นวตกรรมสานสายใยครอบครัว


นวตกรรม
สรุปย่อการพัฒนานวัตกรรม กิจกรรมสานสายใยครอบครัว --------------------------------------------- ชื่อนวัตกรรม          กิจกรรมสานสายใยครอบครัวR   ด้านการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม                ที่มาของปัญหา  ความต้องการ  (สภาพปัญหาของโรงเรียน  และคิดหาวิธีการแก้ปัญหา / นวัตกรรมที่เป็นเรื่อง    ใหม่ ๆ  หรือประยุกต์จากที่มีอยู่แล้ว)               สภาพปัญหาของนักเรียนในโรงเรียนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด             ฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน           ครอบครัวแตกแยก       ทำให้โรงเรียนต้องพัฒนาระบบวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีรูปแบบที่จะสามารถ     พัฒนาให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองที่ให้ความอบอุ่นและช่วยเหลือนักเรียนได้           ในทุกเรื่อง  โรงเรียนจึงจัดกิจกรรมสานสายใยครอบครัว  เพื่อพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยให้ครูได้แสดง      ความเอื้ออาทร  ใช้จิตวิทยาในการ    ดูแลนักเรียนกล่อมเกลาจิตใจนักเรียน  ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ  บรรเทาเบา     บางลง  นักเรียนจะมีชีวิตและสามารถอยู่ในสังคมได้ดีขึ้นแนวคิด  หรือทฤษฎี                     ภารกิจหลักของโรงเรียน  คือการให้บริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนา    ให้นักเรียนมีคุณภาพได้มาตรฐาน การจะดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมาย  โรงเรียนจึงมีพันธกิจ     ที่สำคัญต้องปฏิบัติให้เกิดคุณประโยชน์โดยตรงต่อนักเรียน              ซึ่งโรงเรียนในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้อง     รับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน และแก้วิกฤตสังคม  จึงได้นำระบบ     การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้      ในกิจกรรมสานสายใยครอบครัวมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับ     บริบทของโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้ครูสามารถวิเคราะห์ปัญหา   และมีแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนใน         เบื้องต้น    ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียน   รู้สึกอบอุ่น รู้สึกมีความไว้วางใจครู กล้าบอกความจริง     ทำให้ครู     สามารถส่งเสริมช่วยเหลือตามศักยภาพของแต่ละคน   ซึ่งสอดคล้องกับมาตราที่  22  แห่ง  พ.ร.บ.  คุ้มครอง     สิทธิเด็ก  กล่าวไว้ว่า  การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ๆ           ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ           และไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม   และตามมาตรา  29    ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับ     การสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด  3  หมวด  4  จะต้องแจ้งให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อ     พนักงานเจ้าหน้าที่  พนักงานฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจ  หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา  24      โดยโรงเรียน บูรณาการในกิจกรรม  ด้วยกิจกรรมที่สอนถึงขั้นให้เข้าใจมองเห็นธรรมว่าเป็นความจริง  ที่มี    อยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ  เช่น  ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย  ซึ่งทุกคนต้องรู้เข้าใจและ    ปฏิบัติให้ถูกต้อง     การสอนพุทธศาสนาก็จะเป็นการสนองความต้องการในชีวิตผู้เรียน                          1.2บูรณาการในวิถีชีวิต  ด้วยการสร้างระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม  ที่เรียกว่าวิถีชีวิตแบบพุทธ  หรือวินัย       ชาวพุทธ  เมื่อมีวิถีชีวิตที่สอดคล้องรองรับแล้ว  หลักธรรมคำสอนต่างก็สามารถเข้าไปกลมกลืนในวิถีชีวิตได้                         1.3บูรณาการไตรสิกขาเข้าในชีวิตประจำวันหรือทำชีวิตให้เป็นการศึกษา  ด้วยการดำเนินชีวิต       ตามปกติธรรมดาทั้ง  3  ด้าน  ให้มีการพัฒนาครบไตรสิกขา   เมื่อจะทำกิจกรรมใด ๆ  ก็ตามทุกครั้งให้มีการ        เตรียมและตรวจสอบว่ามีสิกขา  3  ด้าน  ครบหรือไม่                            ศีล       :   พฤติกรรมดีงามทั้งกาย  วาจา  เป็นวินัย  เข้าสู่วิถีชีวิต                            สมาธิ   :  จิตใจมีคุณธรรม  มีประสิทธิภาพ  และมีความสุข                            ปัญญา  :  ความรู้คิด  เข้าใจ  การมองเห็นความจริง  เท่านั้น  ทั้งระบบความสัมพันธ์ถึงเหตุผล         เชื่องโยงประยุกต์ใช้สร้างความรู้ใหม่                       แนวคิดจากกระบวนการกัลยาณมิตร  โดย  สุมน  อมรวิวัฒน์  (2548 : 300 - 301)  กล่าวว่า        กระบวนการกัลยาณมิตร  เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  (1)    ชี้ทางบรรเทาทุกข์  (2) ชี้สุขเกษมศานติ์  กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็น        หลักการที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้  คือ  หลักอริยสัจ  4  มาใช้ควบคู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม  7  ในการ        จัดการเรียนการสอน  ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน  8  ขั้นด้วยกันดังนี้                                  1)การสร้างความไว้วางใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม  7  ได้แก่  การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่         น่าเคารพรัก  เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้  มีความรู้และฝึกหัดอบรมและรับปรุงตนเองอยู่เสมอ  สามารถสื่อสาร           ชี้แจงให้ศิษย์เกิดความเข้าใจ  แจ่มแจ้ง  มีความอดทน  พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา  และมีความตั้งใจสอน         ด้วยเมตตา  ช่วยให้ศิษย์พ้นจากทางเสื่อม                                  2)การกำหนดและจับประเด็นปัญหา  (ขั้นทุกข์)                                  3)การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา  (ขั้นสมุทัย)                                  4)การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญหา  (ขั้นสมุทัย)                                  5)การกำหนดจุดมุ่งหมาย  หรือสภาวะพ้นปัญหา  (ขั้นนิโรธ)                                  6)การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา  (ขั้นนิโรธ)                                  7)การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา  (ขั้นนิโรธ)                                  8)การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง  (ขั้นมรรรค)                       แนวคิดจากการดำเนินงานโรงเรียนเพื่อนเด็กขององค์การอนามัยโลก  (2548 : 16 - 20)                                ประเทศต่างๆ ทั่วโลกพยามร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้เด็กนักเรียนอยู่ในโรงเรียนอย่างมี          ความสุข     โดยสนับสนุนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี     แต่แท้จริงแล้วโรงเรียนมีบทบาทสำคัญมาที่สุดอีก          ประการหนึ่งในด้านพัฒนาอารมณ์และสังคมแก่เด็ก ทุกโรงเรียนสามารถเป็นเพื่อนกับเด็กนักเรียน ทั้งนี้            ขึ้นอยู่กับนโยบายและทัศนคติของบุคลากรในโรงเรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้โรงเรียนยังต้องมีเป้าหมายใน          การดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติคือเป็นโรงเรียนส่งเสริมสันติภาพ            ขันติธรรม   เสรีภาพ   ความเสมอภาคและภราดรภาพ     ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์              กระแสการสร้างระบบโรงเรียนเพื่อนเด็กต้องมีการทำงานสอดคล้องกันทั้งระบบโดยทุกส่วนต้องร่วมมือ           กัน โดยมีกรอบกิจกรรมหลัก 5 ประการ คือ1.       กิจกรรมการสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิเด็ก2.       กิจกรรมการประเมินตนเอง (School  Self - Assessment )3.       กิจกรรมการจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (School - Bese  Management  Information  System)4.       กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child - Centered  learning)5.       กิจกรรมทักษะชีวิตเพื่อการยังชีพ  (Livelihood  Skills)                           โรงเรียนจึงได้นำแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว      เป็นกรอบในการจัดกิจกรรมสานสายใยครอบครัวขึ้น              เพื่อให้นักเรียนได้มีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นของครอบครัว  ในบรรยากาศแห่งความผาสุก     ตลอดจนสร้าง           ความรักความเข้าใจ โดยส่งเสริมคุณธรรม- จริยธรรม  ตามหลักการของไตรสิกขา และกัลยาณมิตรธรรม 7            นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในการดำเนินชีวิตของนักเรียนและสังคมปัจจุบันต่อไป           วัตถุประสงค์                                1.เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับนักเรียนเหมือนครอบครัวเดียวกัน                                2.เพื่อส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  ในการดำเนินชีวิต                                3.เพื่อสร้างบรรยากาศความอบอุ่นขึ้นในโรงเรียน                                4.เพื่อให้นักเรียนกล้าบอกความจริง  ความต้องการ  เพื่อส่งเสริม  ช่วยเหลือตามความต้องการ                                5.เพื่อให้โรงเรียนได้ร่วมแก้ปัญหาของนักเรียนทุก ๆ ด้าน          ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่  นักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง  และชุมชน          วิธีดำเนินการ / ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม           ขั้นตอนและกิจกรรม     1. ประชุมคณะครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง     2 .ให้ผู้เรียนได้เลือกครูประจำครอบครัวด้วยตนเอง  ( 18  ครอบครัว )       3. กำหนดวันพบปะสมาชิกในครอบครัว  โดยจัดเวลาหลังกิจกรรมหน้าเสาธงของทุกวันพุธ  โดยใช้เวลา           15  นาที  และเวลาพักกลางวัน  หรือในวันสำคัญต่าง ๆ       4. ทุกครอบครัวได้ปฏิบัติกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์โดยเน้นกิจกรรมลักษณะครอบครัว  สร้างความสัมพันธ์           ที่ดี  ความสามัคคี  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  ซึ่งมีกิจกรรม  ดังต่อไปนี้-          ตรวจสุขภาพ-          ประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในและภายนอกโรงเรียน-          สนทนา  อภิปรายเหตุการณ์ปัจจุบัน-          กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  เกม  เพลง  นิทาน  ส่งเสริมคุณธรรม - จริยธรรม-          กิจกรรมพี่สอนน้อง-          กิจกรรมเยี่ยมบ้าน-          การนั่งสมาธิสร้างปัญญา-          การตอบปัญหา-          กิจกรรม   Walk  Rally  เสริมสร้างคุณธรรม - จริยธรรม            -     ประเมินผลกิจกรรมตามแนวทางโรงเรียนเพื่อนเด็ก การพัฒนานวัตกรรม-          จัดโครงสร้าง  และกำหนดหัวข้อหลักในการปฏิบัติกิจกรรมการพบครอบครัว-          จัดสร้างแบบประเมินจุดเด่นของกิจกรรม  และจุดพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ-          จัดสร้างแบบสำรวจความคิดเห็นผู้บริหาร  ครูผู้สอน  ผู้ปกครอง  นักเรียนสถิติการวิจัย                     หาค่า MEAN และ  MODE เพื่อหาค่าความถี่ในการปฏิบัติและสภาพที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนและ ผลของการจัดกิจกรรมสานสายใยครอบครัว ผลสรุปการวิจัย                      พบว่าสภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีผลต่อความสุขของนักเรียน สภาพการบริหารและนโยบายของโรงเรียนส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์และคุณธรรม -  จริยธรรมนักเรียน    โดยเฉพาะกิจกรรมสานสายใยครอบครัวส่งผลต่อ  พัฒนาการทางสังคม จิตใจ และเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียนนอกจากนี้พบว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจและเข้าใจในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสานสายใยครอบครัวในการแก้ปัญหากับนักเรียน และส่งเสริมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ     งบประมาณดำเนินงาน   5,000  บาทระยะเวลาดำเนินงาน   ตลอดปีการศึกษาลักษณะเด่น / องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม             การดำเนินชีวิตประจำวัน  โดยบูรณาการแนวคิดตามหลักการของไตรสิกขา  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  โดยฝึก      นักเรียนให้มีวิถีชีวิตแบบชาวพุทธทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน  ในขณะที่กิน  อยู่  ดู  และฟัง       ซึ่งเป็น      กิจกรรมประจำวัน  เมื่อมีไตรสิกขาเป็นเครื่องมือพัฒนาดังกล่าวแล้ว  ผลที่ตามมานักเรียนจะได้รับพัฒนาทั้ง      4  ด้าน  ไปพร้อมกัน  ได้แก่               1.พัฒนาการทางกาย         (กายภาวนา)               2.พัฒนาการทางสังคม      (ศีลภาวนา)                 3.พัฒนาการทางจิต           (จิตภาวนา)               4.พัฒนาการทางปัญญา    (ปัญญาภาวนา)           ผลที่คาดว่าจะได้รับ                1. ครูกับนักเรียนมีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน  มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน                2. โรงเรียนเต็มไปด้วยบรรยากาศของความอบอุ่นเป็นกันเอง  โรงเรียนเป็นเพื่อนกับเด็ก                3. ผู้เรียนกล้าบอกความจริง / ความต้องการให้ครูได้ส่งเสริม / ให้ความช่วยเหลือ                4. โรงเรียนได้ร่วมแก้ปัญหาของนักเรียนทุก ๆ ด้าน ประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม  และการพัฒนาต่อยอด ประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม                    นักเรียนจะได้รับการพัฒนาทั้ง  4  ด้าน  ให้เป็นผู้มีลักษณะ  กิน  อยู่  ดู  ฟัง  เป็น  ดำเนินชีวิตอย่างมี      คุณค่าและมีความสุข                     1.นักเรียนได้รับการพัฒนาทางกายก็คือเริ่มตั้งแต่สอนให้รู้จักกินอยู่อย่างมีคุณภาพ  บริโภคใช้สอย      ปัจจัย  4  คือ  เสื้อผ้า  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรคให้ได้คุณค่าแท้  หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นคุณค่าเทียม  ด้วย      วิธีคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการ  มุ่งเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค  นอกจากนี้ยังสอนให้ดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับ       สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ  ผู้เรียนจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม                     2.นักเรียนได้รับการพัฒนาทางสังคม  เป็นคนดีมีศีล  5  มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ  ที่สำคัญ       ก็คือเป็นคนรับผิดชอบ                     3.นักเรียนได้รับการพัฒนาทางจิต  เช่น  มีสติและสมาธิเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  และในการ       ทำงานต่อไป  มีสุขภาพจิตดี  แจ่มใส  ร่าเริง  เบิกบาน          การพัฒนาต่อยอด                         กิจกรรมสานสายใยครอบครัวสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่โครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก  ซึ่งเป็นหนึ่ง       ในยุทธศาสตร์การดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่ง        มุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมบนพื้นฐานสิทธิเด็ก 4  ด้าน  ได้แก่  ด้านการมีชีวิตรอดปลอดภัย  สิทธิที่         ได้รับการปกป้องคุ้มครอง  สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา  และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ          ที่โรงเรียนจัดขึ้น                            
หมายเลขบันทึก: 44527เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

แวะมาเยี่ยมชมกลับท่าน ผอ.คนเก่ง

ตามมาอ่าน ผอ เขียนอีกนะครับ เนื้อหาดีมากๆ ไม่ได้เข้าระบบหรือครับ

ร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ผ.อ มากมาย

ไม่ประสงค์ออกนาม

หนูรักผ.อ.มากค่ะหนูขอให้ผ.อ.มีความสุขอยากไปเข้าค่ายเร้วๆ

รักโรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง

ผอขาเอารูปของเด็กๆมาลงในเว็บโรงเรียนบ้างสิคะหนูอยากเห็นคะขอบคุณคะ

หนุรักผอ.คะ ผอ.ใจดีมากเลยคะ รักนะคะคุณครูทุกคน

ขอขอบคุณแทนศิษย์ของผอ. โดยหน้่่าที่ของโรงเรียนต้องสอนคุณธรรม สอนความรู้ สอนทักษะชีวิตให้กับผู้เรืยน

น่าสนใจมากครับ ทำไมหายไป ไม่ส่งงานมาให้อ่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวการศึกษาของพวกเราต่อไปครับ

หนูอยู่โรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง

อยากไห้ผอ.อยู่ร.ร.วัดทางหลวงเหมือนเดิมค่ะ

ขอบคุณ นะคะสำหรับความเห็น บางคนอาจไม่คิดแบบนี้ก้อได้ ราชการเป้นไปตามระบบค่ะ

อยุ่ที่ใดๆก็ทำประดยชนืได้ทุกทีเลยค่ะ หนุๆก้อเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท