึ่งเกิดจากการสร้างสถานการณ์ทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคมในประเทศรวันด้า ส่วนหนึ่งอันเนื่องมาจากสื่อวิทยุ และขอเชื่อมโยงไปถึงวิทยุชุมชนบ้านเรา ที่ส่วนหนึ่งเป็นสื่อที่สร้างความแตกแยกของคนในสังคม ต่อยอดไปถึงสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อ พ.ค. 53 ที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อนำร่องการสนับสนุนการกำกับดูแลทางด้านกิจการโทรทัศน์ ซึ่งได้มีภาคเอกชนได้พัฒนาไว้แล้วที่ http://www.me.in.th โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแสวงหาพยานหลักฐานจากการตรวจสอบรายการTV ย้อนหลังได้ (TV On Demand) และไม่เป็นการผลักภาระให้ผู้ร้องเรียน ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนโดยใช้สื่อ Web Site และSocial Network สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ และให้ภาคประชาชนเป็นผู้ Vote Like/Un Like ในรายการ TV ดังกล่าวพร้อมกับแจ้งให้ทราบถึงสิ่งที่ขัดต่อกฎ ระเบียบดังกล่าว

ทั้งนี้ ความคิดดังกล่าวเป็นการพัฒนาการตอบสนองต่อปัญหา ปรับภาพลักษณ์ของ กสทช.ในการให้บริการประชาชน โดยใช้การคิดแบบปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และคิดแบบนอกกรอบ (Creative Thinking) ซึ่งจะเป็นการนำไปปฏิบัติได้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยปฏิบัติ ซึ่งเป็นหน่วยใน Tier ที่ 2 ที่รับงานจากศูนย์ Call Center 1200 และได้ต้องรับความเห็นชอบจากผู้บริหารต่อไป

นายจิตต์ศักดิ์ ผาสุกจิตธรรม

การได้ฟังอาจารย์สมชายฯบรรยาย เรื่อง 5 รูปแบบการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์ ทำให้ทราบว่าคนที่เก่งจริงและประสบความสำเร็จจริงๆ ท่านมีหลักคิดและวิธีการคิดการพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์อย่างไร ทำให้มีเข้าใจอย่างแท้จริงมากขึ้น และสามารถนำแนวคิดไปปรับใช้ในการหากลยุทธ์ให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในการทำงานที่สำนักงาน กสทช.และงานส่วนตัว

วิจิตรา พลับประสิทธิ์

การเรียนกับอาจารย์สมชายได้ประโยชน์ในการนำมาปรับใช้ในการทำงานคือ สอนให้เราคิดเป็นระบบและมีเหตุผล ให้น้ำหนักกับสิ่งสาระสำคัญและตรงประเด็น มองเป็นองค์รวมโดยสังเกตุจาสัญญานบางอย่าง รวมทั้งได้สอนให้เราทำงานโดยมองข้ามไปในอนาคตว่าเหตุการณ์และสิงแวดล้อมที่เป็นอยู่ หากเราเป็นคนช่างคิดอย่างมีเหตุผล เราสามารถคาดการณ์ได้ค่อนข้างถูกต้องว่าอไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้หากบุคลากรของสำนักงาน กสทช. สามารถคิดย่างเป็นกลยุทธ์จะทำให้สำนักงาน กสทช. ได้รับการเชื่อถือ และทำประโยชน์ให้กับผู้ใช้บริการ (ประชาชน) และประเทศชาติอย่างแท้จริง

นายพงษ์ศักดิ์ ทรัพยาคม

อาจารย์สมชายฯ ท่านได้สอนให้เรู้จักคิดอย่างมีหลักกการ รู้จักการสังเกต(ทุกสิ่งมีสัญญาณ) รู้จักเลือกรับรู้ในสิ่งที่ควรรู้ และรู้จักการคาดการณ์โดยอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ดีมีที่มาน่าเชื่อถือ ซึ่งต่อไปนี้ ก็จะนำเอาหลักการที่อาจารย์สอนไว้มาประยุกต์ใช้ในการค้นหาสัญญาณที่สำคัญแล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบการคาดการณ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อประกอบการวางแผนในการจัดการกับการทำงานให้สำเร็จลุล่วงต่อไป

สิ่งที่ได้รับจากการอบรม :

ปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง ผู้ที่อยู่รอดได้มีต้องความคิดในลักษณะ Strategic Thinking มีการปรับทัศนคติ (Paradigm Shift) ในการคิดในการทำงาน ต้องคาดการณ์อนาคตขององค์กรล่วงหน้า และมองอนาคตตัวเองให้ได้ และที่สำคัญจะต้องมีความสามารถในการมองหรือคาดการณ์อนาคตด้วย

สิ่งที่นำมาใช้ในองค์กร :

สำนักงาน กสทช. อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง บทบาทหน้าที่ขององค์กรเพิ่มขึ้น ผู้มีส่วนได้เสียมีหลายกลุ่ม การจะตั้งรับหรือจัดการกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มได้นั้น จะต้องศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมและความสนใจของแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนก่อน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงประเด็น ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. จะต้องให้ความสนใจและความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม เพื่อมิให้เกิดการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกินไป ที่สำคัญจะต้องให้ความสนใจต่อสังคมส่วนรวมเพื่อให้สังคมและประเทศชาติอยู่รอดได้

สำนักงาน กสทช. เพิ่งปรับเปลี่ยนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ทำให้มีภารกิจเพิ่มขึ้นมาอีก ดังนั้น Strategic Thinker นับว่ามีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้ ทำให้ต้องมีการคิด วิธีการ การคาดเดาในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งต้องคิดในองค์รวมและต้องมีความชัดเจน พร้อมทั้งต้องคิดในเชิงนวัตกรรมและสิ่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความพอใจของผู้ที่มาใช้บริการ

ดวงเดือน เสวตสมบูรณ์

หลักสูตรพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่ดีประกอบกับอาจารย์ผู้สอนก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย แต่เนื่องจากกำหนดการที่จัดเตรียมไว้ อาจะมีความกระชับมากไป ทำให้การถ่ายทอดต้องกระชับตามไปด้วย สำหรับสิ่งที่อาจารย์จิระ และอาจารย์สมชายได้ถ่ายทอดทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิด รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดีจากการพิจารณากำหนดการเห็นว่ามีการทำ Work Shop หลายวิชา ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้ารับการอบรมอาจจะได้รับความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอนได้ไม่เต็มที ดังนั้นหากลดการทำ Work Shop ลงบ้าง ก็จะทำให้วิทยากรมีเวลาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

ถึงทุกๆคน (กสทช.)

  1. ผมประทับใจการแสดงความเห็นเมื่อวาน ดีมาก
  2. ขอให้ใช้ศึกษาแบบของตัวเองให้สูงสุด
  3. ควรจะทำงาน 1 ในทีม
  4. ฐานของท่านคือประชาชน
  5. สร้างแบรนด์ให้ดี

สิ่งที่ได้รับจาก course ของ ดร.สมชาย คือการรู้จักเป็น strategist ความสามารถในด้าน predictive การวิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ การวิเคราะห์แบบนึกถึงความรู้สึก ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก (put yourself in your customers' shoes) ความสำคัญของ sign and signal การช่างสังเกต หา common ground จากสิ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของ กสทช ได้เป็นอย่างดี

สิทธิโชค สื่อประสาร

สิ่งที่ได้รับความรู้จาก ดร.สมชาย คือได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่คิดอย่างเป็นระบบ การคาดการณ์ถึงความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผลภายใต้ปัจจัยสิ่งต่างๆ หรือข้อมูลที่มีอยู่ การพิจารณารู้จักให้น้ำหนักและจัดลำดับความสำคัญทางความคิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติงานในสำนักงาน กสทช.อย่างดี โดยที่จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ถึงการให้ความสำคัญต่องานแต่ละภารกิจ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการทำงานนั้นๆ

อาจารย์สมชาย ถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างดีมาก มีวิธีการสอนที่น่าประทับใจทำให้เกิดแนวคิดในการปรับกระบวนทัศน์ ปรับวิธีคิด คิดอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ เป็นลำดับชั้น มององค์กรในภาพรวม ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการทำงาน ทำให้สามารถหาวิธีทางและเหตุผลที่จะทำให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จได้

ศิริพร กิตติดุษฎีกุล

จากการฟังบรรยายของ รศ.ดร.สมชายฯ ทำให้ทราบว่าไม่ควรตัดสินใจในเรื่องใด ๆ จากการมองด้วยตา หรือฟัง เพราะเป็นเพียงการใช้ประสบการณ์ในการตัดสินใจเท่านั้น ควรใช้ Organize คือการใช้สมอง การคิดอย่างมีระบบ คิดเชื่อมโยงในการตัดสินใจข และอย่าใช้มุมมองของตนเองในการตัดสินใจ ต้องคิดโดยใช้มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการตัดสินใจและต้องคิดอย่างมีเหตุผล มองเป็นระบบ สำหรับการนำไปปรับใช้ในสำนำงาน กสทช. เนื่องจากข้าพเจ้าปฏิบัติงานด้านการกลั่นกรองงานที่สำนักต่าง ๆ นำเสนอ เลขาธิการ กสทช. ข้าพเจ้าคิดว่าความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์จะทำให้ข้าพเจ้าสามารถวิเคราะห์งานที่นำเสนอได้อย่างมีระบบและเชื่อมโยง เพราะงานของสำนักงาน กสทช. มีระเบียบ รวมทั้งมติของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและต้องนำมาเชื่อมโยงบูรณาการจำนวนมาก ทำให้เราแนวคิดในการบูรณาการเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

อิสสะรี ฉัตรโชติกวงศ์

บทเรียนจาก ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การนำบทเรียนหรือบริบทต่าง ๆ ที่เรียนรู้ สามารถนำ Game Theory ไปใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งตั้งใจไว้ว่า หนังสือที่อาจารย์แนะนำ 5 เล่ม มีอยู่ที่บ้านเรียบร้อยแล้ว ต้องไล่ล่าอ่านเพื่อให้เกิด Systematic Thinking

สมบัติ ธรรมะธารีย์

เราได้อะไรจากการเรียนรู้จาก อ.สมชาย เพื่อไปปรับสใช้ในสำนักงาน กสทช.

- จากการที่กระผมได้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของสำนักงาน กสทช. หลักสูตรพัฒนาความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลง ทำให้ได้การเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากการรับรู้แบบ mechanic การรับรู้จากสายตาคือได้เห็น เวลาการรับรู้ด้วยหูโดยการได้ยิน เป็นการรับรู้โดย Organic รับรู้โดยใช้สมองหรือคิดแตกต่างออกไปจากเพื่อนร่วมเข้าอบรม

- Weight thinking ทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่างที่เป็นข้อมูลในการตัดสินใจต้องมีน้ำหนัก ข้อมูลต้องชัดเจน

- Holistic การมองหรือการคิดแก้ไขปัญหามองที่องค์รวม

- การมองหรือให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น เห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ไม่เห็นแก่พวกพ้อง ไม่เห็นแก่ค่าตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ

- สุดท้ายผู้บริหารหรือผู้นำต้องมีคุณธรรม จริยธรรมที่จะทำให้องค์กรยั่งยืน

- ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงจากสำนักงาน กทช.เปลี่ยนเป็นสำนักงาน กสทช. จำต้องทำให้คนในองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ Knowledge Organization พนักงานต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ตลอดทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้าน IT นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือ Financial เพื่อให้ทันกับโลกยุค Globalization

Panel Discussion & Workshop หัวข้อ Creative Thinking กับการทำงานของ สำนักงาน กสทช.             

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  

 

                                  

ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ผู้นำจะต้องมีความคิดในเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบ ต้องสร้างความแตกต่าง ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และต้องสามารถคาการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ในการวิเคราะห์นั้นต้องคิดจากมุมมองของผู้อื่น แล้วพยายามจับสัญญาณ (Sign) ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

Panel Discussion & Workshop หัวข้อ Creative Thinking กับการทำงานของสำนักงานกสทช. ในวันที่ 24 มิถุนายน 2554

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • เทคโนโลยีช่วยในการเรียนรู้มาก ผมไปดูนก เช่น นกแต้วแร้วแดงมลายูซึ่งอยู่ในมาเลเซียและถ่ายรูปนก นำไปแบ่งปันบนเว็บไซต์และเฟซบุ๊ค สมัยก่อนที่จะไปดูนกชนิดนี้ ต้องไปหางานวิจัยนกซึ่งมีในมาเลเซีย แต่ปัจจุบันนี้ ก็หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ ผมไปติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมจากสมาคมนักดูนกมาเลเซีย
  • ควรขับเคลื่อนชีวิตด้วยความสุขซึ่งมาจากกรรมดี ถ้าเราทำงานด้วยความสุขมันก็จะไม่เป็นแค่หน้าที่
  • การพบคนใหม่ๆ และทำดีกับเขาก่อน Care & Share ก็จะทำให้เจอสิ่งที่ดีในชีวิต
  • Care & Share เป็นตัวขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์
  • ต้องทำตัวเป็นแก้วน้ำที่ไม่เคยเต็ม เรียนรู้ตลอดเวลา
  • Positive Thinking การคิดบวกสำคัญ เริ่มต้นจากการยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่คิดว่าตนเก่งกว่าใคร
  • ความรู้มีอยู่แล้ว แต่เราจะนำมันมาร้อยเรียงใช้อย่างไร
  • ไอน์สไตน์บอกว่า ความรู้ limit มนุษย์แต่จินตนาการไม่ limit มนุษย์
  • ในหลวงทรงเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
  • ผมเคยถวายงานในหลวงโครงการหญ้าแฝก เกิดสิทธิบัตรหน้าแฝก 30-40 รายการ แต่ในหลวงตรัสว่า ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือการรักษาหน้าดิน จุดนี้เปลี่ยนชีวิตผมซึ่งเคยตั้งเป้าหมายแล้วพุ่งชน เป็นตั้งประสงค์ เช่น มีชีวิตเพื่ออะไร คือเพื่อทำประโยชน์ให้ส่วนรวม
  • เรารับราชการเพื่ออะไร
  • ถ้าเราคิด ทำและใช้ชีวิตอย่างเป็นกลยุทธ์ เราก็จะมี Roadmap ว่าอายุเท่านี้เราจะทำอะไร
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวกับกสทช.โดยตรง ท่านต้องทำงานเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงแข่งขันให้กับประเทศโดยตรง
  • ตอนนี้ ประเทศไทยแพ้แล้วในโลก Physical เพราะค่าแรงประเทศอื่นถูกกว่า สมัยก่อนเราเคยขับเคลื่อนด้วยแรงงานราคาถูก (Labor Intensive)
  • ประเทศไทยควรสอนวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ คนที่จะทำเซรามิค ควรจะเรียนประวัติศาสตร์เซรามิค
  • ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมเซรามิคระดับ Industrial Park ตั้งแต่ยุคศรีสัชนาลัย แต่สูญหายไปเมื่อจีนสงบ ตอนนี้ จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย อุตสาหกรรมเซรามิคลำปางตาย
  • ผมทำวิจัยแผนแม่บทอุตสาหกรรมเซรามิคและเครื่องแก้ว เราแนะนำให้แข่งขันด้วยความคิดสร้างสรรค์ เน้น Design ควรประกาศว่านอกจากลำปางจะเป็น Ceramic City แล้วยังเป็น Wireless City นักออกแบบนั่งอยู่บ้านทำงานโดยใช้เทคโนโลยี
  • หัวใจของความคิดสร้างสรรค์คือ Connecting
  • บริษัทผมทำ Virtual Ward นำไอทีมาจัดการบุคลากรทางการแพทย์ ติด RFID เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อค้นหาเครื่องมือให้ได้ ติดกล้องไว้ที่โรงแรมที่ไม่ไกลจากโรงพยาบาล ติด tag ที่คนไข้ จะได้นำอุปกรณ์ไปเหมาะสมกับโรค ทำให้มีโอกาสรอดสูง
  • ถ้าเรารู้ว่าทำงานเพื่ออะไร เราก็จะเริ่มคิดสร้างสรรค์ แล้วกำหนดเวลา เช่นในปี 2015 เราจะเปิดเสรีอาเซียน เราต้องพร้อมแข่งขัน
  • ตอนนี้ เป็นยุคสหวิทยาการ นำความรู้หลายสาขามารวมกัน
  • ตอนนี้ ใครเร็ว ก็ชนะ (Economy of Speed)
  • ตอนนี้ คนจ่ายเงินเพื่อ Emotional Value เช่น iPhone iPAD สินค้าปัจจุบันต้องสร้างความสุขทางใจ Emotional Value
  • Li&Fong Hong Kong เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีที่ท่าเรือ
  • สิงคโปร์ใช้เทคโนโลยีระบุแหล่งที่มาสินค้าโดยติด Tag
  • เทคโนโลยีเน้นสำคัญและเร่งด่วน
  • ตอนนี้ ปลูกข้าวบนเฟซบุ๊คได้ โดยให้คนจองซื้อข้าวเข้ามา
  • ตอนนี้ Value ของคนคือ ต้องการ Craftsmanship สินค้าหัตถกรรมที่เอกลักษณ์เฉพาะ แล้วขายผ่านอินเตอร์เน็ต
  • หลายฝ่ายมาช่วยกันแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้นักออกแบบออกแบบหัตถกรรมชนเผ่าซูลูให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า
  • หมู่บ้านแม่กำปองเดิมไม่มีไฟฟ้าใช้ ป่าไม้ถูกทำลาย ตอนนี้ มีป่าอุดมสมบูรณ์และขายไฟฟ้าคืนให้กับกฟผ. หมู่บ้านนี้ปรากฏตัวบนโลกไซเบอร์ มี 6 สหกรณ์ มีโฮมสเตย์ นี่เกิดจากกฟผ.นำเครื่องปั่นไฟมาให้ทำให้เกิดการรักษาป่าเพื่อให้มีน้ำปั่นไฟฟ้า
  • ตอนนี้กสทช.อยู่ในยุค Post-Modern ต้องปลดกุญแจจากยุค Modern วิชาเดี่ยวๆที่หมดไปแล้ว ต้องเป็นสหวิทยาการ
  • ควรถาม Why to connect? ทำไมเกษตรกรและประชาชนต้อง connect technology นี่คือ Strategic Thinking
  • ตอนนี้มีเทคโนโลยีแล้ว แต่ยังไม่ connect
  • เราต้องยึดมั่นความพอเพียง เติมให้พอดี อุตสาหกรรมเกษตรยังไม่พอเพียง
  • ถ้าเราต้องการทราบความเป็นมาของสิ่งใด ก็ใช้ iPhone หาได้
  • คนไทยเก่งการสร้างเนื้อหาแต่ขาด connect
  • คนไทยขาด learning of the self การเรียนรู้ความเป็นตัวตน เช่น แต่งตัวแบบนี้เพราะอะไร ตอนนี้ก็หาได้จากเฟซบุ๊ค

 

ให้ข้อเสนอแนะโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ผมบอกว่านี่คือ ธุรกิจ Sunrise คือ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อประชาชนและรายได้มหาศาล
  • ปีนี้เป็นปีแรกที่กระทรวงพาณิชย์มีแผน Micro ซึ่งผมเป็นประธานอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ จะมีการตั้งสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ
  • Input ของท่านต้องอยู่ในทุก Sector
  • ถ้ามีความรู้ แต่ไม่มีวิธีการเรียนรู้ ก็ไม่เกิดประโยชน์
  • อยากให้วาดภาพบทบาทกสทช.ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การแข่งขันเป็นอย่างไร ในอีก 10-15 ปี
  • ต้องดู Demand side ให้มากหน่อย
  • ตอนนี้ กสทช. มอง Ultimate benefit น้อยหน่อย
  • เรื่องที่จะสำคัญในอนาคตคือ Value-added Agriculture ท่องเที่ยว health care
  • ในอนาคต ประเทศไทยจะพึ่งพาแรงงานต่างด้าวมหาศาล
  • ต้องถามว่าตั้งกสทช. เพื่ออะไร

 

ช่วงถาม-ตอบ แสดงความคิดเห็น

 

กลุ่ม 1

  • เรากังวลภาพใหญ่เชิงนโยบายรัฐบาลกับความสัมพันธ์กับกสทช.
  • กสทช. เราอิสระทำงานด้านกำกับดูแลแต่ต้องทำภายใต้นโยบายรัฐบาลพัฒนาไอที ที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดนโยบายนี้น้อยมาก
  • นายกอภิสิทธิ์ถามว่าจะตัดอำนาจในการกำหนดนโยบายกสทช.ได้อย่างไร ซึ่งมันผิด เพราะรัฐบาลยังไม่สามารถแยกได้ มันขีดเส้นแบ่งกันอย่างไร
  • เราไม่ได้เข้าไปร่วมกับสภาพัฒน์อย่างจริงจัง ต้องมองข้อมูลกำกับดูแลด้วย และมองความคิดด้าน Regulator ด้วย
  • นโยบายแห่งชาติมันทับซ้อนกสทช. เรื่อง Universal service ของเราเป็นของ Regulator
  • รัฐบาลจะทำโครงข่ายบรอดแบรนด์แห่งชาติ แต่ซึ่งใช่เงินกองทุนกสทช.ซึ่งก็ไม่มี
  • จะทำอย่างไรดี

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • การเมืองไม่ให้ความสำคัญประสานงาน
  • ทำไมเรามี NGOs ด้านสิ่งแวดล้อม กสทช.จะสร้างเครือข่ายแนวร่วมด้านไอทีไปล้อมกรอบรัฐบาลได้ไหมเพราะรัฐบาลกลัวประชาชน นี่คือจิตอาสาทำให้สามารถอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป
  • กสทช.ควรทำโครงการ CSR แบบบ้านแม่กำปอง แล้วชุมชนก็จะรักกสทช.มาช่วยล้อมกรอบรัฐบาล นำไปสู่ประชาพิจารณ์อย่างแท้จริง

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้ามีช่องว่างก็เข้าไปเลย คิดโครงการประชาสังคม อาจทำวิจัย ทำให้มีประโยชน์ต่อประชาชน
  • กสทช.ต้องมี Stakeholder ให้กว้างขึ้น ทำตัวให้มีประโยชน์
  • ต้อง Networking ให้เป็น

 

กลุ่ม 2

  • ในประเทศไทยมีองค์กรด้านไอซีทีมากและแผนมาก แต่ Ranking ตกลงเรื่อยๆ ทำอย่างไรให้แผนนำไปใช้ได้จริง ส่วนใหญ่มักเป็นแค่ประชาสัมพันธ์มากกว่า

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • นี่คือข้อเท็จจริง
  • คนใช้คำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบบผิดพลาด ขาดความเข้าใจ
  • Stakeholder เช่น คนทำงานจริง ผู้ประกอบการ นักศึกษา นักท่องเที่ยว ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมอย่างยิ่ง อย่าเอาซิป้ามาอย่างเดียว เพราะจะไม่ได้ประโยชน์
  • เมื่อ Stakeholder มีส่วนร่วม ก็จะปฏิบัติได้จริง

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าจะ Link กับสภาพัฒน์ ผมก็จะช่วย ควรจะให้เลขาทำจดหมายไปถึงเลขาธิการสภาพัฒน์
  • ในการตั้งคณะกรรมการ ถ้าตั้งตามตำแหน่งผู้นำในองค์กร ก็ไม่สำเร็จ เพราะ Expertise ไม่พอ
  • ควรมีคณะกรรมการที่เอาชนะอุปสรรค เจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้มแข็ง
  • ผมขอรับหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการ Strategic IT ทำโครงการแล้วไปสู่ Stakeholder
  • ควรเชิญสื่อมวลชนมาร่วม

 

กลุ่ม 3

  • อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์ อยากให้ยกตัวอย่างความไม่ดีของไอที
  • ช่วงนี้ เราส่งเสริมการใช้ไอที จะมี Excessive use of IT
  • อยากให้พูดถึงความล้มเหลวและลดลงได้

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • ผมเป็นห่วงเด็กๆไปดูแล้วเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์จากไอที
  • ตัวเนื้อหาถ้าไม่เหมาะกับบริบทเวลานั้น กระบวนการเผยแพร่ก็จะถูกตัดเอง
  • อยากหา NGOs มาพูดเรื่องนี้ว่า ถ้ามีเสรีภาพในการใช้ก็ควรจะมีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • เมื่อก่อนผู้ประกอบการของแต่งบ้าน คิดออกแบบเอง นำไปขายต่างประเทศ ขายไม่ได้
  • ผมส่งแบบไปให้ลูกค้าให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงให้ทันเวลา ทำให้นำไปขายได้หมด
  • ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ถ้า connect ได้หมด ก็ไม่ต้องมีงาน Fair

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าเราคิดเรื่องนี้ ต้องคิดลึก จะปิดไปเลยก็ไม่ได้ เพราะมันต้องปิดทั้งระบบ
  • ถ้ามีเสรีภาพแล้วก็ต้องใช้ให้เป็น ควรใช้ภาษาอังกฤษในการหาข้อมูล เพราะข้อมูลดีๆมีในภาษาอื่นอีกมาก กสทช.ควรจะแนะนำในการหาข้อมูลเป็นภาษาต่างประเทศ

 

กลุ่ม 4

  • เราในฐานะ Regulator ด้านการสื่อสาร ทรัพยากรมีภารกิจในตัว ทำอย่างไรจะจัดสรรทรัพยากรไปสู่สังคมและเป็นประโยชน์มากขึ้น จะเชื่อมโยงกับ stakeholder ให้อยู่ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างไร

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เราไม่ควรไปทำซ้ำรอยองค์กรที่มีการคอรัปชั่น ต้องค้นหาว่ามีเป้าหมายอะไร ถ้าเกิดมาเพื่อทำเพื่อส่วนรวม ก็จะมีคุณค่าต่อไป
  • ควรถามตนเองว่าค่านิยมของคุณอยู่ที่ไหน
  • กสทช.ต้องคิดเป็นยุทธศาสตร์ คิดสร้างสรรค์ มีเทคโนโลยีแล้วต้องใฝ่รู้ ข้ามศาสตร์ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
  • อยากให้ช่วยกันหาช่องว่างแลว Maximize benefit
  • ถ้าทำแล้ว สังคมยังไม่ยอมรับต้องหาคนมาช่วย
  • ต้องหา NGOs ที่มีความพอดีมาช่วย ไม่รับเงินคนอื่นมา

 

กลุ่ม 5

  • การสร้าง Network ต้องใช้เงิน จะหาจากที่ไหน

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • ต้องมีกระบวนการคิด และการนำเสนอ
  • ควรขอรายได้จากทุก Sector แห่งละ 5% มาเป็นต้นทุนไอที ถือเป็นการลงทุนแทน
  • งบประมาณมี แต่เราคิดเป็นด้านรายจ่าย
  • ควรมีแนวร่วมกสทช.มาช่วยกดดันนักการเมือง
  • อย่าท้อแท้ ต้องค่อยๆ เปลี่ยนความคิดของคน ค่อยๆล้อมนักการเมือง
  • อาจจะทำ White Revolution ใช้ไอทีเป็นอาวุธ มีหลายวิธีที่จะทำแต่ต้องช่วยกัน
  • เวลา Ranking ประเทศ ของ WEF ด้านไอทีไทยตกลงเรื่อยๆ ควรนำเอกสารนี้เป็นวิจัยกสทช. ค้นหาว่าผู้ประกอบการไทยลงทุนด้านไอทีเท่าไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรมี Positive Thinking อย่ามองทุกอย่างหมดสภาพ
  • เราเป็น Change Agent ตัวเล็กๆ อย่ามองตัวเป็นผู้ยอมแพ้
  • ทุกอย่าง ไอทีช่วยมาก
  • พวกคุณมีอำนาจมาก คุณควรมีสื่อทางเลือก Social Media แม้ไม่มีเป็นของตนเอง ก็แอบใช้ของคนอื่น
  • ต้องรู้จักหาช่องทาง ต้องพึ่งตนเอง คุณมีสมอง มีอำนาจ มีกฎหมาย น่าจะทำได้

 

กลุ่ม 6

  • พ.ร.บ. การกระทำความผิดในด้านคอมพิวเตอร์ ที่ร่างใหม่ รวมถึงการที่คุณดาวน์โหลดมาก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการปิดกั้นความรู้ แต่คนทำผิดไปใช้ Server ต่างประเทศ มีความเห็นอย่างไร

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • มันสำคัญที่ต้องมีสำนึก
  • การปลูกฝังแนวคิดที่ดีให้เป็นสำนึกดีกว่ากฎหมาย แต่กฎหมายก็ต้องใช้ด้วย
  • ผมก็ทำแล้วในเฟซบุ๊ค ถ้าใคร Add ผมแล้วพูดไม่สุภาพ ไม่มีความสุข ผมก็ลบเขา เป็นการตัดขาดเขาจากสังคมออนไลน์
  • มหาวิทยาลัยชิคาโกศึกษาเรื่อง New media
  • กสทช. ควรให้ทุนทำวิจัย พหุวัฒนธรรมบนโลกไซเบอร์

ประธานรุ่นคือ นายพากเพียร สุนทรสิต ผู้อำนวยการสำนัก (บ 2) สำนักการบริการอย่างทั่วถึง (ทถ.)

วิสัยทัศน์

จะเป็นตัวเชื่อมโยงกับอาจารย์พัฒนาไปข้างหน้า

รองประธานรุ่นคือ

1.นางสาววัจนา ชื่นทองคำ ผู้อำนวยการสำนัก (บ 2) สำนักองค์การระหว่างประเทศ (กร.)

2.นางสาวรุ้งตะวัน จินดาวัลย์ ผู้บริหารระดับต้น (บ 3) สำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา (พต.)

อรณา ฉันตระกูลโชติ

ท่านได้เรียนรู้อะไรจากอ.สมชายเรื่องปรับใช้กับ กสทช. -สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาความคิดแบบกลยุทธ์ -จัดระดับความคิดของตนเอง มีการปรับกระบวทัศน์ความคิด ทำเป็นระบบแบบองค์รวม ทำให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย -ให้รู้จักศึกษาสิ่งใหม่ ๆ ไม่หยุดนิ่ง ช่างสังเกต มองไปข้างหน้า มองคนอื่นเป็นหลัก มีความคิดที่สร้างสรรและแบ่งปันความคิด

มณีร้ตน์ กำจรกิจการ

วันนี้ได้เรียนกับ อ.ณรงค์ฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับ อ.mark ในเรื่องของงานที่ทำอยู่ด้านการดูแลกลุ่มกิจการกระจายเสียง (วิทยุชุมชน) ที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลมาโดยตลอดโดยเฉพะาในสถานการณ์ที่ผ่านมาของประเทศว่า "สื่่อ" คือ เครื่องมือที่ดี ชั้นเยี่ยมในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนในโลกปัจจุบัน ว่า why ถึงมีการใช้สื่อไปแบบนี้ในประเทศ why คนในประเทศแต่ละคน แต่ละกลุ่มถึงชื่นชอบ ชื่นชมในการชมสื่อ และสุดท้ายจึงได้คำตอบทีจะเป็นแนวทางว่า WHY เราไม่ดำเนินการแบบนั้นบ้างหล่ะ อย่าดึงดันที่จะแก้ไขในสิ่งที่แก้ไม่ได้ ควรคิดว่า why ไม่ทำในสิ่งที่เป็นไปได้ ดีมากเลยคะ คิดว่า "เราอยากทำวิทยุ กสทช. ดาวเทียม กสทช. หนังสือพิมพ์ กสทช.แล้วหล่ะคะ" มีอยูมุมหนึ่งที่คิดว่า "การคิดบวก" คือสิ่งที่พึงเป็นในโลกอย่างที่ อาจารย์ว่า ควรนำเทคโนโลยี และความคิดที่ดีไปดำเนินการ แต่สุดท้ายที่ได้คุยกับอาจารย์ก่อนเดินกลับไปสอนว่า "หากคุณคิดว่าผู้บริหารองค์กรไม่ดี คุณจะอยู่อีกหรือ เป็นอาจาย์ "ลาออก"" ในมุมนี้ เคยคิดมาตั้งแต่ยังเรียนมหาวิทยาลัยคะ และตกผลึกในตัวเองว่า "แม้คนอื่น ๆ เห็นว่าสังคมจะไม่ดี แต่หากเราเป็นเพียงอนูหนึ่งหรือกลไกหนึ่งของสังคมและทำดี ทำสิ่งที่พึงจะเป็น เท่านี้ ก็ถือว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งแล้วในสังคมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสังคม" ผู่้บริหารองค์กรก็เหมือนรัฐบาลวันหนึ่งเขาก็ต้องหมุนเวียนไปแต่เราเป็นคนที่ต้องอยู่ประจำ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

Panel Discussion & Workshop หัวข้อ Critical Thinking กับการทำงานของสำนักงานกสทช. ในวันที่ 24 มิถุนายน 2554

โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • ต้องดูว่า อะไรทำให้คิดสร้างสรรค์
  • เทคโนโลยีช่วยให้คนเข้าถึงข้อมูลและเกิดความคิดใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • กสทช.ควรอยากเห็นทุกหมู่บ้านเป็น Wireless
  • เชียงใหม่ยังไม่มี Smart Project ควรใช้สหวิทยาการทำวิจัยร่วมกับเนคเทคและมหาวิทยาลัยในเชียงใหม่ค้นหาว่า ทำไมหมู่บ้านแม่กำปองจึงจำเป็นต้องมี Wireless
  • Technology of the Self = Why they buy? ทำไมคนจึงซื้อ เพราะเขาต้องการนำสัญลักษณ์นั้นมาปะติดตัวเองเพื่อให้ตนเองดูดีในสังคม และจุดนี้ก็จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ถ้าคนต้องการคุณค่าแท้ คนจะผลิตเนื้อหา (Content) ดีๆ สิงคโปร์ทำได้แล้ว แม้มีประชากรน้อย แต่มีศักยภาพสูง เพราะเรียนแบบ Real Action เรียนจากการปฏิบัติจริง Real People และเรียนจากคนที่ทำงานนั้นจริง จึงกลายเป็น Real Education
  • วันนี้มี Content เรื่องอัมพวามาก ควรจะประกาศ อัมพวา Wireless Village
  • ควรไปดูยุทธศาสตร์ชุมชนก่อนทำ จะได้ไม่เสียเวลา
  • ควรมีจิตอาสาที่พ้องกันซึ่งสำคัญเพราะยั่งยืนกว่า
  • ถนนนิมมานเหมินทร์ที่เชียงใหม่ประกาศว่า ภายใน 3 ปี จะเป็น Design Street ศิลปินเริ่มไปอยู่ เกิดคุณค่าทางสังคม
  • ก่อนจะไป Creative Economy ต้องผ่าน Knowledge-based Economy ก่อน
  • นิวยอร์กเป็น Smart city รู้ว่าเกิดอะไรที่ไหน
  • โลกใหม่ต้องถามว่าทำไมต้อง Connect
  • ผมสามารถส่งของไปขายประเทศที่ไม่เคยไป เช่นประเทศ เซนต์ลูเซีย ในแถบแคริเบียนโดยใช้เทคโนโลยีออกแบบแล้วส่งไปให้ลูกค้าสั่งซื้อ
  • ตอนนี้ เกิดกลุ่มการค้าเสรีเกิดใหม่ๆ ต้อง Connect ให้ได้
  • ความรู้มีอยู่ทั่วโลก ถ้าไม่ Connect ก็ไม่เกิดประโยชน์ ควรจะ Connect กับ Thai Trade Center ทั่วโลก
  • การค้าในปัจจุบันเป็นดิจิตอลหมดแล้ว
  • วันนี้ประเทศไทยจะออกจาก Red Ocean ต้องมี Value Innovation เป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าที่คนต้องการ
  • คนจีนคิดว่า ของที่ดีที่สุดในโลกคือของที่ประเทศไทย คนจีนกินอาหารไทยด้วยความเชื่อ เราสามารถใส่ความเชื่อใหม่ได้โดยทำ Branding ผ่านไอที โปรโมทกล้วยหอมเป็นกล้วยจักรพรรดิ มีลักษณะเหมือนมือกวักเงินทองเข้าบ้าน เราเน้นของเราเป็นของดีที่ตรงความเชื่อของเขา
  • เวลามีความคิดสร้างสรรค์ ต้องสนุกเข้าไว้
  • Trend ของโลกคือ อาหาร พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • กสทช.ควรส่งเสริมคนไทยให้ Connect และฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเข้าโลกไซเบอร์
  • ตอนนี้ พฤติกรรมบริโภคเปลี่ยนแปลงไป ควรนำทุนของคนไทยมาเสริมคุณค่า ก็จะดี
  • นักท่องเที่ยวต้องการซิต้า สโวซิตี้ นี่คือทางออกของประเทศที่แสดงคุณค่าที่โลกต้องการ
  • ต้องให้ความสำคัญการตอบสนองลูกค้าแบบ real time
  • วันนี้ต้องมอง Demand driven ทำไมคนต้อง connect
  • ต้องทำให้เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันแล้วมันจะไม่สาบสูญไป
  • ควรจะเน้น Customization ทำสินค้าให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนเหมือนหน้ากากเวนิสที่หล่อจากหน้าแต่ละคนซึ่งมีราคาแพงกว่า
  • คนทำธุรกิจต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ท่องเที่ยว และต้องสามารถบอกเล่าเรื่องราวของสิ่งต่างๆได้จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มได้
  • จะทำสินค้าขายให้ญี่ปุ่นต้องเน้นความละเอียด ละเมียดละไม
  • ต้องเน้น Differentiation คิดสร้างสรรค์โดยสร้างความแตกต่าง
  • ลูกค้าของกสทช. คือประชาชน ควรจะถามว่าเขาต้องการอะไร
  • ด้วงกว่างไทยมีราคาแพงในญี่ปุ่นเพราะญี่ปุ่นถือว่า ด้วงกว่างเป็นหมวกซามูไร
  • สรุปคือ ใช้ 5C
  • Connect เชื่อมโยง
  • Creation นำมาคิดสร้างสรรค์
  • Communication สื่อสารให้ลูกค้าทราบได้
  • Competitiveness แข่งขันได้
  • Community สังคมที่เจริญด้วยปัญญา มีความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • Creativity กับ Location ไปด้วยกัน
  • สามย่านก็น่าจะเป็นไฮเทค
  • ควรมี Research Triangle แบบนอร์ทแคโรไลน่า
  • ฟังแล้วจะกลับไปทำอะไรให้กสทช.
มณีร้ตน์ กำจรกิจการ

วันนี้ได้เรียนกับ อ.ณรงค์ฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับ อ.mark ในเรื่องของงานที่ทำอยู่ด้านการดูแลกลุ่มกิจการกระจายเสียง (วิทยุชุมชน) ที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลมาโดยตลอดโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ผ่านมาของประเทศว่า "สื่่อ" คือ เครื่องมือที่ดี ชั้นเยี่ยมในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนในโลกปัจจุบัน ว่า why ถึงมีการใช้สื่อไปแบบนี้ในประเทศ why คนในประเทศแต่ละคน แต่ละกลุ่มถึงชื่นชอบ ชื่นชมในการชมสื่อ และสุดท้ายจึงได้คำตอบทีจะเป็นแนวทางว่า WHY เราไม่ดำเนินการแบบนั้นบ้างหล่ะ อย่าดึงดันที่จะแก้ไขในสิ่งที่แก้ไม่ได้ ควรคิดว่า why ไม่ทำในสิ่งที่เป็นไปได้ ดีมากเลยคะ คิดว่า "เราอยากทำวิทยุ กสทช. ดาวเทียม กสทช. หนังสือพิมพ์ กสทช.แล้วหล่ะคะ" โดยจะเริ่มจากการสร้าง connect กับกลุ่มวิทยุชุมชน และร่วมกันสร้างสิ่งที่ควรจะทำร่วมกันในการสร้างสรรค์วิทยุชุมชน หรือวิทยุกระจายเสียงของสังคมไทย โดยจะมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และสร้างวัฒนธรรมในการแข่งขันของสังคมสื่อวิทยุชุมชนในชุมชนเพื่อสร้างให้เกิดชุมชนการสร้างและใช้สื่อที่พัฒนาประเทศได้ นี่เป็นสิ่งที่ท้าทายในการทำงานกับคนสื่อ

นอกจากสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกับ อ. Mark เรื่อง why เกี่ยวกับการทำงานของตัวเองแล้ว ยังทำให้เห็นโลกแบนลง แบนลง คะเพราะเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย และคนเราสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้อย่างไม่ต้องยากลำบากเพียงแต่ต้องหาเส้นทางที่เหมาะสม แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นว่ากว้างและมีหลายมิติคือการเรียนรู้ ดังนั้น ทำให้เห็นได้ว่ายิ่งเรียนรู้ยิ่งเข้าใกล้กัน แต่ยิ่งเรียนรู้ก็ยิ่งไม่รู้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและธรรมดา “สิ่งมหัศจรรย์ที่สุดคือสมองและการเรียนรู้ของคนเรา” นอกจากนี้ได้ concept ในการดำเนินชีวิตเพิ่มเติมว่า “คิดบวก บนความจริง” “benefit not profit” “คิดต่างอย่างสร้างสรรค์” โดยต้องมองจาก demand ของกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญจริยธรรมและจรรยาบรรณ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง

ดวงเดือน เสวตสมบูรณ์

สำหรับหัวข้อ "Critical Thinking" กับการทำงานของสำนักงาน กสทช. ทำให้ได้รับความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการทำงานให้ประสบความสำเร็จรวมทั้งทำให้ทราบบริบทของการเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริหารควรทราบและทำให้เห็นภาพต่าง ๆ ที่จะสร้างแนวคิด เพื่อนำไปปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในการทำงาน รวมทั้งต้องทำงานอย่างมีความสุขด้วย

อ.ณรงค์ชัย ผ้าเจริญ

สิ่งที่ อ.ณรงค์ชัยฯ นำมาถ่ายทอดในวันนี้ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมและเห็นพ้องกับอาจารย์ที่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสำเร็จและการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้ยั่งยืนในหลาย ๆ มิติ มีความเห็นว่า กสทช. สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของประเทศได้พร้อม ๆ กัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วประเทศ คือ สำนักงาน กสทช. เขตทั้ง 14 แห่ง สถานีวิทยุชุมชน และองค์กรภาคเอกชนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริการในกิจการโทรคมนาคม(กสทช.) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายสถานีวิทยุชุมชนที่มีความใกล้ชิดและเข้าใจวิถีความเป็นอยู่ ความต้องการของชุมชนได้อย่างถ่องแท้ ทั้งนี้ กสทช. หรือ สำนักงาน กสทช. อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ สู่ชุมชนทุกภาคส่วนของประเทศให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาชนชนของตนเองได้อีกทางหนึ่งโดยผ่านเครือข่ายของ กสทช. ที่มีอยู่ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น

สมภพ รัตนาธรรมวัฒน์

อาจารย์ได้ให้เห็นว่าความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีผลต่อความสำเร็จและการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นหากจะให้ สำนักงาน กสทช. ประสบความสำเร็จตามวัตถประสงค์ของเจตนารมของการที่จะให้ที่ประชาชนไดรับประโยชน์สูงสุดนั้น สำนักงาน กสทช.จะต้องจัดทำโครงการให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยี่กับบุคคากรของสำนักงาน กสทช. เป็นดันดับแรกก่อน โดยการจัดทำโครงการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีโดยการวางแผนระยะสั้นให้กับบุคคลกรในปัจจุบัน และจัดทำโครงการจัดหาผู้เชียวชาญในด้านการจัดการเทคโนโลยี่โดยส่งเสริมจัดหาทุนการศึกษาให้กับพนักงาน และบุคคลภายนอก และสำนักงานจะต้องจัดหาต่ำแหน่งรองรับหลังจากสำเร็จการศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการสมองไหล

แนวความคิดจากการที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์ใวันนี้ ทำให้เห็นได้ว่า โลกเราทุกวันนี้แคบลง คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว และสมารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างทันเหตุการณื แม้ว่าระยะทางะห่างไกลกันแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณืนี้ ก็คือ เทโนโลยีการสือสารนั่นเอง เราในฐานะบุคลากรของสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานในการส่งเสริมและการกำกับดูแลเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ควรที่จะต้องคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน โดยใช้องค์ความรู้พื้นฐาน และการคิดอย่างแตกต่างและสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมการสร้างสังคมข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงองค์ความรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์ เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดตวามสามารถในการแข่งขัน และสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน ยกตัวอย่างเช่น ชาวนาหรือ เกษตรกร หากเกิดโรคระบาดต่อพืชผลของพวกเขา เขาก็จะสามารถค้นหาและศึกษาข้อมูล เพื่อการแก้ไขโรคระบาดเหล่านี้น โดยไม่ต้องรอให้หน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งอาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์แล้ว เกษครกรก็จะพัฒนาศักยภาพในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง สามารถรักษาผลผลิตเพื่อการค้าหรือการส่งออกไว้ได้ นี่คือการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมในมิติต่างๆ นี่นเอง ซึ่งเราเชื่อว่าสำนักงาน กสทช. นี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันใหเกิดโอกาสนี้ขึ้นในสังคม

ทนงศักดิ์ สุขะนินทร์

สิ่งที่อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ได้สะท้อนให้เห็นในองค์ความรู้ที่ให้ ได้เห็นพลังภายในร่างกายที่พร้อมจะผลักออกมา มีความช่างสังเกตุเพื่อสร้างโอกาสให้เกิด ไม่ใช่รอให้โอกาสเกิด คิดนอกกรอบที่รู้แจ้งในกรอบ คิดเพื่อคนอื่นและสังคมมาก่อนคิดเพื่อตัวเอง ซึ่งต้องใช้แรงมากกว่าปกติในทุกๆเรื่อง สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวจุดประกาย Creativity Thinking ตลอดเวลา และได้ให้มองเห็น Critical Thinking ที่ให้เห็นถึงตัวแปรแวดล้อมต่างๆ ทำอย่างไร ถึงเห็นได้ชัดเจนอย่างวิเคราะห์ และการนำตัวเองไปอยู่ในตัวแปรแวดล้อมที่เหมาะสม หรือ รวมกลุ่มสร้างตัวแปรแวดล้อมนั้นเอง ที่เรียกว่า Vision

Vision ที่อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ได้กล่าวถึง ทำให้มองข้าม Vision ขององค์กร ไปถึงส่วนงานที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถมี Vision ของตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องรอ Vision ขององค์กรให้เสร็จแล้วมาเขียนให้สอดคล้อง เริ่มต้นได้เลย เพราะเราสร้างโอกาสให้เกิด ไม่ใช่รอให้โอกาสเกิด สิ่งที่คิด (ขอยืมที่เรียนจากอาจารย์สมชาย ว่า ต้องมองเห็นในมุมมองของลูกค้าหรือผู้รับบริการ) คือ ประชาชน นั้นเอง เข้าใจในกฏกติกาของสังคม และขอบเขตของสิ่งที่สามารถกระทำได้ภายใต้ภารกิจและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคิดนอกกรอบ กระโดดไปหาประชาชน เพื่อสิ่งที่ดีกว่า สร้างตัวแปรแวดล้อมให้เหมาะสมกับประชาชน เช่นที่ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ อยากได้เชียงใหม่ที่อาจารย์ฯอยู่ มีปัจจัยที่ access โลกแห่งไซเบอร์ได้สุดๆ แต่สำหรับสำนักงาน กสทช. ตัวแปรแวดล้อมของ กสทช. นี้ มีหลายระดับ และในส่วนงานที่ผมอยู่ ผมขอวาง Vision ระดับ Micro ก่อน เพื่อให้บริการสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆในการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะให้มีตัวแปรแวดล้อมแบบสุดๆในสำนักงาน เพื่อเป็นองค์ความรู้ความเข้าใจประชาชนที่มีความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือแห่งความสำเต็ว และหวังว่า จะเป็น Jigsaw ความสำเร็จใน Vision กสทช. ในอนาคต

ประเทศไทย .... ไม่ใช่เพียง โลกาภิวัฒน์(Globalization)ที่โลกกลมเชื่อมเข้าหากัน อีกแล้ว แต่ ต้องเป็น Virtual Thailand บนมิติออนไลน์ และมี ประเทศไทยเป็นมิติจริงที่เป็นผู้ผลิตตามความเป็นตนเอง(Customize for Self) Tag บน Virtual People ทั้งโลก

ทนงศักดิ์ สุขะนินทร์

ขออนุญาต Comment ทีมงานของอาจารย์จีระฯ เกี่ยวกับการทำหัวข้อสรุป ที่ปรากฏใน Blog นี้

ในหัวข้อที่ สรุปนั้น จะอยู่ในระดับ Text ที่ปรากฏ ยังคงขาดความเป็น Between the line และความซาบซึ้งในรายละเอียดของเนื้อหาวิชาที่ได้ ด้วยความเคารพครับ ผมมิได้ต้องการรายละเอียดถอดทุกถ้อยความมาเช่นเดียวกัน เพราะได้ฟังและได้ยินจากในห้องเรียนแล้ว แต่ต้องการสื่อให้เห็นว่า การเขียนเพียงแค่หัวข้อ โดยไม่ใช่ สรุปในเนื้อหา เป็นเพียงประโยคสั้นๆ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้และอยากเห็นให้มีการพัฒนาในทีมงานของอาจารย์จีระฯ เป็นการสร้างศักยภาพของทีมงานของอาจารย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

แล้ว Blog นี้ จะน่าอ่าน ครบ 2'R ที่อาจารย์ได้กล่าวถึง

เธียรทวี สุทธินนท์

สำหรับผม เป็นที่รู้ชัดมานานแล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นตัวขับเคลื่อนทุกอย่าง การได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ที่เป็นของจริง ของ อาจารย์ มาร์ค มีค่ามากสำหรับผม เป็นแรงบันดาลใจ และส่งเสริมความกล้าที่จะเริ่มทำสิ่งใหม่ๆมากขึ้น

แต่ถ้าเทคโนโลยีสารสนเทศมันดีจริง เป็นสิ่งสำคัญจริง ทำไมสำนักงาน กสทช ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงถึงยังคิดว่า สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแค่หน่วยงานสนับสนุน

และคนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ต้องทำอย่างไร เมื่อเขาอยู่ภายในกลุ่มคนที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีความสุขในการทำงาน และทำงานเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีงานทำไปเท่านั้น ผมยังสงสัยอยู่

กิตติศักดิ์ อนิวรรตน์

การบรรยายในวันนี้เป็นการนำความเจริญของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสาร มาช่วยในการประกอบอาชีพทำให้มีการลงทุนน้อย เพราะ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปวิเคราะห์การตลาดถึงความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต ไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำเสนอสินค้า ลดความเสี่ยงและข้อผิดพลาด ทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมาตรงตามความต้องการของลูกค้า มีตลาดรองรับ ทำให้สามารถขายสินค้าได้

ดังนั้นสำนักงาน กสทช. อาจต้องเริ่มต้นด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการสอบถามถึงความต้องการของลูกค้าว่าอยากได้อะไรจากสำนักงาน กสทช.

จากการได้เข้าร่วม workshop ในหัวข้อการคิดเชิงกลยุทธ์โดย รศ.ดร.สมชาย และหัวข้อ creative thinking โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ ขออนุญาตสรุปถึงสิ่งที่คิดว่าเป็นหลักที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงาน ณ สำนักงาน กสทช. ดังนี้

เนื่องจากโลกที่เราอาศัยอยู่ในยุคปัจจุบันนี้มีความเป็นพลวัต (dynamic) ที่สูงมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นโลกยุคที่มี "อัตราการเปลี่ยนแปลง" ที่สูงกว่าโลกในยุคที่พ่อแม่ ปู่ยาตายายของเราเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่มากนัก ดังนั้น ผู้ที่จะอยู่รอดในโลกยุคนี้ได้ก็คือผู้ทีโดยพื้นฐานในอันดับแรกจะต้องตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งมีสำนึกแห่งความเร่งรีบ (sense of urgency) ที่จะเร่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้สามารถเอาตัวรอดอยู่ได้โดยเร็ว

แต่ทว่าเท่านั้นคงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ควรจะเป็นเท่านั้น เพื่อจะให้วงจรแห่งความอยู่รอดดำเนินไปได้ด้วยความบริบูรณ์ในตัวของมันเอง ผู้ที่ประสงค์จะอยู่รอดจะต้องรู้จักวิธีคิดในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการชีวิตด้วย เช่น การคิดเชิงกลยุทธ์ ในรูปแบบการคิดในลักษณะรู้จักเลือกสรร จัดลำดับความสำคัญของส่ิงที่จะดำเนินการก่อนหลัง (weighted thinking) หรือจะเป็นการคิดในลักษณะ creative thinking เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความเป็นไปได้ให้เกิดขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้ก็เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถใช้เป็นหลักในการปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเพื่อให้การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเพียงไรก็ตาม

ทนงศักดิ์ สุขะนินทร์

ได้เรียนรู้ การวางแนวความคิด วิสัยทัศน์ของสำนักงาน กสทชง ของข้าพเจ้า (ผู้เรียน) โดยอาจารย์ลิขิตฯ ได้กรุณาย่อภารกิจของสำนักงานเหลือเพียงไม่กี่บันทัดที่สวยงาม และได้เปรียบเทียบงานสำนักงาน กสทช. กับ องค์กรประเภทเดียวกันของอเมริกา อังก

ฤษ และญี่ปุ่น มองสิ่งเหมือนกันในความแตกต่าง และเห็นความแตกต่างในสิ่งที่เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี ในกลุ่มผู้เรียน ไม่สามารถ สร้างวิสัยทัศน์ของสำนักงาน นอกเหนือจาก Operation Vision ได้ ด้วยเหตุผล ความยากที่จะเดาใจผู้บริหาร หรือ ผู้ที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ ตัวจริงได้ แค่เพียงแผนแม่บทขององค์กรต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ต้องบูรณาการแล้ว ยังมีสิ่งต้องขัดเกลาอยู่อีกมากมาย ที่ต้องเป็นแผนแห่งชาติ ของแผนแห่งชาติ (แผนแห่งชาติยกกำลังสอง กำลังสาม)

เมื่อวิสัยทัศน์ไม่ชัดเจน การกำหนดพันธกิจย่อมไร้ทิศทาง จะสร้างความคลั่งไคล้ในองค์กร (Passion) ได้อย่างไร เป็นคำถามที่ถูกโยนไปยังวิทยากรถัดไป Bruce Hancock ... ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายวิทยากรได้ดี Bruce ได้พูดถึง ความกลัว (Fear) ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีอีกหลายคำที่สร้างความหดหู่ในองค์กร ที่กระทบต่อ Passion ของหัวหน้าและลูกน้อง ซึ่งกลับมาเป็นเป็นการบ้านของกลุ่มเรียนอีกครั้ง เพื่อสร้าง Passion ที่มีกลุ่มคำที่ดีที่สร้างพลังขับเตลื่อนในองค์กร

กลุ่มเรียนหลายกลุ่มได้ให้ความเห็นที่ดี ไม่ว่า มุมมองที่เป็น Operation Leader จนถึง ระดับ Power Leader ตั้งแต่ ความรู้สึกร่วมเพื่อสร้างพลัง การสร้างช่องทางการสื่อสารด้วยกิจกรรมเสวนากาแฟ การรวมกลุ่มพนักงานขนาดใหญ่เพื่อความสำเร็จขององค์กรในรูปแบบสมาคมพนักงาน การสร้างพันธกิจจากภารกิจที่ทำเป็นฐานรองรับวิสัยทัศน์ที่ไม่แน่นอน

บรรยากาศการเรียนของผู้เรียน เป็นหนึ่งเดียว คือการมีความรู้สึกร่วมกันที่ต้องการให้องค์กรเป็นองค์กรที่ดีเพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของใคร และบนความจริงและความถูกต้องที่ยั่งยืน ซึ่งน่าจะเป็น Passion ร่วมกัน

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ วิสัยทัศน์เพื่อการทำงานยุคใหม่ของ สำนักงาน กสทช. ในมุมมองของข้าพเจ้า

โดย ดร.ลิขิต หงส์ลดารมภ์ วันที่ 25 มิถุนายน 2554

• วิสัยทัศน์ คือการมองการไกล มองอย่างฉลาด และเห็นความจริงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

• เราต้องมีความรู้ในการวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้

• ต้องมีความท้าทาย

• และดูเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง

• นำประสบการณ์มาให้ท่านเห็นความเป็นจริงในอนาคตของสำนักงานกสทช.

• วิสัยทัศน์ เป็นการกำหนดอนาคตที่เป็นไปได้ขององค์กร

• ต้องมีทางเลือกขององค์กร

• แต่ละประกาศจะกำหนด Option 4-5 Option ผ่านมาทาง Stake holder รับทราบ แล้วถึงเป็น Final ประกาศ

• วิสัยทัศน์ถ้าจะทำให้ดี ๆ จะเพิ่มผลดีให้กับ Value Chain ของเรา แล้วถึงแปลงเป็นนโยบาย แล้วกำหนดทิศทางของเรา แล้วถึงกำหนดพันธกิจของการทำงานในองค์กร

• หน้าที่ กสทช. มี 2 มิติ เปลี่ยนจากการกำกับดูแลโทรคมนาคมมาเป็นเพิ่มการกำกับดูแลทางการกระจายเสียง อย่างที่ 2 ท่านมาเพิ่มปรับปรุงการกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมด้วย

• การก้าวสู่ยุคใหม่ขององค์กร เป็นยุคของการเรียนรู้ และการสร้างความรู้

• ทุนมนุษย์ในปัจจุบันนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญ Labor ต้องเป็น Skill Labor , Capital ต้องเป็น Human Capital เป็นหลักก่อน Financial Capital ค่อยตามมา

ทิศทางโทรคมนาคมและการกระจายเสียงยุคใหม่

• เราเริ่มมีเทคโนโลยี และเทคนิคที่หลอมรวมอยู่ การกำกับดูแลต้องเจอกับความท้าทายต่าง ๆ

• พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ และการดูแลกำกับกิจการ

• ความถี่คือทรัพยากรหลักของเศรษฐกิจ

• คลื่นความถี่เป็นวัตถุดิบสำคัญมากในการสื่อสารและการกระจายเสียงในวิทยุโทรทัศน์

• แผนบริหาร แผนคลื่นความถี่และการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นระยะกลาง ระยะยาว

การเปลี่ยนแปลงการบริการยุคใหม่

• มีหลายเรื่องที่ใช้ร่วมกันได้

• เราต้องทำความเข้าใจว่าการกำกับดูแลมีอะไรบ้าง

• การบริหารและการจัดสรรคลื่นความถี่ ความถี่เป็นสิ่งที่มีจำกัด และ หาใหม่ไม่ได้แล้ว หน้าที่ในการประสานงานกับภาครัฐ เราต้องเอาความถี่ต่าง ๆ ออกมา

• การกำหนดโครงสร้าง ลองดูว่าจะเป็น Vertical หรือ Visual Base

• วิสัยทัศน์ จะเป็นแบบ Command Base หรือ Facilitation Base

- Command Base คือการนำแผนแบบเดิมจากกรมไปรณีย์มาใช้

- Facilitation Base เป็นการปรับตัวและผ่องถ่ายจากแบบเดิม

ความท้าทายต่อสำนักงาน กสทช.

• เพิ่มหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์บนหน้าที่การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมที่ดำเนินการอยู่เดิม ดังนั้นมาอยู่ที่วิสัยทัศน์ ว่าจะทำอย่างไร

• ความท้าทายอยู่ที่ว่าท่านจะสร้างองค์กรอย่างไร

• ท่านจะแบ่งงานของประธานกสทช. กับ เลขาธิการกสทช.อย่างไร

• ต้องแบ่งให้ชัดเจน แล้วทำกฎหมาย ถ้ากฎหมายไม่ชัดเจนต้องแก้กฎหมาย

• ปัจจุบันอยู่ภายใต้ความไม่ชัดเจน

หลังจากทุกท่านมีวิสัยทัศน์ อำนาจหน้าที่แล้ว ท่านต้องนำไปทำ Roadmap ของการดำเนินการ

ท่านต้องมีการสะท้อนภาพองค์กรของท่านให้ชัดเจน แล้วปฏิบัติตามกฎหมาย

ดร.ลิขิต ได้สรุป สิ่งที่ทำไป ด้านกำกับดูแลโทรคมนาคมทำได้สมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ระเบียบที่ปฏิบัติยากหน่อย เมื่อสอบถามข้อมูล...ได้คำตอบว่า อาจใช้เวลาเยอะ ใช้เอกสารเยอะ และการบังคับใช้ไม่ยุติธรรม เป็นต้น

สิ่งที่อยากให้ทำคือปรับปรุงด้านการกำกับดูแลเท่านั้น

แต่ปัญหาคือ การแก้ไขประกาศอาจทำยากนิดนึงเนื่องจากหลาย ๆ ส่วนต้องเห็นด้วย

การกำหนดวิสัยทัศน์

1. เป้าประสงค์ สำนักงาน กสทช.

- การเป็นผู้กำกับดูแลมืออาชีพ ชั้นยอด

- การเป็นองค์กรที่เหนือกว่าองค์กรอิสระอื่น

- การวางแนวทาง หรือสร้างห่วงโซ่ของคุณค่าและการเติบโตขององค์กรอย่างมีคุณภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าทรัพยากรองค์กร

2. การสนองตอบการคาดหวังของสิ่งรอบตัว (Players)

- ความคาดหวังของประชาชน

- ความคาดหวังของรัฐบาลและรัฐสภา

- ความคาดหวังของอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- ความคาดหวังของผู้ดู ผู้ฟัง ผู้ใช้บริการ และผู้บริโภค

เสริม

การกำกับดูแลต้องให้ประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ ดังเช่น ญี่ปุ่นบอกว่า ICT จะให้มูลค่าเพิ่ม 3 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น ไทยให้กี่เปอร์เซ็นต์ ??? สังเกตได้ว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกหรือไม่ตก ICT ไม่เคยตก สิ่งนี้คือความภาคภูมิใจ

ถาม ...

• อยากแลกเปลี่ยนความเห็นในเชิงนโยบาย ที่บอกว่านโยบายมีหลายส่วนจริง ถ้าจะวิเคราะห์ต้องแบ่งให้ชัด เพราะมีหลายหน่วยเยอะแยะมากเลย แล้วทางปฏิบัติก็จะโยนกันไปกันมา ICT มีหน้าที่โดยตรงก็ตามแต่ไม่รู้ว่ามีบทบาทแค่ไหน อย่างรัฐก็จะมีรัฐบาลเป็น Operator หลัก

• นโยบายการพัฒนากิจการโทรคมนาคมระดับชาติ นโยบายในการกำกับดูแล กฎหมายใหม่มีการตัดนโยบายกสทช.ออกไปซึ่งก็ไร้ความหมาย เนื่องจากเป็นอิสระจากรัฐบาลไปแล้วไม่เกี่ยวกับนโยบายชาติ ในที่ประชุมบรอดแบรนด์แห่งชาติผู้นำบอกว่าทำยังไงถึงตัดอำนาจ กสทช.ได้ การพูดแบบนี้เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลังจากมีนโยบาย ICT แห่งชาติ ขึ้นมาแล้วจะทำให้รัฐบาลมีความเข้าใจมากขึ้น

• ความสำคัญ เมื่อรัฐบาลกำหนดนโยบายชาติไปแล้ว นโยบายการกำกับต้องสอดคล้องกับนโยบายชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าคุณต้องทำตาม Regulator ซึ่งเป็นปัญหาของการปฏิบัติจริง ทำให้นโยบายกระทรวงสับสน อย่าง TOT กับ CAT จะต้อง under regulator 100 % สำหรับในเรื่องนโยบายของรัฐบาลต้องคิดถึงโครงข่ายหลักที่จะโยงถึงประชาชน ดังนั้น กสทช. ต้องคิดว่าจะเอาอย่างไร อย่างเช่น จะเอา Fiber หรือ Wireless และนโยบายการตลาดควรจะเป็นอย่างไร รัฐบาลต้องมีการตอบนโยบาย และสามารถตอบ CAT กับ TOT ได้ด้วยเช่นกัน แต่ในทางการเมืองยากมาก สิ่งที่แก้ได้คือกฎหมาย

• ล่าสุดในกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของวุฒิสภา มีแนวทางการศึกษาพรบ.การบังคับใช้ปี 53 ในมุมวิชาการอยากให้มีการสะท้อนสิ่งตรงนี้มากขึ้น ความจริงยังไม่พูดตั้งแต่การลงในราชกิจจาเพื่อการแก้ไข อยากให้สะท้อนปัญหา แล้วเอาปัญหาที่แท้จริงมาพูดกัน นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขได้ มีองค์กรใหญ่ องค์กรเล็ก และที่มากับการทำงาน ตรงนี้เป็นโครงสร้างองค์กรหลัก ไม่เคยมีการเอามาถกในเวทีสาธารณะ

• น่าแปลกหรือไม่ว่า regulator ที่ทำงาน 4-5 ปีช่วงนั้นไม่มีใครสะท้อนปัญหานั้นออกมาเลย ทั้งที่มีการถกเถียงในช่วงนั้นมาก ไม่ค่อยรู้อย่างแท้จริง คนปฏิบัติไม่มีบทบาทโดยตรง ทำให้กฎหมายออกมาดูพิการ

• Regulator บอกว่า การทำงานร่วมกันระหว่างบอร์ด กสทช. กับสำนักงาน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย ปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติ กสทช.ออกกฎระเบียบขัดต่อกฎหมาย ทำให้กฎหมายดูเหมือนพิกลพิการ

ดร.ลิขิต

• ปัญหาของ กสทช. คือการตีความด้านการเป็นอิสระของกสทช. อิสระจากการแทรกแซงรัฐบาล กับความเป็นอิสระของการไม่เอารัฐบาลมาเกี่ยวข้อง

• เป็นหน้าที่ของประธาน เราต้องมีหน้าที่ประสานงานตั้งแต่ต้นว่าการประสานงานวิสัยทัศน์กับภาครัฐกับกสทช. ให้ชัดเจนและไปในแนวทางเดียวกันซะก่อน

• ถ้าคิดว่าเป็นอิสระ คุณจะต้องสร้างนิยามของความเป็นอิสระ และสร้างให้ชัดเจนซะก่อน

• ความเป็นอิสระจากการแทรกแซงรัฐบาล ของผู้ประกอบการ และผู้มีอำนาจอื่น ๆ

ถาม

• เรื่องใหญ่คือเรื่องเชิงนโยบาย ที่พูดถูกคือ ความไม่คุยกัน เลยมีปัญหา ทำให้เข้าใจไม่ตรงกันแล้วเข้าใจไม่ถูกด้วย เลยไม่ทราบว่าควรทำอย่างไร ?

• มีความแตกต่างการกำกับดูแลการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ กับกิจการโทรคมนาคม อยากให้พูดเรื่องความแตกต่าง

ดร.ลิขิต ตอบ

เราต้องทำความเข้าใจอุตสาหกรรมการกระจายเสียงก่อน ว่า

1. สภาพความเป็นมา วิวัฒนาการกระจายเสียงเป็นอย่างไรบ้าง เรากำลังเข้าสู่ยุคธรรมาภิบาล คือยุคกำกับดูแลตัวเอง เราต้องทำการศึกษายุคของการกระจายเสียงมาให้ได้ ยุคของการพัฒนาโทรทัศน์ มีใบอนุญาตให้สัมปทาน อย่างไร ท่านต้องเล่ามาให้ได้

2.ลักษณะการกำกับดูแลที่เหมือนกันคือบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ ขั้นปัญหา การกระจายเสียงจะล่อแหลม มีเสรีภาพด้านการแสดงความคิดเห็น เราต้องลงไปที่ Micro คือ คุณภาพบริการ ต้องถกเถียงว่าบทบาทขององค์การโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ บทบาทขององค์กรโทรทัศน์กระทบกับบทบาทวัฒนธรรมของประเทศหรือไม่ ผู้ฟังต้องมีวิจารณาญาณเอง รายการที่กระทบเยาวชนไม่ได้ ดังนั้นการออกใบอนุญาตต้องศึกษาอย่างมโหฬาร จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องของ Wide Check การกระจายเสียงออกได้แค่ควบคุมบทบาทของพฤติกรรมเท่านั้น

สมบัติ ธรรมะธารีย์

จากที่ฟัง อ.ณรงค์ศักดิ์ Creative Thinking ไม่ใช่พรสวรรค์ ทุก ๆ คน สามารถเป็น Creative ได้ แต่ลำดับแรกคนเราจะต้องหัดตั้งคำถามบ่อย ๆ แต่คำถามนั้นจะต้องเป็นคำถามที่มีคำตอบในตัวของมัน นักคิดที่ดีจะต้องคิดให้เป็นระบบ จะต้องมีแรงจูงใจในการคิด สุดท้าย ก็จะต้องมีประสบการณ์ Experience

นักคิดที่ดีควรทำตัวเป็นคนโง่ เปรียบเสมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่าพร้อมที่จะเติมเต็มความรู้ให้กับตนเองตลอดเวลา ไม่มีวันเต็ม ดั่งคำสอนของศาสนาอิสลามที่ว่า “จงศึกษาตั้งแต่อยู่ในเปล จนถึงหลุมฝังศพ” ความหมายให้เราศึกษา หาความรู้ตั้งแต่เกิด จนถึงวันสุดท้ายที่เรากำลังจะตายลง

Value Chain ห่วงโซ่คุณค่าคือทุก ๆ คนในองค์กรไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน เสมียน ผู้บริหาร ตลอดจน CEO ขององค์กรทุก ๆ คนเหมือนห่วงโซ่ แต่ละข้อที่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ถ้าองค์กรขาดห่วงโซ่ใดห่วงโซ่หนึ่งองค์กรนั้นก็จะไม่ประสบความสำเร็จ หรือไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

เราสามารถนำองค์ความรู้ของท่านอาจารย์มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ดังนี้

1. Connect เนื่องจากเป็นองค์กรใหม่ พนักงานแต่ละคนมาจากหลากหลายหน่วยงาน ขาดการติดต่อ ประสานงานกันที่แท้จริง

2. Positive Thinking สอนให้พนักงานคิดในเชิงบวก มองโลกในแง่ดี

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานในองค์กรเป็นคนที่คิดเป็น รู้จริง

4. แก้ไข กฎระเบียบของทางราชการที่มีขั้นตอนการทำงานที่มีระยะเวลาค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นจุดอ่อนขององค์กรที่ไม่สามารถแข่งขันกับองค์กรภาคเอกชนได้

อิสสะรี ฉัตรโชติกวงศ์

การบรรยายของ อ.ลิขิต

1. โครงสร้าง กสทช. ควรจะอยู่ในลักษณะ issue base

2. การแบ่งอำนาจหน้าที่ของประธานกสทช. และ เลขาธิการกสทช. ควรกำหนดเส้นแบ่งเขตให้ชัดเจน และออกมาในรูปหลักเกณฑ์ หรือการประชุมร่วมกัน

3. ปรัชญาการกำกับดูแลยุคใหม่ควรอยู่ในลักษณะ facilitate

4. เป้าประสงค์ของสำนักงาน กสทช.

ควรเพิ่ม เป็นองค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมและกระจายเสียง ต้นแบบในภูมิภาคอาเซียนซึ่งต้อง Beat สิงคโปร์ให้ได้

5. องค์ประกอบที่กำหนดวิสัยทัศน์ของ กสทช. เพิ่มเติม

การมีส่วนร่วมของ Stakeholder โดยเฉพาะภาคประชาชน

6. ตัวอย่างวิสัยทัศน์ กสทช. เพิ่มเติม

คำขวัญ กำกับดูแลโปร่งใส ยุติธรรม นำไปสู่ธรรมาภิบาล

7. จัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบที่กำหนดวิสัยทัศน์รวมที่เพิ่มเติม

การนำบทเรียนของ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ไปใช้ในงาน กสทช.

1. นำความคิดสร้างสรรค์ ไปสร้างสรรผลงานทางด้านวิชาการและผลงานด้านประชาสัมพันธ์ เช่น อาจารย์ได้กล่าวถึง ความช่างสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และนำไปต่อยอด ซึ่งขณะนี้มองเห็นว่ากสทช. ได้ปฏิบัติหน้าที่ศักยภาพให้ช่วยเหลือสังคมหลายด้าน ทั้งตามพันธกิจ และนอกเหนือพันธกิจ ควรจะต่อยอด นำ message นี้ convey สู่สื่อและสังคม และมุ่งต่อยอดไปสู่สังคมยั่งยืนด้วยโทรคมนาคม

2. ความมุ่งมั่นที่จะนำ Creative Thinking ไปต่อยอดก่อให้เกิดรูปธรรม และสามารถนำไป implement ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อคิดในเรื่องดังกล่าว จะขอยกตัวอย่าง เช่น ขณะนี้เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นควรจะมีกระบวนการที่จะ Simplify งานดังกล่าวไปสู่สังคมใน กสทช. เพื่อให้ทุกคนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

Paradigm Shift ช่วยให้เข้าใจวว่าเมื่อ Paradigm เคลื่อนไปหรือเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องปรับวิธีคิดและกลยุทธ์เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดใน Paradigm ใหม่ต่อไป

Creative and Critical Thinking ทั่วไปเห็นว่า การเริ่มต้นด้าน Why? หรือ What is ? ได้อย่างไร ช่วยให้สามารถหาประเด็นและทำให้เกิด inspiration และ imagination ในการสร้าง Innovation

System Thinking ช่วยให้เข้าใจ ปัญหาที่เกิดขึ้น และหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงเพื่อให้เข้าใจปัญหาอย่างเป็นธรรม องค์รวม แล้วหาทางแก้ปัญหา โดยคำนึงถึง Reality และ Relevance ในประเด็นต่าง ๆ

โปรดคลิกที่ link นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://www2.mcot.net/fm965/mp3.cfm?cat=Archive&id=229230

 

Wininig Project "กสทช. กำกับดูแลวิทยุชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชน"

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชน ประมาณ 6,000 แห่งทั่วประเทศ สำนักงาน กสทช. ได้รับการร้องเรียนเรื่องด้านเนื้อหา เช่น มีการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม หมิ่นสถาบัน และทางด้านเทคโนโลยี เช่น รบกวนความถี่การบิน ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน อันเนื่องจากการใช้สื่อวิทยุชุมชน ทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดระเบียบสถานีวิทยุชุมชน
  2. ส่งเสริมให้ชุมชนในท้องถิ่นสามารถใช้เทคโนโลยีในการ Connect
  3. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ผ่านสื่อวิทยุชุมชน เช่น OTOP แหล่งท่องเที่ยว Home Stay
  4. พัฒนาระบบเตือนภัย ผ่านระบบสื่อสารภาคประชาชน

วิธีการดำเนินงาน

  1. สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
  2. Research แสวงหา ปัญหา ความต้องการของวิทยุชุมชน
  3. Self Regulation ให้ความรู้ในการกำกับดูแลโดยภาคประชาชน
  4. Facilitate Base
  • Community Radio Spectrum Management
  • Support Hardware,Software,N/W,Content
    Management
  • Remote Control
  • Content On Demand

ผู้รับผิดชอบ

  1. ศูนย์ Call Center 1200

ระยะเวลา

Short Term : Pilot Project

  • Research 8 เดือน
  • Implement 4 Site 4 เดือน

Long Term : ทั่วประเทศ 5 ปี

งบประมาณ

  • Research 8 เดือน                10 ล้าน
  • Implement 4 Site 4 เดือน      2 ล้าน
  • Phase 1 : จังหวัดละ 1 สถานี 38.5 ล้าน
  • Phase 2 : ทุกอำเภอ   N/A
  • Phase 3 : ทุกตำบล    N/A
  • Phase 4 : ทุกหมู่บ้าน  N/A

Networks & Stakeholder

  1. ผู้รับใบอนุญาต/ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
  2. สมาคมผู้ประกอบการวิทยุหลัก วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี
  3. สมาคมชมรมนักวิทยุสมัครเล่น
  4. NGO ทางด้านคุ้มครองผู้บริโภค
  5. หน่วยงานภาครัฐ อปท.
ปัจจัยของความสำเร็จ(KSF)
  • ความร่วมมือจาก Stakeholder โดยเฉพาะภาคประชาชน

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค

  • การเมือง
  • วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ต่อองค์กร

  • ลดภาระการกำกับดูแลโดยใช้หลัก Self Regulation

ต่อสังคม

  • ชุมชนเข้มแข็ง
  • เกิดการพัฒนาแบบยังยืน
  • Wireless Village
  • Citizen Communication
  • Warning System

Action Plan

  • จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • นำเสนอในระดับนโยบาย เพื่อขอความเห็นชอบ
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เข้าเยี่ยมชมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในวันที่  27 มิถุนายน 2554

ห้องบุษกร(ชั้น 1) อาคารเนคเทค

 

การนำเสนอวิดีทัศน์แนะนำการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

โดย งานประชาสัมพันธ์

  • เนคเทคมีวิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรวิจัยหลักร่วมกับพันธมิตร ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนในเวทีโลก และร่วมสร้างความเข้มแข็งให้สังคมและชุมชน
  • เนคเทคมีพันธกิจ “มุ่งสร้างเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”
  • เนคเทคมีการดำเนินงานดังนี้
    • รับเป็นเจ้าภาพคลัสเตอร์ไอที
    • ให้ทุนและฝึกอบรมด้านฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
    • ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ RF-ID สำหรับด้านการขนส่ง Smart Card และการผลิต
    • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา Mobile Application ให้เข้าถึงสารสนเทศได้เร็ว
    • วิจัยและพัฒนาสมองกลฝังตัว ให้ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
    • วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ สารสนเทศสาธารณสุขเพื่อไปสู่ Health Hub
    • นำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาจราจร
    • ทำโปรแกรมเทคโนโลยีฐาน 3 ด้านวิศวกรรมความรู้ (ประมวลผลซอฟต์แวร์) เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง (ด้านไอทีระดับประเทศ) เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (พัฒนาพลังงาน ส่งสรรมความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม)
    • พัฒนาชุมชนชนบท มีเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ
    • ถ่ายทอดความรู้จากนักวิจัยไปสู่เอกชนใน 5 รูปแบบ คือ  การอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตร การรับทำวิจัย การร่วมวิจัย การให้คำปรึกษาทางเทคนิคและการให้การฝึกอบรมทางเทคนิค
    • ตั้งศูนย์ ICT
    • บริการฝึกอบรมไอทีระดับสูง CIO เพื่อเป็น E-Government
    • ประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาเยาวชน
    • ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับนโยบายประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
    • สร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ ในระดับทวิภาคี (กับญี่ปุ่น จีน อินเดีย ภูฏาน เวียดนาม สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย) ในระดับพหุภาคีกับ (ASEAN, APEC, EU, ITU, UNDP)
    • สร้างมูลค่าเพิ่มให้วงการไอที

กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร กสทช.

โดย         ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล

  • รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ต้อนรับคณะผู้บริหารกสทช.
  • เนคเทคอยู่ภายใต้สวทช.
  • มีกรอบการทำงานครอบคลุมด้านอิเลคทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และไอที ไอทีเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการทุกระดับ ทั้งระดับชาติและระดับครอบครัว
  • เนคเทคมุ่งพัฒนาขีดความสามารถผู้บริหาร
  • อยากให้ได้ประโยชน์มากๆจากการเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้

บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ "การบริการอย่างทั่วถึง: ระบบบริการการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินและผู้ที่บกพร่องทางการพูด”

โดย         คุณวันทนีย์  พันธชาติ

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยประยุกต์และบริการทดสอบและประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก

  • โครงการนี้สนับสนุนการบริการอย่างทั่วถึงซึ่งมี Keyword สำคัญคือ
    • Universal Access (UA) ทุกชุมชนต้องเข้าถึงได้
    • Universal Service (US) ระดับครัวเรือนและระดับชุมชนก็สามารถจะเข้าถึงบริการได้
  • การบริการอย่างทั่วถึงต้องคำนึงถึง
    • Availability  บริการนั้นมีอยู่ในสาธารณะ
    • Accessibility บริการนั้นมีอยู่ในทุกชุมชน สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดสถานที่ เพศ สภาพร่างกายและลักษณะส่วนบุคคลอื่นๆ
    • Affordability มีความสามารถในการจ่ายค่าบริการ
  • USO ในมุมมองของการบริการคนพิการ
    • ต้องมีการออกมาเป็นมาตรฐานซึ่งสำคัญที่สุด
    • มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์โทรคมนาคมในสังคม
  • โครงการ Telecommunication Relay Service
    • ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 18 ที่ทำให้คนหูหนวกและบกพร่องทางการพูด
  • โครงการบริการ Emergency Service สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
    • มีอุปกรณ์ติดตามตัว
  • โครงการจัดทำมาตรฐานอุปกรณ์คนพิการและผู้สูงอายุ
  • การบริการอุปกรณ์โทรคมนาคมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
    • ประเทศออสเตรเลียได้ออกเป็นกฎหมายแล้ว โดยเทลสตาร์ให้บริการอุปกรณ์ Text Telephone ให้เช่าราคา 4-10 ดอลล่าร์ซึ่งถือว่าราคาถูก
    • ประเทศไทยมีบริการหนังสือเสียงสำหรับคนตาบอด และคนที่อ่านหนังสือไม่ออก (Learning Disability ที่ไม่เข้าใจวิธีการอ่าน) มีเบอร์โทรศัพท์สำหรับเข้าไปฟังฟรีคือ 1414 จำนวน 150 คู่สาย  โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากกสทช. DTAC, AIS และ TRUE
  • บริการ closed caption สำหรับโทรทัศน์
  • เปิดปิด Sub-title ได้
  • เวลาส่งสัญญาณ Encode ก็ส่งมาธรรมดา พอมาถึงบ้านคนพิการก็ Decode Sub-title ที่ซ่อนอยู่ได้
  • บริการ video description สำหรับโทรทัศน์ช่วยให้คนตาบอดสามารถจินตนาการได้และเข้าใจดีขึ้น
  • บริการแปลเสียงเป็นภาษามือและข้อความ (สำหรับรายการโทรทัศน์และการประชุม) ที่ญี่ปุ่นมีแล้ว
  • ต้องพัฒนาบริการให้รองรับผู้ด้อยโอกาส
  • เนคเทคเน้นพัฒนาบริการพวกบกพร่องทางการพูด หูหนวก
  • บางพวกมาจากสมองพิการเนื่องจากตอนคลอดขาดออกซิเจนเกิน 4 นาที ทำให้สมองถูกทำลาย ควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้ปากพูดไม่ได้
  • อีกพวกคือ พวกที่ไร้กล่องเสียงเพราะเป็นมะเร็งปอด แต่ก่อนพูดได้ แต่กลายเป็นเสียงที่เป็นลมออกมา พวกนี้ต้องใช้ระบบเรอในการพูดผลิตเสียง
  • Text Telephone (TTY)
  • ใช้การสื่อสารโดยการพิมพ์ผ่านโทรศัพท์
  • ประเทศไทยยังไม่มี
  • IP Phone ต้องลงทุน ยังไม่มีหน่วยงานในประเทศไทยเปิด Server ให้บริการ IP Phone
  • Communication Relay Service  เชื่อมโยงคนหูหนวกกับคนปกติ มี Call Center (TRS Center) เป็นล่าม เปิดช่องให้คนหูหนวกโทรศัพท์ได้
  • โปรแกรมเดซี่
  • ทำให้ดาวน์โหลดหนังสือมาฟังได้
  • นำ Function แป้นพิมพ์มากดเลข
  • กดเร่งความเร็วเสียงอ่านได้
  • ให้คนบันทึกเสียงหรือคอมพิวเตอร์อ่านหนังสือได้
มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เข้าเยี่ยมชมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในวันที่  27 มิถุนายน 2554

ห้องบุษกร(ชั้น 1) อาคารเนคเทค (ต่อ)

บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ "ระบบสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย”

โดย         ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย

  • ผมดูแล Human language Technology ได้แก่ เทคโนโลยี Search Engine มีการวิเคราะห์การถามคำถามให้เป็นธรรมชาติ วิเคราะห์ความคิดเห็นจากเว็บบล็อก และเฟซปุ๊ก
  • ตัวอย่างได้แก่ Hotel Review จาก เว็บไซต์ของ Agoda วิเคราะห์ได้ถูก 80%
  • เทคโนโลยี Voice Information Service (VIS) พัฒนาโดย Speech Processing ช่วยรับข้อมูลโดยมี Text to Speech Synthesis (วาจา)
  • แต่ Speech to Text หรือ Automatic Speech Recognition (ASR) ทำได้แค่ ประโยคที่กำหนดไวยากรณ์ไว้ตายตัว มีชุดคำศัพท์ 100-200 คำ มีความถูกต้องแม่นยำ 80-90% ทำแบบ General ไม่ได้เพราะต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล
  • VIS Usage via IVR and Internet ใช้สำหรับถามข้อมูล ค้นหาข้อมูล บอกเหตุฉุกเฉิน
  • จุดสำคัญคือต้องเขียนให้ได้ตามอักขระ วิเคราะห์ได้ถูก
  • ตอนนี้เสียงที่อ่านมี smooth ขึ้น และได้ความหมาย
  • เว็บไซต์ Manager กับไทยรัฐใช้บริการนี้ มีบริการให้ฟังเสียงอ่านข่าว
  • ระบบ Speech to Text
  • ให้ข้อมูลด้านจราจรมานานแล้ว
  • วิธีการคือ พูดชื่อถนนในกทม. แล้วระบบก็จะทวีตข้อมูลกลับมาเป็นป้ายจราจรอัจฉริยะ
  • มีความถูกต้องเกิน 90%
  • ยังไม่ใช้ไมได้กับชื่อแยกต่างๆ
  • เคยใช้มาแล้วในช่วงสงกรานต์เลือดและน้ำท่วม
  • โทรศัพท์หมายเลข 0-2565-7007 เข้าไปใช้ Traffic Voice Information System (TVIS) ซึ่งเสียงดีกว่าวาจา (Vaja) เพราะออกแบบเสียงให้ทำงานเฉพาะด้านจราจร
  • Vaja 6.0
  • ต้องได้รับการพัฒนา naturalness ความเป็นธรรมชาติ และ Intelligence ความเป็นอัจฉริยะ
  • มีความร่วมมือกับ INET Thailand หน้าที่เป็น Hub ให้
  • มีการถ่ายทอดไปให้หลายสถาบัน
  • Vaja มีการใช้ผ่าน FM 99.9 MHz
  • แนวทางการพัฒนา Vaja
  • ทำให้มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น
  • ใส่อารมณ์ให้ระบบโดย เน้นแบ่งเป็นเสียง ดัง เบา สูง ต่ำ ยาง สั้น รวมถึงการหยุดที่เหมาะสม ต้องใช้เวลาอีก 5 ปีพัฒนา ต้องออกแบบตัว Text ให้ใหญ่พอแล้วนำมืออาชีพด้านการอ่านสารคดีมาอ่านเพื่อดูว่า คนมักหยุดตรงไหนในประโยค โดยต้องมีการวิเคราะห์ของแต่ละคำ
  • ต้องรองรับภาษาให้ได้มาก ตอนนี้รองรับภาษาไทย อังกฤษ ลาว พม่าและภูฏานได้แล้ว
  • ต้องพัฒนาให้ทนต่อ Noise เสียงรบกวน ซึ่งก็ทำมานานแล้วแต่ตัดได้เล็กน้อย
  • นำเข้าไปสู่ Social Network

 

บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ "Traffy: ระบบประเมินและทำนายสภาพการจราจร"

โดย         ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัย หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ

 

  • Traffy คือ Road Traffic Information Platform
  • ได้ทำวิจัยมาแล้ว 4 ปี
  • เน้นให้ปรับตัวตามอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ประเทศไทยมี Loop Detector ฝังใต้ดินที่เชียงใหม่ เก็บข้อมูลจำนวนรถที่วิ่งผ่าน ซึ่งก้าวหน้ากว่ากทม.มาก
  • กทม. เคยทำ Loop มานานแล้ว แต่ Sensor ยังมีราคาแพงจึงไม่สำเร็จ
  • เราได้ข้อมูลจราจรจาก CCTV ซึ่งเป็น Fixed Sensor ที่ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ
  • เรามีข้อมูลจาก GPS ที่ติดกับรถสาธารณะและรถขนของ ทำให้ทราบสถานที่รถเดินทางไป และทำให้มีความปลอดภัย สามารถตามสิ่งของที่บรรทุกในรถได้ เมื่อติดไปมากๆ ก็นำข้อมูลมาแปลงเป็นข้อมูลเวลาที่ใช้เดินทาง ที่ประเทศจีนกับญี่ปุ่นใช้แล้ว ประเทศจีนบังคับให้แท็กซี่ติด GPS ทำให้ทราบปริมาณการจราจร
  • ในประเทศไทย ผมได้ประสานกับหลายบริษัทติด GPS มีรถแสนคันติดแล้ว ในงานวิจัยของเราพยายามให้บริษัทส่งข้อมูลมาให้
  • ตอนนี้ กำลังไปขอข้อมูลการเคลื่อนที่ของโทรศัพท์เมือถือ แต่ยังไม่ได้มาใช้ประโยชน์เพราะบริษัทปกป้องเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และมีปัญหาในการใช้ซอฟต์แวร์ดึงข้อมูล
  • เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องวิเคราะห์ว่ามีเบอร์โทรศัพท์กี่เบอร์อยู่ในรถที่กำลังอยู่บนถนน โดยไม่จำเป็นต้องทราบชื่อผู้ใช้เบอร์ ตอนนี้เปิดเป็น API ให้คนเข้าถึงข้อมูลจราจรได้ง่ายและฟรี
  • เราทำ Traffy on Smart Phone ทุกรุ่นที่เข้าอินเตอร์เน็ตได้
  • เราทำ Traffy on Twitter คือนำข้อความที่ลงบนTwitter ช่วงรถติดมาทำเป็นข้อมูลจราจร
  • เรามีความร่วมมือวิทยุจราจรด้วย
  • ในอนาคต จะเปลี่ยนไปเป็น Cloud Technology แล้วให้คนอื่นมาช่วยดูแล คิดราคาตามชั่วโมงที่ใช้เพื่อที่จะได้ตอบสนองได้ทันเวลา

ถึง ผู้เข้าอบรม กสทช.ทุกท่าน

 

1.  ภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน 5 วันเต็ม บรรยากาศที่ชะอำดีมาก ชอบมากครับและอยากไปอีกครั้ง

2. ศักยภาพของแต่ละท่านดีมาก

3. เปิดใจกว้าง รับฟัง แสวงหาโอกาสใหม่ๆ เสมอ

4.  ชีวิตผมไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้รู้เรื่อง กสทช. มากขึ้น

5. ยังมีประชาชนอีกมากที่ไม่รู้เรื่อง

6. ทำอย่างไรครับ

สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน

            สรุป  หนังสือเรื่อง “8K’s+5K’s” ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน  ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 10 บท โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

 

บทที่ 1 อธิบายถึงเส้นทางการทำงานของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านเป็น “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” หรือ “HR Champion  ด้วยเจตนารมณ์เดียวในหัวใจของท่าน คือ การสร้างทุนมนุษย์ในประเทศไทยให้มีคุณภาพ เพระ า “ทุนมนุษย์” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของสังคม

 

ดร.จีระ ต้องริเริ่มสร้างงานใหม่เพื่อการพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” โดยการจัดตั้ง “มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ” ตามมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก (Lead Shepherd of APEC HRD Working Group)(ปี พ.ศ. 2545-2547)

 

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี 8K’s  หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

 

K1 Human Capital       ทุนมนุษย์

 

K2 Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา

 

K3 Ethical  Capital       ทุนทางจริยธรรม

 

K4 Happiness  Capital  ทุนทางความสุข

 

K5 Social  Capital        ทุนทางสังคม

 

K6  Sustainable Capital           ทุนทางความยั่งยืน

 

K7  Digital  Capital      ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT

 

K8 Talented Capital      ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

 

การนำแนวคิดทฤษฎี 8K’s มาเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ระดับชุมชน ระดับองค์กร ครอบครัว หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับสังคมไทยและควรจะต้องเริ่มทำทันที แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

 

บทที่ 3 คำถาม คือ “จะพัฒนาให้คนไทยทุกภาคส่วนสนใจการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์แบบ8K’s อย่างจริงจังได้อย่างไร?

 

บทที่ 4 นอกจากแนวคิดทฤษฎี 8K’s ยังมีทุนอีก 5 ประการที่มีความสำคัญ “ทฤษฎี 5 K’s (ใหม่)” ประกอบด้วย

 

Creativity  Capital       ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

Knowledge Capital       ทุนทางความรู้

 

Innovation Capital       ทุนทางนวัตกรรม

 

Emotional Capital        ทุนทางอารมณ์

 

Cultural Capital           ทุนทางวัฒนธรรม

 

บทที่ 5 สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุกคนรู้จักถึงความเสี่ยงและโอกาสของ AEC ก็คือ ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มี 4 เรื่องที่จำเป็นต้องพัฒนาไปร่วมกันทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน

 

เรื่องแรก คือ การเปิดการค้าและบริการรวมไปถึง การลงทุน การเงิน สินค้า และแรงงาน

 

เรื่องที่สอง คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงมากขึ้น

 

เรื่องที่สาม คือ การลดช่องว่างในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

เรื่องสุดท้าย คือ การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

 

ในวันนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญ หรือยังคิดว่าเรื่องการเปิดเสรีอาเซียนเป็นเรื่องไกลตัว จึงจะนำเสนอ 10 ประเด็น สำคัญที่คนไทยควรจะต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรีได้อย่างมั่นคงและสง่างาม

 

ประเด็นแรก ต้องรู้จริงว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic  Community (AEC) คืออะไร?  และจะมีผลกระทบอย่างไร

 

ประเด็นที่สอง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกิดขึ้นภายในข้อตกลงของการร่วมมือกันใน 3 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน, สังคมและวัฒนธรรม,  ความมั่นคงทางการเมือง

 

บทที่ 6 AEC กับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศจาก มุมมองของนักคิดและนักปฏิบัติแถวหน้าของสังคมไทย รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสวิวัฒน์ วิเคราะห์เจาะลึกลงไปในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ โดยประเทศไทยควรอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนในเรื่องทุนมนุษย์ให้มากกว่านี้เริ่มจากแรงงานระดับล่างซึ่งเป็นแรงงานที่ควรจะพัฒนาตนเองไปสู่แรงงานผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง

 

ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย เขาเชื่อว่าคนไทยในศตวรรษที่ 21 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะ 3 ด้าน นั่นก็คือ Work Skill,  Innovation  Skill,  Life  Skill

 

การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  วิถีชีวิต  วัฒนธรรม เป็นสิ่งสำคัญแต่วันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างต้องการหารายได้ จนลืมนึกถึงความเสียหายจนทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นอันงดงามถูกครอบงำจากวัฒนธรรมภายนอก

 

บทที่ 7- บทที่ 10  Idea  Reflection ของนักธุรกิจและนักวิชาการเรื่องของทุนมนุษย์

 

หม่อมหลวงชาญโชติเชื่อว่า สาเหตุที่สำคัญมาจากปัญหาการบริหารจัดการและปัญหาการขาดทุนทางจริยธรรมเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับทฤษฎี8 K’s  และ 5K’s (ใหม่) ของอาจารย์จีระ และยังเห็นว่าหากทุกคนตระหนักเรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์ ปัญหาหรือช่องว่าที่มีก็จะค่อยๆ ลดลง

 

คุณฉัตรชัย  มงคลวิเศษไกวัล มองว่า “การสร้างทุนมนุษย์ที่เหมาะสมในอาเซียนต้องเปลี่ยนวิธีคิด แต่ต้องคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่จะมีผลอะไรกับภาพใหญ่ของสังคม ของประเทศ ไม่เปิดโอกาส “ต้องรู้จักจัดการสถานการณ์ต่างให้ได้ ให้เป็น โดยใช้ปัญญา”

 

คุณอนุรัตน์  ก้องธรนินทร์ มองว่าทฤษฎี8 K’s  และ 5K’s (ใหม่) จะเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อตอบโจทย์ AEC ได้อย่างดี  โดยเฉพาะทุนที่ผมใช้เป็นหลักในการทำธุรกิจ หรือทุนทางจริยธรรม

 

ดร.รัชดา  เจียสกุล มองว่า สิ่งสำคัญมาก คือ ยึดมั่นในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและราชการ ทำอย่างไรให้ภาคราชการกับภาคธุรกิจทำงานร่วมกันเป็น Team  Thailand

 

สรุปว่าการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนควรทำ คือ

 

หนึ่ง เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน

 

สอง  สำรวจตัวเองว่าโอกาสของเราคืออะไร?  ความเสี่ยงคืออะไร?  เราต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร?

 

สาม เมื่อสำรวจตัวเองแล้ว ขยายวงมาสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชนสังคม

 

สี่  ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและเป็นเครื่องวัดศักยภาพทางการแข่งขันแต่ละประเทศ คือ “ทุนมนุษย์” หรือนำทฤษฎี8 K’s  และ 5K’s มาเป็นแนวทางในการเร่งพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้กับประเทศไทย

 

ห้า นอกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ของตนเองให้มีคุณภาพแล้ว ต้องขยายวงไปสู่ครอบครัว องค์กร  ชุมชน สังคม และประเทศตามลำดับ

 

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน

การศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ระหว่างวันที่ 6 – 13 กันยายน 2556

โดย นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน

กลุ่มงานวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม (วท)

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมผู้บริหารระดับกลาง สำนักงาน กสทช. ของหลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารระดับผู้อานวยการกลุ่มงานของสำนักงาน กสทช.” (ผบก.) ซึ่งจัดให้มีการศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) ระหว่างวันที่ 6 – 13 กันยายน 2556 เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรของอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมนีที่สามารถปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง เพื่อนำพาองค์กรให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดในได้ในสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอุตสาหกรรมที่กล่าวถึงในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท Siemens AG ที่เมือง Munich และ บริษัท Benz ที่เมือง Stuttgart นอกจากนั้นแล้วยังได้เข้าเยี่ยมพบ รองกงสุลใหญ่ นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ ณ เมือง Frankfurt

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประเทศตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรป เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน มีเมืองหลวงคือ เบอร์ลิน (Berlin) มีพื้นที่ราว 357,๐5๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน จากการที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรปทาให้ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อบ้านถึง 9 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรีย เบลเยียม สาธรณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปร์แลนด์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ในการเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คณะผู้เดินทางได้เดินทางไปศึกษา ดูงานยังเมือง Munich เมือง Stuttgart และเมือง Frankfurt ซึ่งในแต่ละเมืองต่างมีความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนี้

1. เมือง Munich เป็นเมืองที่มีหอศิลปะ สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ที่มี ชื่อเสียงหลายแห่ง เป็นที่ตั้งสานักงานใหญ่ของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น BMW และ Siemens บริษัทที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และสถาบันวิจัยอีกหลายแห่ง มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาระดับ สูงอีก 8 แห่ง ซึ่งในการเดินทางไปที่ เมือง Munich นี้คณะผู้เดินทางไปเข้าไปศึกษาดูงานที่บริษัท Siemens ซึ่งเป็นบริษัทที่เก่าแก่กว่า 100 ปี ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นบริษัทหนึ่งในบริษัทที่เป็นผู้นาด้านเทคโนโลยีซึ่งเคยมีความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าสาหรับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นหนึ่งในตลาดโทรศัพท์มือถือ ในปัจจุบัน บริษัท Siemens ได้ก้าวสู้บริษัทนวัตกรรมที่ทาโครงการใหญ่ ๆ ด้วยประกายคาถาม How the world Changing และ Siemens AG เป็นทุกสิ่งที่เปลี่ยนแปลง และบริษัท Siemens ได้กลายเป็นหุ้นส่วนโครงการใหญ่ (Mega Project) ของประเทศต่าง ๆ เป็นทั้งแหล่งเงินกู้เพื่อนามาซื้ออุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐาน หรือบริการที่เป็นนวัตกรรมของ Siemens ให้กับชุมชนในประเทศต่าง ๆ

หลักการบริหารองค์กรของ บริษัท Siemens เน้นการทางานร่วมกับองค์กรหรือบริษัทเอกชนของชุมชนหรือภายในประเทศที่เป็นลูกค้า การพัฒนาบุคลากรเน้นความเป็นเลิศและคุณภาพมนุษย์เป็นหลัก

2. เมือง Stuttgart เป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่สำคัญคืออุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นถิ่นกำเนิดของบริษัทผลิตรถยนต์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Mercedes Benz ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนาด้านยานยนต์ เป็นต้นกำเนิดนวัตกรรมเครื่องยนต์หลายรูปแบบที่ถูกพัฒนามาเป็นยานยนต์ อากาศยาน

และเน้นการสร้างความหลากหลายจากนวัตกรรมที่เป็นเลิศมาหลายร้อยปี การบริหารองค์การของ บริษัท Mercedes Benz เป็นแบบศูนย์กลางที่มีผู้บริหารเพียง 8 คนและมีการกระจายเป็นบริษัทลูกย่อย ๆ ในประเทศต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมในการต่อรองทางการค้า และการวางตำแหน่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ในการลงทุนระหว่างประเทศ บริษัท Mercedes Benz จะใช้กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละประเทศ โดยมุ่งเน้นเชิงพาณิชย์เท่านั้น ไม่แทรกแซงทางการเมือง

นอกจากนี้ บริษัท Mercedes Benz ยังเป็นแหล่งความรู้ระดับโลกที่ได้สร้างวิศวกร สนับสนุนการทากิจกรรมนวัตกรรมยานยนต์ และรับออกแบบยานยนต์ต้นแบบให้บริษัทอุตสาหกรรม ยานยนต์รายอื่น ๆ เช่น ต้นแบบรถแข่ง Porche และ Formula 1 หรือรถเชิงพาณิชย์ Nissan รุ่น Tierna หรือเป็นเครื่องยนต์ในบางรุ่นของ BMW เป็นต้น

3. เมือง Frankfurt เป็นเมืองที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยไทย และมีคนไทยอาศัยอยู่จานวนหลายหมื่นคน ณ ที่นี่ คณะผู้เดินทางศึกษาดูงานของ สำนักงาน กสทช.ได้เข้าเยี่ยมพบ นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ รักษาการกงสุลใหญ่ของประเทศไทยประจาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งได้ให้ความรู้เกี่ยวกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสถานกงสุลในการดูแลคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

จากประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พบว่าบริษัทชั้นนำของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทั้ง บริษัท Siemens และ บริษัท Benz เป็นบริษัทที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรและบุคลากรเพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ยอมละทิ้งสิ่งเก่า ก้าวเข้าสู่สิ่งใหม่และพัฒนาต่อยอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อความอยู่รอดสามารถแข่งขันได้ในภาวะเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าการปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กรจะสามารถนาพาองค์กรให้พ้นวิกฤติ และสามารถอยู่รอดได้

ดังนั้น สำนักงาน กสทช. ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่ในการกากับดูแลทั้งทางด้านโทรคมนาคมและด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ควรจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางและเป้าหมายของ สำนักงาน กสทช. ให้ให้ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร กำหนดบทบาทที่ต้องเล่นในฐานะองค์กรกากับดูแล เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ที่กาลังจะเกิดในปลายปีนี้ ยอมรับและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเก่าเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

สุดท้ายนี้ กระผมขอเสนอให้มีการพัฒนาศักยภาพผู้นาของสำนักงาน กสทช. ต่อไป แต่ควรเพิ่มเนื้อหาในการศึกษาดูงานให้กว้างมากขึ้น ควรมีการศึกษาดูงานในหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ซึ่งจะเป็นทางเลือกมากยิ่งขึ้น และควรเน้นเรื่องการพัฒนาองค์กรและโครงสร้างขององค์กรที่จะสามารถนามาปรับใช้กับองค์กรและบุคลากรของสำนักงานได้ นอกจากนั้นแล้วในการศึกษาดูงานควรต้องศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับด้านโทรคมนาคมและด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำกลับมาปรับปรุงและปรับใช้กับบริหารการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-----------------------------------------------------------

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท